อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

เสวนาเรื่องอิบาดะฮฺมีบิดอะฮฮาซานะฮฺจริงหรือ (ตอนที่ 5)

ตาชั่ง พิทักษ์ความยุติธรรม ก่อนที่บังฮาสันจะเข้ามาชี้แจง. ขออนุญาติฝากคำถามนะครับ...

จากคำพูดของท่านอุมัรที่กล่าวถึงการรวบรวมผู้ละหมาดตารอแวฮเป็นญามาอะห์ว่า. #นี่คือบิดอะห์ที่ดี.... 


ซึ่งบังฮาสันบอกว่า. ไม่ใช่บิดอะห์ในหลักศาสนา แต่เป็น #สุนนะห์คอลีฟะห์ 

มิทราบว่า บังAsan Binabdullah ไปเรียนมาจากใครหรือเอาความมั่นใจมาจากไหน ถึงคิดว่ามี #สุนนะห์คอลีฟะห์ในเรื่องศาสนาด้วย. ตกลงบังฮาสัน จะบอกว่า ท่านอุมัรมาประกาศศาสนาแข่งกับท่านนบีมูฮัมหมัดหรือครับ. ถึงได้บอกเช่นนี้. ซึ่งบังฮาสันชอบอ้างบ่อยๆว่า. ละหมาดตารอแวฮ8รอกาอัตคือสุนนะห์นบี ละหมาดตารอแวฮ20รอกาอัตคือสุนนะห์คอลีฟะห์. 

ตกลงท่านอุมัรทำในสิ่งที่ขัดแย้งกับท่านนบีมูฮัมหมัดที่เป็นผู้ประกาศศาสนาอิสลาม #กระนั้นรึ
Asan Binabdullah ในขณะทีนั่งรอคนขับรถมารับ จึงถาม ตาชั่ง พิทักษ์ความยุติธรรม กลับไปว่า ไม่ข้อมูลแล้วหรือ หมดกระสุนแล้วหรือที่มาตั้งคำถาม เพราะเรื่องนี้ ท่านอิบนุอับดิลบัรได้อธิบายไว้แล้ว แต่ตาชังอ่านและสรุปไม่เป็น เอางี้ไหมเอาสำเนาสื่อมาแนบด้วย อินชาอัลลอฮ นำเสนอวิชาการมาเลย ผมจะชี้แจง อย่าหาเรื่องให้กระทู้พังอีกอย่างที่แล้วๆมา มีหลักฐานก็เสนอมาซิ แต่ผมยืนยันว่าอะฮลุลบิดอะฮบิดเบือนคำพูดอิลบนุอัลอะษีร แล้วมาสนับสนุนบิดอธที่ปู่ย่าตายายคิดขึ้นในอดีต อินชาอัลลอฮพบกันด้วยวิขาการเท่านนั้น ผมไม่ชอบการชวนทะเลาะ
Ibnu Sorlaeh ขอมาอัฟนะครับพี่น้อง รักษากฏข้อ. 4 ด้วยนะครับ
ตาชั่ง พิทักษ์ความยุติธรรม บังฮาสันครับ. ตามเงื่อนไขการสนทนา 4 ข้อ มิทราบว่ามีข้อไหนหรือครับที่ห้ามใช้ตรรกะในการถาม คุณถึงงอแงมาว่าผมไม่มีหลักฐานแล้ว...

