อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

เสวนาเรื่องอิบาดะฮฺมีบิดอะฮฮาซานะฮฺจริงหรือ (ตอนที่ 4)



คำว่า "นี่คือบิดอะฮที่ดี " มันคือบิดอะฮในทางภาษา ไม่ใช่ในทางศาสนบัญญัติ ความหมายในทางภาษาในที่นี่คือ ริเริ่ม ท่านอิบนุตัยมียะฮ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า 


السنة هي ما قام الدليل الشرعي عليه بأنه طاعة لله ورسوله ، سواء فعله رسول الله صلى الله عليه وسلم أو فعل على زمانه ، أو لم يفعله ولم يفعل على زمانه ، لعدم المقتضي حينئذ لفعله أو وجود المانع منه ، ...... فما سنه الخلفاء الراشدون ليس بدعة شرعية ينهى عنها ، وإن كان يسمى في اللغة بدعة فكونه ابتدئ ) مجموع الفتاوى 21/317ـ 319 

อัสสุนนะฮ คือ สิ่งที่ปรากฏหลักฐานทางศาสนายืนยัน ว่า แท้จริงมัน(สิ่งนั้น)เป็นการภักดีต่ออัลลอฮและศาสนทูตของพระองค์ ไม่ว่าท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กระทำมัน หรือ มีการกระทำในสมัยของท่าน ก็ตาม หรือว่าท่านไม่ได้กระทำมัน และไม่ได้มีการกระทำในสมัยของท่าน เพราะไม่มีความจำเป็นที่จะกระทำในเวลานั้น หรือ เพราะมีอุปสรรค ... ดังนั้น สิ่งที่บรรดาเคาะลิฟะฮอัรรอชิดีน ได้ทำแบบอย่างเอาไว้ นั้น ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนา (บิดอะฮชัรอียะฮ)ที่มีการห้ามจากมัน แม้ปรากฏว่าในทางภาษา เรียกว่า"บิดอะฮ"ก็ตาม เพราะมีความหมายว่า "ริเริ่ม"
- มัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 21 หน้า 317-319
######
#ชี้แจง. มันก้อถูกแล้วนี่ครับ. ที่จะเรียกบิดอะห์ฮาสานะห์ว่า สุนนะห์. เนื่องจากอาซ้อลของมันล้วนมาจากท่านนบีทั้งสิ้น....

เพราะฉะนั้น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ก็คือ ซุนนะฮ์ นั่นเอง ซึ่งท่าน อิบนุ อะษีร ได้กล่าวยืนยันไว้ว่า

والبدعة الحسنة فى الحقيقة سنة، وعلى هذا التأويل يحمل حديث " كل محدث بدعة" على ما خالف أصول الشريعة، وما لم يخالف السنة

"และในความเป็นจริงแล้วบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ก็คือซุนนะฮ์นั่นเอง และให้อธิบายตามนัยนี้ หะดิษที่ว่า "ทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น เป็นบิดอะฮ์" โดยหมายถึง สิ่งที่ขัดกับหลักพื้นฐานของศาสนา และสิ่งที่ขัดกับซุนนะฮ์ " ดู หนังสือ อันนิฮายะฮ์ เล่ม 1 หน้า 80 (ถ่ายทอดจากหนังสือ อัลบะยาน ลิมา ยัชฆ่อลุ อัลอัซฮาน หน้า 206 ฟัตวาที่ 50)
ตาชั่ง พิทักษ์ความยุติธรรม #อ้างอิงจาก. Asan Binabdullah

อิหม่ามอิบนุเราะญับ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) ได้ อธิบาย ความมุ่งหมายของคำพูดอิหม่ามชองอิหม่ามชาฟิอีว่า 


ومراد الشافعي رضي الله عنه ما ذكرناه من قبل أن أصل البدعة المذمومة ما ليس لها أصل في الشريعة ترجع إليه وهي البدعة في إطلاق الشرع وأما البدعة المحمودة فما وافق السنة يعني ما كان لها أصل من السنة ترجع إليه وإنما هي بدعة لغة لا شرعا لموافقتها السنة . 

