อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2560

หลักฐานหลักเดิมของการทำอิบาดะฮ์คือห้ามไม่ให้ทำจนกว่ามีหลักฐาน










จากหนังสือ "40หะดิษ อิมามนาวาวี" หะดิษที่ 5 (ห้ามอุตริในศาสนา)
☝☝☝☝☝

...ส่วนการบันทึกโดยมุสลิมนั้นมีสำนวนว่า...(ใครก็ตามที่ปฏิบัติกิจการใดกิจการหนึ่ง ซึ่งเราไม่ได้สั่งใช้  ดังนั้นกิจการนั้นจะถูกปฏิเสธ)

ความเข้าใจตามหะดิษนี้ก็คือ ถ้าไม่ใช่สิ่งที่อัลลอฮ์และรสูลของพระองค์สั่งใช้มันก็จะถูกปฏิเสธ ซึ่งนี้คือเรื่องที่เกี่ยวกับอิบาดะฮฺโดยไม่มีข้อสงสัยใดๆ เพราะหลักเดิมของการทำอิบาดะฮ์คือการห้ามไม่ให้ทำ
จนกว่าจะมีหลักฐานว่าชารีอะฮ์    (หลักการศาสนา)ได้กำหนดให้ทำ

ดังนั้น ในกรณีที่มีคนๆหนึ่งทำอิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์ อัซซะวะญัลละ   ในรูปแบบหนึ่ง แล้วมีคนมาห้ามเขา เขาจึงถามว่า "มีหลักฐานอะไรที่บอกว่ามันเป็นสิ่งหะรอม ?" ถือเป็นการตั้งคำถามที่ไม่ถูกต้อง แต่ก็ให้ตอบไปว่า
"หลักฐานคือหลักเดิมของการทำอิบาดะฮ์คือ
ห้ามไม่ให้ทำจนกว่าจะมีหลักฐานว่ามีชารีอะฮฺกำหนดห้าม้ทำ"

แต่ในกรณีที่ไม่ใช่เรื่องอิบาดะฮฺ หลักเดิมของมันคืออนุญาตให้ทำได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทั่วๆไป หรือในการงานต่างๆ (ที่ไม่ใช่อิบาดะฮ์) ก็ถือว่าหลักเดิมของมันคืออนุญาตให้ทำได้

ตัวอย่างในเรื่องทั่วไป การที่คนๆหนึ่งดักนกเพื่อกิน แล้วมีคนมาห้ามเขา เขาจึงกล่าวว่า "มีหลักฐานอะไรที่บอกว่ามันเป็นสิ่งที่หะรอม ?"  ซึ่งถือเป็นการตั้งคำถามที่ถูกต้อง เพราะหลักเดิมของมันอนุญาตให้ทำได้...
ดั่งที่อัลลอฮฺ ตะอาลาได้ดำรัสว่า..


هُوَ الَّذِي خَلَقَ لَكُم مَّا فِي الْأَرْضِ جَمِيعًا
"พระองค์ คือผู้ทรงสร้างทุกสิ่งที่อยู่บนโลกเพื่อสูเจ้า"
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ อายะฮ์ที่ 29) ...


ตัวอย่างในการงานต่างๆ ที่ไม่ใช่อิบาดะฮ์ หลักเดิมของมันคืออนุญาตให้ทำได้ เช่น การที่คนหนึ่งๆ ในบ้านของเขา หรือในรถของเขา หรือกับเสื้อผ้าของเขา หรือสิ่งใดก็ตามที่เกี่ยวข้องกับทางโลก แล้วมีคนมาห้ามเขา เขาจึงถามว่า “มีหลักฐานห้ามในเรื่องนี้หรือไม่ ?”  ซึ่งถือเป็นการตั้งคำถามที่มีความชอบธรรม เพราะหลักเดิมของมันนั้นอนุญาตให้ทำได้

ซึ่งนี่คือหลักเกณฑ์ (กออิดะฮ์) ที่มีความสำคัญและประโยชน์อย่างมาก  และด้วยหลักเกณฑ์ข้างต้นนี้เองจึงสามารถแบ่งอิบาดะฮ์ออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1.  สิ่งที่เรารู้ว่าชะรีอะฮฺ (หลักการศาสนา) ได้กำหนดว่าเป็นอิบาดะฮ์ ก็ถือว่าเป็นชารีอะฮ์ที่สามารถทำได้
2.  สิ่งที่เรารู้ว่าชะรีอะฮ์ได้ห้ามทำอิบาดะฮ์ ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ชารีอะฮ์ได้ห้ามไว้
3.  สิ่งที่เราไม่รู้ว่ามันเป็นอิบาดะฮ์หรือไม่ ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ชารีอะฮ์ได้ห้ามไว้

สำหรับเรื่องมุอามะลาต (การปฏิสัมพันธ์กับผู้คน) และเรื่องทั่วๆไปนั้นเราสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทเช่นเดียวกัน
1. สิ่งที่เรารู้ว่าชะรีอะฮ์ได้อนุญาตให้ทำได้ ก็ถือเป็นสิ่งที่สามารถทำได้  เช่น การที่ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้กินลาบ้าน (ดูในมุสลิม  หมายเลข 1941)
2. สิ่งที่เรารู้ว่าชารีอะฮ์ห้ามมัน  เช่น ห้ามกินสัตว์ดุร้ายที่มีเขี้ยว ก็ถือเป็นสิ่งที่ต้องห้าม
3. สิ่งที่เราไม่รู้ว่าชารีอะฮ์กล่าวถึงอย่างไร ก็ให้ถือว่าเป็นสิ่งที่อนุญาตให้ทำได้ เพราะหลักเดิมของสิ่งที่ไม่ใช่อิบาดะฮ์นั้นสามารถที่จะทำได้


















 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น