อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

บทลงโทษการฆาตกรรมตามหลักกฎหมายอิสลาม



การฆาตกรรม (قَتْلُ النَّفْسِ)

การฆาตกรรม คือ การประทุษร้ายต่อร่างกายหรืออวัยวะในร่างกายของบุคคลอันเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย หรือหมายถึงการฆ่าชีวิตมนุษย์นั่นเอง ในหลักศาสนาอิสลามถือว่าการฆาตกรรมเป็นสิ่งต้องห้าม และมีโทษร้ายแรงทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ทั้งนี้ เพราะการฆาตกรรมเป็นการละเมิดต่อชีวิตที่เป็นสิทธิของพระองค์อัลลอฮฺ และเป็นการคุกคามต่อความปลอดภัยของหมู่ชนตลอดจนวิถีชีวิตในสังคมมนุษย์

พระองค์อัลลอฮฺ ทรงดำรัสว่า

(وَلاَ تَقْتُلُواْ النَّفْسَ الَّتِي حَرَّمَ اللّهُ إِلاَّ بِالْحَقِّ الآية)

“และพวกสูเจ้าอย่าได้สังหารชีวิตซึ่งพระองค์อัลลอฮฺทรงบัญญัติห้ามเอาไว้ นอกจากด้วยสิทธิอันชอบธรรมเท่านั้น”   (สูเราะฮฺ อัล-อันอาม อายะฮฺที่ 151)


การฆาตกรรมตามกฎหมายอิสลามมี 3 ชนิดคือ

1. การฆาตกรรมโดยเจตนา คือ การที่บุคคลมีเจตนาสังหาร (ฆ่า) บุคคลด้วยสิ่งที่ทำให้เสียชีวิตโดยส่วนใหญ่

2. การฆาตกรรมโดยกึ่งเจตนา หมายถึง การที่บุคคลมีเจตนาประทุษร้ายโดยมิชอบต่อบุคคลด้วยการใช้สิ่งที่ไม่ทำให้เสียชีวิตโดยส่วนใหญ่ แต่บุคคลถึงแก่ความตายด้วยการกระทำดังกล่าวนั้น อาทิเช่น การใช้ไม้ขนาดเล็กตีเบาๆแล้วผู้ถูกตีก็ถึงแก่ความตายเนื่องจากการตีนั้น


3. การฆาตกรรมโดยเกิดความผิดพลาด คือ การที่บุคคลได้กระทำสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้เช่น การยิงสัตว์ที่ถูกล่าแล้วพลาดไปโดนบุคคลเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายหรือมีความผิดพลาดโดยไม่มีเจตนาเกิดขึ้น

พระองค์อัลลอฮฺ (سبحا نه وتعالي) ทรงดำรัสว่า

وَمَن يَقْتُلْ مُؤْمِنًا مُّتَعَمِّدًا فَجَزَآؤُهُ جَهَنَّمُ خَالِدًا فِيهَا وَغَضِبَ اللّهُ عَلَيْهِ وَلَعَنَهُ وَأَعَدَّ لَهُ عَذَابًا عَظِيمًا

“และผู้ใดฆ่าผู้ศรัทธาโดยเจตนา การตอบแทนของผู้นั้นคือนรกอเวจีโดยที่เขาอยู่ในนั้นตลอดกาล และอัลลอฮฺทรงกริ้วผู้นั้น และทรงสาปแช่งเขา อีกทั้งทรงเตรียมการลงโทษทัณฑ์อันยิ่งใหญ่แก่ผู้นั้นแล้ว   (สูเราะฮฺอัน-นิสาอฺ อายะฮฺที่ 93)

พระองค์อัลลอฮฺ (سبحا نه وتعالي) ทรงดำรัสว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ كُتِبَ عَلَيْكُمُ الْقِصَاصُ فِي الْقَتْلَى الْحُرُّ بِالْحُرِّ وَالْعَبْدُ بِالْعَبْدِ وَالأُنثَى بِالأُنثَى فَمَنْ عُفِيَ لَهُ مِنْ أَخِيهِ شَيْءٌ فَاتِّبَاعٌ بِالْمَعْرُوفِ وَأَدَاء إِلَيْهِ بِإِحْسَانٍ ذَلِكَ تَخْفِيفٌ مِّن رَّبِّكُمْ وَرَحْمَةٌ فَمَنِ اعْتَدَى بَعْدَ ذَلِكَ فَلَهُ عَذَابٌ أَلِيمٌ

“โอ้บรรดาศรัทธาชน การประหารชีวิตให้ตายตกตามกันไปในหมู่ผู้ถูกฆาตกรรมได้ถูกบัญญัติเหนือพวกสูเจ้าแล้ว เสรีชนต่อเสรีชน ทาสต่อทาส สตรีต่อสตรี ดังนั้นผู้ใดถูกอภัยให้แก่เขาผู้นั้น ซึ่งสิ่งหนึ่งจากพี่น้องของผู้ถูกฆาตกรรม ก็ให้ปฏิบัติตามความเหมาะสมและจ่ายค่าสินไหมทดแทนแต่โดยดี ดังกล่าวนั้นคือการผ่อนปรนจากพระผู้อภิบาลของพวกสูเจ้าและคือความเมตตา ดังนั้นผู้ใดละเมิดหลังจากนั้น ผู้นั้นย่อมได้รับการลงทัณฑ์อันเจ็บปวดยิ่ง”  (สูเราะฮฺ อัล-บะกอเราะฮฺ อายะฮฺที่ 178)