อีกอย่างที่คุณบอกว่าผมบิดเบือนทรรศนะอิบนุอาซีร มิทราบว่าผมบิดเบือนยังไงมิทราบครับ สิ่งที่คุณยกทรรศนะท่านอิบนุอาซีรมันก้ออยู่ในความหมายเดิม คือ บิดอะห์ฮาสานะห์ก้อคือสุนนะห์. และมีท่อนไหนหรือที่เขาบอกว่า หากเอาทรรศนะของเขาไปใช้ในเรื่องสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ไม่ได้...
ตาชั่ง พิทักษ์ความยุติธรรม แล้วที่คุณยกทรรศนะของอีหม่ามอัชชาฏีบีย์ อัศศอนอานีย์ หรือแม้กระทั่งอิบนุกาเซร... มันก้อเป็นเพียงทรรศนะของเขา ซึ่งมันก้อแตกต่างไปจากการเข้าใจอุลามะท่านอื่นๆ. เช่น อีหม่ามนาวาวีย์ อีหม่ามฆอซาลีย์ อีหม่ามซายูตี..

บังฮาสันจะเอานิยามบิดอะห์ของอุลามะที่เห็น
แตกต่าง มายัดเหยียดว่า คนอื่นทำบิดอะห์ฎอลาละห์ เพื่อให้เขาต้องตกนรกตามทรรศนะของวะหบี มิทราบว่า บังฮาสันเอาความโอหังมาจากไหน ถึงบังอาจฮุกมอุลามะที่เห็นต่างในเรื่องบิดอะห์ เป็นพวกอะหลุ้ลบิดอะห์...
ตาชั่ง พิทักษ์ความยุติธรรม อีกอย่าง เมื่อก่อนบังฮาสันชอบที่จะอ้างว่า บิดอะห์มีประเภทเดียว แล้วมาวันนี้ เห็นยกทรรศนะอุลามะที่บอกว่า บิดอะห์มีสองประเภท คือบิดอะห์ที่ดีและบิดอะห์ที่เลว ถึงแม้จะเป็นการเรียกในทางภาษา มันก้อถูกเรียกว่า บิดอะห์ไม่ใช่หรือ....
ตาชั่ง พิทักษ์ความยุติธรรม มีบรรดาหะดิษที่กล่าวถึงเรื่องบิดอะฮ์ ซึ่งบางหะดิษกล่าวถึงเรื่องบิดอะฮ์โดยให้ความหมายที่ครอบคลุม( อุมูม ) แต่บางหะดิษกล่าวถึงเรื่องบิดอะฮ์โดยมีความหมายที่เจาะจงถ้อยความ( ตัคซีซ ) 

ดังนั้น ส่วนหนึ่งจากหะดิษที่ให้ความหมายในเรื่องบิดอะฮ์โดยความหมายที่ครอบ
คลุม คือ หะดิษของท่าน ญาบิร บิน อับดุลเลาะฮ์ เขากล่าวว่า ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า

أما بعد: فإن خير الحديث كتاب الله وخير الهدى هدى محمد وشر الأمور محدثاتها وكل محدثة بدعة وكل بدعة ضلالة

ความว่า" จากนั้น แท้จริงถ้อยความที่ดีที่สุด คือกิตาบุลเลาะฮ์ แต่ทางนำที่ดีที่สุด คือทางนำของมุหัมมัด แต่บรรดาการงานที่ชั่วที่สุด คือบรรดาสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่ และทุกสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่นั้น เป็นบิดอะฮ์ และทุกๆ บิดอะฮ์นั้น ลุ่มหลง" ( รายงานโดยมุสลิม หะดิษที่ 867 อิมามอะหฺมัด รายงานไว้ในมุสนัด เล่ม 3 หน้า 310 ท่านอันนะซาอีย์ รายงานไว้ในสุนันของท่าน เล่ม 3 หน้า 188 และท่านอื่นๆ )

คำว่า"บิดอะฮ์" ในหะดิษนี้ ครอบคลุมถึง บิดอะฮ์เดียว หรือหลายๆ บิดอะฮ์ และครอบคลุมถึงบิดอะฮ์หะสะนะฮ์(ที่ดี) และบิดอะฮ์ซัยยิอะฮ์(น่ารังเกียจ)

มีหะดิษอีกส่วนหนึ่งที่รายงานด้วยถ้อยคำที่เจาะจงและทอนความหมายของคำ"บิดอะฮ์" คือคำกล่าวของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่ว่า

