อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

“จงเตือนเมาตา(ผู้ที่ใกล้จะตาย)ของพวกเจ้าด้วยคำว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮ์”



อบีสอี๊ดอัลคุดรีย์ รายงานว่า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวไว้ดังนี้
" พวกเจ้าทั้งหลายจงเตือนเมาตาของพวกเจ้าด้วยคำว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮฺ” บันทึกโดยมุสลิม

หะดีษบทนี้ ถ้ามองกันโดยผิวเผินโดยไม่รู้ถึงเป้าหมายแล้ว ท่านอาจเข้าใจว่า ท่านรอซูลให้เตือนคนที่ตาย เพราะตามรากศัพท์เดิม "เมาตา"มีความหมายว่า บรรดาผู้ที่ตายแล้ว แต่ความจริงนั้นท่านรอซูลให้เตือนผู้ที่ใกล้จะตายต่างหาก ซึ่งเป็นเป้าหมายในเชิงเปรียบเทียบว่า หลังจากนี้ไม่ช้าเขาต้องเป็นมัยยิดแน่นอน และจากการรายงานของ มุอาช บินญะบัล ว่า
مَنْ كَانَ آخِرُ كَلاَمِهِ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ دَخَلَ الْجَنَّة

“ผู้ใดที่คำพูดสุดท้ายของเขากล่าวว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮฺ เขาได้เข้าสวรรค์" บันทึกโดยอบูดาวูด

จากจุดนี้เราพบว่า หะดีษที่รายงานโดย มุอาซบินญะบัล มาแจ้งถึงเป้าหมายของคำว่า "เมาตา" ให้เราเข้าใจว่า มิใช่คนตายแล้ว แต่หมายถึงคนที่กำลังจะตาย นอกเหนือจากนั้น บรรดาศอฮาบะห์ ตาบิอีน และตาบิอิดตาบิอีน ต่างก็เข้าใจ เช่นนี้ ดังเช่นอิบนุอะบีฮาติม ได้รายงานเกี่ยวกับการบันทึกประวัติของอะบีซัรอะฮฺ ว่า
اِنَّهُ لَمَّا احْتَضَرَ أَرَادُوا تَلْقِيْنَهُ فَتَذَاكَرُوا حَدِيْثَ مُعَاذ

“ขณะที่อะบีซัรอะฮฺป่วยหนัก บุคคลทั้งหลายต้องการที่จะเตือนเขา ฉะนั้นพวกเขาจึงต่างกล่าวถึงหะดีษที่มุอาซรายงาน” (ผู้ใดที่คำพูดสุดท้ายของเขากล่าวว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮฺ เขาได้เข้าสวรรค์) ฟัตฮุลบาลี เล่มที่3 หน้า109


เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่มีนักวิชาการคนใดที่ให้ความหมาย "เมาตา" ว่าผู้ที่ตายแล้วนอกจาก ผู้ที่อ้างตัวว่าเป็นผู้รู้เท่านั้น

ทัศนะของปวงปราญช์เกี่ยวกับเป้าหมายของหะดีษ

1 . อิหม่ามติรมิซีย์ ได้กล่าวในการอธิบายหะดีษบทนี้ว่า
وَقَدْ كَانَ يُسْتَحَبُّ أَنْ يُلَقِّنَ الْمَرِيْضَ عِنْدَ المَوْتِ قَوْلَ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ وَقَالَ بَعْضُ أَهْلِ الْعِلْمِ اِذَا قَالَ ذَلِكَ مَرَّةً فَمَا يَتَكَلَّمُ بَعْدَ ذَلِكَ فَلاَ يَنْبَغِى أَنْ يُلَقِّنَ وَلاَ يَكْثُرَ عَلَيْهِ فِى هَذَا

"สมควรที่จะเตือนผู้ป่วยใกล้จะตาย ด้วยคำว่า ลาอิลาฮาอิ้ลัลลอฮฺ และนักวิชาการบางท่านกล่าวว่าถ้าแม้นผู้ป่วยได้กล่าวคำนี้ แล้วครั้งหนึ่งและไม่ได้กล่าวสิ่งใดอีกหลังจากนั้น ก็ไม่เป็นการบังควรที่จะเตือนผู้ป่วยอีกครั้ง และอย่าได้เตือนซ้ำๆ ซากๆ ในเรื่องนี้" สุนันอัตติรมิซีย์ เล่ม3 หน้า297

