ซะกาตทรัพย์สินซึ่งส่วนมากก็คือเงินตราและทองคำ ก็ต้องตรวจสอบดูก่อนว่า เงินเหลือสุทธิตอนสิ้นปีของเรา ถึง "อัตราขั้นต่ำ" (อาหรับเรียก นิศอบ)ที่จะต้องจ่ายซะกาตหรือไม่ ถ้าถึงหรือเกินอัตราขั้นต่ำก็ต้องจ่ายซะกาต ถ้าไม่ถึงก็ไม่ต้องจ่ายครับ
ส่วนอัตราขั้นต่ำของซะกาตแต่ละปีจะไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับราคาทองคำในแต่ละปี โดยเมื่อครบรอบปีการจ่ายซะกาตของเรา ก็ให้เอาราคาทองคำต่อ น้ำหนัก 1 บาทขณะนั้น (ให้ถามร้านขายทองดู) คูณกับ 5.67 (เป็นน้ำหนักทองคำเป็นบาทของเรา เทียบกับน้ำหนักทองคำ 20 มิษกอลอันเป็นอัตราขั้นต่ำที่ศาสนากำหนดไว้) ..
ทีนี้สมมุติว่า คุณกำหนดจ่ายซะกาตทุกๆวันอีดิ้ลฟิฏรี่ พอถึงวันอีดิ้ลฟิฏรี่ คุณก็ไปถามร้านขายทองคำดู เขาบอกว่าทองคำราคาบาทละ 20000 บาท คุณก็เอา 5.67 คูณกับ 20000 ก็จะได้ตัวเลขออกมาคือ 113400 แสดงว่าถ้าคุณมีเงินเหลือสุทธิขณะนั้น 113400 บาทขึ้นไป คุณก็ต้องจ่ายซะกาตร้อยละ 2.5 แต่ถ้าคุณมีเงินไม่ถึง 113400 บาท คุณก็ไม่ต้องจ่ายซะกาตในปีนั้น
ในกรณีเป็นเงินหมุนเวียนและมีเงินไหลเข้า-ไหลออกตลอดทั้งปี ก็ให้ดูเงินเหลือสุทธิตอนปลายปีเป็นเกณฑ์อย่างที่บอกแล้ว กรณีของคุณจึงต้องจ่ายซะกาตครับ
แต่ถ้าเป็นเงินเก็บตั้งไว้เฉยๆไม่มีการใช้จ่ายไหลเข้า-ไหลออกเลยตลอดทั้งปี ก็ต้องรอจนมันครบรอบปีจึงจะจ่ายซะกาตครับ
วัลลอฮุอะอฺลัม
...........................
อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น