อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

หะดิษเกี่ยวกับการศึกษาความรู้เป็นฮาดิษนบีหรือไม่?



หะดีษได้ยินบ่อยมากๆ คือ หะดีษที่
طلب العلم فريضة على كل مسلم
(رواه ابن ماجه بسند صحيح)
ซึ่งมีความหมายว่า “การศึกษาหาความรู้นั้นเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคน” บันทึกโดย อิบนุมาญะฮฺ ด้วยสายรายงานที่ถูกต้อง
แต่ในบางครั้งบางคนเขาจะอ่านว่า طلب العلم فريضة على كل مسلم ومسلمة  (การศึกษาหาความรู้นั้นเป็ฯหน้าที่ของมุสลิมทั้งชายและหญิซ) มีคำว่า مسلمة (สตรีที่นับถือศาสนาอิสลาม) เพิ่มต่อท้าย อันนี้บรรดาผู้รู้หลายท่านเขาบอกว่า คำท้ายคำเดียวคำนี้เป็นคำที่เพิ่มใหม่ บ้างว่าเป็น เฏาะอีฟ ضعيف (ความน่าเชื่อถือมีน้อย) เฉพาะคำๆนี้ เลยทำให้ส่วนที่อยู่ข้างหน้านั้นลดความน่าเชื่อถือไปด้วย เฉพาะส่วนหน้าอย่างเดียวตามที่ได้กล่าวมาข้างบนนั้น มีหลายคนได้รายงานและได้บันทึกไว้ อย่างที่ยกมานี้เป็น อิบนุมาญะฮฺ ที่บันทึกโดยเอาจากสายรายงานที่น่าเชื่อถือ ดังนั้นหะดีษนี้มีความน่าเชื่อถือว่าเป็นคำพูดของนบี(ศ็อลฯ)จริงค่อนข้างสูง อย่างที่เราเรียกตามภาษาหะดีษว่า เศาะฮีฮฺ
นอกจากหะดีษที่ได้ยกมาข้างบนนี้แล้วที่เราได้ยินบ่อย มีอีกสองสามหะดีษที่อาจได้ยินที่เขายกมาอ้างสม่ำเสมอ หะดีษที่ว่า
اطلبوا العلم من ا لمهد إلى اللحد
ความว่า “พวกเจ้าจงศึกษาหาความรู้จากเปลจนถึงหลุ่มฝั่งศพ”
โดยความหมายบรรดาอุลามาอฺว่าถูกต้อง แต่ตัวบทหะดีษนี้สายรายงานไม่ถูกต้อง อับดุลฟาตาฮฺ อะบูฆุดดะฮฺ ได้กล่าวว่า ประโยคนี้มีคนพูดถึงมาก จริงแล้วไม่ใช่หะดีษ ไม่ควรจะไปอ้างว่าคำนี้หรือประโยคนี้เป็นหะดีษหรือคำพูดของนบี(ศ็อลฯ)(قيمة الزمن عند العلماء، هامش ص 29) ไม่ใช่หะดีษที่ท่านอะบูฆุดดะฮฺว่านี้ ในภาษาหะดีษเขาเรียกว่า เมาฏูอฺ موضوع
และมีอีกประโยคหนึ่งที่เขาว่าเป็นหะดีษ คือ
اطلبوا العلم ولو بالصين
ความว่า “พวกเจ้าจงศึกษาหาความรู้แม้จะไกลถึงประเทศจีน”
ประโยคนี้หลายคนได้บันทึกว่าเป็นหะดีษ และบอกว่ามาจากสายรายงานที่ชื่อว่า อะบู อาติกะฮฺ 
อัลบัซซารฺ กล่าวในมัสนัดของเขา (1/175) ว่า อะบู อาติกะฮฺ เป็นใคร มาจากไหนไม่มีใครู้จัก ดังนั้นหะดีษนี้จึงเป็นหะดีษที่ไม่มีที่มาหรือไม่มีความจริง لا أصل له
นักการหะดีษสมัยใหม่ท่านหนึ่งที่เรารู้จักในความเด็ดขาดในการตัดสินว่าหะดีษหรือไม่อย่างไรนั้น คือ ท่าน อัลบานี ท่านได้กล่าวว่า หะดีษนี้ باطل บาฏิล แปลเป็นไทยตรงคือ โมฆะ
สรุปคือ ไม่ใช่หะดีษ แต่ไม่ได้หมายความว่า โดยความหมายให้ศึกษาหาความรู้แม้จะอยู่ไกลก็ตามนั้นไม่ถูกต้องด้วย เพราะอิสลามส่งเสริมให้ศึกษาหาความรู้ทุกเมื่อและแม้จะต้องไปหาไกลๆ
วัลลอฮุอะอฺลัม
จาก http://ccyiu.net

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น