และจุดมุ่งหมายของอิหม่ามชาฟิอี (ขออัลอฮเมตตาต่อท่าน) ต่อสิ่งที่เราได้ระบุมันมาก่อนหน้านี้ คือ แท้จริงบิดอะฮ ทีถูกตำหนิ(บิดอะฮมัซมูมะฮ) คือ สิ่งที่ไม่มีรากฐานจากศาสนบัญญัติ ทีจะถูกนำกลับไปหามัน และมันคือ บิดอะฮในความหมายทางศาสนา และสำหรับ บิดอะฮที่ถูกสรรเสริญ นั้น คือ สิ่งที่สอดคล้องกับสุนนะฮ หมายถึง สิ่งที่มีรากฐานมาจากสุนนะฮ ที่จะถูกนำกลับไปหามัน ความจริง มันคือ บิดอะฮในทางภาษา ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนบัญัติ เพราะมันสอดคล้องกับอัสสุนนะฮ” – ดู ญามิอุลอุลูม วัลหิกัม หน้า 28 
....................
อิหม่ามชาฟิอี (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)ได้อ้างกระทำของเคาะลิฟะฮอุมัร เป็นตัวอย่างของคำว่า “บิดอะฮที่ถูกสรรเสริญ “ เพราะการกระทำของอุมัร มีรากฐานมาจากการกระทำของท่านรซูลุลลอฮ

###########

#ชี้แจง. ความจริงนิยามบิดอะห์อุลามะมีความเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่งทั้งสองแนวทางไม่ได้ขัดแย้งกัน...

ท่านชัยค์ ด๊อกเตอร์ อลี ญุมอะฮ์ มุฟตีแห่งประเทศอียิปต์ ได้กล่าวหลังจากอธิบายคำนิยามบิดอะฮ์ตามหลักภาษา แล้วก็กล่าวคำนิยามตามหลักศาสนาว่า

(คำนิยาม)บิดอะฮ์ตามหลักศาสนา

บรรดาปวงปราชญ์ได้ให้คำนิยามคำว่า บิดอะฮ์ ตามหลักศาสนาไว้สองแนวทางด้วยกันคือ

หนทางที่ 1. คือแนวทางของท่าน อิซซุดดีน บิน อับดุสลาม โดยที่ท่านได้พิจารณาว่า แท้จริงสิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่เคยกระทำนั้น เป็นบิดอะฮ์ และท่านได้แบ่งบิดอะฮ์ออกเป็นหุกุ่มต่างๆ โดยท่านกล่าวว่า "(บิดอะฮ์คือ)การกระทำที่ไม่เป็นที่รู้จักกันในสมัยของท่านร่อซุลเลาะฮ์(ซ.ล.) คือมันแบ่งออกเป็น บิดอะฮ์วายิบ บิดอะฮ์หะรอม บิดอะฮ์สุนัต บิดอะฮ์มักโระฮ์ และบิดอะฮ์มุบาห์.....(โปรดอ่านเพิ่มตามจากคำนิยามของ อิบนุ อับดุสลามที่ได้นำเสนอมาแล้วข้างต้น)" (ดู ก่อวาอิด อัลอะหฺกาม ฟี มะซอลิหฺ อัลอะนาม เล่ม 2 หน้า 204)

ท่านอิมาม อันนะวะวีย์ ได้สนับสนุนกับความหมายดังกล่าวว่า "ทุก ๆ การกระทำที่ไม่เคยมีในสมัยของท่านนบี(ซ.ล.) เรียกว่าบิดอะฮ์ แต่ส่วนหนึ่งเป็นบิดอะฮ์ที่ดี (หะสะนะฮ์) และส่วนหนึ่งเป็นบิดอะฮ์ที่ขัดแย้งกับดังกล่าว" (ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 2 หน้า 394)