2 . อิหม่ามนะวะวีได้แจ้งถึงคำว่า เมาตา ในการอธิบายหะดีษบทนี้ในซอฮียฺมุสลิมว่า
مَعْنَاهُ مَنْ حَضَرَهُ الْمَوْتُ وَالمُرَادُ ذَكِّرُوْهُ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ لِتَكُوْنَ آخِرَ كَلاَمِه كَمَا فِى الْحَدِيْثِ مَنْ كَانَ آخِرُ كَلاَمِهِ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ دَخَلَ الْجَنَّة

"ความหมายของมัน( เมาตา) คือผู้ที่ใกล้จะตาย และเป้าหมายของหะดีษก็คือให้ผู้ใกล้จะตาย ได้กล่าวคำว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮฺ เพื่อที่จะให้เป็นคำพูดสุดท้ายของเขาดังที่ระบุในหะดีษ ผู้ใดที่คำพูดสุดท้ายของเขากล่าวว่า ลาอิลาฮาอิ้ลัลลอฮฺ เขาได้เข้าสวรรค์" ศอเฮียะห์ มุสลิม เล่ม6 หน้า5ถึง6

3 . อิหมามซะยูตี ได้อ้างคำพูดของท่านกุรตุบีย์ ในการอธิบายหะดีษนี้ว่า
اىْ قٌوْلُوا ذَلِكَ وَذَكِّرُوْهُمْ بِهِ عِنْدَ الْمَوْتِ قَالَ وَسَمَّاهُمْ مَوْتَى لأِنَّ المَوْتَ قَدْ حَضَرَهُم

"พวกท่านทั้งหลาย จงกล่าวเช่นนั้น และนำมันไปกล่าวเตือนพวกเขาในขณะที่พวกเขาใกล้จะตาย ท่านกุรตุบีย์กล่าวอีกว่า และการที่เรียกพวกเขาเหล่านั้น(ผู้ป่วย) ว่าเมาตาก็เพราะความตาย ได้มาเยือนพวกเขาในอีกไม่ช้า”

นอกเหนือจากนั้นท่านกุรตุบีย์ ยังได้อ้างคำพูดของท่านอิหม่ามนะวาวีย์เช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

4 . อิหม่ามอัซซินดีย์ ได้กล่าวไว้ในการอธิบายเพิ่มเติมจากอิหม่ามซะยูตีย์ในสุนันนะซาอีย์ ว่า
اَلْمُرَادُ مَنْ حَضَرَهُ المَوْتُ لاَ مَنْ مَاتَ وَالتَلْقِيْنُ أَنْ يُذَكِّرَ عِنْدَهُ لاَ أَنْ يَأْمُرَهُ بِهِ وَالتَلْقِيْن بَعْدَ الْمَوْتِ قَدْ جَزَمَ كَثِيْرٌ أَنَّهُ حَادِثٌ وَالْمَقْصُوْدُ مِنْ هَذاَ التَلْقِيْنِ اَنْ يَكُوْنَ آخِرُكَلاَمِهِ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ وَلِذَلِكَ اِذَا قَالَ مَرَّةً فَلاَ يُعَادُ عَلَيْهِ اِلاَّ أَنْ تَكَلَّمَ آخَر

" เป้าหมายก็คือผู้ที่ใกล้จะตาย มิใช่ผู้ตายแล้ว และการเตือนก็คือการกล่าวต่อหน้าผู้ป่วย มิใช่ไปสั่งใช้ให้ผู้ป่วยกล่าวมัน ส่วนการเตือน(ตัลกีน)หลังจากตายแล้วนั้น นักวิชาการส่วนมาก ได้ชี้ขาดลงไปว่าเป็นสิ่งอุตริ และจุดมุ่งหมายจากการเตือนนี้ ก็เพื่อให้คำพูดสุดท้ายของเขา คือ ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮฺ และจากดังกล่าวนี้ถ้าผู้ป่วยได้กล่าวคำนี้แล้วครั้งหนึ่ง ก็จงอย่าเตือน ซ้ำซากกับผู้ป่วยอีก เพื่อที่เขาจะได้ไม่กล่าวคำอื่นใดเป็นคำสุดท้าย" สุนันนะซะอีย์เล่ม4 หน้า5ถึง6

