อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

เสวนาเรื่องอิบาดะฮฺมีบิดอะฮฮาซานะฮฺจริงหรือ (ตอนที่ 6)


Asan Binabdullah มาแล้วครับ
ขอเรียนผู้อ่านว่า ผมจะตอบข้ออ้างของคู่สนทนา ที่มีการอ้างหลักฐานเท่านั้น จะไม่นำมาชี้แจงสิ่งที่เป็นตรรกของคู่สนทนา ซึ่งเริ่มขาดเสบียงแล้ว แล้วใช้วิธีออกข้อสอบ ถามคูสนทนา มันไม่มีประโยชน ต่อไปนี้ผมจะชี้แจง ห้ามคูสนทนาโพสต์และขอเตือนถ้าไม่มีหลักฐานอ้างอย่าแถให้รกกระทู้เพราะจะกลบเกลือนหลักฐานคู่สนทนา
Asan Binabdullah ตาชั่ง พิทักษ์ความยุติธรรม บังฮาสันครับ. ตามเงื่อนไขการสนทนา 4 ข้อ มิทราบว่ามีข้อไหนหรือครับที่ห้ามใช้ตรรกะในการถาม คุณถึงงอแงมาว่าผมไม่มีหลักฐานแล้ว...

อีกอย่างที่คุณบอกว่าผมบิดเบือนทรรศนะอิบนุอาซีร มิทราบว่าผมบิดเบือนยังไงมิทราบครับ สิ่งที่คุณยกทรรศ
นะท่านอิบนุอาซีรมันก้ออยู่ในความหมายเดิม คือ บิดอะห์ฮาสานะห์ก้อคือสุนนะห์. และมีท่อนไหนหรือที่เขาบอกว่า หากเอาทรรศนะของเขาไปใช้ในเรื่องสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ไม่ได้...
………………..
ตอบ
ตาชั่ง บิดเบือนคำพูดอิบนุอัลอะษีร เพราะอิบนุอัลอะษีร ไม่ได้หมายถึงส่งเสริมให้อุตริบิดอะฮ แต่ท่านอธิบายสาเหตุที่ท่านอุมัรเรียกบิดอะฮ คือ ท่านนบีได้ปฏิบัติหลายคืนและท่านนบีได้ละทิ้ง ต่อมาไม่มีใครเอาใจใส่และรวมตัวกันละหมาดแบบที่นบีปฏิบัติ และยุคของอบูบักร์ก็ไม่ได้มีการปฏิบัติในรูปแบบญะมาอะฮ เลยมาสมัยท่านอุมัร ท่านได้รวมคนให้ละหมาดโดยการนำอิหม่ามคนเดียว ท่านจึงเรียกว่าบิดอะฮ ซึ่งจริงๆแล้วมันคือ อัสสุนนะฮ แล้วท่านอิบนุอะษีรได้อ้างหะดิษที่ว่า
لقوله صلى الله عليه وسلم عليكم بسنتي وسنة الخلفاء الراشدين من بعدي وقوله اقتدوا بالذين من بعدي أبي بكر وعمر
เพราะนบี ศอ็ลฯกล่าวว่า พวกท่านจงยึดสุนนะฮของฉันและ สุนนะฮเคาลิฟะฮรอชิดี หลังจากฉัน....และท่านนบีกล่าวว่า พวกท่านจงปฏิบัติตาม บรรดาผู้ที่อยู่หลังจากฉัน คือ อบูบักร์และอุมัร 
النهاية في غريب الحديث لابن الأثير 1 / 106- 107
…………..
การกระทำของบุคคลที่ท่านนบี ศอ็ลฯ สั่งเสียให้ปฏิบัติตามสุนนะฮของเขา จะเรียกว่าบิดอะฮได้อย่างไร และในหะดิษ ท่านนบีไม่ได้ใช้คำว่า ให้ยึดบิดอะฮของเคาะลิฟะฮ เพราะฉะนั้นการนำคำพูดอิบนุอัลอะษีรเพื่อมารับรองการอุตริบิดอะฮในศาสนาถือเป็นการบิดเบือนคำอธิบายของอิบนุอัลอะษีร และบิดเบือนหะดิษท่านนบีอีกด้วย
Asan Binabdullah อีกประการหนึ่งคือ สิ่งที่เป็นอิจญมาอฺ ไม่ถือว่าเป็นบิดอะฮ เพราะการกระทำของท่านอุมัรเป็นมติของเศาะหาบะฮ ดังรายงานว่า
การกระทำของอุมัรเป็นมติเห็นฟ้องของเหล่าเศาะหาบะฮ ดังหลักฐานต่อไปนี้


