คนที่มีความสามารถที่จะจ่ายซะกาตแต่ไม่ยอมจ่าย ย่อมมีบาปแน่นอนครับฐานฝ่าฝืนข้อบังคับของศาสนา แต่จะหนักหนาสาหัสขนาดไหน พระองค์อัลลอฮ์เท่านั้นจะเป็นผู้ทรงกำหนด
ส่วนคนยากจนที่ขาดแคลนจริงๆ ศาสนาก็อนุโลมให้เขาไม่ต้องจ่ายฟิฏเราะฮ์อยู่แล้ว ตรงกันข้าม มีแต่เขาจะเป็นผู้คอยรับซะกาตจากผู้อื่นเท่านั้นครับ ...
พระองค์อัลลอฮฺตะอาลาทรงตรัสว่า
((لَا يُكَلِّفُ اللَّهُ نَفْسًا إِلَّا وُسْعَهَا]
“อัลลอฮฺจะไม่บังคับชีวิตหนึ่งชีวิตใดนอกจากตามความสามารถที่มีอยู่ของชีวิตนั้น”
สูเราะฮฺ อัลบะเกาะเราะฮฺ อายัต 286
อิหม่ามนะวาวีย์ได้ระบุคำพูดของ อัชชิรอซีย์ ว่า
وَلَا تَجِبُ إلَّا عَلَى مَنْ فَضَلَ عَنْ قُوتِهِ وَقُوتِ مَنْ تَلْزَمُهُ نَفَقَتُهُ وَقْتَ الْوُجُوبِ مَا يُؤَدِّي فِي الْفِطْرَةِ ، فَإِنْ لَمْ يَفْضُلْ عَنْ نَفَقَتِهِ شَيْءٌ لَمْ تَلْزَمْهُ ; لِأَنَّهُ غَيْرُ قَادِرٍ
และไม่จำเป็น นอกจาก บนผู้ที่อาหารของเขาและอาหารของผู้ที่เขามีหน้าที่ต้องจ่ายค่าเลี้ยงดู เหลือ ในเวลาที่จำเป็นต้องจ่าย ในซะกาตฟิตเราะฮ เพราะว่าเขาไม่มีความสามารถ – อัลมัจญมัวะ เล่ม ๖ หน้า ๖๓
และท่านอิหม่ามนะวาวีย์ได้กล่าวอีกว่า
قال ابن المنذر : وأجمعوا على أن من لا شيء له فلا فطرة عليه
อิบนุมันซีร กล่าวว่า พวกเขา(นักวิชาการ) มีมติเอกฉันท์ ว่า ผู้ที่ไม่มีสิ่งใดๆเลยสำหรับเขา ก็ไม่มีการจ่ายซะกาตฟิตเราะฮ บนเขาผู้นั้น - อัลมัจญมัวะ เล่ม ๖ หน้า ๖๘
.............................
อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น