5 . อิหม่ามอัซเซากานีย์ ได้แจ้งไว้ในหนังสือนัยลุ้ลเอาต็อร โดยอ้างคำพูดของอิหม่ามนะวะวี ในการอธิบายศอเฮียะห์มุสลิม ดังที่ท่านได้ผ่านมาในข้างต้น คือหมายถึงผู้ที่ใกล้จะตายนั่นเอง

6 . อิหม่ามมุฮัมมัด บินอิสมาเอล อัสศอนอานีย์ ได้แจ้งไว้ในหนังสือซุบุลุสสลามว่า
المراد تذكير الذى فى سياق الموت هذا اللفظ الجليل وذلك ليقولها فتكون آخر كلامه فيدخل الجنة فالأمر فى الحديث بالتلقين عام لكل مسلم يحضر من هوفى سياق الموت وهو أمر ندب

"เป้าหมายก็คือเตือนผู้ที่ใกล้จะตาย นี่คือคำพูดที่สูงค่า และจากดังกล่าวนี้เพื่อผู้ป่วยจะได้ กล่าวมัน เพื่อให้เป็นคำพูดสุดท้ายของเขา เพื่อเขาจะได้เข้าสวรรค์ ฉะนั้นคำสั่งใช้ในหะดีษบทนี้ ด้วยการเตือนนั้น เป็นคำสั่งที่คุมกว้างแก่มุสลิมทุกคนที่อยู่กับผู้ป่วย ซึ่งเขาใกล้จะถึงซึ่ง ความตาย และคำสั่งใช้นี้อยู่ในข่ายของการสนับสนุนให้กระทำ(ซุนนะฮฺ)” นัยลุลเอาต๊อร เล่ม5 หน้า10

7 – ซัยยิต ซาบิกได้พูดถึงเรื่องการเตือนผู้ที่ใกล้จะตายไว้ในหนังสือฟิดฮุสซุนนะห์ว่า
تَلْقِيْنُ المُحْتَضَرِ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ لِمَا رَوَاهُ مُسْلِمٌ وَأَبُوْدَاوُد وَالتِرْمِذِى عَنْ أَبِى سَعِيْدِ الخُدْرِى رَضِىَ اللهُ عَنْهُ أَنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلىَ اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ لَقِّنُوا مَوْتَاكُمْ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ وَرُوِىَ أَبُوْدَاوُد وَصَحَّحَهُ الحَاكِمُ عَنْ مُعَاذَ بْنِ جَبَل رَضِىَ اللهُ عَنْهُ قَالَ قَالَ رَسُوْلُ اللهِ صَلىَ اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مَنْ كَانَ آخِرُ كَلاَمِهِ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ دَخَلَ الجَنَّة

“การเตือนผู้ที่ใกล้จะตายด้วยคำว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮ์ ดังที่มุสลิม, อบูดาวูด, อัตติรมีซีย์ ได้รายงานเรื่องนี้ไว้จาก อบีสะอี๊ดอัลคุดรีย์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า พวกเจ้าทั้งหลายจงเตือนผู้ที่ใกล้จะตายของพวกเจ้าด้วยคำว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลออ์ และอบูดาวู๊ด ได้รายงานไว้โดยที่ท่านฮากิม ได้ยืนยันว่า เป็นฮะดีษศอเฮียะห์ จากมุอาซบินญะบัล ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านรอซูลลุลลอฮิ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า ผู้ใดที่คำสุดท้ายของเขากล่าวว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮ์ เขาได้เข้าสวรรค์”

“จงเตือนเมาตา(ผู้ที่ใกล้จะตาย)ของพวกเจ้าด้วยคำว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮ์”



