อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ฝึกออกเสียงพยัญชนะภาษาอาหรับตามแหล่งออกเสียง





ศึกษาตัจวิด กฎกติกาการการอ่านอัลกุรอานวันละนิด

กีรออาตี : ออกเสียงตามมัครอจ

ฝึกออกเสียงพยัญชนะตามแหล่งออกเสียง

(1)  พยัญชนะ ذ (ซาล, dhāl), ز (ซาย, zayn / zāy /Zaa)และ ظ (ซออ์, ẓā’ / Zaa)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ز ปลายลิ้นอยู่ใน พ่นลมออกผ่านไรฟัน เสียงมันจะสั่น อย่าออกเสียงเหมือนตัว س (ซีน) หรือ ตัว ซ.โซ้ ز ไม่มีเสียงพยัญชนะเทียบในภาษาไทย ถ้าเทียบกับภาษาอังกฤษ ก็คือตัว Z

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ذ อ่านออกเสียงเหมือนตัว ز เพียงปลายลิ้นอยู่นอก เอาปลายลิ้นไปแตะปลายฟันหน้า

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ظ อ่านออกเสียงเหมือนตัว ز เพียงแต่ต้องพอกปาก มีลักษณะเสียงหนา





(2)  พยัญชนะ ث (ษาอ์, thā’ /thaa), س (ซีน,sīn / seen)และ ص (ศอด, ṣād / saad)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ س ปลายลิ้นอยู่ใน พ่นลมออกผ่านลิ้น เทียบเสียงพยัญชนะภาษาไทยคือ ตัวอักษร ซ.โซ้ ถ้าเจอกับสระฟัตฮะฮฺ หรือ สระอะ อ่านว่า ซา

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ث อ่านออกเสียงเหมือนตัว س เพียงปลายลิ้นอยู่นอก (ปลายลิ้นแตะกับฟันหน้า) และพ่นลมออกมาผ่านลิ้น

และการอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ص อ่านออกเสียงเหมือนตัว س เพียงแต่ต้องพอกปาก มีลักษณะเสียงหนา (การทำให้เสียงหน้านั้นคือการพอกปากให้เยอะๆ)







(3)   พยัญชนะ د (ดาล, dāl / daal), และ ض (ฎอด, ḍād / daad)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ د ปลายลิ้นอยู่ที่เพดาน และพยัญชนะใดเจอ د ตาย จะต้องมีเสียงสะท้อนตัว د ด้วย เทียบเสียงพยัญชนะภาษาไทยคือ ตัวอักษร ด.เด็ก ถ้าเจอกับสระฟัตฮะฮฺ หรือ สระอา อ่านว่า ดา

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ض อ่านออกเสียงเหมือนตัว د เพียงแต่ต้องพองปาก ริมฝีปากไม่ปิด และและพยัญชนะใดเจอ ض ตาย จะไม่มีเสียงสะท้อน

(4)  พยัญชนะ ت (ตาอ์, tā’/ taa), และ ط (ฏออ์, ṭā’ / taa)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ت ปลายลิ้นแตะโคนฟัน และพ่นลม เทียบเสียงพยัญชนะภาษาไทยคือ ตัวอักษร ต.เต่า ถ้าเจอกับสระฟัตฮะฮฺ หรือ สระอา อ่านว่า ตา และพยัญชนะใดเจอ ت ตาย จะมีลักษณะพ่นลม

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ط อ่านออกเสียงเหมือนตัว ت เพียงแต่ต้องพองปาก ให้มีเสียงหนา และและพยัญชนะ ط เจอสระตาย หรือสูกูน จะมีเสียงสะท้อนของตัว ط ด้วย







(5)  พยัญชนะ ن (นูน,nūn/ ืnoon), ل (ลาม, tā’/ laam) และ ر (รออ์, rā’ / raa)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ن ลมออกที่ปลายลิ้น และหางลมอยู่ที่จมูก เทียบเสียงพยัญชนะภาษาไทยคือ ตัวอักษร น.หนู ถ้าเจอกับสระฟัตฮะฮฺ หรือ สระอา อ่านว่า นา และพยัญชนะ ن เจอสระตาย หรือสูกูน ปลายลิ้นจะจดกับโคนฟันหน้า อย่าไปจดกับปลายฟัน จะไปสลับกับตัว ل

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ل อ่านออกเสียงเหมือนตัว ن เพียงแต่หางลมอยู่ที่ลิ้น ไม่ใช่ที่จมูก และพยัญชนะ ل เจอสระตาย หรือสูกูน ปลายลิ้นจะจดกับปลายฟัน

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ر ปลายลิ้นจะรัว (ไม่ต้องรัวมาก เพียงครั้งเดียว) และพองปากเมื่อมีฟัตหะฮฺ หรือฎ็อมมะฮฺ (เพื่อจะให้เสียงหนา) เทียบเสียงพยัญชนะภาษาไทยคือ ตัวอักษร ร.เรือ ถ้าเจอกับสระฟัตฮะฮฺ หรือ สระอา อ่านว่า รอ

(6) พยัญชนะ ك (กัฟ, kāf) และ ق (กอฟ, qāf)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ك ลมออกที่โคนลิ้น และพ่นลม เทียบพยัญชะภาษาไทย คือเสียง ก.ไก่ ถ้าเจอกับสระฟัตฮะฮฺ หรือ สระอะ อ่านว่า "กา" เมื่อเจอกับ ك ตาย ต้องอ่านพ่นลมออกมาด้วย

