อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

หนังสือ อัล-อะกีดะฮฺ อัล-วาสิฏียะฮฺ



ประวัติและความเป็นมาของหนังสือ อัล-อะกีดะฮฺ อัล-วาสิฏียะฮฺ ของชัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ (เสียชีวิต ฮ.ศ.728)

-----------------

العقيدة الواسطية เป็น 1 ในหนังสือที่ข้าพเจ้ามีไว้ในครอบครอง และเป็น 1 ในหนังสือที่ข้าพเจ้ารักมากที่สุด หนังสือที่บ่งชี้ถึงอะกีดะฮฺ หลักความเชื่อ ของชนฟิรเกาะตุนนาญิยะฮฺ(กลุ่มชนที่รอดพ้น) อ้างอิงกีตาบุลลอฮฺและซุนนะฮฺ

ชัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ ได้กล่าวไว้ใน มัจมูอฺ อัล-ฟะตะวา เล่ม 8 หน้า 164 ของท่านว่า:

وقلت لهم : هذه كان سبب كتابتها أنه قدم علي من أرض واسط بعض قضاة نواحيها - شيخ يقال له " رضي الدين الواسطي " من أصحاب الشافعي - قدم علينا حاجا وكان من أهل الخير والدين وشكا ما الناس فيه بتلك البلاد وفي دولة التتر من غلبة الجهل والظلم ودروس الدين والعلم وسألني أن أكتب له عقيدة تكون عمدة له ولأهل بيته فاستعفيت من ذلك وقلت : قد كتب الناس عقائد متعددة ; فخذ بعض عقائد أئمة السنة

فألح في السؤال وقال : ما أحب إلا عقيدة تكتبها أنت فكتبت له هذه العقيدة وأنا قاعد بعد العصر وقد انتشرت بها نسخ كثيرة ; في مصر ; والعراق ; وغيرهما.

"ได้มีกอฎี มัสฮับ ชาฟิอียฺ คนหนึ่ง จากเมือง วาสิฏ(ในอิรัก) ผู้มีนามว่า รอดียุดดีน อัล-วาสิฏียฺ ได้มาหาฉันในระหว่างทางไปทำฮัจญ์ ชัยคฺคนนี้เป็นผู้ที่เปี่ยมไปด้วยความดีงามและศรัทธาที่แรงกล้า เขาได้เล่าแก่ฉัน ถึงสภาพผู้คนในดินแดนของเขาภายใต้การปกครองที่โง่เขลาของพวกตาตาร์(มองโกล), อยุติธรรม และสิ้นแล้วซึ่งศรัทธาและความรู้

เขาได้ขอให้ฉันเรียนหนังสือ อะกีดะฮฺ ให้กับเขา โดยอ้างอิงไปยังเขาและครอบครัวของเขา แต่ฉันได้ปฏิเสธ โดยกล่าวว่า: หลายหลักความเชื่อได้ถูกเขียนขึ้นแล้ว อ้างอิงไปยังอุละมาอฺของชาวซุนนะฮฺ แต่อย่างไรก็ตาม เขาก็ได้ยืนกราน โดยกล่าวว่า: ฉันไม่ต้องการหลักความเชื่อใดๆ เว้นเสียแต่ที่ท่าน(อิบนุ ตัยมียะฮฺ)เขียน ดังนั้น ฉันจึงลงมือเขียนหนังสือเล่มนี้ให้แก่เขา ในขณะที่ฉันกำลังนั่งลง อยู่ในช่วงบ่ายของวันหนึ่ง และหลายเล่มได้ถูกแจกจ่ายไปยังอียิปต์, อิรัก และที่อื่นๆ"

---------------------------------

และชัยคุลอิสลาม ได้เริ่มต้นในหน้าแรกของหนังสือเล่มนี้ว่า:

أَمَّا بَعْدُ؛ فَهَذَا اعْتِقَادُ الْفِرْقَةِ النَّاجِيَةِ الْمَنْصُورَةِ إِلَى قِيَامِ السَّاعَةِ: أَهْلِ السُّنَّةِ وَالْجَمَاعَةِ

