โดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย
คำถาม
.
ซะกาตฟิฎเราะฮ์หรือซะกาตทรัพย์สิน จะเคลื่อนย้ายไปให้ผู้มีสิทธิ์รับในมูเก่มอื่น จะได้หรือไม่ ? ...
ผู้ถาม : คุณสะหรีฝีน หาดใหญ่
ตอบ
ตามความเป็นจริงแล้ว ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน เรื่องห้ามเคลื่อนย้ายซะกาตจากท้องที่หนึ่ง ไปให้กับผู้มีสิทธิ์รับในท้องที่อื่น ...
ด้วยเหตุนี้ บรรดานักวิชาการตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน จึงมีทัศนะที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งเราจะหาดูรายละเอียดได้จากตำราต่างๆ อาทิเช่น หนังสือ “นัยลุ้ล เอาฏอรฺ” ของท่านอัช-เชากานีย์ เล่มที่ 4 หน้า 215, หนังสือ “ฟัตหุ้ล บารีย์” ของท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ เล่มที่ 3 หน้า 357, หรือหนังสือ “อัล-หาวีย์ มิน ฟะตาวีย์ อัช-ชัยค์ อัล-อัลบานีย์” เล่มที่ 1 หน้า 348 เป็นต้น ...
ยิ่งไปกว่านั้น ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมยังได้เคยนำซะกาตซึ่งเก็บมาจากชาวอารับรอบนอกนครมดีนะฮ์ มาแจกจ่ายให้แก่ชาวอันศ็อรฺและชาวมุฮาญิรีนซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองมดีนะฮ์ ดังการบันทึกของท่าน อัน-นซาอีย์ ในหนังสือ “อัส-สุนัน” ของท่าน หะดีษที่ 2465, เพราะความจำเป็นดังที่ท่านศาสดาได้แจ้งเหตุผลๆไว้แล้วในหะดีษนั้น ...
ท่านมุบาร็อก ปูรีย์ นักวิชาการหะดีษชาวอินเดีย (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 1353) ได้แสดงทัศนะส่วนตัวของท่านไว้ในหนังสือ “ตั๊วะห์ฟะตุ้ล อะห์วะซีย์” เล่มที่ 3 หน้า 312 -313 หลังจากที่ท่านได้ตีแผ่ความขัดแย้งของนักวิชาการ เกี่ยวกับเรื่องการเคลื่อนย้ายซะกาตเอาไว้ว่า ....
فَالرَّاجِحُ عِنْدِيْ اَنَّ الصَّدَقَـةَ تُرَدُّ فِيْ فُقَرَاءِ مَنْ اُخِذَتْ مِنْ اَغْنِيَائِهِمْ اِلاَّ اِذَافُقِدُوْا اَوْ تَكُوْنُ فِيْ نَقْلِهَا مَصْلَحَـةٌ اَنْفَعُ مِنْ رَدِّهِـااِلَيْهِمْ فَحِيْنَـئِذٍ تُنْقَلُ .....
“ทัศนะที่มีน้ำหนักสำหรับฉันก็คือ ซะกาตนั้น ให้มอบให้กับคนยากจนจากแหล่งเดียวกับที่เอาซะกาตมาจากผู้มีฐานะดีของแหล่งนั้น เว้นแต่ว่า ขาดแคลนคนยากจนในแหล่งนั้น, หรือในการเคลื่อนย้ายมัน จะมีประโยชน์มากกว่าที่จะให้แก่คนยากจนในแหล่งเดียวกัน ในกรณีนี้ ก็อนุญาตให้เคลื่อนย้ายมันได้”...
ดังนั้น จากคำถามข้างต้น .. ก็ขอตอบว่า ในกรณีที่ในมูเก่มของเรา มีผู้ที่มีสิทธิ์รับซะกาตที่เหมาะสมอยู่แล้ว ก็ไม่บังควรอย่างยิ่งที่จะเคลื่อนย้ายมันไปให้แก่คนยากจนในมูเก่มอื่น ยกเว้นมีความจำเป็นจริงๆเท่านั้น ...
แล้วสมมุติถ้า “คนยากจน” ในมุเก่มของเราไม่นมาซหรือติดยาบ้า เราจะนำซะกาตไปมอบให้เขาได้หรือไม่ ? ...
คำตอบในทัศนะผม ให้พิจารณาสภาพต่างๆของคนยากจนที่ไม่ค่อยอยู่กับร่องรอยศาสนาเท่าไรดังนี้ ...