عَنْ أَبِى سَعِيْدِ الخُدْرِى قَالَ قَالَ رَسُوْلُ اللهِ صَلىَ اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّم لَقِّنُوا مَوْتَاكُمْ لاَ اِلهَ اِلاَّ الله

อบีสอี๊ดอัลคุดรีย์ รายงานว่า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวไว้ดังนี้
" พวกเจ้าทั้งหลายจงเตือนเมาตาของพวกเจ้าด้วยคำว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮฺ” บันทึกโดยมุสลิม

หะดีษบทนี้ ถ้ามองกันโดยผิวเผินโดยไม่รู้ถึงเป้าหมายแล้ว ท่านอาจเข้าใจว่า ท่านรอซูลให้เตือนคนที่ตาย เพราะตามรากศัพท์เดิม "เมาตา"มีความหมายว่า บรรดาผู้ที่ตายแล้ว แต่ความจริงนั้นท่านรอซูลให้เตือนผู้ที่ใกล้จะตายต่างหาก ซึ่งเป็นเป้าหมายในเชิงเปรียบเทียบว่า หลังจากนี้ไม่ช้าเขาต้องเป็นมัยยิดแน่นอน และจากการรายงานของ มุอาช บินญะบัล ว่า
مَنْ كَانَ آخِرُ كَلاَمِهِ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ دَخَلَ الْجَنَّة

“ผู้ใดที่คำพูดสุดท้ายของเขากล่าวว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮฺ เขาได้เข้าสวรรค์" บันทึกโดยอบูดาวูด

จากจุดนี้เราพบว่า หะดีษที่รายงานโดย มุอาซบินญะบัล มาแจ้งถึงเป้าหมายของคำว่า "เมาตา" ให้เราเข้าใจว่า มิใช่คนตายแล้ว แต่หมายถึงคนที่กำลังจะตาย นอกเหนือจากนั้น บรรดาศอฮาบะห์ ตาบิอีน และตาบิอิดตาบิอีน ต่างก็เข้าใจ เช่นนี้ ดังเช่นอิบนุอะบีฮาติม ได้รายงานเกี่ยวกับการบันทึกประวัติของอะบีซัรอะฮฺ ว่า
اِنَّهُ لَمَّا احْتَضَرَ أَرَادُوا تَلْقِيْنَهُ فَتَذَاكَرُوا حَدِيْثَ مُعَاذ

“ขณะที่อะบีซัรอะฮฺป่วยหนัก บุคคลทั้งหลายต้องการที่จะเตือนเขา ฉะนั้นพวกเขาจึงต่างกล่าวถึงหะดีษที่มุอาซรายงาน” (ผู้ใดที่คำพูดสุดท้ายของเขากล่าวว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮฺ เขาได้เข้าสวรรค์) ฟัตฮุลบาลี เล่มที่3 หน้า109


เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่มีนักวิชาการคนใดที่ให้ความหมาย "เมาตา" ว่าผู้ที่ตายแล้วนอกจาก ผู้ที่อ้างตัวว่าเป็นผู้รู้เท่านั้น

ทัศนะของปวงปราญช์เกี่ยวกับเป้าหมายของหะดีษ

1 . อิหม่ามติรมิซีย์ ได้กล่าวในการอธิบายหะดีษบทนี้ว่า
وَقَدْ كَانَ يُسْتَحَبُّ أَنْ يُلَقِّنَ الْمَرِيْضَ عِنْدَ المَوْتِ قَوْلَ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ وَقَالَ بَعْضُ أَهْلِ الْعِلْمِ اِذَا قَالَ ذَلِكَ مَرَّةً فَمَا يَتَكَلَّمُ بَعْدَ ذَلِكَ فَلاَ يَنْبَغِى أَنْ يُلَقِّنَ وَلاَ يَكْثُرَ عَلَيْهِ فِى هَذَا

