อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

เสวนาเรื่องอิบาดะฮฺมีบิดอะฮฮาซานะฮฺจริงหรือ (ตอนที่ 3)

Asan Binabdullah ตาชั่ง พิทักษ์ความยุติธรรม
ดังนั้น คำว่าسَنَّ นั้น จึงอยู่ในความหมายที่ว่า"ริเริ่มกระทำขึ้นมา" ซึ่งหากอยู่บนแนวทางที่ดี ก็ย่อมอยู่บนทางนำ และหากอยู่บนแนวทางที่เลว ก็ย่อมลุ่มหลง
หากเราไปดูในหนังสือ ปทานุกรมอาหรับ เราจะไม่พบว่า คำว่าسَنَّ นั้น มีความหมาย
ว่า"ฟื้นฟู" เลยแม้แต่น้อย แต่ในทางตรงกันข้าม มันกลับมีความหมายว่า เริ่มการกระทำ เช่นใน มั๊วะญัม อัลวะซีฏ ให้ความหมายว่า
من سن سنة حسنة : وكل من ابتداء أمرا عمل بها قوم من بعده فهو الذى سنه 
"ผู้ใดที่ได้سن (วางหรือกำหนด)แนวทางที่ดี: หมายความว่า และทุก ๆ คนที่ได้ ริเริ่มขึ้นมา กับกิจการงานหนึ่ง ที่กลุ่มชนนั้น ได้ถือปฏิบัติตาม(ด้วยกับแนวทางที่ดี) หลักจากเขาเสียชีวิตแล้ว เขาก็คือผู้ที่ริเริ่มทำการงานนั้นขึ้นมา" (ดู มั๊วะญัม อัลวะซีฏ หมวดسن )
.................
หะดิษข้างต้น นักปราชญไม่ได้มานั่งแกะศัพท์จากปทานุกรมที่คุณตาชังคิดเอง แต่เขาดูบริบท และเหตุการณ์ที่เป็นจริง ว่า ท่านอุมัร (ร.ฎ)ได้ฟื้นฟูนขึ้นมาใหม่หลักจากที่มีการยุดไปในช่วงหนึ่ง ดังคำอธิบายต่อไปนี้
อิหม่ามชาฏิบีย์(ร.ฮ)กล่าวว่า
فَلَيْسَ الْمُرَادُ بِالْحَدِيثِ الِاسْتِنَانَ بِمَعْنَى الِاخْتِرَاعِ ، وَإِنَّمَا الْمُرَادُ بِهِ الْعَمَلُ بِمَا ثَبَتَ مِنَ السُّنَّةِ النَّبَوِيَّةِ
สิ่งที่ต้องการด้วยหะดิษอัลอิษติสนาน(หะดิษ من سن ) ไม่ใช่ด้วยความหมาย ของการประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ และความจริง สิ่งที่ต้องการด้วยมัน คือ การปฏิบัติ ด้วยสิ่งที่ ปรากฏยืนยัน ในสุนนะฮนบี – อัลเอียะติศอม 1/307
‎ قَالَ : مَن سَنَّ فِي الْإِسْلَامِ سُنَّةً حَسَنَةً . . . . . الْحَدِيثَ ، فَدَلَّ عَلَى أَنَّ السُّنَّةَ هَاهُنَا مِثْلُ مَا فَعَلَ ذَلِكَ الصَّحَابِيُّ ، وَهُوَ الْعَمَلُ بِمَا ثَبَتَ كَوْنُهُ سُنَّةً ، وَأَنَّ الْحَدِيثَ مُطَابِقٌ لِقَوْلِهِ فِي الْحَدِيثِ الْآخَرِ : مَنْ أَحْيَا سُنَّةً مِنْ سُنَّتِي قَدْ أُمِيتَتْ بِعْدِي الْحَدِيثَ
ท่านนบีกล่าวว่า “ผู้ใดทำแบบอย่างที่ดีในอิสลาม...จนจบหะดิษ มันแสดงบอกว่าแท้จริง คำว่าอัสสุนนะฮ ในที่นี้ คือ เหมือนสิ่งที่บรรดาเศาะหาบะฮได้ปฏิบัติดังกล่าว และมันคือ การปฏิบัติด้วยสิ่งที่มีรายงานยืนยันว่า มันเป็นสุนนะอ และแท้จริง หะดิษนี้ สอดคล้องกับ หะดิษอื่นคือ ผู้ใดฟื้นฟูสุนนะฮใดๆจากสุนนะฮของฉัน ที่มันถูกให้ตายไปหลังจากฉัน...จนจบหะดิษ- อัลเอียะติศอม 1/305-306
..........
จึงสรุปได้ว่า หะดิษที่ว่า “مَنْ سَنَّ فِي الإِسْلاَمِ سُنَّةً حَسَنَةً” เป็นหะดิษที่ ส่งเสริมให้ปฏิบัติตามสุนนะฮ ที่มีอยู่ ไม่ใช่การอุตริบิดอะฮ
Asan Binabdullah ยังไม่จบนะ ข้อแย้งที่อ้างอิหม่ามชาฟิอีก่อน
ตาชั่ง พิทักษ์ความยุติธรรม ยังไม่เสร็จห้ามเมนท์. ถ้าเสร็จผมให้สัญญานเอง
ตาชั่ง พิทักษ์ความยุติธรรม #อ้างอิงจาก Asan Binabdullah 

