อีกประเด็นหนึ่ง คือ การเจาะจงอ่านกุนูตวิตร ในช่วงครึ่งหลังของเดือนเราะมะฎอน ก็มีคนเอาจริงเอาจังทำกันเหมื่อนกับว่า เป็นวาญิบ
อิบนุตัยมียะฮ (ร.ฮ)กล่าวว่า
وَحَقِيقَةُ الْأَمْرِ أَنَّ قُنُوتَ الْوِتْرِ مِنْ جِنْسِ الدُّعَاءِ السَّائِغِ فِي الصَّلَاةِ مَنْ شَاءَ فَعَلَهُ وَمَنْ شَاءَ تَرَكَهُ . كَمَا يُخَيَّرُ الرَّجُلُ أَنْ يُوتِرَ بِثَلَاثِ أَوْ خَمْسٍ أَوْ سَبْعٍ وَكَمَا يُخَيَّرُ إذَا أَوْتَرَ بِثَلَاثِ إنْ شَاءَ فَصَلَ وَإِنْ شَاءَ وَصَلَ . وَكَذَلِكَ يُخَيَّرُ فِي دُعَاءِ الْقُنُوتِ إنْ شَاءَ فَعَلَهُ وَإِنْ شَاءَ تَرَكَهُ وَإِذَا صَلَّى بِهِمْ قِيَامَ رَمَضَانَ فَإِنْ قَنَتَ فِي جَمِيعِ الشَّهْرِ فَقَدْ أَحْسَنَ وَإِنْ قَنَتَ فِي النِّصْفِ الْأَخِيرِ فَقَدْ أَحْسَنَ وَإِنْ لَمْ يَقْنُتْ بِحَالِ فَقَدْ أَحْسَنَ
ความจริง การอ่านกุนูต วิตรนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากชนิดของดุอา ที่อนุญาตให้ปฏิบัติได้ในละหมาด ใครประสงค์จะทำหรือ ไม่ทำมันก็ได้ ดังเช่น คนหนึ่ง เขาเลือกที่จะ ละหมาดวิตรฺ สาม ,ห้า หรือ เจ็ดรอ็กอะฮ ก็ได้ และดังเช่น เมื่อเขาละหมาดวิตรฺ สามรอ็กอัต หากเขาประสงค์ จะละหมาดสองรอ็กอะฮแล้วสลามและหนึ่งเราะอะอัตแล้วสะลามก็ได้ และหากเขาประสงค์ จะทำสามรอํกอะฮต่อเนื่องแล้วสล่ามก็ได้ และในทำนองเดียวกัน เมื่อเขาเลือกที่จะอ่านกุนูต หากเขาประสงค์ จะทำ หรือไม่ทำ ก็ได้ และเมื่อเขาละหมาด กิยามุเราะมะฎอน นำพวกเขา(หมายถึงละหมาดนำผู้คน) หากเขาอ่านกุนูตตลอดทั้งเดือน(เราะมะฎอน) ก็เป็นการดี ,หากเขาอ่านกุนูต ในครึ่งสุดท้าย(ของเดือนเราะมะฏอน) ก็เป็นการดี และหาก เขาไม่อ่านกุนูตเลย ก็เป็นการดี - มัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 22 หน้า 271
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น