อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558

อัตราหรือสัดส่วนของผู้มีสิทธิสืบมรดก


โดย อาจารย์ อาลี  เสือสมิง

1. บิดา

บิดามี 3 สภาพ ดังต่อไปนี้

ได้รับ 1/6 จากกองมรดกในกรณีที่ผู้ตายมีบุตรชายหรือบุตรของบุตรชาย (หลานชาย) หรือบุตรของบุตรของบุตรชาย (เหลนชาย ฯลฯ) ร่วมอยู่ด้วย

ได้รับ 1/6 และส่วนเหลือ (อะเศาะบะฮฺ) ในกรณีที่ผู้ตายมีแต่บุตรสาวของบุตรชาย (เหลนสาว) หรือบุตรสาวของบุตรชายของบุตรชาย (เหลนสาว) ร่วมอยู่ด้วย

ได้รับส่วนเหลือ (อะเศาะบะฮฺ) ในกรณีที่ผู้ตายไม่มีบุตรไม่ว่าชายหรือหญิงหรือหลานชายหรือหลานสาวอันเกิดจากบุตรชายของผู้ตาย




มารดา

มารดามี 3 สภาพดังต่อไปนี้

ได้รับ 1/6 จากกองมรดกในกรณีที่ผู้ตายมีบุตรชายหรือบุตรสาวคนเดียวหรือหลายคนก็ตามหรือมีหลานชายหรือหลานสาวอันเกิดจากบุตรชายหรือมีพี่น้องผู้ชายตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หรือมีพี่น้องผู้หญิงตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป (ไม่ว่าจะร่วมบิดามารดากับผู้ตายหรือไม่ก็ตาม)

ได้รับ 1/3  ในกรณีที่ผู้ตายไม่มีบุตรชายหรือบุตรสาวหรือหลานชายหรือหลานสาวอันเกิดจากบุตรชายหรือไม่มีพี่น้องผู้ชายตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปหรือพี่น้องหญิงตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป (ไม่ว่าร่วมบิดามารดากับผู้ตายหรือไม่ก็ตาม)

ได้รับ 1/3  จากส่วนที่เหลือ (อัลบากี) ในกรณีที่ผู้ตายมีแต่สามีและบิดาหรือภรรยาและบิดาร่วมอยู่ด้วย ทั้งนี้ มีหลักฐานระบุเอาไว้ในอัลกุรฺอานว่า :-  (وَلأَبَوَيْهِ لِكُلِّ مِنْهُمَا السُّدُسُ مِمَّا تَرَكَ إِن كَانَ لَه وَلَدٌ ، فَإِن لَمْ يَكُن لَه وَلَدٌ وَوَرِثَهُ أَبَوَاهُ فَلأُمِّهِ الثُّلُثُ ، فَإِنْ كَانَ لَهُ إِخْوَةٌ فَلأُمِّهِ السُّدُسُ... الآية)  “และสำหรับบิดามารดาของเขานั้น แต่ละคนจากทั้งสองนั้นจะได้หนึ่งในหกจากสิ่งที่เขาได้ทิ้งไว้หากเขามีบุตร ดังนั้นถ้าหากเขาไม่มีบุตรและบิดามารดาทั้งสองของเขาได้สืบมรดกของเขาแล้ว มารดาของเขาก็ได้หนึ่งในสามนั้น ดังนั้นถ้าหากเขามีพี่น้องหลายคน มารดาของเขาก็ได้หนึ่งในหกนั้น”  (สูเราะฮฺ อัน-นิสาอฺ อายะฮฺที่ 11)




ปู่

ปู่มี 4 สภาพดังต่อไปนี้

ได้รับ 1/6 จากกองมรดก ในกรณีที่ผู้ตายมีบุตรชายหรือหลานชายอันเกิดจากบุตรชายร่วมอยู่ด้วย
ได้รับ 1/6 และส่วนเหลือ (อะเศาะบะฮฺ) ในกรณีที่ผู้ตายมีแต่บุตรสาวหรือหลานสาวอันเกิดจากบุตรชายร่วมอยู่ด้วย

ได้รับส่วนเหลือ (อะเศาะบะฮฺ) ในกรณีที่ผู้ตายไม่มีบุตรชายหรือบุตรสาวหรือหลานชายหรือหลานสาวอันเกิดจากบุตรชาย

