ในหนังสือความประเสริฐของคืนนิสฟุชะอบาน หน้า 7 ของ โต๊ะครูท่านหนึ่ง ระบุว่า
ทัศนะของสะละฟุศศอลิห์เกี่ยวกับคืนนิศฟุชะอฺบาน
ท่านมุฮัมมัด บิน อิสหาก (เสียชีวิต ฮ.ศ. 227) ได้กล่าวบันทึกประวัติศาสตร์ในยุคสะลัฟไว้ความว่า
ذِكْرُ عَمَلِ أَهْلِ مَكَّةَ لَيْلَةَ النِّصْفِ مِنْ شَعْبَانَ وَاجْتِهَادِهِمْ فِيهَا لِفَضْلِهَا وَأَهْلُ مَكَّةَ فِيمَا مَضَى إِلَى الْيَوْمِ إِذَا كَانَ لَيْلَةُ النِّصْفِ مِنْ شَعْبَانَ، خَرَجَ عَامَّةُ الرِّجَالِ وَالنِّسَاءِ إِلَى الْمَسْجِدِ، فَصَلَّوْا، وَطَافُوا، وَأَحْيَوْا لَيْلَتَهُمْ حَتَّى الصَّبَاحَ بِالْقِرَاءَةِ فِي الْمَسْجِدِ الْحَرَامِ، حَتَّى يَخْتِمُوا الْقُرْآنَ كُلَّهُ، وَيُصَلُّوا، وَمَنْ صَلَّى مِنْهُمْ تِلْكَ اللَّيْلَةَ مِائَةَ رَكْعَةٍ يَقْرَأُ فِي كُلِّ رَكْعَةٍ بِالْحَمْدُ، وَقُلْ هُوَ اللهُ أَحَدَ عَشْرَ مَرَّاتٍ، وَأَخَذُوا مِنْ مَاءِ زَمْزَمَ تِلْكَ اللَّيْلَةَ، فَشَرِبُوهُ، وَاغْتَسَلُوا بِهِ، وَخَبَّؤُوهُ عِنْدَهُمْ لِلْمَرْضَى، يَبْتَغُونَ بِذَلِكَ الْبَرَكَةَ فِي هَذِهِ اللَّيْلَةِ، وَيُرْوَى فِيهِ أَحَادِيثُ كَثِيرَةٌ
“กล่าวถึงการปฏิบัติของชาวมักกะฮ์ในคืนนิศฟุชะอฺบานและการที่พวกเขาทุ่มเทให้แก่ความประเสริฐของคืนนั้น ชาวมักกะฮ์ตั้งแต่อดีตจนถึงวันนี้ (หมายถึงในยุค ฮ.ศ. 200) เมื่อถึงคืนนิศฟุชะอฺบาน ผู้คนทั่วไปทั้งชายและหญิงต่างออกไปที่มัสยิดอัลฮะรอม แล้วพวกเขาก็ทำการละหมาด เฏาะวาฟ ทำการฟื้นฟูค่ำคืนของพวกเขาด้วยการอ่านอัลกุรอ่านจบทั้งหมดในมัสยิดฮะรอมถึงยามรุ่งสาง แล้วพวกเขาก็ทำการละหมาด และผู้ใดจากพวกเขาได้ทำการละหมาดในค่ำคืนนั้น 100 ร็อกอะฮ์ และอ่านซูเราะฮ์อัลฮัมด์(ฟาติฮะฮ์)ในทุกร็อกอะฮ์พร้อมกับกุลฮุวัลเลาะฮ์ 10 ครั้ง และเอาน้ำซัมซัมในคืนนั้นมาดื่มและอาบ และได้เก็บน้ำนั้นไว้ให้แก่บรรดาผู้ป่วย พวกเขากระทำสิ่งดังกล่าวเพื่อแสวงหาบะรอกะฮ์ในค่ำคืนนี้และมีหะดีษมากมายที่ถูกรายงานเกี่ยวกับสิ่งดังกล่าว”ดู อะบูอับดิลลาฮ์ มุฮัมมัด บิน อิสหาก บิน อับบาส อัลมักกีย์ อัลฟากิฮีย์, อักฺบารมักกะฮ์ ฟี ก่อดีมิฮี วะ ฮะดีษิฮ์, ตะห์กีก: อับดุลมาลิก อับดิลลาฮ์ ฮุดัยช์ (เบรูต: ดารุ คิฎร์, พิมพ์ครั้งที่ 2, ฮ.ศ. 1414), เล่ม 3, หน้า 84.
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>.
