โดย อาจารย์อาลี เสือสมิง
พินัยกรรม (อัล-วะศิยะฮฺ) ตามหลักศาสนา : หมายถึง การสละกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ซึ่งจะมีผลบังคับภายหลังจากผู้ทำพินัยกรรมเสียชีวิตลงแล้ว เรียกการสละกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนี้ในภาษาอาหรับว่า อัล-วะศิยะฮฺ (اَلْوَصِيَّةُ) เพราะความดีที่ผู้ทำพินัยกรรมได้ทำไว้ในโลกนี้จะส่งผลไปถึงเขาในโลกหน้า
ข้อแตกต่างระหว่างการทำพินัยกรรมกับการยกให้ประเภทอื่น ๆ ก็คือการทำพินัยกรรม (อัล-วะศิยะฮฺ) จะมีผลบังคับภายหลังจากผู้ทำพินัยกรรมเสียชีวิตแล้ว ขณะที่การยกให้ประเภทต่าง ๆ จะมีผลบังคับขณะที่กระทำยังมีชีวิตอยู่
การทำพินัยกรรมเป็นสิ่งที่อนุมัติในศาสนาอิสลาม โดยมีหลักฐานจากอัลกุรฺอาน ดังนี้
كُتِبَ عَلَيْكُمْ إِذَا حَضَرَ أَحَدَكُمُ الْمَوْتُ إِن تَرَكَ خَيْرًا الْوَصِيَّةُ لِلْوَالِدَيْنِ وَالأقْرَبِينَ بِالْمَعْرُوفِ حَقًّا عَلَى الْمُتَّقِينَ
“การทำพินัยกรรมให้แก่บิดามารดาทั้งสองและบรรดาญาติที่ใกล้ชิดโดยชอบธรรมนั้นได้ถูกกำหนดขึ้นเหนือพวกเจ้าแล้ว เมื่อความตายได้มายังคนหนึ่งคนใดในพวกเจ้า หากเขาได้ทิ้งทรัพย์สมบัติไว้ ทั้งนี้เป็นหน้าที่เหนือผู้ยำเกรงทั้งหลาย”
(สูเราะฮฺอัล-บะกอเราะฮฺ อายะฮฺที่ 180)
ทั้งนี้ เมื่ออายะฮฺอัลกุรฺอานที่บัญญัติเกี่ยวกับมรดกได้ถูกประทานลงมา อายะฮฺที่ 180 จากสูเราะฮฺอัล-บะกอเราะฮฺจึงได้ถูกยกเลิก ทำให้การทำพินัยกรรมเป็นสิ่งที่ควรกระทำ (มุสตะหับ) ในแนวทางต่าง ๆ ที่เป็นความดี โดยอยู่ในอัตรา 1/3ของกองมรดก หลังจากใช้จ่ายไปในเรื่องจัดการศพและชำระหนี้สินของผู้ตายเรียบร้อยแล้ว
มีหะดีษรายงานโดยท่านสะอฺด์ อิบนุ อบีวักก็อสฺ (ร.ฎ.) ว่า : ท่านนบี (صلى الله عليه وسلم) ได้มาเยี่ยมฉันเนื่องจากการเจ็บป่วยของฉัน ฉันได้กล่าวว่า :
"يَارَسُوْلَ الله ، أَنَاذُوْمَالٍ وَلاَيَرثُنِى إِلاَّ ابْنَةٌ لِيْ وَاحِدَةٌ ، أَفَأَتَصَدَّقُ بِثُلُثَىْ مَا لِيْ قَالَ : لاَ ، قُلْتُ ، أَفَأتَصَدَّقُ بِشَطْرِه ، قَالَ : لاَ ، قُلْتُ : أَفَأَتَصَدَّقُ بِثُلُثِه قَالَ : اَلثُّلُثُ ، اَلثُّلُثُ كَثِيْرٌ ، إِنًّكَ إِنْ تَذَرَوَرَثَتَكَ أَغْنِيَاءَ خَيْرٌ مِنْ أَنْ تَذَرَهُمْ عَالَةً يَتَكفَّفُوْنَ النَّاسَ"
“โอ้ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ฉันเป็นผู้มีทรัพย์สิน และไม่มีผู้ใดสืบมรดกฉัน นอกจากบุตรสาวของฉันเพียงคนเดียวเท่านั้น ฉันจะบริจาคทาน 2/3จากทรัพย์สินของฉันได้หรือไม่? ท่านนบี (صلى الله عليه وسلم) ตอบว่า : “ไม่ได้” ฉันกล่าวว่า : ฉันจะบริจาคทานครึ่งหนึ่งของทรัพย์สินนั้น