1. ถ้าคนยากจนนั้นไม่นมาซเลย หรือทำบ้างไม่ทำบ้าง กรณีนี้ก็ไม่สมควรมอบซะกาตให้แก่เขา เพราะผู้ที่ขาดนมาซ นักวิชาการตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันยังขัดแย้งกันว่า เขาเป็นมุสลิมหรือเป็นกาเฟรฺ ...
2. ถ้าคนยากจนนั้นติดการพนันงอมแงมหรือติดยาบ้าเป็นต้น และเรามั่นใจหรือค่อนข้างมั่นใจว่า หากให้ซะกาตไปแล้ว เขาจะต้องเอาไปขายเพื่อเล่นการพนันหรือซื้อยาบ้ามาเสพ กรณีนี้ก็ไม่ควรให้ซะกาตไปเช่นเดียวกัน ...
3. ถ้าคนยากจนนั้น ทำความผิดในเรื่องศาสนา อื่นจากการทิ้งนมาซหรือติดการพนัน ติดยาบ้าอย่างที่สมมุติไป เราก็สามารถนำซะกาตไปมอบให้เขาได้ แต่ไม่ควรมอบให้เฉยๆ ทว่าควรถือโอกาสนี้อบรมและแนะนำเขาให้ละเลิกความชั่วนั้นและหันกลับมาอยู่ในกรอบของศาสนา โดยชี้ให้เขาเห็นว่า ที่ผ่านมาแม้เขาจะละเมิดฝ่าฝืนอัลลอฮ์ แต่พระองค์ก็ยังไม่ทอดทิ้งเขา ยังรักเมตตาเขาด้วยการให้ความสงเคราะห์เขาในรูปของซะกาต หากเขากลับเนื้อกลับตัวเสียใหม่ โดยหันมาเป็นคนกตัญญูและทำความดีต่อพระองค์ พระองค์ก็คงให้ความช่วยเหลือเขามากกว่านี้ .... ฯลฯ ...
เชื่อว่า อินชาอัลลอฮ์ บางที อะไรๆก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นบ้างสำหรับเขา ...
วัลลอฮุ อะอฺลัม.
คำถาม
.
ซะกาตฟิฎเราะฮ์หรือซะกาตทรัพย์สิน จะเคลื่อนย้ายไปให้ผู้มีสิทธิ์รับในมูเก่มอื่น จะได้หรือไม่ ? ...
ผู้ถาม : คุณสะหรีฝีน หาดใหญ่
ตอบ
ตามความเป็นจริงแล้ว ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน เรื่องห้ามเคลื่อนย้ายซะกาตจากท้องที่หนึ่ง ไปให้กับผู้มีสิทธิ์รับในท้องที่อื่น ...
ด้วยเหตุนี้ บรรดานักวิชาการตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน จึงมีทัศนะที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งเราจะหาดูรายละเอียดได้จากตำราต่างๆ อาทิเช่น หนังสือ “นัยลุ้ล เอาฏอรฺ” ของท่านอัช-เชากานีย์ เล่มที่ 4 หน้า 215, หนังสือ “ฟัตหุ้ล บารีย์” ของท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ เล่มที่ 3 หน้า 357, หรือหนังสือ “อัล-หาวีย์ มิน ฟะตาวีย์ อัช-ชัยค์ อัล-อัลบานีย์” เล่มที่ 1 หน้า 348 เป็นต้น ...
ยิ่งไปกว่านั้น ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมยังได้เคยนำซะกาตซึ่งเก็บมาจากชาวอารับรอบนอกนครมดีนะฮ์ มาแจกจ่ายให้แก่ชาวอันศ็อรฺและชาวมุฮาญิรีนซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองมดีนะฮ์ ดังการบันทึกของท่าน อัน-นซาอีย์ ในหนังสือ “อัส-สุนัน” ของท่าน หะดีษที่ 2465, เพราะความจำเป็นดังที่ท่านศาสดาได้แจ้งเหตุผลๆไว้แล้วในหะดีษนั้น ...
ท่านมุบาร็อก ปูรีย์ นักวิชาการหะดีษชาวอินเดีย (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 1353) ได้แสดงทัศนะส่วนตัวของท่านไว้ในหนังสือ “ตั๊วะห์ฟะตุ้ล อะห์วะซีย์” เล่มที่ 3 หน้า 312 -313 หลังจากที่ท่านได้ตีแผ่ความขัดแย้งของนักวิชาการ เกี่ยวกับเรื่องการเคลื่อนย้ายซะกาตเอาไว้ว่า ....