وَرَوَى أَسَدُ بْنُ عَمْرٍو عَنْ أَبِي يُوسُفَ قَالَ : سَأَلْتُ أَبَا حَنِيفَةَ عَنِ التَّرَاوِيحِ وَمَا فَعَلَهُ عُمَرُ ؟ فَقَالَ : التَّرَاوِيحُ سُنَّةٌ مُؤَكَّدَةٌ وَلَمْ يَتَخَرَّصْهُ عُمَرُ مِنْ تِلْقَاءِ نَفْسِهِ وَلَمْ يَكُنْ فِيهِ مُبْتَدِعًا ، وَلَمْ يَأْمُرْ بِهِ إِلَّا عَنْ أَصْلٍ لَدَيْهِ وَعَهْدٍ مِنْ رَسُولِ اللَّهِ - صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ - ، وَلَقَدْ سَنَّ عُمَرُ هَذَا وَجَمَعَ النَّاسَ عَلَى أُبَيِّ بْنِ كَعْبٍ فَصَلَّاهَا جَمَاعَةً وَالصَّحَابَةُ مُتَوَافِرُونَ : مِنْهُمْ عُثْمَانُ وَعَلِيٌّ وَابْنُ مَسْعُودٍ وَالْعَبَّاسُ وَابْنُهُ وَطَلْحَةُ وَالزُّبَيْرُ وَمُعَاذٌ وَأُبَيٌّ وَغَيْرُهُمْ مِنَ الْمُهَاجِرِينَ وَالْأَنْصَارِ ، وَمَا رَدَّ عَلَيْهِ وَاحِدٌ مِنْهُمُ ، بَلْ سَاعَدُوهُ وَوَافَقُوهُ وَأَمَرُوا بِذَلِكَ

และรายงานโดย อะสัด บุตร อัมริน จากอบี ยูซูบ กล่าวว่า “ข้าพเจ้าถามอบูหะนีฟะอ เกี่ยวกับตะรอเวียะ และสิ่งที่ ท่านอุมัร ได้กระทำ แล้วท่านกล่าวว่า “ ละหมาดตะรอเวียะ เป็นสุนนะฮมุอักกะดะฮ โดยที่ท่านอุมัรไม่ได้กุเรื่องเท็จขึ้นมาจากตัวท่านเอง ท่านไม่ได้เป็นผู้อุตริ(ผู้ทำบิดอะฮ)ในเรื่องนั้น และท่านไม่ได้ใช้ให้กระทำ นอกจากมี หลักฐาน ณ ที่ท่าน และ เป็นคำสั่งจากท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และแท้จริงท่านอุมัร ได้ทำแบบอย่างนี้ขึ้นมา โดยรวมผู้คน ให้ละหมาดภายใต้การเป็นอิหม่ามของท่านกะอับ แล้วได้ทำการละหมาดนั้น(ละหมาดตะรอเวียะ) ในรูปของการละหมาดญะมาอะฮ โดยที่บรรดาเศาะหาบะฮจำนวนมากมาย จากชาวมุฮาญิรีนและชาวอันศอรฺ และไม่มีคนใดจากพวกเขาคัดค้านท่าน(อุมัร)เลย ตรงกันข้าม พวกเขากลับสนับสนุนท่าน พวกเขาเห็นฟ้องกับท่านและ พวกเขาใช้ให้กระทำเรื่องดังกล่าว
- ดู อัลอิคติยารอต ลิตะอฺลีลิลมุคตัร ของอัลมูศิลีย์ อัลหะนะฟีย์ เล่ม 1 หน้า 94
………….
เพราะฉะนั้น การเอาการกระทำของเคาะลิฟะฮรอชิดีน มาเป็นข้ออ้างเพื่ออุตริบิดอะฮในศาสนา คือการบิดเบือนหลักฐานทางศาสนา
Asan Binabdullah คำตอบข้ออ้างของ ตาชั่ง พิทักษ์ความยุติธรรม ที่ว่า
يقول النووي رحمه الله في الصحيفة 134 :" قوله : "وكل بدعة ضلالة". هذا عام مخصوص والمراد غالب البدع قال أهل اللغة هي كل شيء عمل على غير مثال سابق.
ท่านอัล-หาฟิซฺ อิมาม อันนะวะวีย์ (ร.ฏ.) กล่าวว่า " คำกล่า
วของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่ว่า ( كل بدعة ضلالة ) " ทุกบิดอะฮ์นั้น ลุ่มหลง" นั้น คืออยู่ในความหมายของ คำคลุมที่ถูกเจาะจง (คือถ้อยคำที่มีความหมายที่ครอบคลุมแต่ถูกเจาะจงหรือทอนความหมายด้วยหะดิษอื่น) จุดประสงค์ของท่านนบี(ซ.ล.) ก็คือ บิดอะฮ์ส่วนมากนั้นลุ่มหลง ในลักษณะจุดมุ่งหมายจากคำกล่าวของท่านนบี(ซ.ล.)ก็คือ ส่วนมากของบิดอะฮ์(นั้นลุ่มหลง)