แปลความได้ว่า: ดั่งจะกล่าวต่อไปนี้; นี่คือหลักความเชื่อของกลุ่มชนที่รอดพ้น และได้รับความช่วยเหลือ(จากอัลลอฮฺ) ตราบจนชั่วโมง(สุดท้าย)ได้มาถึง: (และนี่คือ หลักความเชื่อของ) อะหฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ

ฟะฎีละตุชชัยคฺ ศอลิหฺ อิบนุ เฟาซาน อัล-เฟาซาน หะฟีเซาะฮุลลอฮฺ ได้อรรถาธิบายว่า(แปลบางส่วน)

أَمَّا بَعْدُ؛ คำนี้มักจะถูกใช้ในขณะที่กำลังจะย้ายจากปาฐกถาหนึ่ง ไปยังอีกปาฐกถาหนึ่ง และมันมีความหมายว่า ไม่ว่าอะไรก็ตามจะเป็นไป ถูกใช้ในส่วนต่อของคุฏบะฮฺ และเนื้อสาส์น โดยมีแบบฉบับมาจากท่านนบี ศอลฯ ตั้งแต่ที่ท่านได้เริ่มทำแบบเดียวกัน

اعْتِقَادُ เป็นคำนามที่มาจากคำว่า عقيدة (อ่านว่า อีอฺตะกอดะฮฺ แปลว่า เชื่อ, ยึดจับ) เมื่อคนๆหนึ่ง عقيدة สิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นอะกีดะฮฺของเขา และอะกีดะฮฺก็คือสิ่งที่หัวใจของเขายึดมั่น มันได้ถูกกล่าวว่า ถ้าหัวใจของเขา عقيدة กับสิ่งหนึ่งสิ่งใด หมายถึง หัวใจของเขารับเอาในสิ่งนั้น ยอมรับมัน และยึดมั่นในมัน มันมีที่มา(ของคำศัพท์)จากการผูกปมเงื่อนของเชือก และมันถูกใช้สำหรับอะกีดะฮฺของหัวใจ ที่แน่วแน่และเด็ดเดี่ยว

النَّاجِيَةِ หมายถึง รอดพ้นและปลอดภัยจากความชั่วร้าย จากความวิบัติของโลกนี้ และโลกหน้า ศัพท์นี้มาจากหะดีษของท่านนบี ศอลฯ ที่ว่า:

لا تزال طائفة من أمتي على الحق منصورة لا يضرهم من خذلهم حتى يأتي أمر الله

ความว่า: "จะยังคงมีอย่างต่อเนื่องถึงกลุ่มชน(الطائفة)จากอุมมะฮฺของฉัน ที่อยู่บนสัจธรรม ได้รับความช่วยเหลือ(منصورة) บรรดาผู้ที่ปลีกตัวและหักห้ามพวกเขา มิอาจจะทำอันตรายใดๆกับพวกเขาได้ จนกว่าพระบัญชาของอัลลอฮฺจะมาถึง" (บันทึกในศอฮีหัยนฺ)

الْمَنْصُورَةِ หมายถึง เข้มแข็ง, แข็งแกร่ง ต่อต้านบรรดาผู้ที่ขัดแย้งกับพวกเขา

إِلَى قِيَامِ السَّاعَةِ หมายถึง ชั่วโมงที่พวกเขานั้นจะต้องตาย ซึ่งจะมีมาจากสายลมที่จะยึดเอาทุกๆดวงวิญญาณของผู้ศรัทธา ชั่วโมงแห่งการเคารพผู้สัจธรรม สำหรับ ชั่วโมงในช่วงสุดท้ายของดุนยา จะยังไม่เกิดขึ้นจนกว่าดั่งที่ปรากฏในหะดีษ มุสลิม:

