ผู้ที่ถือบวชออกบวชตามการคำนวณดาราศาสตร์โดยไม่ยอมดูเดือนเสี้ยว ไม่ถือว่า เป็นชาวซุนนะฮ์หรอกครับ ...
คนกลุ่มนี้ คงอาศัยความเข้าใจ (เอาเอง) จากคำสั่งของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมที่ว่า ............... صُوْمُوْالِرُؤْيَتِهِ : แปลว่า พวกท่านจงถือศีลอดเนื่องจากการเห็นเดือนเสี้ยว .........) แล้วพวกเขาก็คงอธิบายว่า ...
ภาษาอาหรับว่า رُؤْيَتِهِ แปลเป็นภาษาไทยว่า เห็นมัน(เดือนเสี้ยว), .. ซึ่งการ “เห็น” นั้น จะมี 2 ลักษณะคือ ...
1. “เห็น” ด้วยตา ...
2. “เห็น” ด้วยความรู้ (คือการคำนวณดาราศาสตร์) ...
เพราะฉะนั้น เราจึงมีสิทธิ์ที่จะเลือกการเห็นเดือนเสี้ยวด้วย “ตา” ก็ได้, ด้วยการ “คำนวณดาราศาสตร์” ก็ได้ ....
โดนเข้าไม้นี้ ท่านจะตอบเขาว่าอย่างไรครับ ? ...
สำหรับผม ขอเรียนชี้แจงว่า ...
1. ความเข้าใจของเขาที่ว่า คำว่า رُؤْيَةٌ ในทางภาษา จะแปลว่าเห็นด้วยตา ก็ได้, เห็นด้วยใจ (คือรู้) ก็ได้ เป็นเรื่องถูกต้องครับ ...
แต่มิได้หมายความว่า คำว่า رُؤْيَةٌ คำเดียว, ในประโยคเดียวกันดังหะดีษบทนั้น จะเลือกแปลอย่างหนึ่งอย่างใดจาก 2 ความหมายได้ตามใจชอบ อย่างที่พวกเขาเข้าใจ ...
เพราะในแง่ภาษาอาหรับ .. رُؤْيَةٌ ที่แปลว่าเห็นด้วยตา จะมีลักษณะอย่างหนึ่ง และ رُؤْيَةٌ ที่แปลว่าเห็นด้วยใจหรือรู้ จะมีลักษณะอีกอย่างหนึ่ง ไม่เหมือนกันหรอกครับ
คำว่า رُؤْيَةٌ ที่แปลว่าเห็นด้วยตา จะมี “กรรม” เพียงตัวเดียวมารองรับ ...
แต่ رُؤْيَةٌ ที่แปลว่ารู้ ต้องมีกรรม 2 ตัวมารองรับครับ ...
“กรรม” ตามความหมายในวิชาไวยากรณ์ หมายถึงสิ่งที่ถูกกระทำ อย่างเช่นคำสั่งให้เห็นเดือนเสี้ยวในหะดีษบทนี้ ...
คำว่า เดือนเสี้ยว ถือว่าเป็นกรรม .. เพราะเป็นสิ่งที่ “ถูกเห็น” ...
หลักฐานในเรื่องนี้ก็คือ ท่านอิบนุมาลิก ได้กล่าวอธิบายในหนังสือ “أَلْفِيَّةُ” ของท่านว่า ...
إِنْصِبْ بِفِعْلِ الْقَلْبِ جُزْأَيِ ابْتِدَا أَعْنِىْ رَأَى خَلاَ عَلِمْتُ وَجَدَا
ผมจะไม่แปลให้ท่านฟังนะครับ เพราะผมไม่มีเป้าหมายสอนไวยากรณ์อาหรับขณะนี้ .. เพียงแต่จะบอกให้รู้ว่า ความหมายของบทกลอนข้างต้นก็คือ رُؤْيَةٌ ที่แปลว่ารู้ (ไวยากรณ์อาหรับเรียกว่า فِعْلُ الْقَلْبِ)จะต้องมีกรรม 2 ตัว .. ดังที่ผมบอกไปนั้น ...