ไม่มีบิดอะฮที่ดีในศาสนบัญญัติ ดังที่ท่านอิบนุอุมัร (ร.ฎ) กล่าวว่า

كل بدعة ضلالة وإن رآها الناس حسنة
ทุกบิดอะฮคือการหลงผิด และแม้ว่ามนุษย์จะเห็นดีก็ตาม –ดูที่มาข้างล่าง
رواه اللالكائي (رقم126)،وابن بطة (205)،والبيهقي في "المدخل إلى السنن"(191)،وابن نصر في "السنة" (رقم70) بسند صحيح كما في "علم أصول البدع" لعلي الحلبي (ص92).

#######

#ชี้แจง 

จากที่บังฮาสันได้ยกคำพูดของอิบนุอุมัรนั้นจะเห็นได้ว่า คำกล่าวของซอฮาบะฮ์ที่เกี่ยวกับบิดอะฮ์นั้น ก็คือบิดอะฮ์ที่อยู่ในความหมายแบบมุฏลัก (مطلق ) ที่อยู่ในความหมายประเภทบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงเท่านั้น และโปรดทำความเข้าใจให้ดี ไม่เช่นนั้น หลักการศาสนาจะขัดแย้งกันเอง แต่ความเป็นจริงแล้วศาสนาอิสลามมีความสมบูรณ์ ไม่มีการขัดแย้งกันเอง แต่ความเข้าใจของผู้ที่อวดรู้บางคนต่างหากที่ไม่เข้าใจหลักการ จึงทำให้โลกมุสลิมวุ่นวายอยู่ทุกวันนี้

จริงๆมันคือบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง บิดอะฮ์ที่ไม่มีรากฐานมาจากศาสนา หากผู้ใดเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดี เขาย่อมเป็นผู้อ้างว่าท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ไม่ซื่อสัตย์ต่อสาส์นของอัลเลาะฮ์ และบรรดาอุลามาอ์มัซฮับมาลิกีย์ ก็ไม่ได้เข้าใจว่า บิดอะฮ์ ที่อิมามมาลิกกล่าวไว้นั้น หมายถึงบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ที่มาจากบิดอะฮ์วายิบ บิดอะฮ์สุนัต หรือบิดอะฮ์มุบาห์แต่อย่างใด ดังนั้นท่านผู้อ่านพึงพิจารณาให้ดีไว้ใน ณ ที่นี้ด้วย

ท่านอิบนุหะญัร ได้กล่าว วิจารณ์คำกล่าวท่านอุมัร(ร.ฏ.) ที่ว่า نعمت البدعة هذه ดังนี้

البدعة: أصلها ما أحدث على غير مثال سابق، وتطلق في الشرع في مقابل السنّة فتكون مذمومة والتحقيق أنها إن كانت مما يندرج تحت مستحسن فى الشرع فهى حسنة وإن كانت مما يندرج تحت مستقبح فهى مستقبحة وإلا فهى من قسم المباح

ความว่า " บิดอะฮ ที่มาของมันคือ สิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน และคำว่าบิดอะฮ์อย่างเดียว ( مطلق ) (คือพูดโดยใช้คำว่า"บิดอะฮ์"เพียงลำพังตัวเดียว)ในทางบทบัญญัติ ได้ถูกนำมาใช้เรียกกับสิ่งที่ตรงข้ามกับซุนนะฮ์ จึงถือว่าเป็นบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิ จากการตรวจสอบพบว่า บิดอะฮ์นั้น หากมันเข้าไปอยู่ภายใต้สิ่งที่นับว่าดีตามหลักการของศาสนา มันก็คือ (บิดอะฮ์)หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี) และหากว่ามันเข้าไปอยู่ภายใต้สิ่งที่ถือว่าน่ารังเกียจ มันก็คือบิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจ และถ้าหากไม่เป็นเช่นนั้น(หมายถึงไม่เป็นทั้งบิดอะฮ์ทั้งสองประเภท) ก็ถือว่า มันเป็น ประเภทที่มุบาห์" ( ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 4 หน้า 253)
Asan Binabdullah ผมยังไม่จบทำไมรีบจัง
Asan Binabdullah คุณยกคำพูดอิหม่ามชาฟิอีมา ผมไม่ได้โต้ที่คุณบิดเบือนเลย มาดูครับ 
ตาชั่ง พิทักษ์ความยุติธรรม
ชี้แจง ทำไมบังฮาสันชอบสรุปเรื่องศาสนา ด้วยตรรกะของตัวเองด้วยครับ ในเมื่อ ท่านอุมัรพูดอย่างชัดเจนว่า การที่ท่านรวบรวมผู้คนให้มาละหมาดตารอแวฮเป็นญามาอะห์นั้น ท่าน
กล่าวอย่างชัดเจนว่า. #นี่คือบิดอะห์ที่ดี. ซึ่งท่านอีหม่ามซาฟีอีย์ได้อิสตีมบาตฮุกมจากคำพูดของท่านอุมัรนี้ ด้วยการบอกว่า บิดอะห์มีสองประเภทดังนี้...