ไม่มีสิทธิรับมรดก ถ้ามีบิดาของผู้ตายร่วมอยู่ด้วย




4. ย่า, ยาย

ย่า, ยายมี 2 สภาพดังต่อไปนี้

ได้รับ 1/6  (ในกรณีที่มีทั้งย่าและยายให้แบ่งกันคนละครึ่งในอัตราส่วนนี้)

ก.ยายถูกกันสิทธิ (มะฮฺญูบะฮฺ) ในกรณีที่ผู้ตายมีมารดา
ข.ย่าถูกกันสิทธิ (มะฮฺญูบะฮฺ) ในกรณีที่ผู้ตายมีบิดา



5. สามี

สามีมี 2 สภาพ ดังต่อไปนี้

ได้รับ 1/2 จากกองมรดก ในกรณีที่ผู้ตายไม่มีบุตรชายหรือบุตรสาวไม่ว่าจะเป็นบุตรที่เกิดจากสามีหรือผู้อื่นแม้กระทั่งบุตรที่เกิดนอกสมรสก็ตามหรือไม่มีหลานชายหรือหลานสาวอันเกิดจากบุตรชาย ฯลฯ ร่วมอยู่ด้วย

ได้รับ 1/4  ในกรณีที่ผู้ตายมีบุตรชายหรือบุตรสาวไม่ว่าจะเป็นบุตรที่เกิดจากสามีหรือผู้อื่นก็ตามหรือมีหลานชายหรือหลานสาวอันเกิดจากบุตรชายร่วมอยู่ด้วย ดังหลักฐานในอัลกุรฺอานระบุว่า :  (وَلَكُمْ نِصْفُ مَا تَرَكَ أَزْوَاجُكُمْ إِن لَمْ يَكُن لَهُنَّ وَلَدٌ  فَإِن كَانَ لَهُنَّ وَلَدٌ فَلَكُمُ الرُّبُعُ مِمَّا تَرَكْنَ.... الآية)  “และสำหรับพวกเจ้านั้นคือครึ่งหนึ่งของสิ่งที่บรรดาภรรยาของพวกเจ้าได้ทิ้ง ไว้หากไม่ปรากฏว่าพวกนางมีบุตร ดังนั้นหากปรากฏว่าพวกนางมีบุตร พวกเจ้าก็ได้หนึ่งในสี่จากสิ่งที่พวกนางได้ทิ้งไว้”  (สูเราะฮฺ อัน-นิสาอฺ อายะฮฺที่ 12)




6.  ภรรยา

ภรรยามี 2 สภาพ ดังต่อไปนี้

ได้รับ 1/4จากกองมรดกในกรณีที่กรณีที่ผู้ตายไม่มีบุตรชายหรือบุตรสาวไม่ว่าบุตรนั้นจะเกิดจากนางหรือจากผู้อื่นหรือไม่มีหลานชายหรือหลานสาวอันเกิดจากบุตรชายร่วมอยู่ด้วย

ได้รับ 1/8  ในกรณีที่ผู้ตายมีบุตรชายหรือบุตรสาวไม่ว่าบุตรนั้นจะเกิดจากนางหรือจากผู้อื่นหรือมีหลานชายหรือหลานสาวอันเกิดจากบุตรชายร่วมอยู่ด้วย ทั้งนี้มีหลักฐานระบุไว้ในอัลกุรฺอานว่า :  (وَلَهُنَّ الرُّبُعُ مِمَّا تَرَكْتُمْ إِن لَمْ يَكُن لَكُمْ وَلَدٌ فَإِنْ كَانَ لَكُمْ وَلَدٌ  فَلَهُنَّ الثُّمُنُ مِمَّا تَرَكْتُم)  “และสำหรับพวกนางนั้นคือหนึ่งในสี่จากสิ่งที่พวกเจ้าได้ทิ้งไว้ หากไม่ปรากฏว่าพวกเจ้ามีบุตร ดังนั้นหากปรากฏว่าพวกเจ้ามีบุตร พวกนางก็ได้หนึ่งในแปดจากสิ่งที่พวกเจ้าได้ทิ้งไว้” (สูเราะฮฺ อัน-นิสาอฺ อายะฮฺที่ 12)




