อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

หะดิษที่ท่านนบีทำการสู่ขอท่านหญิงอาอิชะฮ์



ตอบโดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย


ถาม
อาจารย์ครับ ผมเคยได้ยินพี่น้องตับลีฆบอกว่า ท่านนะบีเคยหมั้นกับท่านหญิงอาอีชะห์ตอนที่ท่านหญิงอายุได้ 9 ชวบ จริงเท็จยังไงฝากอาจารย์ช่วยชี้แนะด้วยครับ ญะซากั้ลลอฮุคอยรอน.

ตอบ

พี่น้องตับลีฆอาจจะเข้าใจผิดครับ เพราะข้อเท็จจริงก็คือ ท่านรอซุ้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ "นิกาห์" กับท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร.ฎ. ขณะที่ท่านหญิงอาอิชะฮ์อายุยังไม่ครบ 7 ขวบ แต่เป็นการนิกาห์กันเฉยๆยังไม่มีอะไรกัน ส่วนตอนทีท่านมีอายุ 9 ขวบ หมายถึงปีที่ท่านศาสดาได้เป็นสามีของท่านอย่างถูกต้องตามสิ่งที่สามีภรรยาจะพึงมีต่อกันครับ ...

สำหรับเรื่องการหมั้นนั้น ผมก็มิได้กล่าวเลยว่าอิสลามห้าม เพราะผมกล่าวว่า .. แต่ถ้าไม่ใช่ (คือไม่ใช่มีที่มาจากหลักการศาสนาพุทธหรือศาสนาใดก็ตาม) ก็คงไม่มีปัญหา (คือเรารับมาปฏิบัติได้) ตามกฎวิชาอุศู้ลุลฟิกฮ์ที่ว่า العادة محكمة مالم تخالف الشرعية (ประเพณีนิยมหรือค่านิยมใด เราสามารถปฏิบัติตามได้ ตราบใดที่มันไม่ขัดต่อบทบัญญัติ) ก็ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงที่ทักท้วงมา ขออัลลอฮ์ตอบแทนความดีแก่คุณมากๆครับ ...


حَدَّثَنَا عَبْدُ اللَّهِ بْنُ يُوسُفَ حَدَّثَنَا اللَّيْثُ عَنْ يَزِيدَ عَنْ عِرَاكٍ عَنْ عُرْوَةَ أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ خَطَبَ عَائِشَةَ إِلَى أَبِي بَكْرٍ فَقَالَ لَهُ أَبُو بَكْرٍ إِنَّمَا أَنَا أَخُوكَ فَقَالَ أَنْتَ أَخِي فِي دِينِ اللَّهِ وَكِتَابِهِ وَهِيَ لِي حَلالٌ
( صحيح البخاري )

ถ้าเราพิจารณาข้อความของหะดีษบทนั้นจากคำพูดของท่านอบูบักรฺให้ดีจะเห็นว่า ท่านนบีย์มิได้ไป "หมั้น" ท่านหญิงอาอิชะฮ์ แต่ท่านไป "ทาบทามหรือสู่ขอ" ท่านหญิงฯจากท่านอบูบักรฺครับ ซึ่งคำว่า خطب ไม่จำเป็นต้องแปลว่า "หมั้น" อันหมายถึงการ "นำทรัพย์สินไปวางมัดจำเจ้าสาว" ตามค่านิยมสมัยนี้หรอกครับ แต่ในทางปฏิบัติสมัยท่านนบีย์ จะหมายถึง "การสู่ขอ" โดยตรงครับ และเมื่อสู่ขอตกลงกันแล้ว ก็นัดวันนิกาห์กันเลย ุจึงเป็นเรื่องถูกต้องที่ว่า การ خطب หรือการสู่ขอ ถือเป็นสิ่งที่ชอบตามหลักการอิสลาม.. และผมไม่เคยเจอว่าในสมัยนั้น จะมีการหมั้น คือการวางเงินมัดจำเหมือนการหมั้นสมัยนี้ื่แต่ประการใดครับ เพราะฉะนั้น ถ้าท่านเจอหลักฐานการหมั้นดังลักษณะค่านิยมปัจจุบัน กรุณาแจ้งให้ผมทราบบ้าง จะขอบคุณมาก เพื่อผมจะได้จดจำไว้เป็นข้อมูลต่อไปครับ ...

ถ้าคำว่า "หมั้น" หมายถึงการสู่ขออย่างเดียว ข้อนี้ผมคิดว่าคงไม่มีความขัดแย้งหรอกครับเพราะมีหะดีษชัดเจนแล้ว แต่ในทางปฏิบัติทั่วไปในประเทศไทยจนเป็นประเพณีก็คือ การหมั้นอันหมายถึงการนำเงินหรือทองไปมัดจำฝ่ายหญิง จะเป็นขั้นตอนที่สองซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากการสู่ขอแล้ว ซึ่งจุดนี้แหละครับคือสิ่งที่ผมตอบไปว่าไม่เคยเจอในอิสลาม ก็ขอขอบคุณอีกครั้งครับที่มีข้อเสนอแนะมา ทำให้ความเข้าใจในปัญหานี้ชัดเจนยิ่งขึ้น ญะซากุมุ้ลลอฮุ ค็อยร็อนครับ ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น