อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เลี้ยงอาหารในโอกาสได้บุตร







الوليمة عند ولادة المولود
السؤال الرابع من الفتوى رقم ‏(‏181‏)‏
س4‏ هل يصح لمن ولد له مولود من المسلمين أن يطبخ طعاماً ويدعو إخوانه المسلمين إليه‏؟‏
ج 4‏ شرع رسول الله صلى الله عليه وسلم العقيقة عن الذكر شاتين، وعن الأنثى شاة واحدة، كما شرع الأكل والإهداء والتصدق منها، فإذا صنع من ولد له المولود طعاماً ودعا بعض إخوانه المسلمين إليه وجعل مع هذا الطعام شيئاً من لحمها فليس في ذلك شيء، بل هو من باب الإحسان، وأما ما يفعله بعض الناس من طبخ الطعام يوم ولادة المولود، ويسمونه عيد الميلاد، ويتكرر هذا على حسب رغبة من ولد له المولود أو رغبة غيره أو رغبة المولود إذا كبر فهذا ليس من الشرع، بل هو بدعة، قال صلى الله عليه وسلم من عمل عملاً ليس عليه أمرنا فهو رد، وقال صلى الله عليه وسلم من أحدث في أمرنا هذا ماليس منه فهو رد.‏
คำถามที่ 4 ฟัตวาหมายเลข 181

ถาม
การปรุงอาหาร ของบิดามุสลิม ผู้ให้กำเนิดบุตร และเชิญบรรดาพี่น้องของเขาที่เป็นมุสลิม มารับประทาน ใช้ได้หรือไม่?

ตอบ
รซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้บัญญัติให้ทำอะกีเกาะฮ แพะสองตัวสำหรับผู้ชายและแพะหนึ่งตัวสำหรับผู้หญิง ดังเช่นที่ได้บัญญัติให้ รับประทาน,มอบเป็นของกำนัลและบริจาคจากมัน(จากเนื้ออะกีเกาะฮ) ดังนั้น เมื่อบิดาของบุตร ได้ทำอาหารและเชิญบรรดาพี่น้องของเขาที่เป็นมุสลิมมารับประทาน โดยจัดให้บางส่วนจากเนื้ออะกีเกาะฮ พร้อมกับอาหารนี้ ก็ไม่เป็นไร ,ในทางกลับกัน มันเป็นส่วนหนึ่งจากการทำความดี และสำหรับสิ่งที่ผู้คนบางส่วนได้ทำกัน จากการปรุงอาหารในวันเกิดของเด็ก และพวกเขาเรียกว่า" การฉลองวันเกิด" และทำสิ่งนี้ซ้ำๆกัน ตามปรารถนาของผู้เป็นบิดา หรือ อื่นจากบิดา หรือเกิดจากความปรารถนาของเด็กเมื่อเขาโตขึ้น กรณีนี้ไม่มีในบทบัญญัติ แต่ทว่ามันเป็นบิดอะฮ ,ท่านนบีศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า "ผู้ใดประกอบการงานใด ที่ไม่มีกิจการ(ศาสนา)ของเราบนมัน มันก็ถูกปฏิเสธ"และ ท่านนบีศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า" ผู้ใดประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้นมาในกิจการ(ศาสนา)ของเรานี้ สิ่งซึ่งไม่ได้มาจากมัน มันถูกปฏิเสธ"

وبالله التوفيق وصلى الله على نبينا محمد وآله وصحبه وسلم ‏.‏
اللجنة الدائمة للبحوث العلمية والإفتاء
คณะกรรมการถาวรเพื่อการวิจัยวิชาการและตอบปัญหาศาสนา(แห่งประเทศสะอุดีอารเบีย)
عضو/ عبدالله بن منيع
อับดุลลอฮ บิน มะเนียะ/คณะกรรมการ
عضو/ عبدالله بن غديان
อับดุลลอฮ บิน ฆอ็ดยาน/ คณะกรรมการ
نائب رئيس اللجنة/ عبدالرزاق عفيفي
อับดุรรอซซาก อะฟีฟีย์/รองประธานคณะกรรมการ
فتاوى اللجنة الدائمة " ( 11 / 436



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น