ขอชีแจงดังนี้
อิหม่ามนะวาวีย์ (ร.ฮ) กล่าวว่า
الصَّلَاةُ الْمَعْرُوفَةُ بِصَلَاةِ الرَّغَائِبِ ، وَهِيَ ثِنْتَا عَشْرَةَ رَكْعَةً تُصَلَّى بَيْنَ الْمَغْرِبِ وَالْعِشَاءِ لَيْلَةَ أَوَّلِ جُمُعَةٍ فِي رَجَبٍ ، وَصَلَاةُ لَيْلَةِ نِصْفِ شَعْبَانَ مِائَةُ رَكْعَةٍ وَهَاتَانِ الصَّلَاتَانِ بِدْعَتَانِ وَمُنْكَرَانِ قَبِيحَتَانِ وَلَا يُغْتَرُّ بِذَكَرِهِمَا فِي كِتَابِ قُوتِ الْقُلُوبِ ، وَإِحْيَاءِ عُلُومِ الدِّينِ ، وَلَا بِالْحَدِيثِ الْمَذْكُورِ فِيهِمَا فَإِنَّ كُلَّ ذَلِكَ بَاطِلٌ
การละหมาดที่เป็นที่รู้จักกัน ด้วยชื่อว่าละหมาดอัรเราะฆออิบ และมันคือ ละหมาด 12 รอ็กอัต ถูกละหมาดระหว่างละหมาดมัฆริบและอีชา ในค่ำวันศุกร์แรกของเดือนเราะญับ และการละหมาดคืนนิสฟุชะอบาน 100 รอ็กอัตนั้น ละหมาดสองประเภทนี้ เป็นบิดอะฮและเป็นสิ่งที่ถูกห้าม(มุงกัร) ที่น่าเกลียด และอย่าถูกหลอกด้วยสาเหตุที่มีการระบุไว้ในหนังสือ “เกาตุลกุลูบ และเอียะยาอุลูมิดดีน และอย่าได้ถูกหลอกด้วยหะดิษที่ถูกระบุเกี่ยวกับมันทั้งสอง เพราะแท้จริง ทั้งหมดนั้น “เป็นเท็จ” ....ดู อัลมัจญมัวะ ของอิหม่ามนะวาวีย์ เล่ม 4 หน้า 57
อัลหะฏอบ (ร.ฮ)กล่าวว่า
لَا يَخْتَلِفُ الْمَذْهَبُ فِي كَرَاهَةِ الْجَمْعِ لَيْلَةَ النِّصْفِ مِنْ شَعْبَانَ وَلَيْلَةَ عَاشُورَاءَ وَيَنْبَغِي لِلْأَئِمَّةِ الْمَنْعُ مِنْهُ ا
.มัซฮับไม่มีการเห็นขัดแย้งกัน ใน การมักรูฮ(เป็นสิ่งที่น่ารักเกียจ) รวมตัวกันคืนนิสฟุชะอบาน และค่ำคืออาชูรอ และสมควรที่บรรดาอิหม่ามห้ามจากมัน – ดู มะวาฮิบุลญะลีล 2/74
>>>>>>>>>>>>>
จึงสรุปว่า การละหมาดสุนัตนิสฟุชะฮบาน 100 เราะกะอัต ที่ที่ผู้เขียนตำรา ความประเสริฐของคืนนิสฟุชะอบานนั้น เป็นสิ่งที่เป็นบิดอะฮไม่มีในสุนนะฮนบี
................
อะสัน หมัดอะดั้ม
เช็คบินบาซ กล่าวว่า
أن الاحتفال بليلة النصف من شعبان بالصلاة أو غيرها أو تخصيص يومها بالصيام بدعة منكرة عند أكثر أهل العلم، وليس له أصل في الشرع المطهر، بل هو مما حدث في الإسلام بعد عصر الصحابة رضي الله عنهم
แท้จริงการเฉลิมฉลอง คืนนิสฟุชะอบาน ด้วยการละหมาดหรืออื่นจากมัน หรือ เจาะจง วันนิสฟุชะอบาน ด้วยการถือศีลอด คือ บิดอะฮที่ต้องห้าม ในทัศนะนักวิชาการ และไม่มีที่มาในบทบัญญัติอันบริสุทธิ์ แต่ทว่า มันเป็นส่วนหนึ่งจาก สิ่งที่ถูกประดิษขึ้นใหม่ในอิสลาม หลักจากยุคสมัยของเหล่าเศาะหาบะฮ(ร.ฎ)
التحذير من البدع"(ص/19)
อิบนุเราะญับ(ร.ฮ) กล่าวว่า
وأنكر ذلك ـ أي: تخصيص ليلة النصف بعبادة ـ أكثر العلماء من أهل الحجاز، منهم عطاء وابن أبي مليكة، ونقله عبد الرحمن بن زيد بن أسلم عن فقهاء أهل المدينة، وهو قول أصحاب مالك وغيرهم، وقالوا: ذلك كله بدعة
บรรดาอุลามาอ์หิญาซส่วนมาก คัดค้านดังกล่าวนั้น(หมายถึง การเจาะจงคืนนิสฟุชะอบานด้วยการทำอิบาดะฮ )ส่วนหนึ่งจากพวกเขาคือ อะฏออฺ, อิบนุอบีมุลัยกะฮ และ อับดุรเราะหมานบิน เซด บิน อัสลัม ได้รายงานมัน จากบรรดาปราชญฟิกฮ ชาวมะดีนะฮ และมันคือ ทัศนะปราชญมัซฮับมาลิก และอื่นจากพวกเขา และพวกเขากล่าวว่า ดังกล่าวนั้นทั้งหมด คือ บิดอะฮ
لطائف المعارف (263).
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น