อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

ทำไมมุสลิมรับอั่งเปาไม่ได้?



"อั่งเปา" หรือ "แต๊ะเอีย" มุสลิมบางคนกล่าวว่าเป็นเพียงโบนัส หรือรางวัลปลอบใจลูกจ้าง หรือพนักงาน ก็สามารถรับได้

ความจริงเงินโบนัส ที่นายจ้าง หรือเจ้าของกิจการ ห้างหุ่นส่วน บริษัท ได้มอบให้แก่ลูกจ้าง หรือพนักงานนั้น มีเงื่อนไขว่า เงินโบนัส  เป็นเงินแบ่งส่วนหรือปันผลกำไรในรอบปี  ซึ่งหากนายจ้างมีกำไรมาก็จ่ายโบนัสมาก  มีกำไรน้อยก็จ่ายน้อย  ขึ้นกับผลประกอบการ เงินโบนัสจึงเป็นที่อนุมัติตามหลักการอิสลาม

ส่วน "อั่งเปา" หรือ "แต๊ะเอีย" นั้น ไม่ใช่เงินโบนัสตามที่มุสลิมบางคนเข้าใจกัน มีเงื่อนไขความเชื่อแตกต่างกับโบนัส ไม่ได้ขึ้นอยู่เงินแบ่งส่วนหรือปันผลกำไรในรอบปี และไม่ได้เฉพาะเจาะจงเฉพาะลูกจ้าง หรือพนักงานที่ทำงานให้กับนายจ้างเท่านั้น ที่จะได้รับ "อั่งเปา" หรือ "แต๊ะเอีย" แต่รวมถึงคนอื่นๆด้วย

ที่มาและความหมายหลักความเชื่อของการให้"อั่งเปา" หรือ "แต๊ะเอีย"

อั่งเปา (จีน: 红包; พินอิน: hóngbāo หงเปา)
คำว่า อั่ง แปลว่า แดง
คำว่า เปา แปลว่า ซอง
อั่งเปา จึงหมายถึง ซองสีแดง
สีแดงของซองเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความโชคดี ความมีชีวิตชีวา และความโชคดีของชาวจีน
เงินที่บรรจุภายในซองบางครั้งจะเป็นเลขนำโชค เช่น เลข 8 อ่านในภาษาจีนจะมีความหมายถึงความรุ่งเรือง หรือความร่ำรวย

อั่งเปานิยมมีการให้มอบให้ในงานสำคัญของครอบครัว เช่น พิธีแต่งงาน หรือ วันตรุษจีน (วันปีใหม่ของจีน) โดยในวันตรุษจีนผู้ที่มีอายุสูงกว่าหรือทำงานมีเงินเดือนแล้ว จะเป็นคนให้อั่งเป่าแก่เด็กหรือญาติที่ยังไม่ได้ทำงาน

สำหรับ "แต๊ะเอีย"
คำว่า "แต๊ะ" แปลว่า ทับ หรือ กด
คำว่า "เอีย" แปลว่า เอว เมื่อรวมกัน
 "แต๊ะเอีย" ก็หมายถึง "ของที่มากดหรือทับเอว" หรือ "ผูกไว้ที่เอว"
 คำนี้มีที่มาจากคนจีนสมัยก่อนจะใช้เงินเหรียญที่มีรูอยู่ตรงกลาง หากจะพกไปไหนก็ต้องร้อยเหรียญเป็นพวงมาผูกไว้ที่เอว และในเทศกาลตรุษจีน ผู้ให้ก็จะนำเชือกสีแดงมาร้อยเหรียญไว้ แล้วมอบให้ผู้รับ ทีนี้ผู้รับก็จะนำพวงเหรียญนี้มาผูกไว้ที่เอว เรียกว่า "แต๊ะเอีย" นั่นเอง

การให้ "อั่งเปา หรือ "แต๊ะเอีย" จะให้เป็นจำนวนที่คนจีนนิยมให้ "แต๊ะเอีย" เลข 8 เป็นจำนวนยอดนิยม
ที่สุด เพราะในภาษาจีนเลข 8 อ่านออกเสียงคล้ายกับคำที่มีความหมายว่า ความร่ำรวย ความรุ่งโรจน์ ความรุ่งเรือง
 หรืออาจจะให้เป็นจำนวนเลข 2 ซึ่งหมายถึงคู่ก็ได้
ขณะที่บางบ้านก็เลือกให้จำนวนเลข 4 ซึ่งเรียกว่า "ซี่สี่" หมายถึง คู่สี่ เพราะถือเป็นสิริมงคล
 อย่างเช่นให้แต๊ะเอีย 400 ก็จะให้เป็นธนบัตร 100 บาท จำนวน 4 ใบ หรือจะให้เป็นสองเท่า หรือสามเท่าของ "ซี่สี่" ก็ได้ เช่น ให้ 800 หรือ 1,200 บาท ก็เป็นสิริมงคล