7.  พี่น้อง (ชายหรือหญิง) ร่วมมารดา

พี่น้อง (ชายหรือหญิง) ร่วมมารดากับผู้ตายมี 3 สภาพดังต่อไปนี้

ได้รับ 1/3  ในกรณีที่มีพี่น้องร่วมมารดาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง และให้แบ่งส่วนเท่าๆกัน (ตามรายหัว) จากอัตราส่วน 1/3 นั้น โดยไม่มีการแบ่งแยกระหว่างชายหญิง

ได้รับ 1/6  ในกรณีที่มีพี่น้องร่วมมารดาเพียงคนเดียวไม่ว่าชายหรือหญิง

ถูกกันสิทธิ (มะฮฺญูบูน) ในกรณีที่ผู้ชายมีบุตรชายหรือบุตรสาวหรือหลานชายหรือหลานสาวอันเกิดจากบุตรชายหรือมีบิดาหรือปู่ร่วมอยู่ด้วย  ทั้งนี้มีหลักฐานระบุในอัลกุรฺอานว่า :  " فَإِنْ كَانُوَاْ أَكْثَرَ مِنْ ذلِكَ فَهُمْ شُرَكَاءُ فِى الثُّلُثِ "  “ดังนั้นหากปรากฏพวกเขามีจำนวนมากกว่านั้น พวกเขาก็ร่วมกันในหนึ่งส่วนสามนั้น” (สูเราะฮฺ อัน-นิสาอฺ อายะฮฺที่ 12)

และดำรัสที่ว่า :  "وَإِنْ كَانَ رَجُلٌ يُورَثُ كَلاَلَةً أَو امْرَأَةٌ وَلَه أَخٌ أَوْ أُخْتٌ فَلِكُلِّ وَاحِدٍ مِنْهُمَا السُّدُسُ"
“และถ้ามีชายคนหนึ่งหรือหญิงคนหนึ่งถูกรับมรดกในฐานะเป็นผู้ที่ไม่มีบิดาและ บุตร แต่เขามีพี่ชายหรือน้องชายคนหนึ่งหรือมีพี่สาวหรือน้องสาวคนหนึ่ง ดังนั้นแต่ละคนจากสองคนนั้น (คือเพียงคนเดียว) ได้รับหนึ่งในหก”  (สูเราะฮฺ อัน-นิสาอฺ อายะฮฺที่ 12)




8. บุตรสาว

บุตรสาวมี 3 สภาพ ดังต่อไปนี้

ได้รับ 1/2 จากกองมรดก ในกรณีที่มีคนเดียว (เป็นบุตรสาวคนเดียวของผู้ตาย)

ได้รับ 2/3 ในกรณีที่ผู้ตายมีบุตรสาวตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป (โดยผู้ตายไม่มีบุตรชายร่วมอยู่ด้วย) และให้แบ่งในระหว่างพวกนางเท่า ๆ กันจากอัตราส่วนสองในสามนั้น

ได้รับส่วนเหลือ (อะเศาะบะฮฺ) ในกรณีที่ผู้ตายมีบุตรชาย (คือพี่ชายหรือน้องชายของบุตรสาว) จะคนเดียวหรือหลายคนก็ตามร่วมรับมรดกด้วย โดยให้ชายสองส่วน หญิงหนึ่งส่วน ดังมีหลักฐานในอัลกุรฺอานระบุว่า :

"يُوصِيكُمُ الله فِى أَوْلاَدِكُمْ لِلذَّكَرِ مِثْلُ حَظِّ الأُنْثَيَيْنِ  فَإِن كُنَّ نِسَاءً فَوْقَ اثْنَتَيْنِ فَلَهُنَّ ثُلُثَا مَا تَرَكَ ، وَإِنْ كَانَتْ وَاحِدَةً فَلَهَا النِّصْفُ"
“พระองค์อัลลอฮฺได้ทรงสั่งพวกเจ้าไว้ในหมู่ลูกๆของพวกเจ้าว่า สำหรับเพศชายนั้นจะได้รับเท่ากับส่วนได้ของเพศหญิงสองคน ดังนั้นถ้าหากลูกๆเป็นหญิงเกินกว่าสองคน พวกนางก็ได้สองในสามของสิ่งที่พวกเขาได้ทิ้งไว้ และถ้าปรากฏว่าลูกเป็นหญิงเพียงคนเดียว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น