พระองค์อัลลอฮฺ (سبحا نه وتعالي) ทรงดำรัสว่า

وَمَن قَتَلَ مُؤْمِنًا خَطَئًا فَتَحْرِيرُ رَقَبَةٍ مُّؤْمِنَةٍ وَدِيَةٌ مُّسَلَّمَةٌ إِلَى أَهْلِهِ

“และผู้ใดได้สังหารผู้ศรัทธาโดยผิดพลาดแล้ว ก็ให้ปลดปล่อยทาสผู้ศรัทธา 1 คนให้เป็นไทแก่ตน และจ่ายค่าสินไหมทดแทนที่ถูกส่งมอบไปยังครอบครัวผู้ศรัทธาที่ถูกสังหารนั้น”  (สูเราะฮฺ อัน-นิสาอฺ อายะฮฺที่ 92)


( وَمَنْ قُتِلَ مَظْلُوْمًا فَقَدْ جَعَلْنَا لِوَلِيِّهِ سُلْطَانًا فَلاَ يُسْرِفْ فِي الْقَتْلِ إِنَّهُ كَانَ مَنْصُوْرًا )

และผู้ใดถูกฆ่าโดยไม่เป็นธรรม ดังนั้นเรา (อัลลอฮฺ) ได้ให้อำนาจแก่ทายาทหรือผู้ปกครองของเขา (ที่จะดำเนินคดีให้ถึงที่สุด) ฉะนั้นเขาจงอย่าล่วงเกินขอบเขตในเรื่องการฆ่า เพราะแท้จริงเขาเป็นผู้ที่ถูกช่วยเหลือ (ให้ได้รับสิทธิอยู่แล้ว)”  (สูเราะฮฺ อัล-อิสรออฺ อายะฮฺที่ 33)

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

مَنْ قَََتَلَ مُتَعَمِّدًادُفِعَ إِلىَ أَوْلِيَاءِ الْمَقْتُوْلِ ، فَإِنْ شَاﺅُوْاقَتَلُوْهُ ، وَإِنْ شَاﺅُوْاأَخَذُواالدِّيَةَ  وَهِىَ ثَلاَثُوْنَ حِقَّةً ، وثَلاَثُونَ جَذَعَةً وَأَرْبَعُونَ خَلِفَة - الحديث

“ผู้ใดฆ่าโดยเจตนา ผู้นั้นย่อมถูกผลักไปยังบรรดาทายาทของผู้ถูกฆ่า ดังนั้นหากบรรดาทายาทประสงค์ให้ประหารก็ให้ประหารชีวิตผู้นั้น และหากพวกเขาประสงค์ค่าสินไหมทดแทน พวกเขาก็เอาค่าสินไหมทดแทนนั้น คือ อูฐอายุ 3 ปีบริบูรณ์ 30 ตัว , อูฐอายุ 4 ปีบริบูรณ์ 30 ตัว  และอูฐที่ตั้งท้อง 40 ตัว...”   (รายงานโดย อัตติรมิซี -1387-)

รายงานจากท่านอิบนุ อุมัร (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า :

( شِبْهُ الْعَمْدِ قَتِيْلُ السَّوْطِ وَالْعَصٰا ، فِيْهِ مِائَةٌمِنَ اْلإِ بِلِ ، مِنْهَا أَرْبَعُوْنَ فِى بُطُوْنِهَاأَوْلاَدُهَا )

“กึ่งเจตนาคือ ผู้ที่ถูกสังหารด้วยแส้และไม้เท้า  ในการสังหารนี้คืออูฐ 100 ตัว จาก 100 ตัวนั้นคืออูฐ 40 ตัว ที่ในท้องของมันมีลูก”  (รายงานโดย อัน-นะสาอี)


ในกรณีที่ฆาตกรมีหลายคน กล่าวคือ เป็นหมู่คณะ ก็ให้ตัดสินประหารชีวิตฆาตกรทั้งหมด ดังปรากฏว่า :

1. ท่านอุมัร (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) ได้ตัดสินประหารชีวิตชาย 7 คน หรือ 5 คน ที่ร่วมกันสังหารชายผู้หนึ่ง

2. ท่านอะลี (ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ) ได้ตัดสินประหารชีวิตชาย 3 คน ที่ร่วมกันสังหารชายผู้หนึ่ง เป็นต้น

ทั้งนี้บรรดาอิหม่ามทั้ง 4 ท่านได้เห็นพ้องตรงกันว่า จำเป็นต้องประหารชีวิตกลุ่มคณะบุคคลที่ร่วมกันสังหารบุคคลเพียงคนเดียว เพื่อเป็นการปิดหนทางในการอาศัยช่องว่างทางกฏหมายที่อาจเกิดขึ้นได้ หากไม่มีการตัดสินเช่นนี้

والله أعلم بالصواب


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น