หนทางที่ 2. คือทำความเข้าใจความหมายของบิดอะฮ์ตามหลักศาสนา(ตามแนวทางแรก)นั้น ให้เจาะจงเฉพาะ(บิดอะฮ์ตาม)หลักภาษา และ(ให้จำกัด)บิดอะฮ์ตามหลักศาสนาไว้กับบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิเท่านั้น คือ(อุลามาอ์ที่อยู่ในหนทางนี้)จะไม่เรียก บิดอะฮ์วายิบ บิดอะฮ์สุนัติ บิดอะฮ์มุบาหฺ และบิดอะฮ์มักโระฮ์ (ตามแนวทางของท่านอิบนุอับดุสลาม) ว่า "เป็นบิดอะฮ์" ส่วนผู้ที่มีแนวความคิดที่ว่า คือ ท่าน อิบนุร่อญับ (ร.ห.) ซึ่งได้อธิบายความหมายดังกล่าวว่า " จุดมุ่งหมายของบิดอะฮ์นั้น คือสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ ที่เกิดมาจากสิ่งที่ไม่มีรากฐานแห่งหลักศาสนาที่บ่งชี้ถึง แต่สำหรับสิ่งที่มีรากฐานแห่ง่หลักการของหลักศาสนาที่บ่งถึงนั้น ก็ย่อมไม่ใช่บิดอะฮ์ แต่หากว่า มันเป็นบิดอะฮ์ก็ตามหลักภาษาเท่านั้น(ไม่ใช่เป็นบิดอะฮ์ตามหลักศาสนา" (ดู ญาเมี๊ยะอฺ อัลอุลูม วะ อัลหิกัม หน้า 223 )
ตาชั่ง พิทักษ์ความยุติธรรม ในความเป็นจริงแล้ว สองแนวทางนี้ ต่างมีความเห็นสอดคล้องกันตามแก่นแท้เนื้อหาที่ของความเข้าใจจากคำว่า"บิดอะฮ์" (กล่าวคือสอดคล้องในด้าน การกระทำใด ๆ ก็ตาม ที่ไม่มีรากฐานดังเดิมตามหลักศาสนา ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิตามทัศนะของอิบนุรอญับ และเป็นบิดอะฮ์หะรอมตามทัศนะของท่านอิซซุดดีนบินอับดุสลาม) แต่ต่างกันตรงที่ แนวทางการวินิจฉัยที่นำไปสู่ความเข้าใจที่ตรงกัน คือ บิดอะฮ์อันถูกตำหนิ ที่เป็นการกระทำจะได้รับบาปนั้น คือบิดอะฮ์ที่ไม่มีรากฐานในศาสนาที่บ่งบอกถึง ซึ่งมันก็คือ จุดมุ่งหมายของคำกล่าวของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ที่ว่า "ทุกบิดอะฮ์นั้นลุ่มหลง" (ทั้งหมดนี้ ถ่ายทอดจาก หนังสือ อัลบะยาน หน้าที่ 204 - 205 ฟัตวาที่ 50)
Asan Binabdullah ตาชั่ง พิทักษ์ความยุติธรรม
เพราะฉะนั้น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ก็คือ ซุนนะฮ์ นั่นเอง ซึ่งท่าน อิบนุ อะษีร ได้กล่าวยืนยันไว้ว่า


" كل محدث بدعة" على ما خالف أصول الشريعة، وما لم يخالف السنة

"และในความเป็นจริงแล้วบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ก็คือซุนนะฮ์นั่นเอง และให้อธิบายตามนัยนี้ หะดิษที่ว่า "ทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น เป็นบิดอะฮ์" โดยหมายถึง สิ่งที่ขัดกับหลักพื้นฐานของศาสนา และสิ่งที่ขัดกับซุนนะฮ์ " ดู หนังสือ อันนิฮายะฮ์ เล่ม 1 หน้า 80 (ถ่ายทอดจากหนังสือ อัลบะยาน ลิมา ยัชฆ่อลุ อัลอัซฮาน หน้า 206 ฟัตวาที่ 50)
...........................