من ابتدع بدعة ضلالة لا يرضاها الله ولا رسوله كان عليه مثل آثام من عمل بها لا ينقص ذلك من أوزارهم شيئا

ความว่า" ผู้ใดที่อุตริทำบิดอะฮ์อันลุ่มหลง ที่อัลเลาะฮ์และร่อซูลของพระองค์ไม่พอใจ แน่นอน เขาย่อมได้รับบาปเหมือนกับผู้ที่ได้ปฏิบัติมัน โดยที่บาปของพวกเขาดังกล่าวจะไม่ทำให้สิ่งใดลงน้อยลง จากบรรดาบาปของพวกเขา" อิมาม อัตติรมีซีย์ กล่าวว่า หะดิษนี้ หะซัน ( ดู อัล-อาริเฏาะฮ์ เล่ม 10 หน้า 148) 

ในหะดิษนี้ ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ได้เจาะจงและทอนความหมายของคำว่า "บิดอะฮ์ที่หะรอม" นั้น คือบิดอะฮ์อันน่ารังเกียจที่ไม่สอดคล้องกับหลักชาริอะฮ์

ฉะนั้น ตามหลักอุซูล ( อัลกออิดะฮ์ อัลอุซูลียะฮ์) คือ เมื่อมีตัวบทที่รายงานมาจากหลักการของชาเราะอฺ โดยมีถ้อยคำที่ครอบคลุม ( อาม ) และถ้วยคำที่เจาะจง ( ค๊อซ ) ก็ให้นำเอาถ้อยคำที่เจาะจง ( ค๊อซ )มาอยู่ก่อนในการนำมาพิจารณา เนื่องจากในการนำถ้อยคำที่เจาะจง ( ค๊อซ ) มาอยู่ก่อนนั้น ทำให้สามารถปฏิบัติได้ทั้ง 2 ตัวบทไปพร้อมๆ กัน ซึ่งแตกต่างกับการที่ เอาถ้อยคำที่ครอบคลุม ( อาม ) มาอยู่ก่อน เนื่องจากจะทำให้ยกเลิกหรือละทิ้งกับตัวบทที่ให้ความหมายเจาะจงไป ( ดู ชัรหฺ อัลเกากับ อัลมุนีร เล่ม 3 หน้า 382) 

ฉะนั้น จุงมุ่งหมายของคำกล่าวท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่ว่า

( كل بدعة ضلالة ) 

"ทุกบิดอะฮ์นั้น ลุ่มหลง" 

หมายถึง บิดอะฮ์อันน่ารังเกียจ คือ สิ่งที่อุตริขึ้นมาใหม่โดยที่ไม่มีหลักฐานจากชาเราะอฺ ไม่ว่าจะด้วยหนทางที่ครอบคลุมหรือเจาะจง

และหลักการนี้ ก็อยู่ในนัยยะเดียวกับคำกล่าวของท่านร่อซูลุเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่ว่า

كل عين زانية

" ทุกๆสายตานั้น ทำซินา" ( นำเสนอรายงานโดย อิมามอะหฺมัด ในมุสนัด เล่ม 3 หน้า 394 - 413 อบูดาวูด ได้รายงานไว้ใน สุนันของท่าน หะดิษที่ 4173 อัตติรมิซีย์ หะดิษที่ 2786 ท่านอันนะซาอีย์ เล่ม 8 หน้า 135 และท่านอัตติรมิซีย์กล่าว หะดิษนี้ หะซันซอเฮี๊ยะหฺ 

ดังนั้น ถ้อยคำของหะดิษนี้ไม่ใช่หมายถึงทุกๆสายตานั้นทำซินา แต่ทุกๆสายตาที่มองสตรีโดยมีอารมณ์ใคร่ต่างหาก คือสายตาที่อยู่ในความหมายของซินา (ดู หนังสือ อัตตัยซีร บิชัรหฺ อัลญาเมี๊ยะอฺ อัศซ่อฆีร ของท่าน อัลมะนาวีย์ เล่ม 2 หน้า 216)
ตาชั่ง พิทักษ์ความยุติธรรม
يقول النووي رحمه الله في الصحيفة 134 :" قوله : "وكل بدعة ضلالة". هذا عام مخصوص والمراد غالب البدع

قال أهل اللغة هي كل شيء عمل على غير مثال سابق. 


