ตอบโดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย
ถาม
สลามุอะลัยกุมฯในกรณีฝ่ายหญิงเป็นคนต่างศาสนิกจะทำการนิกาห์อย่างไรครับ ตอนนี้ผู้หหญิงกำลังศึกษาอิสลามอยู่
ตอบ
การแต่งงานกับสตรีต่างศาสนาหลังจากการ "กล่าวปฏิญาณตน" รับอิสลามของนางแล้ว เงื่อนไขสำคัญถัดมาก็คือ
"ความเชื่อ" ของนางในพระองค์อัลลอฮ์, และ "ปฏิบัติ" ตามในสิ่งที่พระองค์อัลลอฮ์ทรงสั่งใช้และละเว้นสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม
ซึ่งความหมายของเงื่อนไขดังกล่าวนี้ปรากฏอยู่ในอัล-กุรฺอานซูเราะฮ์อัล-บะกอเราะฮ์ อายะฮ์ที่ 221 ...
เพราะพระองค์อัลลอฮ์ทรงห้ามผู้ชายมุสลิมนิกาห์กับสตรีมุชริกโดยมีข้อแม้ว่า حتى يؤمن ซึ่งมีความหมายว่า "จนกว่าพวกนางจะศรัทธา"
.. จะเห็นได้ว่าพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ.มิได้กล่าวว่า حتى يسلمن ซึ่งมีความหมายว่า "จนกว่าพวกนางจะรับอิสลาม"
เพราะความหมายอย่างหลังนี้ก็คือ หากนางกล่าวปฏิญาณตนก็ถือว่านางเป็นมุสลิมแล้วและสามารถนิกาห์กับนางได้ทันที
ซึ่งความหมายนี้แตกต่างกับคำกล่าวของพระองค์ที่ว่า "จนกว่าพวกนางจะศรัทธา" ..
ซึ่งพวกเราก็รู้ดีอยู่แล้วว่าการกล่าวปฏิญาณตนเป็นเพียงรุก่นอิสลาม ไม่ใช่รุก่นอีหม่าน ..
แต่เงื่อนไขของพระองค์คือ จนกว่านางจะศรัทธาหรือมีอีหม่าน ซึ่งความหมายของอีหม่านก็คือ ปากกล่าวปฏิญาณ, จิตใจยอมรับ(เชื่อในพระองค์อัลลอฮ์) และอวัยวะปฏิบัติตาม
เพราะฉะนั้น การที่ผู้หญิงมุชริกศึกษาศาสนาอิสลาม ถือเป็นเพียง "บันไดขั้นต้น" ของอีหม่านของนางเท่านั้น ก็ต้องพิสูจน์กันต่อไปว่า นางเชื่ออัลลอฮ์จริงหรือไม่,
และถ้านางเชื่อจริงมิใช่เชื่อหลอกเพียงเพื่อจะเอาผัวแขก นางก็ต้องพยายามปฏิบัติตามหลักการอิสลามต่อไปตามลำดับครับ แล้วเมื่อนั้นการนิกาห์กับนางก็ไม่มีปัญหาครับ ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น