อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558

อิสลามห้ามทุกวิถีทางที่นำสู่การตั้งภาคี(ชิริก)






ศาสนาอิสลามได้วางมาตราการต่างๆไว้อย่างมากมาย เพื่อป้องกันการทำชิริก(ตั้งภาคี)มิให้เกิดขึ้น ดังนั้นอิสลามจึงห้ามทุกวิถีทางที่จะนำไปสู่การทำชิริก ไม่ว่าจะเป็นด้วยคำพูด การกระทำ ความเชื่อมั่นที่จะทำให้หมดความสมบูรณ์ของหลักการให้เอกภาพแด่อัลลอฮ์ ซึ่งได้แก่

1. การสาบานต่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮ์ดังทีท่านนะบีมุฮัมมัด ได้กล่าวว่า

(مَنْ حَلَفَ بِغَيْرِ اللَّهِ فَقَدْ كَفَرَ أَوْ أَشْرَكَ) الترمذى واحمد

“ผู้ใดที่ได้สาบานต่อสิ่งอื่นจากอัลลอฮ์ แน่นอน เขาได้ปฏิเสธศรัทธาแล้ว และเขาได้ตั้งภาคีแล้ว “

(บันทึกโดยอัตติรมีซีย์ และอะหมัด)

2. คนที่พูดกับผู้อื่นว่า “มาชาอัลลอฮ์วะชิตะ” ดังเช่นที่มีในฮะดีษ

มีชายคนหนึ่งได้พูดกับท่านนะบีมุฮัมมัด ว่า (ماشاءالله وشئت)

ท่านนะบี จึงได้กล่าวว่า (أَجَعَلْتَنِي وَاللَّهَ عَدْلاً بَلْ مَا شَاءَ اللَّهُ وَحْدَهُ) رواه أحمد

“เจ้าจะเอาฉันเป็นผู้เสมอเหมือนอัลลอฮ์กระนั้นหรือ? หาเช่นนั้นไม่ (จงพูดว่า) มาชาอัลลอฮ์ เพียงผู้เดียวเท่านั้น ไม่ต้องบอกว่า ชิตะ”


และเช่นเดียวกันในคำพูดที่ว่า أنابالله وبك ฉันอยู่กับอัลลอฮ์และกับท่าน هذامن الله ومنك สิ่งนี้จากอัลลอฮ์และจากท่าน مالى إلا ألله وأنت ไม่มีสำหรับฉันนอกจากอัลลอฮ์และท่าน أنامتوكل على الله وعليك ฉันมอบหมายต่ออัลออฮ์และท่านหรืออื่นๆ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับอัลลอฮ์ เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น

3. ห้ามห้อยหรือสวมใส่เครื่องรางของขลัง และมีความเชื่อมั่นว่า สิ่งเหล่านั้นป้องกันภัยอันตราย หรือรักษาให้หายได้ ดังที่ท่านนะบี ได้กล่าวว่า

(مَنْ عَلَّقَ تَمِيمَةً فَقَدْ أَشْرَكَ) رواه أحمدوالحاكم

“ใครห้อยหรือสวมใส่เครื่องรางของขลังใดๆ แน่นอนเขาได้ทำชิริกแล้ว”

(บันทึกโดยอะหมัดและฮากิม)

4. ห้ามเชื่อถือโชคลาง จากจำพวกนก ส่วนหนึ่งของวัน ส่วนหนึ่งของเวลา ส่วนหนึ่งของตัวเลข บางคน บางสถานที่ หรืออื่นๆ แท้จริงท่านนะบี ได้กล่าวว่า

(أًلطِّيَرَةُشِرْكٌ) أبوداودوالترمذى

“การเชื่อถือโชคลางนั้นเป็น ชิริก”

(บันทึกโดยอบูดาวูดและติรมีซีย์)

5. ห้ามเอากุบูรเป็นมัสยิด ปฏิบัติละหมาด หรือปลูกสร้างอาคารมัสยิดบนกุบูร

ดังเช่นที่ท่านนะบี ได้กล่าวว่า

لُعِنَ الْيَهُودَ وَالنَّصَارَى اتَّخَذُوا قُبُورَ أَنْبِيَائِهِمْ وَصَالِحِيهِمْ مَسَاجِدَ))

“พวกยิวและพวกคริสต์ได้โดนสาปแช่ง ซึ่งพวกเขาได้ยึดเอาสุสานของบรรดานะบีและคนศอและฮ์ ของพวกเขาเป็นมัสยิดต่างๆ”

(บันทึกโดยบุคอรีย์และมุสลิม)

6. ห้ามมีความคลั่งไคล้จนเกินเลย ในการยกย่องท่านนะบี จนเกินขอบเขตสถานะของท่าน

เช่นที่ท่านนะบี ได้กล่าวไว้ว่า

(لاَتطرونى كماأطرت النصارى عيس بن مريم فإنما أنا عبد فقولوا عبد الله ورسوله) رواه البخارى

“พวกท่านอย่าได้ทำเกินเลย คลั่งไคล้ฉัน ดังเช่นที่พวกคริสต์ทำเกินเลยกับอีซา บุตรของนางมัรยัม

แท้จริงแล้วฉันคือบ่าว ดังนั้นพวกท่านจงเรียกฉันว่า บ่าวของอัลลอฮ์ และศาสนทูตของพระองค์”

7. การทำตามที่ได้บนบานเอาไว้ ณ สถานที่ ซึ่งเคยมีการบนบาน ต่อสิ่งอื่นจากอัลลอฮ์

ดังที่มีในฮะดีษของซาบิร บินเฎาะฮฺฮาก ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ::

“มีชายผู้หนึ่งได้บนว่าจะเชือดอูฐหนึ่งตัว ที่บูวานะฮ์ (ชื่อที่แห่งหนึ่งใกล้นครมักกะฮฺ) ดังนั้นเขาจึงถามท่านนะบี (ต้องทำหรือไม่)

ท่านถามว่า ตรงนั้นมีสิ่งสักการะของพวกญาฮิลียะฮ์ ถูกเคารพบูชาอยู่หรือไม่?

พวกเราตอบว่า ไม่มี

ท่านถามอีกว่า ตรงนั้นเป็นสถานที่ชุมนุมเทศกาลของพวกเขาหรือเปล่า?

พวกเหล่านั้นตอบว่า ไม่

ดังนั้นท่านร่อซูล ได้กล่าวว่า (أَوْفِ بِنَذْرِكَ فَإِنَّهُ لاَ وَفَاءَ لِنَذْرٍ فِي مَعْصِيَةِ اللَّهِ وَلاَ فِيمَا لاَ يَمْلِكُ ابْنُ آدَم) رواه أبوداود

“ท่านจงทำตามที่ท่านได้บนไว้ เพราะว่าไม่มีการทำตามการบนที่เป็นการฝ่าฝืนอัลลอฮ์ หรือสิ่งที่มนุษย์มิได้ครอบครอง”

(บันทึกโดยอบูดาวูด)


และอื่นๆจากนั้นอีกมากมายที่จะนำมาสู่การทำชิริก (ตั้งภาคี)


....................................
อ.อับดุลฆอนี บุญมาเลิศ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น