อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อิหม่ามอ่านละหมาดตารอเวียะยาว




บางอิหม่ามละหมาดตารอเวียะยาวจนมะมูมเดือดร้อน นักวิชาการเขาว่าอย่างไรมาดูข้างล่าง

มาดูฟัตวาเช็คบินบาซ

وسئل الشيخ عبد العزيز بن باز - :
มีผู้ถามเช็คอับดุลอะซีซ บินบาซ ว่า
هل ينبغي للإمام مراعاة حال الضعفاء من كبار السن ونحوهم في صلاة التراويح ؟
สมควรหรือไม่สำหรับอิหม่าม ที่จะเอาใจใส่ต่อสภาพของบรรดาผู้อ่อนแอ อันเนื่องมาจากอายุมาก และในทำนองเดียวกับพวกเขา ในละหมาดตะรอเวียะ ?
فأجاب :
هذا أمر مطلوب في جميع الصلوات ، في التراويح وفي الفرائض ؛ لقوله صلى الله عليه وسلم : ( أيكم أمَّ الناس فليخفف فإن فيهم الضعيف والصغير وذا الحاجة ) ، فالإمام يراعي المأمومين ويرفق بهم في قيام رمضان وفي العشر الأخيرة ، وليس الناس سواء ، فالناس يختلفون ، فينبغي له أن يراعي أحوالهم ويشجعهم على المجيء وعلى الحضور فإنه متى أطال عليهم شق عليهم ونفَّرهم من الحضور ، فينبغي له أن يراعي ما يشجعهم على الحضور ويرغبهم في الصلاة ولو بالاختصار وعدم التطويل ، فصلاة يخشع فيها الناس ويطمئنون فيها ولو قليلا خير من صلاة يحصل فيها عدم الخشوع ويحصل فيها الملل والكسل .
ตอบ
นี้คือสิ่งที่ต้องการในบรรดาละหมาดทั้งหมด ,ในละหมาดตะรอเวียะ และในบรรดาละหมาดที่เป็นฟัรดู เพราะนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า "ใครก็ตามในหมู่พวกท่าน นำละหมาดบรรดาผู้คน เขาจงละหมาดสั้นๆ เพราะแท้จิงในหมู่พวกเขา (มะมูม) มีผู้อ่อนแอ ,มีเด็กเล็กๆ และผู้ที่มีธุระจำเป็น )" ดังนั้นอิหม่ามจะต้องเอาใจใส่ต่อบรรดามะอฺมูม และ เมตตาต่อพวกเขา ในการละหมาดกิยามุเราะมะฎอนและในสิบวันสุดท้าย และ บรรดาผู้คนนั้น ไม่ได้เหมือนกัน เพราะบรรดาผู้คนนั้นมีสภาพแตกต่างกัน จึงสมควรแก่เขา(อิหม่าม)จะต้องเอาใจใส่ ต่อสภาพของพวกเขา และ ให้พวกเขากล้าที่จะมา และมาร่วม(ละหมาดญะมาอะฮ) เพราะ เมื่อเขา(อิหม่าม) ละหมาดนาน ก็จะเกิดความลำบากแก่พวกเขา และทำให้พวกเขาหนีจากการมาร่วมละหมาด ดังนั้น จึงสมควรแก่อิหม่าม จะต้องเอาใจใส่สิ่งที่จะทำให้พวกเขากล้าที่จะมาร่วม(ละหมาดญะมาอะฮ) และ ให้พวกเขาชอบในการละหมาด และแม้ว่าจะด้วยการละหมาดให้สั้นลง และไม่อ่านยาว เพราะละหมาดหนึ่ง ที่ผู้คนมีความคุชัวะ ในมัน และมีความสงบนิ่งในมัน และแม้ว่าจะน้อยก็ตาม ดีกว่าละหมาด ที่ไม่มีการคุชัวะในมันและ(ดีกว่าละหมาด) ที่ทำให้เกิดการอ่อนเพลียและเกียจคร้านเกิดขึ้นในมัน
فتاوى الشيخ عبد العزيز بن باز " ( 11 / 336 ، 337

"ละหมาดให้มะมูมอยู่ละหมาดได้ตลอดดีกว่านำละหมาดแล้วมะมูนหนีเพราะอ่านยาวจนเดือดร้อน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น