อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558

อิหม่ามมาลิกมี่ทัศนะห้ามอธิบายอายะฮและหะดิษเกี่ยวกับสิฟาตจริงหรือ





ในหนังสือ หลักอะกีดะฮ์แนวทางสะลัฟระหว่างอัลอะชาอิเราะฮ์กับวะฮฺฮาบียะฮ์ หน้า ๕๒
อาจารย์ อารีฟีน แสงวิมาณ อ้างว่า

ท่านอัซซะฮะบีย์(ฮ.ศ 673 –748) กล่าวว่า

وَالْمَحْفُوظُ عَنْ مَالِكٍ - رَحِمَهُ اللَّهُ - رِوَايَةُ الْوَلِيدِ بْنِ مُسْلِمٍ أَنَّهُ سَأَلَهُ عَنْ أَحَادِيثِ الصِّفَاتِ ، فَقَالَ : أَمِرَّهَا كَمَا جَاءَتْ ، بِلَا تَفْسِيرٍ
.
และสายรายงานที่ได้ยิน(หรือได้รู้กัน)จากอิหม่ามมาลิก(ร่อฮิมะหุลลอฮ) คือสายรายงานของอัลวะลิด บิน มุสลิม ที่ว่าแท้จริง เขาได้ถามอิหม่ามมาลิก เกี่ยวกับหะดิษศิฟัต ดังนั้นท่านอิหม่ามมาลิกกล่าวว่า ท่านจงทำการผ่านบรรดาหะดิษเหล่านั้นไปเสมือนได้มีระบุมาดดยไม่ตัฟสีร(อธิบายความหมาย)
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

ชี้แจง
คำว่า
. أَمِرَّهَا كَمَا جَاءَتْ ، بِلَا تَفْسِيرٍ

อาจารย์อารีฟีน แปลว่า ท่านจงทำการผ่านบรรดาหะดิษเหล่านั้นไปเสมือนได้มีระบุมาโดยไม่ตัฟสีร(อธิบายความหมาย)
ความจริง ความหมายของประโยคนี้คือ ปล่อยมันให้ผ่านไปดังสิ่งที่มันได้มีมา โดยไม่มีการอรรถาธิบาย
ส่วนในวงเล็บที่อาจารย์เติมว่า (ไม่อธิบายความหมาย) นั้น อาจารย์ถือวิสาสะ ใส่เข้าไปตามความเห็นตัวเอง เพื่อให้สอดรับกับทัศนะตัวเองที่ว่า ห้ามไม่ให้ไปเข้าก่ายความหมายอายะฮและหะดิษสิฟาต ซึ่งเป็นการบิดเบือนคำพูดอิหม่ามอัซซะฮะบีย”
เพราะคำว่า
بِلَا تَفْسِيرٍ
ไม่ได้หมายถึง การไม่อธิบายความหมาย แต่หมายถึง การอธิบายรูปแบบวิธีการ
ดังหลักฐานต่อไปนี้

قال الوليد بن مسلم: (سألت الأوزاعي ومالك بن أنس وسفيان الثوري والليث بن سعد عن هذه الأحاديث التي فيها الرؤية وغير ذلك، فقالوا: أمضها بلا كيف

อัลวะลีด บิน มุสลิม กล่าวว่า “ข้าพเจ้าได้ถาม อัลเอาซาอีย์ ,มาลิก บิน อะนัส ,ซูฟยาน อัษเษารีย์ และ อัลลัยษ บิน สะอีด เกี่ยวกับบบรดาหะดิษเหล่านี้ ที่รายงานเกี่ยวกับการเห็น(อัลลอฮ) ในมันและอื่นจากดังกล่าวนั้น แล้วพวกเขากล่าวว่า “ จงปล่อยมัน โดยไม่มีการถามถึงรูปแบบวิธีการว่าเป็นอย่างไร – ดู
บันทึกโดย อัดดารุลกุฏนีย์ หน้า ๗๕ หะดิษหมายเลข ๖๔ ,มุคตะศอรอัลอุลูว์ หน้า ๑๔๓ หะดิษหมายเลข ๑๑๖

อบูกอซิม อิสมาอีล อัลอัศบะฮานีย์ (ฮ.ศ ๕๓๕) ได้ถูกถามเกี่ยวกับ บรรดาคุณลักษณะของพระเจ้า แล้วเขากล่าวว่า

مذهب مالك، والثوري، والأوزاعي، والشافعي، وحماد ابن سلمة، وحماد بن زيد، وأحمد، ويحيى بن سعيد القطان، وعبد الرحمن بن مهدي، وإسحاق بن راهويه، أن صفات الله التي وصف بها نفسه، ووصفه بها رسوله، من السمع، والبصر، والوجه، واليدين، وسائر أوصافه، إنما هي على ظاهرها المعروف المشهور، من غير كيف يتوهم فيها، ولا تشبيه ولا تأويل، قال ابن عيينة: «كل شيء وصف الله به نفسه فقراءته تفسيره.

ทัศนะ มาลิก , อัษเษารีย์ ,อัลเอาซาอีย์ ,อัชชาฟิอีย,หัมมาด บิน สะละมะอ ,หัมมาด บิน เซด ,อะหมัด ,ยะหยา บิน สะอีด อัลก็อฏฏอน ,อับดุรเราะหมาน บิน มะฮดีย์ และอิสหาก บิน รอฮะวียะฮ ว่า แท้จริงบรรดาคุณลักษณะของอัลลอฮ ที่พระองค์ทรงอธิบายลักษณะให้แก่ตัวพระองค์ด้วยมัน และรอซูลของพระองค์อธิบายลักษณะแก่พระองค์ด้วยมัน เช่น ทรงได้ยิน ,ทรงเห็น,ใบหน้า ,สองมือ และบรรดาคุณลักษณะอื่นๆของพระองค์ ความจริง มันอยู่บนความหมายที่ปรากฏ(ตามตัวบท)ของมัน ที่เป็นที่รู้จักและเป็นที่แพร่หลาย โดยไม่มีการถามว่าเป็นอย่างไรที่ทำให้เกิดข้อสงสัยในมัน และไม่มีการเปรียบเทียบและไม่มีการตีความ ,อิบอุยัยนะฮกล่าวว่า “ ทุกสิ่งที่อัลลอฮ ทรงอธิบายคุณลักษณะให้แก่ตัวของพระองค์เองด้วยมัน ,การอ่านมันคือ การตัฟสีรมัน)
หลังจากนั้น อัลอัศบะฮานีย์ อธิบายว่า

: أي هو على ظاهره لا يجوز صرفه إلى المجاز بنوع من التأويل

หมายถึง มันอยู่บนความหมายที่ปรากฏของมัน ไม่อนุญาตให้ผันมันไปสู่ความหมายเชิงอุปมา (มะญาซ) ด้วยชนิดใดๆ จากการตีความ – อัลอุลูว ลิลอะลียิลฆอฟฟาร ของอิหม่ามอัซซะฮะบีย์ หน้า ๒๖๓ และ กิตาบุลอะรัช ของเขา เล่ม ๒ หน้า ๓๕๙-๓๖๐
จากที่ผมได้อธิบายทั้งหมด ขอยืนยันว่า การอ้างว่า สะลัฟไม่รู้ความหมายสิฟาตและไม่อธิบายความหมายสิฟาต คือ การอ้างที่บิดเบือนทัศนะของสะลัฟ

والله أعلم بالصواب


มูลนิธิ อนุรักษ์มรดกอิสลาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น