ท่านนบี (صلى الله عليه وسلم) ตอบว่า : “ไม่ได้” ฉันกล่าวว่า : ฉันจะบริจาค 1/3ของทรัพย์สินนั้น ท่านนบี (صلى الله عليه وسلم) กล่าวว่า หนึ่งในสาม, หนึ่งในสามก็มากแล้ว เพราะแท้จริงการที่ท่านทิ้งทายาททั้งหลายของท่านในสภาพที่พวกเขามีอันจะกิน (ร่ำรวย) ย่อมดีกว่าการที่ท่านทิ้งให้พวกเขาเป็นผู้ขัดสนที่แบมือขอผู้คน”
(รายงานโดยบุคอรี – 2591 - / มุสลิม – 1628 - )
องค์ประกอบของการทำพินัยกรรม
การทำพินัยกรรมนั้นจะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
ผู้ทำพินัยกรรม
ผู้รับพินัยกรรม
ทรัพย์สินที่จะทำพินัยกรรม
การเสนอและการตอบรับ
เงื่อนไขในการทำพินัยกรรม
การทำพินัยกรรมนั้นจะต้องมีเงื่อนไข ดังนี้
ผู้ทำพินัยกรรมต้องบรรลุศาสนภาวะ มีสติสัมปชัญญะและมีอิสระในการทำพินัยกรรม
ผู้รับพินัยกรรมจะต้องมิใช่เป็นผู้สืบมรดกจากผู้ทำพินัยกรรม และมิใช่ผู้ที่สังหารผู้ทำพินัยกรรม
ทรัพย์สินที่จะทำพินัยกรรมนั้น จะต้องระบุชัดเจน และไม่เป็นที่ต้องห้ามในศาสนาอิสลาม
การเสนอและการตอบรับนั้น จะต้องเป็นถ้อยคำที่เข้าใจได้ว่าผู้ทำพินัยกรรมจะมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด หลังจากที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สิ้นชีวิต
อนึ่งตามหลักศาสนา อนุญาตให้ทำพินัยกรรมได้ไม่เกินหนึ่งในสาม (1/3) ของทรัพย์สินทั้งหมด ดังนั้นหากผู้ทำพินัยกรรมได้ทำพินัยกรรมมากกว่าหนึ่งในสามของทรัพย์สินทั้งหมด ย่อมถือว่าการทำพินัยกรรมนั้นเป็นโมฆะ ยกเว้นในกรณีที่ผู้มีสิทธิสืบมรดกยินยอมให้ โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
การยินยอมนั้นเกิดขึ้นหลังจากผู้ทำพินัยกรรมได้เสียชีวิตแล้ว
ผู้ยินยอมนั้นจะต้องเป็นผู้บรรลุศาสนภาวะและมีสติสัมปชัญญะ
การทำพินัยกรรมที่เป็นโมฆะ
สิ่งที่จะทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะ มีดังต่อไปนี้
ผู้ทำพินัยกรรมได้เปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกพินัยกรรมก่อนเสียชีวิต
ผู้รับพินัยกรรมเสียชีวิตก่อนผู้ทำพินัยกรรม
ผู้รับพินัยกรรมได้สังหารหรือมีส่วนร่วมในการสังหารผู้ทำพินัยกรรม
ผู้รับพินัยกรรมได้คืนสิทธิของตนให้แก่ผู้มีสิทธิสืบมรดก
ทรัพย์สินที่ทำพินัยกรรมเกิดชำรุดเสียหาย
การทำพินัยกรรมนั้นเป็นการทำให้แก่ผู้มีสิทธิสืบมรดก เนื่องจากมีหะดีษระบุว่า "إِنَّ الله أَعْطى كُلَّ ذِيْ حَقٍّ حَقَّه ، فَلاَ وَصِيَّةَ لِوَارِثٍ" “แท้จริงอัลลอฮฺได้ทรงประทานสิทธิแก่ผู้มีสิทธิทุกคนแล้ว (ในเรื่องมรดก) ดังนั้นย่อมไม่มีการทำพินัยกรรมให้แก่ผู้มีสิทธิสืบมรดก (อีก)” (รายงานโดย อัตติรมีซี-2141-/อบูดาวูด-2870)