คุณตาชั่งบิดเบือนคำพูดอิบนุอะษีร มาดูช่วงก่อนหน้านั้นท่านอิบนุอัลอะษีร ท่านบอกว่า การกระทำของอุมัร คือสุนนะฮ ที่เรียกว่าบิดอะฮ เพราะท่านนบีได้หยุดไปและในสมัยอบุบักร์ ไม่ปรากฏการรวมคนให้ละหมาดญะมาอะฮตารอเวียะ 
มาดูอิบนุอัลอะษีร กล่าวไว้
لأن النبي صلى الله عليه وسلم لم يسنها لهم وإنما صلاها ليالي ثم تركها ولم يحافظ عليها ولا جمع الناس لها ولا كانت في زمن أبي بكر وإنما عمر رضي الله عنه جمع الناس عليها وندبهم إليها فبهذا سماها بدعة وهي على الحقيقة سنة لقوله صلى الله عليه وسلم عليكم بسنتي وسنة الخلفاء الراشدين من بعدي وقوله اقتدوا بالذين من بعدي أبي بكر وعمر 
เพราะนบี สอ็ลฯ ไม่ได้กำหนดมันให้เป็นแนวทางเอาไว้ และความจริงท่านนบีได้ละหมาด มันหลายคืน ต่อมาท่านได้ทิ้งมัน และไม่มีการเอาใจใส่มัน ,ไม่มีการรวบรวมผู้คน สำหรับมัน และมันไม่ปรากฏในสมัยอบีบักร์ และความจริง อุมัร(ร.ฏ) ได้รวบรวมผู้คน บนมัน และส่งเสริมมัน เพราะเหตุนี้จึงเรียกว่าบิดอะฮ และในความเป็นจริงมันคือสุนนะฮ เพราะนบี ศอ็ลฯกล่าวว่า พวกท่านจงยึดสุนนะฮของฉันและ สุนนะฮเคาลิฟะฮรอชิดี หลังจากฉัน....และท่านนบีกล่าวว่า พวกท่านจงปฏิบัติตาม บรรดาผู้ที่อยู่หลังจากฉัน คือ อบูบักร์และอุมัร 
النهاية في غريب الحديث لابن الأثير 1 / 106- 107 .
พวกอะฮลุลบิดอะฮมักตัดตอน เพื่อชงให้สอดรับกับความเห็นตัวเอง จะเอากรณีท่านอุมัร ไปรับรองบิดอะฮตัวเองได้หรือ วัลอิยาซุบิลละฮ
ขอให้พีน้องผู้อ่านที่ใจเป็นธรรมลองดูว่าอันตรายแค่ใหน เอาสุนนะฮเคาะลิฟะฮ มารับรองบิดอะฮที่โต๊ะละแบคิดคิดมา -นะอูซุบิลละฮ.................มีผู้หลักผู้ใหญ่เคยบอกให้ผมช่วยชี้แจง เพราะเคยเห็นคนบิดเบือนคำพูดอิบนุอัลอะษัร อัลหัมดุลลิลละฮผมได้ทำหน้าที่แล้ว
Asan Binabdullah คำพูดท่านอุมัร คำว่า "บิดอะฮ" คือความหมายในทางภาษาเท่านั้นไม่ใช่ บิดอะฮในทางศาสนา อิหม่ามอัชชาฏิบีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)ได้อธิบายว่า 

إنما سمّاها بدعةً باعتبار ظاهر الحال؛ من حيث تركها رسول الله صلى الله عليه وسلم واتَّفق أنْ لم تقع في زمان أبي بك
ر رضي الله عنه، لا أنَّها بدعةً في المعنى، فمن سمّاها بدعةً بهذا الاعتبار؛ فلا مشاحة في الأسامي، وعند ذلك لا يجوز أن يُسْتَدَلَّ بها على جواز الابتداع بالمعنى المتكلم فيه؛ لأنَّه نوع من تحريف الكلم عن مواضعه 