จากที่มาและความหมายหลักความเชื่อของการให้"อั่งเปา" หรือ "แต๊ะเอีย" ข้างตน จึงเป็นที่ห้ามสำหรับมุสลิมที่จะรับ"อั่งเปา" หรือ "แต๊ะเอีย เด็ดขาด อันเนื่องจากซองอั่งเปา มีที่มาจากความเชื่อของชาวจีน กล่าวคือ ซองอั่งเปาจะต้องเป็นซองสีแดงเท่านั้น เพราะสีแดงเป็นสัญญลักษณ์ของความเป็นมงคลยินดี นอกจากนั้นสีแดงยังเป็นสัญญลักษณ์ของพลังอำนาจที่จะขจัดปัดเป่าสิ่งไม่เป็นมงคลทั้งหลายด้วย ก่อนการใช้ อั่งเปา อย่างเป็นรูปแบบนั้น ชาวจีนใช้ แถบแดง เป็นตัวแทนแห่งความเป็นมงคลและขจัดปัดเป่าสิ่งที่ไม่เป็นมงคล ฉะนั้นซองอั่งเปาจึงไม่อนุญาตให้ใช้สีอื่นนอกจากสีแดงเท่านั้น ด้วยเหตุผลความเชื่อข้างต้นขัดแย้งกับอิสลาม เพราะอิสลามสอนถึงความจำเริญมาจากพระองค์อัลลอฮฺ หรือสิ่งที่พระองค์ทรงระบุเท่านั้น ส่วนเรื่องสีแดงเป็นสีแห่งความสิริมงคล หรือเป็นสีแห่งการขจัดปัดเป่าสิ่งอัปมงคล ทัศนะของอิสลามไม่มีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องสีต่างๆ และไม่เชื่ออีกว่าสีต่างๆ จะกำหนดโชคชะตาชีวิตของมนุษย์ และอิสลามก็ไม่มีความเชื่ออีกเช่นกันว่าสีต่างๆ จะกำหนดความจำเริญ หรือกำหนดความอัปมงคลในชีวิตประจำวันของมนุษย์เหมือนกัน

ชาวจีนมีความเชื่อว่า "อั่งเปา ซองแดงบรรจุธนบัตรเป็น ของขวัญ ในการเริ่มต้นชีวิตในขวบปีใหม่และการพักผ่อนอันเบิกบานติดต่อกันนานหลายๆ วัน” ยิ่งประเด็นนี้ไม่ต้องพูดถึง มุสลิมไม่มีความเชื่อเช่นนั้นอยู่แล้ว เพราะอิสลามมิได้ระบุว่า การเริ่มต้นชีวิตใหม่ต้องรอให้ถึงสิ้นปี ถึงแม้ว่าจะเป็นสิ้นเดือนซุลหิจญะฮฺ ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของปฏิทินอิสลามก็ตาม

 เงินที่ได้รับในวันตรุษจีนนี้จึงเรียกว่า เงินแต๊ะเอีย และถือว่าเป็นโชคลาภอย่างหนึ่งซึ่งคนจีนรวมทั้งคนไทยเชื้อสายจีนได้ตั้งความปรารถนาจิตใจจดจ่อที่จะได้รับในวันตรุษจีน ฉะนั้นซองที่เรียกว่า เงิน (หรือซอง) แต๊ะเอียก็ถือว่าเป็นโชคลาภอย่างหนึ่ง ซึ่งโชคลาภข้างต้นเป็นความเชื่อของชาวจีน ไม่เกี่ยวข้องกับอะไรกับมุสลิมเลยแม้แต่น้อย เพราะมุสลิมถูกสอนให้เชื่อว่าความจำเริญ (หรือบะเราะกะฮฺ) นั้นมาจากพระเจ้า หรือสิ่งที่พระเจ้ากำหนดไว้เท่านั้นว่าสิ่งนั้นทำแล้วมีความจำเริญ สิ่งนั้นทำแล้วได้รับความเมตตา

 และ“เงินแต๊ะเอีย หรือ อั่งเปา ที่แปลว่าซองแดง เด็ก ๆ มักได้จากผู้ใหญ่ในครอบครัว โดยหลายบ้านจะถือธรรมเนียมว่าให้กันเฉพาะคนในครอบครัวหรือสกุลเดียวกัน แล้วอาจจะขยายวงไปถึงคนรักใคร่นับถือกันเหมือนญาติ โดยแต่โบราณเรียกเงินนี้ว่า ‘เงินเอี๊ยบส่วยจี๊ เอี๊ยบ’ แปลว่า กด , อัด , ห้าม ส่วย แปลว่า อายุ
เอี๊ยบส่วยจี๊ เป็นดั่งหนึ่งเงินมงคลคุ้มครองชะตา ตามตำรา 100 ธรรมเนียมจีนโบราณ บอกว่า ดั้งเดิมนิยมให้กันในวันสิ้นปี ผู้ใหญ่จะเอาเหรียญทองแดง 100 อัน ร้อยด้วยด้ายแดง ผูกเป็นพวงให้เด็กในวันก่อนวันตรุษจีนหรือวันสิ้นปีนั่นเอง เรียกเงินพวกนี้ว่าเอี๊ยบส่วนจี๊ โดยมีลูกเล่นเล็กๆ ว่า ส่วนที่แปลว่าอายุนี้ พ้องเสียงกับคำว่า ส่วย ที่แปลว่าผี ปีศาจ และคำว่า ‘ซวย เอี๊ยบส่วย’ หรือ ‘เอี๊ยบซวย’ จึงแปลว่า ห้ามความซวยหรือผี ปีศาจมาสู่

والله أعلم بالصواب




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น