พินัยกรรม (อัล-วะศิยะฮฺ) ตามหลักศาสนา : หมายถึง การสละกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ซึ่งจะมีผลบังคับภายหลังจากผู้ทำพินัยกรรมเสียชีวิตลงแล้ว เรียกการสละกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนี้ในภาษาอาหรับว่า อัล-วะศิยะฮฺ (اَلْوَصِيَّةُ) เพราะความดีที่ผู้ทำพินัยกรรมได้ทำไว้ในโลกนี้จะส่งผลไปถึงเขาในโลกหน้า
ข้อแตกต่างระหว่างการทำพินัยกรรมกับการยกให้ประเภทอื่น ๆ ก็คือการทำพินัยกรรม (อัล-วะศิยะฮฺ) จะมีผลบังคับภายหลังจากผู้ทำพินัยกรรมเสียชีวิตแล้ว ขณะที่การยกให้ประเภทต่าง ๆ จะมีผลบังคับขณะที่กระทำยังมีชีวิตอยู่
การทำพินัยกรรมเป็นสิ่งที่อนุมัติในศาสนาอิสลาม โดยมีหลักฐานจากอัลกุรฺอาน ดังนี้
كُتِبَ عَلَيْكُمْ إِذَا حَضَرَ أَحَدَكُمُ الْمَوْتُ إِن تَرَكَ خَيْرًا الْوَصِيَّةُ لِلْوَالِدَيْنِ وَالأقْرَبِينَ بِالْمَعْرُوفِ حَقًّا عَلَى الْمُتَّقِينَ
“การทำพินัยกรรมให้แก่บิดามารดาทั้งสองและบรรดาญาติที่ใกล้ชิดโดยชอบธรรมนั้นได้ถูกกำหนดขึ้นเหนือพวกเจ้าแล้ว เมื่อความตายได้มายังคนหนึ่งคนใดในพวกเจ้า หากเขาได้ทิ้งทรัพย์สมบัติไว้ ทั้งนี้เป็นหน้าที่เหนือผู้ยำเกรงทั้งหลาย”
(สูเราะฮฺอัล-บะกอเราะฮฺ อายะฮฺที่ 180)
ทั้งนี้ เมื่ออายะฮฺอัลกุรฺอานที่บัญญัติเกี่ยวกับมรดกได้ถูกประทานลงมา อายะฮฺที่ 180 จากสูเราะฮฺอัล-บะกอเราะฮฺจึงได้ถูกยกเลิก ทำให้การทำพินัยกรรมเป็นสิ่งที่ควรกระทำ (มุสตะหับ) ในแนวทางต่าง ๆ ที่เป็นความดี โดยอยู่ในอัตรา 1/3ของกองมรดก หลังจากใช้จ่ายไปในเรื่องจัดการศพและชำระหนี้สินของผู้ตายเรียบร้อยแล้ว
มีหะดีษรายงานโดยท่านสะอฺด์ อิบนุ อบีวักก็อสฺ (ร.ฎ.) ว่า : ท่านนบี (صلى الله عليه وسلم) ได้มาเยี่ยมฉันเนื่องจากการเจ็บป่วยของฉัน ฉันได้กล่าวว่า :
"يَارَسُوْلَ الله ، أَنَاذُوْمَالٍ وَلاَيَرثُنِى إِلاَّ ابْنَةٌ لِيْ وَاحِدَةٌ ، أَفَأَتَصَدَّقُ بِثُلُثَىْ مَا لِيْ قَالَ : لاَ ، قُلْتُ ، أَفَأتَصَدَّقُ بِشَطْرِه ، قَالَ : لاَ ، قُلْتُ : أَفَأَتَصَدَّقُ بِثُلُثِه قَالَ : اَلثُّلُثُ ، اَلثُّلُثُ كَثِيْرٌ ، إِنًّكَ إِنْ تَذَرَوَرَثَتَكَ أَغْنِيَاءَ خَيْرٌ مِنْ أَنْ تَذَرَهُمْ عَالَةً يَتَكفَّفُوْنَ النَّاسَ"
“โอ้ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ฉันเป็นผู้มีทรัพย์สิน และไม่มีผู้ใดสืบมรดกฉัน นอกจากบุตรสาวของฉันเพียงคนเดียวเท่านั้น ฉันจะบริจาคทาน 2/3จากทรัพย์สินของฉันได้หรือไม่? ท่านนบี (صلى الله عليه وسلم) ตอบว่า : “ไม่ได้” ฉันกล่าวว่า : ฉันจะบริจาคทานครึ่งหนึ่งของทรัพย์สินนั้น
