ในอัลกุรอาน เปรียบดุนยาดั่งน้ำที่ตกลงมา
... ทำไมพระองค์อัลเลาะฮฺซ.บ.จึงทรงเปรียบเช่นนั้น
... ท่านอัลกุ๊รตูบี ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาตัฟซีร(อธิบายอัลกุรอาน) กล่าวถึงจุดนี้ว่า
* เพราะน้ำ คือสิ่งที่ไม่สถิตย์อยู่ในที่หนึ่งที่ใด(มักไหลเปลี่ยนสถานที่เสมอ) เช่นเดียวกับดุนยาที่จะไม่คงสภาพเดียว(กับผู้ใดเลย)
* เพราะน้ำ จะไหลไปเสมอจะไม่ค้างอยู่(ในที่ใด) เช่นเดียวกันกับดุนยาจะหมดหายไป จะไม่คงค้างอยู่(กับผู้ใดเลย)
* เพราะน้ำ เป็นสิ่งที่ไม่มีผู้ใดเข้าไปหามันแล้วไม่เปียก เช่นเดียวกันกับดุนยาที่ไม่มีใครรอดพ้นจากเสน่ห์เย้ายวนและโรคร้ายของมัน
* เพราะน้ำ หากมีปริมาณที่เหมาะสมมันจะเป็นสิ่งมีประโยชน์และให้พืชพันธ์เจริญงอกงาม แต่หากเกินปริมาณที่เหมาะสมมันจะเป็นสิ่งให้โทษและเป็นตัวทำลายล้าง เช่นเดียวกับดุนยาที่การยับยั้งช่างใจกับมันได้นั้นเป็นสิ่งมีประโยชน์ และการเกินความพอดีกับมันเป็นสิ่งให้โทษ
............................................
- ทุกเรื่องราวของดุนยา เปลี่ยนแปลงเสมอ มาก-น้อย-หมดไป เร็ว-ช้า ได้-ไม่ได้ รัก-เกลียด และ ฯลฯ
- ทุกอย่างในดุนยา จะไม่อยู่กับเราตลอดกาล
- เสน่ห์ของดุนยาเย้ายวนยิ่งนัก ยิ่งถลำลึกจะยิ่งจมดิ่งกลายเป็นทาสมัน
- ความละโมภทางดุนยา จะไม่ก่อเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ยิ่งละโมภก็จะยิ่งทุกข์และยิ่งสร้างอันตรายทั้งต่อตัวเองและสังคม
.........................
Abdulloh Nhoorag
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น