@@@@@

ขอชี้แจงโดยคำตอบโต้ดังนี้ คือ บิดอะฮในศาสนา เป็นการหลงผิดไม่มีข้อยกเว้น
ดังที่ท่านอิบนุอุมัร (ร.ฎ) บุตรชายของเคาะลิฟะฮอุมัรกล่าวว่า
كل بدعة ضلالة وإن رآها الناس حسنة
ทุกบิดอะฮคือการหลงผิด และแม้ว่ามนุษย์จะเห็นดีก็ตาม –ดูที่มาข้างล่าง
رواه اللالكائي (رقم126)،وابن بطة (205)،والبيهقي في "المدخل إلى السنن"(191)،وابن نصر في "السنة" (رقم70) بسند صحيح كما في "علم أصول البدع" لعلي الحلبي (ص92).،
กลุ่มอนุรักษ์บิดอะฮ มักจะอ้างว่า บิดอะฮไม่ได้เป็นสิ่งที่เลวทั้งหมด มีสิ่งดีด้วย เรื่องนี้ มาดูคำอธิบายต่อไปนี้ 
อิหม่ามอัชชาฏิบีย(ร.ฮ)กล่าวว่า
قول النبيِّ صلى الله عليه وسلم: ((كل بدعة ضلالة)) محمولٌ عند العلماء على عمومه، لا يُستثنى منه شيء ألبتة، وليس فيها ما هو حسنٌ أصلاً؛ إذ لا حسن إلا ما حسَّنه الشرع، ولا قبيح إلا ما قبَّحه الشرع، فالعقل لا يحسِّن ولا يقبِّح؛ وإنما يقول بتحسين العقل وتقبيحه أهلُ الضلال.
คำพูดของนบี ศอ็ลฯ ที่ว่า (ทุกบิดอะฮ คือการหลงผิด) ในทัศนะบรรดาอุลามาอฺ ได้ถูกถือตามความหมายกว้างๆของมัน ไม่มีสิ่งใดยกเว้นเลย และในบิดอะฮนั้นร ไม่มีสิ่งที่ดีในมัน มาแต่เดิม ยกเว้น สิ่งที่ศาสนบัญญัติได้ระบุว่ามันดี และไม่มีสิ่งใดเลว นอกจากสิ่งที่ศาสนบัญญัติระบุว่ามันเลว ดังนั้น สติปัญญา (เหตุผลทางปัญญา) จะไม่ตัดสินว่าดีหรือเลว ความจริง ผู้ที่กล่าวด้วยการเห็นว่าดีและเห็นว่าเลวของสติปัญญา (หมายถึงด้วยเหตุผลทางปัญญา) นั้นคือ ชาวบิดอะฮ 
-ฟะตาวาอิหม่ามอัชชาฏิบีย์ 180-181
ท่านนบี ศอ็ลฯ เป็นผู้พูดเองว่าทุกบิดอะฮคือการหลงผิด การยกเว้นในสิ่งที่กล่าวโดยรวม มันเป็นหน้าของผู้พูด คือนบี ไม่ใช่ความเห็น
จากรายละเอียดข้างต้น จึงสรุปได้ว่า ในศาสนบัญญัติ ไม่มีบิดอะฮที่ดี และ ผู้ที่ตัดสินว่าดีและเลวในเรื่องศาสนาด้วยเหตุผลทางปัญญา นั้น คือชาวบิดอะฮ
ส่วนการแบ่ง บิดอะฮเป็น 5 ประเภทนั้น
อิหม่ามชาฏิบีย์ตอบโต้ดังนี้
إن هذا التقسيم أمر مخترع، لا يدل عليه دليلْ شرعي، بل هو في نفسه متدافع، لأن من حقيقة البدعة أن لا يدل عليها دليل شرعي، لا من نصوص الشرع،
แท้จริง การแบ่งนี้ เป็นสิ่งที่ถูกประดิษบ์ขึ้นใหม่ ไม่มีหลักฐานแห่งศาสนบัญญัติ แสดงบอกบนมัน ยิ่งไปกว่านั้นในตัวของมัน ขัดแย้งกันเอง เพราะส่วนหนึ่งจากแก่นแท้ของบิดอะฮ คือ แท้จริง ไม่มีหลักฐานทางศาสนบัญญัติแสดงบอกบนมัน ,ไม่มีจากบรรดาตัวบทแห่งบทบัญญัติ – อัลเอียะติศอม 1/246