وروى البيهقي بإسناده في مناقب الشافعي عن الشافعي رضي الله عنه قال : المحدثات من الأمور ضربان، أحدهما ما أُحدث مما يخالف كتابا أو سنة أو أثرا أو اجماعا فهذه البدعة الضلالة، والثانية ما أحدث من الخير لا خلاف فيه لواحد من العلماء وهذه محدثة غير مذمومة، وقد قال عمر رضي الله عنة في قيام شهر رمضان: نعمتُ البدعة هذه، يعني أنها محدثة لم تكن".
هذا آخر كلام الشافعي رضي الله عنه 

และได้รายงานจากท่านบัยฮากีย์ด้วยสายรายงานของเขา ในตำรามะนากิบอัชชาฟีอีย์ จากท่านอีหม่ามซาฟีอีย์ ร.ฎ. ได้กล่าวว่า สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น มี 2 ประเภท

(1) สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่ ที่ขัดแย้งกับอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ คำพูดที่ถูกรายงานมา และอิจญฺมาอ์ สิ่งนี้ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง

(2) สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่จากคุณงามความดี ที่ไม่ขัดกับอันหนึ่งอันใด(ที่กล่าวมาแล้ว)นี้ และนี้ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่โดยไม่ถูกตำหนิ
ตาชั่ง พิทักษ์ความยุติธรรม ห้ามเมนท์ ให้ผมชี้แจงเสร็จก่อน บังฮาสันผิดกติกา Ibnu Sorlaeh ควบคุมด้วย
Asan Binabdullah อิหม่ามอิบนุเราะญับ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) ได้ อธิบาย ความมุ่งหมายของคำพูดอิหม่ามชองอิหม่ามชาฟิอีว่า 

ومراد الشافعي رضي الله عنه ما ذكرناه من قبل أن أصل البدعة المذمومة ما ليس لها أصل في الشريعة ترجع إليه وهي البدعة في إطلاق الشرع وأما البدعة المحمودة 
فما وافق السنة يعني ما كان لها أصل من السنة ترجع إليه وإنما هي بدعة لغة لا شرعا لموافقتها السنة . 

และจุดมุ่งหมายของอิหม่ามชาฟิอี (ขออัลอฮเมตตาต่อท่าน) ต่อสิ่งที่เราได้ระบุมันมาก่อนหน้านี้ คือ แท้จริงบิดอะฮ ทีถูกตำหนิ(บิดอะฮมัซมูมะฮ) คือ สิ่งที่ไม่มีรากฐานจากศาสนบัญญัติ ทีจะถูกนำกลับไปหามัน และมันคือ บิดอะฮในความหมายทางศาสนา และสำหรับ บิดอะฮที่ถูกสรรเสริญ นั้น คือ สิ่งที่สอดคล้องกับสุนนะฮ หมายถึง สิ่งที่มีรากฐานมาจากสุนนะฮ ที่จะถูกนำกลับไปหามัน ความจริง มันคือ บิดอะฮในทางภาษา ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนบัญัติ เพราะมันสอดคล้องกับอัสสุนนะฮ” – ดู ญามิอุลอุลูม วัลหิกัม หน้า 28 
....................
อิหม่ามชาฟิอี (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)ได้อ้างกระทำของเคาะลิฟะฮอุมัร เป็นตัวอย่างของคำว่า “บิดอะฮที่ถูกสรรเสริญ “ เพราะการกระทำของอุมัร มีรากฐานมาจากการกระทำของท่านรซูลุลลอฮ
ตาชั่ง พิทักษ์ความยุติธรรม หยุดครับบังฮาสัน. ผมยังชี้แจงไม่เสร็จ
Asan Binabdullah ต้องเอาที่ละหลักฐานที่ละโพสต
Asan Binabdullah เอามาเลยครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น