قال العلماء : البدعة خمسة أقسام : واجبة ومندوبة ومحرمة ومكروهة ومباحة.

ويؤيد ما قلناه قول عمر بن الخطاب رضي الله عنه في التراويح "نعمت البدعة" ولا يمنع من كون الحديث عاما مخصوصا قوله "كل بدعة" مؤكدا بـ "كل" بل يدخله التخصيص مع ذلك كقوله تعالى: } تُدَمِّرُ كُلَّ شَىْءٍ {".

والله تبارك وتعالى أعلم وأحكم.

ท่านอัล-หาฟิซฺ อิมาม อันนะวะวีย์ (ร.ฏ.) กล่าวว่า " คำกล่าวของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่ว่า ( كل بدعة ضلالة ) " ทุกบิดอะฮ์นั้น ลุ่มหลง" นั้น คืออยู่ในความหมายของ คำคลุมที่ถูกเจาะจง (คือถ้อยคำที่มีความหมายที่ครอบคลุมแต่ถูกเจาะจงหรือทอนความหมายด้วยหะดิษอื่น) จุดประสงค์ของท่านนบี(ซ.ล.) ก็คือ บิดอะฮ์ส่วนมากนั้นลุ่มหลง ในลักษณะจุดมุ่งหมายจากคำกล่าวของท่านนบี(ซ.ล.)ก็คือ ส่วนมากของบิดอะฮ์(นั้นลุ่มหลง)

อุลามะทางด้านภาษากล่าวว่า บิดอะห์คือทุกๆสิ่งที่เป็นการกระทำโดยไม่มีตัวอย่างมาก่อน

บรรดาอุลามาอ์กล่าวว่า บิดอะฮ์ มี 5 ประเภท คือ บิดอะฮ์วายิบ สุนัต หะรอม มักโระฮ์ และมุบาห์ ( ดังนั้น ส่วนหนึ่งจากบิดอะฮ์ที่วายิบ อาธิเช่น การประพันธ์หนังสือเกี่ยวกับหลักฐานต่าง ๆ ของอุลามาอ์กะลาม เพื่อทำการโต้ตอบ พวกนอกศาสนา พวกบิดอะฮ์ และอื่น ๆ และสำหรับบิดอะฮ์สุนัต คือ การประพันธ์หนังสือในเชิงวิชาการ การสร้างสถานที่ศึกษา สร้างสถานที่พักพึง และอื่น ๆ จากที่กล่าวมา และส่วนหนึ่งจากบิดอะฮ์มุบาห์ คือ การมีความหลากหลายในประเภทต่าง ๆ ของการทำอาหาร และอื่น ๆ และบิดอะฮ์หะรอมและมักโระฮ์นั้น ทั้งสองย่อมมีความชัดเจนแล้ว และฉัน(คืออิมามอันนะวะวีย์)ได้อธิบายประเด็นนี้ ด้วยบรรดาหลักฐานที่ถูกแจกแจงไว้แล้วในหนังสือ ตะฮ์ซีบ อัลอัสมาอ์ วัลลุฆ๊อต ดังนั้น เมื่อสิ่งที่ฉันได้กล่าวไปแล้วนั้น เป็นที่ทราบดีแล้ว ก็จะสามารถรู้ได้ว่า แท้จริง หะดิษ(นี้) มาจากความหมายของคำคลุมที่ถูกเจาะจง และเช่นเดียวกันกับบรรดาหะดิษต่างๆที่มีหลักการเหมือนกับหะดิษนี้ และได้ทำการสนับสนุนกับสิ่งที่เราได้กล่าวมาแล้ว โดยคำกล่าวของท่านอุมัร(ร.ฏ.) เกี่ยวกับละหมาดตะรอวิหฺ ที่ว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้" 