"สมควรที่จะเตือนผู้ป่วยใกล้จะตาย ด้วยคำว่า ลาอิลาฮาอิ้ลัลลอฮฺ และนักวิชาการบางท่านกล่าวว่าถ้าแม้นผู้ป่วยได้กล่าวคำนี้ แล้วครั้งหนึ่งและไม่ได้กล่าวสิ่งใดอีกหลังจากนั้น ก็ไม่เป็นการบังควรที่จะเตือนผู้ป่วยอีกครั้ง และอย่าได้เตือนซ้ำๆ ซากๆ ในเรื่องนี้" สุนันอัตติรมิซีย์ เล่ม3 หน้า297

2 . อิหม่ามนะวะวีได้แจ้งถึงคำว่า เมาตา ในการอธิบายหะดีษบทนี้ในซอฮียฺมุสลิมว่า
مَعْنَاهُ مَنْ حَضَرَهُ الْمَوْتُ وَالمُرَادُ ذَكِّرُوْهُ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ لِتَكُوْنَ آخِرَ كَلاَمِه كَمَا فِى الْحَدِيْثِ مَنْ كَانَ آخِرُ كَلاَمِهِ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ دَخَلَ الْجَنَّة

"ความหมายของมัน( เมาตา) คือผู้ที่ใกล้จะตาย และเป้าหมายของหะดีษก็คือให้ผู้ใกล้จะตาย ได้กล่าวคำว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮฺ เพื่อที่จะให้เป็นคำพูดสุดท้ายของเขาดังที่ระบุในหะดีษ ผู้ใดที่คำพูดสุดท้ายของเขากล่าวว่า ลาอิลาฮาอิ้ลัลลอฮฺ เขาได้เข้าสวรรค์" ศอเฮียะห์ มุสลิม เล่ม6 หน้า5ถึง6

3 . อิหมามซะยูตี ได้อ้างคำพูดของท่านกุรตุบีย์ ในการอธิบายหะดีษนี้ว่า
اىْ قٌوْلُوا ذَلِكَ وَذَكِّرُوْهُمْ بِهِ عِنْدَ الْمَوْتِ قَالَ وَسَمَّاهُمْ مَوْتَى لأِنَّ المَوْتَ قَدْ حَضَرَهُم

"พวกท่านทั้งหลาย จงกล่าวเช่นนั้น และนำมันไปกล่าวเตือนพวกเขาในขณะที่พวกเขาใกล้จะตาย ท่านกุรตุบีย์กล่าวอีกว่า และการที่เรียกพวกเขาเหล่านั้น(ผู้ป่วย) ว่าเมาตาก็เพราะความตาย ได้มาเยือนพวกเขาในอีกไม่ช้า”

นอกเหนือจากนั้นท่านกุรตุบีย์ ยังได้อ้างคำพูดของท่านอิหม่ามนะวาวีย์เช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

4 . อิหม่ามอัซซินดีย์ ได้กล่าวไว้ในการอธิบายเพิ่มเติมจากอิหม่ามซะยูตีย์ในสุนันนะซาอีย์ ว่า
اَلْمُرَادُ مَنْ حَضَرَهُ المَوْتُ لاَ مَنْ مَاتَ وَالتَلْقِيْنُ أَنْ يُذَكِّرَ عِنْدَهُ لاَ أَنْ يَأْمُرَهُ بِهِ وَالتَلْقِيْن بَعْدَ الْمَوْتِ قَدْ جَزَمَ كَثِيْرٌ أَنَّهُ حَادِثٌ وَالْمَقْصُوْدُ مِنْ هَذاَ التَلْقِيْنِ اَنْ يَكُوْنَ آخِرُكَلاَمِهِ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ وَلِذَلِكَ اِذَا قَالَ مَرَّةً فَلاَ يُعَادُ عَلَيْهِ اِلاَّ أَنْ تَكَلَّمَ آخَر

" เป้าหมายก็คือผู้ที่ใกล้จะตาย มิใช่ผู้ตายแล้ว และการเตือนก็คือการกล่าวต่อหน้าผู้ป่วย มิใช่ไปสั่งใช้ให้ผู้ป่วยกล่าวมัน ส่วนการเตือน(ตัลกีน)หลังจากตายแล้วนั้น นักวิชาการส่วนมาก ได้ชี้ขาดลงไปว่าเป็นสิ่งอุตริ และจุดมุ่งหมายจากการเตือนนี้ ก็เพื่อให้คำพูดสุดท้ายของเขา คือ ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮฺ และจากดังกล่าวนี้ถ้าผู้ป่วยได้กล่าวคำนี้แล้วครั้งหนึ่ง ก็จงอย่าเตือน ซ้ำซากกับผู้ป่วยอีก เพื่อที่เขาจะได้ไม่กล่าวคำอื่นใดเป็นคำสุดท้าย" สุนันนะซะอีย์เล่ม4 หน้า5ถึง6