فَالرَّاجِحُ عِنْدِيْ اَنَّ الصَّدَقَـةَ تُرَدُّ فِيْ فُقَرَاءِ مَنْ اُخِذَتْ مِنْ اَغْنِيَائِهِمْ اِلاَّ اِذَافُقِدُوْا اَوْ تَكُوْنُ فِيْ نَقْلِهَا مَصْلَحَـةٌ اَنْفَعُ مِنْ رَدِّهِـااِلَيْهِمْ فَحِيْنَـئِذٍ تُنْقَلُ .....
“ทัศนะที่มีน้ำหนักสำหรับฉันก็คือ ซะกาตนั้น ให้มอบให้กับคนยากจนจากแหล่งเดียวกับที่เอาซะกาตมาจากผู้มีฐานะดีของแหล่งนั้น เว้นแต่ว่า ขาดแคลนคนยากจนในแหล่งนั้น, หรือในการเคลื่อนย้ายมัน จะมีประโยชน์มากกว่าที่จะให้แก่คนยากจนในแหล่งเดียวกัน ในกรณีนี้ ก็อนุญาตให้เคลื่อนย้ายมันได้”...
ดังนั้น จากคำถามข้างต้น .. ก็ขอตอบว่า ในกรณีที่ในมูเก่มของเรา มีผู้ที่มีสิทธิ์รับซะกาตที่เหมาะสมอยู่แล้ว ก็ไม่บังควรอย่างยิ่งที่จะเคลื่อนย้ายมันไปให้แก่คนยากจนในมูเก่มอื่น ยกเว้นมีความจำเป็นจริงๆเท่านั้น ...
แล้วสมมุติถ้า “คนยากจน” ในมุเก่มของเราไม่นมาซหรือติดยาบ้า เราจะนำซะกาตไปมอบให้เขาได้หรือไม่ ? ...
คำตอบในทัศนะผม ให้พิจารณาสภาพต่างๆของคนยากจนที่ไม่ค่อยอยู่กับร่องรอยศาสนาเท่าไรดังนี้ ...
1. ถ้าคนยากจนนั้นไม่นมาซเลย หรือทำบ้างไม่ทำบ้าง กรณีนี้ก็ไม่สมควรมอบซะกาตให้แก่เขา เพราะผู้ที่ขาดนมาซ นักวิชาการตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันยังขัดแย้งกันว่า เขาเป็นมุสลิมหรือเป็นกาเฟรฺ ...
2. ถ้าคนยากจนนั้นติดการพนันงอมแงมหรือติดยาบ้าเป็นต้น และเรามั่นใจหรือค่อนข้างมั่นใจว่า หากให้ซะกาตไปแล้ว เขาจะต้องเอาไปขายเพื่อเล่นการพนันหรือซื้อยาบ้ามาเสพ กรณีนี้ก็ไม่ควรให้ซะกาตไปเช่นเดียวกัน ...
3. ถ้าคนยากจนนั้น ทำความผิดในเรื่องศาสนา อื่นจากการทิ้งนมาซหรือติดการพนัน ติดยาบ้าอย่างที่สมมุติไป เราก็สามารถนำซะกาตไปมอบให้เขาได้ แต่ไม่ควรมอบให้เฉยๆ ทว่าควรถือโอกาสนี้อบรมและแนะนำเขาให้ละเลิกความชั่วนั้นและหันกลับมาอยู่ในกรอบของศาสนา โดยชี้ให้เขาเห็นว่า ที่ผ่านมาแม้เขาจะละเมิดฝ่าฝืนอัลลอฮ์ แต่พระองค์ก็ยังไม่ทอดทิ้งเขา ยังรักเมตตาเขาด้วยการให้ความสงเคราะห์เขาในรูปของซะกาต หากเขากลับเนื้อกลับตัวเสียใหม่ โดยหันมาเป็นคนกตัญญูและทำความดีต่อพระองค์ พระองค์ก็คงให้ความช่วยเหลือเขามากกว่านี้ .... ฯลฯ ...
เชื่อว่า อินชาอัลลอฮ์ บางที อะไรๆก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นบ้างสำหรับเขา ...
วัลลอฮุ อะอฺลัม.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น