Asan Binabdullah การแบ่งบิดอะฮห้าประเภทเป็นการแบ่งบิดอะฮในทางภาษาไม่ใช่ในทางศาสนา ดังที่ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ นักวิชาการฟิกฮ์แห่งมัษฮับชาฟิอีย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. 974) ได้เขียนไว้ในหนังสือ “อัล-ฟะตาวีย์” ของท่านว่า ...

فَإنَّ الْبِدْعَـةَ الشَّرْعِـيَّةَ ضَلاَ
لَـةٌ كَمَا قَالَ رَسُوْلُ اللَّـهِ صَلَّى اللَّـهُ عَلَيْهِ وَسَلّمَ وَمَنْ قَسَّمَهَا مِنَ الْعُلَمَاءِ إلَى حَسَنٍ وَغَيْرِ حَسَنٍ فَإنَّمَا قَسَّمَ الْبِدْعَـةَ اللُّغَوِيَّـةَ، وَمَنْ قَالَ كُلُّ بِدْعَـةٍ ضَلاَلَـةٌ فَمَعْنَاهُ الْبِدْعَـةُ الشَّرْعِيَّةُ .....

“แน่นอน (ทุกๆ)บิดอะฮ์ ชัรฺอียะฮ์ (บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ) นั้น เป็นความหลงผิด! .. ดังคำกล่าวของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม, .. และนักวิชาการท่านใดที่แบ่งมันออกเป็นบิดอะฮ์ดีหรือบิดอะฮ์ไม่ดี ก็มิใช่อื่นใดนอกจากเป็นการแบ่งมันตามนัยของภาษาเท่านั้น, และผู้ใดที่กล่าวว่า "ทุกๆบิดอะฮ์คือความหลงผิด" .. ความหมายของมันก็คือ บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ(بِدْعَةٌ شَرْعِيَّةٌ) ” ....
ฟัตวาอัลลุจญนะฮ ฟัตวาว่า
ولا أقسام للبدعة في الدين من حيث الحكم عليها، بل كل بدعة ضلالة؛ لما ثبت عن النبي صلى الله عليه وسلم أنه قال: « من أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو رد » رواه البخاري ومسلم وفي راية « من عمل عملا ليس عليه أمرنا فهو رد » رواه مسلم
และไม่มีประเภทต่างๆของบิดอะฮในศาสนา โดยที่มีการหุกุมบนมัน(เช่น อ้างว่า บิดอะฮวาญิบ บิดอะฮสุนัต เป็นต้น) แต่ในทางกลับกัน ทุกๆบิดอะฮนั้น คือการหลงผิด เพราะสิ่งที่ได้มีรายงานยืนยัน จากนบี ศอ็ลฯ ว่าแท้จริงท่านได้กล่าวว่า “ ผู้ใดประดิษฐ์สิ่งใหม่ในกิจการศาสนาของเรา นี้ สิ่งซึ่งไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งจากมัน มันถูกปฏิเสธ –รายงานโดยบุคอรีและมุสลิม และในรายงานหนึ่ง คือ ผู้ใดประกอบการงานใด ที่ไม่มีกิจการศาสนาของเราอยู่บนมัน มันถูกปฏิเสธ –รายงานโดยมุสลิม - ฟะตาวาอัลลุจญนะฮ ภาค อะกีดะฮ 2 เล่ม 2 หน้า 329
..............เพราะฉะนั้น บิดอะฮในศาสนาทั้งหมด เป็นการหลงผิด ไม่มีการแบ่ง เป็น หุกุมทั้ง 5
ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ
Asan Binabdullah เชิญคู่เสวนาต่อเลย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น