อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การที่สตรีพาลูกๆ ไปละหมาดตะรอวีห์ที่มัสญิด


ถาม อะไรคือหุกุ่มของสตรีที่พาลูก ๆ ของนางไปละหมาดตะรอวีหฺที่มัสญิด ?

ตอบ -อัลหัมดุลิลลาฮฺ- การสรรเสริญทั้งหลายเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ
ไม่ควรห้ามสตรีพาลูกๆ ของนางไปละหมาดที่มัสญิดในเดือนเราะมะฎอน เนื่องจากมีหลักฐานจากสุนนะฮฺ ที่บรรดาสตรีพาลูกๆ ของนางไปละหมาดที่มัสญิดในสมัยของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งปรากฏหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ดังนี้

«إِنِّي لَأَدْخُلُ فِي الصَّلَاةِ وَأَنَا أُرِيدُ إِطَالَتَهَا فَأَسْمَعُ بُكَاءَ الصَّبِيِّ فَأَتَجَوَّزُ فِي صَلَاتِي ، مِمَّا أَعْلَمُ مِنْ شِدَّةِ وَجْدِ أُمِّهِ مِنْ بُكَائِهِ»

ความว่า “แท้จริงฉันได้เข้าสู่การละหมาด ซึ่งฉันตั้งใจที่จะละหมาดให้นาน ๆ ครั้นเมื่อฉันได้ยินเสียงร้องของเด็ก ฉันจึงได้รวบรัดการละหมาดของฉัน เพราะรู้ดีถึงความลำบากของผู้เป็นแม่ที่ลูกของเธอนั้นได้ร้องไห้” (บันทึกโดยอัล-บุคอรี หมายเลข 709)

และ
«حمل النبي صلى الله عليه وسلم أمامة في صلاة الفريضة وهو يؤم الناس في المسجد»
ความว่า “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้อุ้มอุมามะฮฺในละหมาดฟัรฎูซึ่งท่านเป็น อิมามนำละหมาดให้ผู้คนในมัสญิด” (ดูในอัล-บุคอรี หมายเลข 516 และมุสลิม หมายเลข 543)

อย่างไรก็ตาม จำเป็นที่พวกนางต้องพยามยามป้องกันมิให้นะญิสเปื้อนมัสญิดโดยอาจจะใส่ผ้าอ้อมให้แก่เด็กในขณะที่เขานอนอยู่และอื่นๆ – จบการอ้าง

จากฟะตาวาโดยชัยคฺมุฮัมมัด บินอิบรอฮีม เราะหิมะฮุลลอฮฺ 4/214-215


...............................
มุฮัมมัด ศอลิหฺ อัล-มุนัจญิด
محمد صالح المنجد


ผู้แปล: แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ
ผู้ตรวจทาน: ซุฟอัม อุษมาน

Ref: http://www.islamqa.com/ar คำถามหมายเลข 106462



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น