การจ่ายซะกาตฟิตเราะฮด้วยเงินนั้น นักวิชาการมีความเห็นขัดแย้งกัน 2 ทัศนะ คือ
ทัศนะที่หนึ่ง ไม่อนุญาต ซึ่งเป็นทัศนะของ อิหม่ามทั้งสามคือ มาลิก, ชาฟิอี และอะหมัด
สำหรับทัศนะที่สองคือ
. والقول الثاني : يجوز إخراج القيمة ( نقوداً أو غيرها ) في زكاة الفطر ، قال به الإمام أبو حنيفة وأصحابه ، وقال به من التابعين سفيان الثوري ، والحسن البصري ، والخليفة عمر ابن عبد العزيز ، وروي عن بعض الصحابة كمعاوية بن أبي سفيان ، حيث قال : " إني لأرى مدين من سمراء الشام تعدل صاعاً من تمر " ، وقال الحسن البصري : " لا بأس أن تعطى الدراهم في صدقة الفطر " ، وكتب الخليفة عمر بن عبد العزيز إلى عامله في البصرة : أن يأخذ من أهل الديون من أعطياتهم من كل إنسان نصف درهم ، وذكر ابن المنذر في كتابه (الأوسط) : إن الصحابة أجازوا إخراج نصف صاع من القمح ؛ لأنهم رأوه معادلاً في القيمة للصاع من التمر ، أو الشعير
ทัศนะที่สอง อนุญาตให้จ่ายค่าเงิน (อาจจะเป็นตัวเงินจริง หรือสิ่งอื่นที่มีค่าเป็นเงิน) เป็นซะกาตฟิฏรฺได้ เป็นทัศนะของอิมาม อบู หะนีฟะฮฺและพรรคพวกของท่าน และยังเป็นทัศนะของอุละมาอ์ตาบิอีนเช่น สุฟยาน อัษ-เษารีย์, อัล-หะสัน อัล-บัศรีย์, เคาะลีฟะฮฺ อุมัร บิน อับดุลอะซีซ และยังมีรายงานเล่าถึงเศาะหาบะฮฺบางท่านเช่น มุอาวิยะฮฺ บิน อบี สุฟยาน เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ซึ่งได้กล่าวว่า "ฉันเห็นว่าข้าวสาลีของชาวเมืองชาม(เมืองแถบซีเรียและปาเลสไตน์)สองมุดด์(ครึ่งหนึ่งของศออฺ) เท่ากับอินทผลัมหนึ่งศออฺ"
อัล-หะสัน อัล-บัศรีย์ กล่าวว่า "ถือว่าไม่เป็นไร ถ้าหากจะให้เงินดิรฮัมในการจ่ายซะกาตฟิฏรฺ"
เคาะลีฟะฮฺ อุมัร บิน อับดุลอะซีซ ได้ส่งสาสน์ไปยังผู้ว่าการของท่านที่เมืองบัศเราะฮฺว่า "ให้เอา(ซะกาตฟิฏรฺ)จากคนที่ติดหนี้ จาก(เงินช่วยเหลือของรัฐ)ที่ต้องให้แก่พวกเขาคนละครึ่งดิรฮัม"
อิบนุ มุลซิร ได้กล่าวในหนังสือ อัล-เอาสัฏ ว่า แท้จริงแล้วบรรดาเศาะหาบะฮฺได้อนุญาตให้จ่ายซะกาต(ฟิฏรฺ)ครึ่งศออฺด้วยข้าวสาลี เพราะพวกเขาเห็นว่ามันเท่ากับค่าของอินทผลัมหรือแป้งหนึ่งศออฺ
ومما سبق يتبين أن الخلاف قديم وفي الأمر سعة ، فإخراج أحد الأصناف المذكورة في الحديث يكون في حال ما إذا كان الفقير يسد حاجته الطعام في ذلك اليوم يوم العيد ، وإخراج القيمة يجوز في حال ما إذا كانت النقود أنفع للفقير كما هو الحال في معظم بلدان العالم اليوم ، ولعل حديث رسول الله – صلى الله عليه وسلم – " أغنوهم في هذا اليوم" ، يؤيد هذا القول ؛ لأن حاجة الفقير الآن لا تقتصر على الطعام فقط ، بل تتعداه إلى اللباس ونحوه .. ، ولعل العلة في تعيين الأصناف المذكورة في الحديث ، هي: الحاجة إلى الطعام والشراب وندرة النقود في ذلك العصر ،حيث كانت أغلب مبايعاتهم بالمقايضة، وإذا كان الأمر كذلك فإن الحكم يدور مع علته وجوداً وعدماً ، فيجوز إخراج النقود في زكاة الفطر للحاجة القائمة والملموسة للفقير اليوم . والله أعلم .
จากที่กล่าวมาข้างต้น จึงเห็นได้ชัดว่า ความเห็นขัดแย้งในประเด็นนี้มีมานานแล้ว และเห็นว่าในประเด็นนี้ก็มีการเปิดกว้าง ฉะนั้นในกรณีที่คนยากจนมีความต้องการอาหารในวันอีดก็จ่ายด้วยสิ่งของต่างๆ ที่ระบุในหะดีษ และอนุญาตให้ออกเป็นค่าเงินได้ในกรณีที่เงินมีประโยชน์มากกว่าแก่คนยากจน(ผู้รับซะกาต) ตามที่เราพบเห็นจริงในหลายๆ ประเทศในปัจจุบัน
ส่วนหะดีษที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวความว่า "จงให้ความร่ำรวยแก่พวกเขา(คนยากจน)ในวันนี้" นั้น น่าจะสนับสนุนทัศนะนี้(ทัศนะที่สอง)ด้วยซ้ำ เพราะความต้องการของคนยากจนในปัจจุบันนั้นไม่ได้จำกัดเฉพาะอาหารอย่างเดียวเท่านั้น ทว่ายังต้องการสิ่งอื่นเช่นเสื้อผ้า และอื่นๆ ด้วย
สาเหตุที่มีการระบุสิ่งของต่างๆ ในหะดีษนั้น น่าจะเป็นเพราะในสมัยก่อนนั้น ความต้องการอาหารและเครื่องดื่มนั้นเป็นเรื่องจำเป็นกว่า และเงินก็มีไม่มากด้วย เพราะคนสมัยก่อนจะจับจ่ายด้วยการแลกสิ่งของ และหากเป็นเช่นนั้นบทบัญญัติที่ว่าจึงเกี่ยวข้องกับสาเหตุ(อิลละฮฺ)ว่ายังมีอยู่หรือไม่(ตามสภาพปัจจุบัน) เพราะฉะนั้นจึงอนุญาตให้จ่ายเงินเป็นซะกาตฟิฏรฺได้ เนื่องจากเห็นได้ชัดว่าคนยากคนจนในสมัยปัจจุบันมีความจำเป็นและต้องการมันจริงๆ .. วัลลอฮฺ อะอฺลัม
คำตอบโดย : ศ.ดร.สุอูด บิน อับดุลลอฮฺ อัล-ฟุนัยสาน
อดีตคณบดีคณะชะรีอะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลาม อิมามมุหัมมัด บิน สุอูด กรุงริยาด
ที่มา : http://islamtoday.net/questions/show_question_content.cfm?id=114305
http://www.ahlalhdeeth.com/vb/showthread.php?t=83606
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น