5 . อิหม่ามอัซเซากานีย์ ได้แจ้งไว้ในหนังสือนัยลุ้ลเอาต็อร โดยอ้างคำพูดของอิหม่ามนะวะวี ในการอธิบายศอเฮียะห์มุสลิม ดังที่ท่านได้ผ่านมาในข้างต้น คือหมายถึงผู้ที่ใกล้จะตายนั่นเอง

6 . อิหม่ามมุฮัมมัด บินอิสมาเอล อัสศอนอานีย์ ได้แจ้งไว้ในหนังสือซุบุลุสสลามว่า
المراد تذكير الذى فى سياق الموت هذا اللفظ الجليل وذلك ليقولها فتكون آخر كلامه فيدخل الجنة فالأمر فى الحديث بالتلقين عام لكل مسلم يحضر من هوفى سياق الموت وهو أمر ندب

"เป้าหมายก็คือเตือนผู้ที่ใกล้จะตาย นี่คือคำพูดที่สูงค่า และจากดังกล่าวนี้เพื่อผู้ป่วยจะได้ กล่าวมัน เพื่อให้เป็นคำพูดสุดท้ายของเขา เพื่อเขาจะได้เข้าสวรรค์ ฉะนั้นคำสั่งใช้ในหะดีษบทนี้ ด้วยการเตือนนั้น เป็นคำสั่งที่คุมกว้างแก่มุสลิมทุกคนที่อยู่กับผู้ป่วย ซึ่งเขาใกล้จะถึงซึ่ง ความตาย และคำสั่งใช้นี้อยู่ในข่ายของการสนับสนุนให้กระทำ(ซุนนะฮฺ)” นัยลุลเอาต๊อร เล่ม5 หน้า10

7 – ซัยยิต ซาบิกได้พูดถึงเรื่องการเตือนผู้ที่ใกล้จะตายไว้ในหนังสือฟิดฮุสซุนนะห์ว่า
تَلْقِيْنُ المُحْتَضَرِ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ لِمَا رَوَاهُ مُسْلِمٌ وَأَبُوْدَاوُد وَالتِرْمِذِى عَنْ أَبِى سَعِيْدِ الخُدْرِى رَضِىَ اللهُ عَنْهُ أَنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلىَ اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ لَقِّنُوا مَوْتَاكُمْ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ وَرُوِىَ أَبُوْدَاوُد وَصَحَّحَهُ الحَاكِمُ عَنْ مُعَاذَ بْنِ جَبَل رَضِىَ اللهُ عَنْهُ قَالَ قَالَ رَسُوْلُ اللهِ صَلىَ اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مَنْ كَانَ آخِرُ كَلاَمِهِ لاَ اِلَهَ اِلاَّ اللهُ دَخَلَ الجَنَّة

“การเตือนผู้ที่ใกล้จะตายด้วยคำว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮ์ ดังที่มุสลิม, อบูดาวูด, อัตติรมีซีย์ ได้รายงานเรื่องนี้ไว้จาก อบีสะอี๊ดอัลคุดรีย์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า พวกเจ้าทั้งหลายจงเตือนผู้ที่ใกล้จะตายของพวกเจ้าด้วยคำว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลออ์ และอบูดาวู๊ด ได้รายงานไว้โดยที่ท่านฮากิม ได้ยืนยันว่า เป็นฮะดีษศอเฮียะห์ จากมุอาซบินญะบัล ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านรอซูลลุลลอฮิ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า ผู้ใดที่คำสุดท้ายของเขากล่าวว่า ลาอิลาฮาอิ้ลลัลลอฮ์ เขาได้เข้าสวรรค์”

  والله أعلم

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น