ความจริง ที่เรียกมันว่า บิดอะฮ โดยการพิจารณาสภาพที่ปรากฏ(ในขณะนั้น) โดยที่ท่านรซูลลุลลอฮ ศ็อลลอ็ลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ทิ้งมัน และ บังเอิญว่า ไม่ปรากฏในสมัยของอบูบักร (ร.ฎ) เพราะความจริง มันไม่ใช่เป็นบิดอะฮในด้าน ความหมาย ดังนั้น ผู้ใด เรียกมันว่า “บิดอะฮ”ด้วยการพิจารณานี้ ก็อย่าให้ความสำคัญกับการเรียกชื่อ และในขณะดังกล่าว ไม่อนุญาตให้อ้างมัน เป็นหลักฐานว่า อนุญาตให้อุตริบิดอะฮ ด้วยความหมายที่ถูกพูดถึงในมัน เพราะแท้จริงมันเป็นส่วนหนึ่งของการบิดเบือนคำพูดออกจากที่ของมัน - อัลเอียะติศอม เล่ม 1 หน้า 195 
กล่าวคือ อย่าไปอ้างความหมายบิดอะฮในทางภาษาไปอุตริบิดอะฮในทางศาสนา 

อัศศอนอานีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวไว้ว่า 

وأماقوله عمر نعم البدعة فليس في البدعة مايمدح بل كل بدعة ضلالة 

สำหรับ คำที่ท่านอุมัร กล่าวว่า “เนียะมุนบิดอะฮ”(บิดอะฮที่ดี)นั้น(ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนา) เพราะในบิดอะฮนั้น ไม่มีคำว่า สรรเสริญ แต่ทว่า ทุกบิดอะฮนั้น เป็นการหลงผิด – ดู สุบุลุสสลาม เล่ม 2 หน้า 10
Asan Binabdullah ท่านอิบนุกะษีรยืนยันว่า มันแค่ความหมายในทางภาษา ท่านอิบนุกะษีร (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า

والبدعة على قسمين تارة تكون بدعة شرعية كقوله فإن كل محدثة بدعة وكل بدعة ضلالة وتارة تكون بدعة لغوية كقول أمير المؤمنين عمر بن الخطاب عن كم إياهم على صلاة ا
لتراويح واستمرارهم نعمت البدعة . اهـ

บิดอะฮ แบ่งออกเป็น สองประเภท บางทีก็เป็นบิดอะฮที่เกี่ยวกับศาสนบัญญัติ ดังที่ท่านนบี กล่าวว่า "ทุกสิ่งที่ถูกประดิษฐขึ้นใหม่ เป็นบิดอะฮ และทุกบิดอะฮ เป็นการหลงผิด" และบางที ก็เป็นบิดอะฮที่เกี่ยวกับภาษา ดังเช่น คำพูดของผู้นำแห่งศรัทธาชน อุมัร บุตร อัลคอฏฏอ็บ จากการที่รวบรวมพวกเขา(ผู้คน) ให้ละหมาดตะรอเวียะและให้พวกเขาดำเนินต่อไป ว่า "บิดอะฮที่ดี"

- ดูตัฟสีรอิบนิกะษีร เล่ม 1 หน้า 162 สำนักพิมพ์ดารุ้ลฟิกริ ปี ฮ.1401
Asan Binabdullah ผมเดินทางไปบรรยาย ที่อำเภอบางกล่ำกลับดึก ตาชังต่อได้ เสร็จแล้ว ผมจะกลับมาตอบ และขอให้เจ้าบ้านควบควมด้วย ถ้าจะมีการอ้างสำเนาหนังสือจะดีมาก อินชาอัลลอฮ ผมพร้อม อินชาอัลลอฮ 5 ทุ่มเจอกันถ้ากลับทัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น