อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

น้ำดุอามีสุนนะฮหรือไม่





ตามสุนนะฮท่านนบีสอนให้เรารักษาโรค เมื่อมีโรค ดังหะดิษ

لكل داء دواء، فإذا أصيب دواء الداء برأ بإذن الله تعالى

โรคทุกโรคนั้นย่อมมียารักษา เมื่อยานั้นตรงกับโรค เขาจะหายจากโรคด้วยการอนุมัติของอัลลอฮ ซุบฮาน่าฮูว่าตะอาลา - รายงานโดยมุสลิม จากท่านญาบีร
และอีกรายงานหนึ่งกล่าวว่า

إن الله جعل لكل داء دواء فتداووا، ولا تداووا بحرام

แท้จริงอัลลอฮฺทรงกำหนดให้ทุกโรคนั้น มียารักษา ดังนั้น จงเยียวยารักษาเถิด และจงอย่าเยียวยารักษาด้วยสิ่งต้องห้าม(หะรอม)
รายงานโดยอบูดาวูด
และต้องไปหาหมอที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคนั้นๆด้วย ดังหะดิษจากอิบนิมัสอูดว่า ที่ว่า

علمه من علمه وجهله من جهله "

ผู้ที่รู้มันก็จะรู้มัน และผู้ที่ไม่รู้มันก็จะไม่รู้มัน (คือ หมอแต่ละคนย่อมมีความเชี่ยวชาญไม่เหมือนกัน)

أخرجه النسائي وابن ماجه وصححه ابن حبان والحاكم
……..
เพราะฉะนั้นญาตของคุณน่าจะไปหาหมอที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่ ส่วนการอ่านอัลกุรอ่านหรือดุอาเป่าไปในน้ำ ให้ผู้ป่วยดื่มหรืออาบนั้น มีหะดิษดังนี้

عن علي رضي الله عنه قال: لدغت النبي صلى الله عليه وسلم عقرب وهو يصلي، فلما فرغ قال: \"لعن الله العقرب لا تدع مصلياً ولا غيره ثم دعا بماء وملح فجعل يمسح عليها ويقرأ: \"قل يا أيها الكافرون وقل أعوذ برب الفلق وقل أعوذ بربّ الناس\" (أخرجه الطبراني في الصغير وقال الهيثمي في مجمع الزوائد: إسناده حسن وقال الألباني: حديث صحيح (الأحاديث الصحيحة رقم 548

รายงานจากอาลี (เราะฎิยัลอฮุอันฮู)กล่าวว่า แมลงป่องตัวหนึ่ง ได้กัดท่านนบีศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
ในขณะที่ท่านกำลังละหมาด แล้วเมื่อเสร็จจากละหมาดท่านได้กล่าวว่า “ อัลลอฮได้สาปแช่งแมลงป่องตัวนั้น มันไม่ปล่อยแม้แต่คนละหมาดและอื่นจากคนละหมาด หลังจากนั้นท่านได้เรียกให้นำน้ำเกลือมา ลูบบนมัน(บนแผลที่ถูกแมลงป่องกัด)และอ่าน “กุลยาอัยยุฮัลกาฟิรูน ,กุลอะอูซุบิรอ็บบิลฟะลัก และกุลอะอูซุบิรอ็บบิลนาส” - บันทึกโดยอัฏฏอ็บรอนีย์ ในอัศเศาะฆีร และอัลหัยษะมีย์ได้กล่าวไว้ใน มัจญมะอุซซะวาอิด ว่า “สายรายงานของมัน หะซัน(อยู่ในระดับที่ดี) และอัลบานีย์ กล่าวว่า “เป็นหะดิษเศาะเฮียะ” – ดู อัลอะหาดิษเศาะฮีหะฮ หะดิษหมายเลข 548

وعن محمد بن يوسف بن ثابت بن قيس بن شماسي عن أبيه عن جده عن رسول الله صلى الله عليه وسلم أنه دخل على ثابت بن قيس ـ قال أحمد: وهو مريض ـ فقال: اكشف البأس رب الناس عن ثابت بن قيس بن شماس ثم أخذ تراباً من بطحان فجعله في قدح ثم نفث عليه بماء وصبه عليه\" (رواه أبوداود والنسائي وابن حبان وصححه الألباني (السلسلة الصحيحة 1526).

และมีรายงานจากมุหัมหมัด บิน ยูซุบ บิน ษาบิต บิน ก็อยส์ บิน ชะมาสีย์ จากบิดาของเขา จากปู่ของเขาจากท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า ท่านได้เข้าไปยัง ษาบิต บิน กอ็ยส์ – อะหมัดได้กล่าวว่า “ เขากำลังป่วย แล้วท่านรซูลุลลอฮ กล่าวว่า “ ได้โปรดให้ความเจ็บป่วยหายด้วยเถิด โอ้พระผู้อภิบาลแห่งมนุษย์ จาก ษาบิต บิน กอ็ยส์ บิน ชะมาสีย์ หลังจากนั้นท่านได้เอาดินจากบุฏหาน(ชื่อหุบเขาในนครมะดีนะอ) นำมาใส่ในแก้ว ด้วยการละลายน้ำแล้วได้เป่าบนมัน แล้วรินน้ำนั้นเขาให้เขาดื่ม – รายงานโดย ,อัลนะสาอีย์,อิบนุหิบบาน และอัลบานีย์ ระบุว่า เป็นหะดิษเศาะเฮียะ – อัสสิลสิละฮอัศเศาะฮีหะฮ หะดิษหมายเลข 1526
.......
เมื่อพิจารณาจากหะดิษ จะเห็นได้ว่า ท่านนบีได้อ่านอัลกุรอ่านและดุอา ปัดเป่ารักษาผู้ป่วย เพื่อให้อัลลอฮทรงบันดาลให้หายป่วย การกระทำแบบนี้ไม่ใช่วิชาชีพแพทย์ เฉพาะทาง แต่เป็นสุนนะฮนบีที่ทุกคนสามารถทำได้ เพราะเป็นการขอดุอาจากอัลลอฮ ไม่ใช่เฉพาะหมอหมัด เท่านั้นที่ใช้คาถานี้รักษาผู้ป่วยได้
ทุกคนสามารถทำได้โดยเรียนรู้จากสุนนะฮนบี
ในสมัยของท่านนบี ไม่ปรากฏมีเศาะหาบะฮคนใดประกอบอาชีพเป็น “หมอน้ำดุอา” ดังนั้นคุณควรแนะนำให้ญาตรักษาโรคด้วยยาและแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางจะดีกว่า พร้อมกับคุณอ่านดุอาที่นบีสอนขอจากอัลลอฮบันดาลให้ ญาติหายป่วย ด้วย โดยไปจำเป็นต้องไปหาหมอน้ำดุอา

..........
والله أعلم بالصواب
_________________
อ.อะสัน  หมัดอะดั้ม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น