ท่านนบี (صلى الله عليه وسلم) ตอบว่า : “ไม่ได้” ฉันกล่าวว่า : ฉันจะบริจาค 1/3ของทรัพย์สินนั้น ท่านนบี (صلى الله عليه وسلم) กล่าวว่า หนึ่งในสาม, หนึ่งในสามก็มากแล้ว เพราะแท้จริงการที่ท่านทิ้งทายาททั้งหลายของท่านในสภาพที่พวกเขามีอันจะกิน (ร่ำรวย) ย่อมดีกว่าการที่ท่านทิ้งให้พวกเขาเป็นผู้ขัดสนที่แบมือขอผู้คน”
(รายงานโดยบุคอรี – 2591 - / มุสลิม – 1628 - )
องค์ประกอบของการทำพินัยกรรม
การทำพินัยกรรมนั้นจะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
ผู้ทำพินัยกรรม
ผู้รับพินัยกรรม
ทรัพย์สินที่จะทำพินัยกรรม
การเสนอและการตอบรับ
เงื่อนไขในการทำพินัยกรรม
การทำพินัยกรรมนั้นจะต้องมีเงื่อนไข ดังนี้
ผู้ทำพินัยกรรมต้องบรรลุศาสนภาวะ มีสติสัมปชัญญะและมีอิสระในการทำพินัยกรรม
ผู้รับพินัยกรรมจะต้องมิใช่เป็นผู้สืบมรดกจากผู้ทำพินัยกรรม และมิใช่ผู้ที่สังหารผู้ทำพินัยกรรม
ทรัพย์สินที่จะทำพินัยกรรมนั้น จะต้องระบุชัดเจน และไม่เป็นที่ต้องห้ามในศาสนาอิสลาม
การเสนอและการตอบรับนั้น จะต้องเป็นถ้อยคำที่เข้าใจได้ว่าผู้ทำพินัยกรรมจะมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด หลังจากที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สิ้นชีวิต
อนึ่งตามหลักศาสนา อนุญาตให้ทำพินัยกรรมได้ไม่เกินหนึ่งในสาม (1/3) ของทรัพย์สินทั้งหมด ดังนั้นหากผู้ทำพินัยกรรมได้ทำพินัยกรรมมากกว่าหนึ่งในสามของทรัพย์สินทั้งหมด ย่อมถือว่าการทำพินัยกรรมนั้นเป็นโมฆะ ยกเว้นในกรณีที่ผู้มีสิทธิสืบมรดกยินยอมให้ โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
การยินยอมนั้นเกิดขึ้นหลังจากผู้ทำพินัยกรรมได้เสียชีวิตแล้ว
ผู้ยินยอมนั้นจะต้องเป็นผู้บรรลุศาสนภาวะและมีสติสัมปชัญญะ
การทำพินัยกรรมที่เป็นโมฆะ
สิ่งที่จะทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะ มีดังต่อไปนี้
ผู้ทำพินัยกรรมได้เปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกพินัยกรรมก่อนเสียชีวิต
ผู้รับพินัยกรรมเสียชีวิตก่อนผู้ทำพินัยกรรม
ผู้รับพินัยกรรมได้สังหารหรือมีส่วนร่วมในการสังหารผู้ทำพินัยกรรม
ผู้รับพินัยกรรมได้คืนสิทธิของตนให้แก่ผู้มีสิทธิสืบมรดก
ทรัพย์สินที่ทำพินัยกรรมเกิดชำรุดเสียหาย
การทำพินัยกรรมนั้นเป็นการทำให้แก่ผู้มีสิทธิสืบมรดก เนื่องจากมีหะดีษระบุว่า "إِنَّ الله أَعْطى كُلَّ ذِيْ حَقٍّ حَقَّه ، فَلاَ وَصِيَّةَ لِوَارِثٍ" “แท้จริงอัลลอฮฺได้ทรงประทานสิทธิแก่ผู้มีสิทธิทุกคนแล้ว (ในเรื่องมรดก) ดังนั้นย่อมไม่มีการทำพินัยกรรมให้แก่ผู้มีสิทธิสืบมรดก (อีก)” (รายงานโดย อัตติรมีซี-2141-/อบูดาวูด-2870)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น