ทีนี้เรามาดูหะดีษบทนั้น ที่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า ...
صًوْمًوْا لِرُؤْيَتِهِ .............................
ซึ่งมีความหมายว่า “พวกท่านจงถือศีลอดเนื่องจากเห็นมัน” ...
คำว่า “เห็นมัน” แปลมาจากคำในหะดีษที่ว่า رُؤْيَتِهِ ซึ่งเป็นคำสมาส (إِضَافَةٌ) สามารถแยกแฟ็คเตอร์ออกเป็น رُؤْيَةِ แปลว่าเห็น, กับ هِ แปลว่า มัน ...
ก็จะเห็นได้ชัดเจนว่า คำว่า “เห็น” (رُؤْيَةِ) ในประโยคนี้ มีกรรมเพียงตัวเดียวมารองรับ คือคำว่า “มัน” (هِ) ...
เพราะฉะนั้น เมื่อ رُؤْيَةِ ในประโยคนี้, ในหะดีษบทนี้มีกรรมเพียงตัวเดียว ก็จะแปลว่า “เห็นด้วยความรู้” ไม่ได้ครับ ...
แต่จะต้องแปลว่า “เห็นด้วยตา” (إِبْصَارٌ) เท่านั้น ...
2. การใช้หลักคำณวนดาราศาสตร์เพื่อถือบวชออกบวชอย่างอิสระ จะขัดแย้งกับหะดีษบทหนึ่งที่ผ่านมาแล้วข้างต้น คือหะดีษที่ว่า ...
اَلصَّوْمُ يَوْمَ تَصُوْمُوْنَ، وَالْفِطْرُ يَوْمَ تُفْطِرُوْنَ، وَاْلأَضْحَى يَوْمَ تُضَحُّوْنَ ...
ท่านอิบนุล ก็อยยิม อัลญูซียะฮ์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 751) ได้กล่าวอธิบายหะดีษบทนี้ในหนังสือ “ตะฮ์ซีบ อัส-สุนัน” เล่มที่ 3 หน้า 214 ว่า ...
(( قِيْلَ : فِيْهِ الرَّدُ عَلَى مَنْ يَقُوْلُ : إِنَّ مَنْ عَرَفَ طُلُوْعَ الْقَمَرِ بِتَقْدِيْرِ حِسَابِ الْمَنَازِلِ جَازَ لَهُ أَن يَّصُوْمَ وَيُفْطِرَ ........ وَقِيْلَ : إِنَّ الشَّاهِدَ الْوَاحِدَ إِذَا رَأَى الْهِلاَلَ وَلَمْ يَحْكُمِ الْقَاضِىْ بِشَهَادَتِهِ أَنَّهُ لاَ يَكُوْنُ هَذَا لَهُ صَوْمًا، كَمَالَمْ يَكُنْ لِلنَّاسِ )) ...
“กล่าวกันว่า ในหะดีษบทนี้ เป็นหลักฐาน “หักล้าง” ผู้ที่กล่าวว่า อนุญาตให้ผู้ที่รู้เวลาการขึ้นหรือตกของดวงจันทร์โดยการคำนวณดาราศาสตร์ สามารถถือศีลอดหรือออกอีดได้โดยอิสระ ........... และยังกล่าวกันอีกว่า บุคคลเพียงคนเดียวที่เห็นเดือนเสี้ยว โดยที่ผู้นำหรือกอฎีย์ไม่ยอมรับการเห็นเดือนของเขา เขาก็ไม่จำเป็นต้องถือศีลอด อย่างเดียวกับประชาชนทั่วไปก็ไม่จำเป็นต้องถือศีลอด (ตามการเห็นเดือนเสี้ยวของเขา)เช่นเดียวกัน” ...
.....................................
โดย อ. ปราโมทย์ ศรีอุทัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น