และการที่หะดิษมีความหมายที่ครอบคลุมที่ต้องถูกเจาะจง (คือถ้อยคำที่มีความหมายที่ครอบคลุมแต่ถูกเจาะจงหรือทอนความหมาย)นั้น ก็จะไม่ไปห้ามกับคำกล่าวของร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่ว่า ( كل بدعة ) "ทุกบิดอะฮ์" โดยตอกย้ำด้วยคำว่า ( كل ) "ทุกๆ" แต่จะต้องทำการเจาะจงหรือทอนความหมายของคำว่า ( كل ) "ทุกๆ" นี้ด้วย กล่าวคือ ( ความหมายที่ครอบคลุมนี้คือ "ทุกบิดอะฮ์นั้นลุ่มหลง" โดยทำการเจาะจงหรือทอนความหมายด้วยหะดิษอื่น จึงได้ความว่า มีบิดอะฮ์อื่นที่ไม่ได้อยู่ในความหมายของบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง ซึ่งเหมือนกับคำตรัสของอัลเลาะฮ์ ที่ว่า ( تدمر كل شيء ) " มันเป็นลมที่จะทำลายทุกๆสิ่ง" (นอกบ้านเรือนของพวกเขาเป็นต้น) (ดู ชัรหฺ ซ่อเฮี๊ยะหฺ มุสลิม ของอิมาม อันนะวะวีย์ เล่ม 3 หน้า 423
ดูคำแปล
ตาชั่ง พิทักษ์ความยุติธรรม #สรุป. นิยามบิดอะห์นั้น อุลามะมีทรรศนะที่แตกต่างกัน บางคนเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ที่สอดคล้องกับหลักฐานทางศาสนาว่าบิดอะห์ฮาสานะห์ บางคนก้อจะเรียกอีหตีซาน บางคนก้อเรียกว่าสุนนะห์ บางคนก้อจะเรียกว่าบิดอะห์ในทางภาษาเท่านั้น....

ฉะนั้น บังฮาสันจะเอาแค่ทรรศ
นะอุลามะที่เห็นตรงกับนัฟซูตัวเองเท่านั้น มาฮุกมอุลามะที่นิยามบิดอะห์ต่างกับนัฟซูตัวเองเป็นพวกอะหลุ้ลบิดอะห์ฎอลาละห์ต้องตกนรกกระนั้นหรือ #วาอียาซูบิ้ลลาฮีมินซาลิก..😣😣😣😣
ตาชั่ง พิทักษ์ความยุติธรรม คำถามของผมบังฮาสันยังไม่ตอบและผมจะเพิ่มคำถามขึ้นมาอีก...

1.บังฮาสันไปเอามาจากไหนว่า การกระทำของท่านอุมัร คือสุนนะห์คอลีฟะห์ในด้านอิสตีลาฮ 


2.บังฮาสันชอบพูดว่า บิดอะห์ทางภาษาคือบิดอะห์ดุนยา ฉะนั้นเมื่อบังฮาสันอ้างมาเองว่า การรวบรวมละหมาดตารอแวฮของท่านอุมัรคือบิดอะห์ดุนยา. อยากทราบว่า ตรงส่วนไหนของการละหมาดตารอแวฮคือเรื่องดุนยาครับ...

#เรียนเชิญAsan Binabdullah
Ibnu Sorlaeh ตาชั่ง พิทักษ์ความยุติธรรม คอยก่อน อ.อาสัน ไปบรรยาอยู่จะมาดึกๆครับ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น