لا تقوم الساعة حتى لا يقال في الأرض الله الله

ความว่า: "ชั่วโมงสุดท้ายจะยังไม่เกิด จนกว่าจะไม่มีคนกล่าวว่า อัลลอฮฺ อัลลอฮฺ เหลืออยู่เลย"

และอิม่าม อัล-หากิม ได้รายงานหะดีษจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อัมรฺ ร.ฎ. ว่า

ويبعث الله ريحًا ريحها ريح المسك ومسها مس الحرير فلا تترك أحدًا في قلبه مثقال ذرة من إيمان إلا قبضته، ثم يبقى شرار الناس فعليهم تقوم الساعة

ความว่า: "อัลลอฮฺจะส่งสายลม ที่มีกลิ่นหอมดั่งชะมดเชียงและสัมผัสดั่งผืนผ้าไหม และมันจะไม่เอาจากผู้ใด ที่หัวใจของเขานั้นจะมีอีหม่าน ที่น้ำหนักเพียงแค่อนูเดียว นอกจากจะเอาวิญญาณของเขาไป จากนั้นความชั่วร้ายอย่างที่สุดของผู้คนยังคงอยู่ และจะมายังพวกเขาซึ่งชั่วโมง(สุดท้าย)ได้อุบัติขึ้น"

أَهْلِ السُّنَّةِ คำนี้หมายถึง การยึดมั่นอย่างเด็ดเดี่ยวบนซุนนะฮฺ และอัล-ญะมาอะฮฺ อัซ-ซุนนะฮฺ คือ ทาง หรือแบบอย่าง ที่ท่านนบี ศอลฯ ได้กระทำทั้งคำพูด, การกระทำ และการยอมรับ พวกเขา(สะลัฟ)ได้ใช้ชื่อ "อะหฺลิซซุนนะฮฺ" เพื่อที่จะอ้างอิงตนไปยังซุนนะฮฺของท่านนบี และจะไม่อ้างกล่าวไปยังแนวคิดอื่นนอกเหนือจากนี้ ในทางตรงกันข้าม แนวทางของชาวบิดอะฮฺ และพวกที่หลงผิด อาทิเช่น กอดรียะฮฺ, มุรญิอะฮฺ บางครั้งพวกเขาก็อ้างคำสอนไปยังโต๊ะครูของพวกเขา เช่น ญะหฺมียะฮฺ หรืออ้างว่าที่เขากระทำนั้น ไปยังการงานอันอ่อนแอของพวกเขา อย่างเช่น เราะฟิเฎาะฮฺ, คอวาริจญ์ (ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น การทำบุญคนตาย พวกเขารู้ว่าซุนนะฮฺให้ทำแบบนี้ แต่พวกเขากลับไปทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม โดยอ้างว่านี่มาจากครูของเขา หรือเป็นประเพณีของเขา)

الْجَمَاعَةِ ในทางภาษาหมายถึง "กลุ่ม"ของคนที่มารวมตัวกันส่วนในความหมายทางวิชาการนี้ หมายถึง กลุ่มชนที่มารวมตัวกันบนสัจธรรม ที่มาจากกีตาบุลลอฮฺและซุนนะฮฺ พวกเขาคือ ศอหาบะฮฺของท่านนบี และผู้ที่ปฏิบัติตามพวกเขาด้วยกับการกระทำดี แม้ว่าพวกเขาจะมีจำนวนที่น้อยมาก เป็นชนกลุ่มน้อย ดั่งเช่นที่ท่าน อิบนุ มัสอูด ร.ฎ. ได้กล่าวว่า:

الجماعة ما وافق الحق وإن كنت وحدك فإنك أنت الجماعة حينئذ

ความว่า: "อัล-ญะมาอะฮฺ คือสิ่งที่เห็นพ้องต้องกันด้วยกับสัจธรรม แม้ว่าท่านจะมีเพียงตัวคนเดียว เมื่อนั้นท่านก็คือ อัล-ญะมาอะฮฺ"


......................................................................
บทความโดย : Mustafa Khan Al Kanchanaburi





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น