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ق จะยึดเสียงตัว ك เป็นหลัก คืออ่านลมออกที่โคนลิ้น และพ่นลม แต่ต้องพองปาก เพราะมีลักษณะเสียงหนา เมื่อเจอกับ ق ตาย จะต้องอ่านออกเสียงสะท้อน และเสียงหนาด้วย





(7) พยัญชนะ ش (ชีน, shīn)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ش ลมจะออกมากลางลิ้น ลมออกก่อนเสียง และพ่นลมด้วย เสียงตัว ش ไม่มีในภาษาไทย และไม่มีในภาษาอักกฤษด้วย ต้องออกเสียงให้ถูก ไม่ใช่เสียง ช.ช้าง ถ้าออกเสียง ช.ช้าง จะถือว่าผิด

(8)  พยัญชนะ ي(ยะ, ยา,yā’) ج(ญีม ,jīm)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ي (ย.ยักษ์) ลมจากกลางลิ้น ไม่กดลิ้น ปากฉีก (ปากเยื่องมาด้านข้าง) ถ้าเจอกับสระฟัตฮะฮฺ หรือ สระอะ อ่านว่า ยา

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ج เหมือน ي แต่ต้องกดลิ้น มีเสียงสะท้อน เมื่อ ج ตาย เสียงตัว ج ไม่มีในภาษาไทย






(9) พยัญชนะ غ (ฆอยนฺ ไม่ใช่เฆน, ghayn / ghayn), และ خ (คออ์, khā’ / khaa)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ غ มีลักษณะน้ำเดือด พองปาก ไม่มีตัวเทียบในภาษาไทย เมื่อเจอ غ ตายจะไม่พ่นลมออกมา

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ خ อ่านออกเสียงเหมือนตัว غ คือ น้ำเดือด พองปาก แต่ให้พ่นลมด้วย คล้าย ค.ควย ในภาษาไทย เสียง خ เกิดจากบริเวณลำคอ แต่อย่าลึกเกินไป เมื่อเจอ خ ตายจะต้องพ่นลมออกมาด้วย

(10) พยัญชนะ ع (อัยนฺ , ‘ayn / ayn), และ ﺀ (ฮัมซะฮฺ, hamza)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ع ตำแหน่งออกเสียงตัว ع จะอยู่ในตำแหน่งกลางลำคอ เสียงมันจะนุ่ม เทียบกับภาษาไทย คือ อ.อ่าง ถ้าเจอกับสระฟัตฮะฮฺ หรือ สระอา อ่านว่า อา

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ﺀ อ่านออกเสียงเหมือนตัว ع แต่เสียงแข็ง ต้องอ้าปากกว้างไว้ ไม่สามารถเทียบได้กับเสียงในภาษาไทย เสียง ﺀ เกิดจากบริเวณส่วนลึกของลำคอ

(11) พยัญชนะ ح (หาออ์ (เล็ก), ḥā’ / haa), และ ه (ฮาอ์ (ใหญ่), hā’ / ha)

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ح ตำแหน่งออกเสียงตัว ح จะอยู่ในตำแหน่งกลางลำคอ มีลักษณะการพ่นลม เสียงจะบางกว่าเสียงตัว ه

การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ه อ่านออกเสียงเหมือนตัว ح คือมีลักษณะพ่นลม แต่ต้องอ่าปากกว้างๆ ตำแหน่งออกเสียงตัว ه จะอยู่ในตำแหน่งบริเวณส่วนลึกของลำคอ

(12) พยัญชนะที่มาจากริบฝีปาก(ชาฟาวี) ได้แก่ พยัญชนะ ب (บาอ์, bā’/ baa), و (วาว , wāw / wow), م (มีม, mīm / meem), และ ف (ฟาอ์ , fā’ / faa)

-การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ب มีลักษณะปิดและเปิดปาก มีเสียงสะท้อน (เมื่อ ب ตาย)

-การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ و มีลักษณริมฝีปากแหลมเสมอ

-การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ م มีลักษณะเปิดและปิดปาก (ตรงข้ามกับตัว ب) มีเสี่ยงหน่วง (เสียงตัวมีมมีลักษณะขึ้นไปยังจมูก)

-การอ่านออกเสียงตัวพยัญชนะ ف มีลักษณะฟันบนแตะริมฝีปากล่าง และพ่นลม

(13) พยัญชนะที่มาจากโพรงจมูก(ค็อยชูมียฺ) คือมีเสียงหน่วงได้แก่ พยัญชนะ ن (นูน,nūn/ noon) และ م (มีม, mīm / meem)

การหน่วงเสียง ก็คือ มันจะมีลมขึ้นไปที่โพรงจมูก

(14)  เสียงสระที่ออกมาจากโพรงปาก(เญาฟียฺ) ได้แก่ พยัญชนะ ا (อลิฟ,’alif/ ืalif), و (วาว , wāw / wow) , และ ي(ยะ, ยา,yā’)

ในกรณีตัว ا, و , ي กลายเป็นเสียงสระ กรณีที่อยู่ท้ายพยัญชนะตัวอื่น คือ จะออกเสียง อา, อี, อู มีแหลงกำเนิดมาจากโพรงปาก










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น