อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

เสวนาเรื่องอิบาดะฮฺมีบิดอะฮฮาซานะฮฺจริงหรือ (ตอนที่ 2)



ตาชั่ง พิทักษ์ความยุติธรรม #อ้างอิงจาก Asan Binabdullah 
...........
หะดิษข้างต้น ต้นเรื่องคือ ท่านศาสดากล่าวขึ้นเพื่อยกย่องและส่งเสริมการกระทำของเศาะหาบะฮ์ท่านนั้นที่ "นำร่อง" ปฏิบัติ "สิ่งดีในอิสลาม" - คือการบริจาค - ตามที่ท่านสั่ง .. จนเป็นตัวอย่างให้เศาะหาบะฮ์ท่านอื่นๆปฏิบัต
ิตามด้วย ... ไม่ใช่เขาอุตริบิดอะฮ แล้วให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม อย่างที่ชาวบิดอะฮ บิดเบือน
อิหม่ามชาฏิบีย์(ร.ฮ)กล่าวว่า
فَلَيْسَ الْمُرَادُ بِالْحَدِيثِ الِاسْتِنَانَ بِمَعْنَى الِاخْتِرَاعِ ، وَإِنَّمَا الْمُرَادُ بِهِ الْعَمَلُ بِمَا ثَبَتَ مِنَ السُّنَّةِ النَّبَوِيَّةِ
สิ่งที่ต้องการด้วยหะดิษอัลอิษติสนาน(หะดิษ من سن ) ไม่ใช่ด้วยความหมาย ของการประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ และความจริง สิ่งที่ต้องการด้วยมัน คือ การปฏิบัติ ด้วยสิ่งที่ ปรากฏยืนยัน ในสุนนะฮนบี – อัลเอียะติศอม 1/307

##################

#ชี้แจง บังฮาสันขาดความเข้าใจในเรื่องศาสนาจริงๆ ฮาดิษนั้นท่านนบีไม่ได้เจาะจงเฉพาะ. ทำไมท่านถึงไปทำให้ศาสนาอิสลามต้องเป็นเรื่องแคบด้วยครับ...

ท่านอัสซินดีย์ ได้กล่าวอธิบาย หะดิษดังกล่าวที่รายงานโดยท่าน อิบนุมาญะฮ์ ในหะดิษที่304 ว่า

قوله : ( سنة حسنة) أى طريقة مرضية يقتدى بها ، والتمييز بين الحسنة والسيئة بموافقة أصول الشرع وعدمها 

" คำกล่าวของท่านนบี(ซ.ล.) ที่ว่า( سنة حسنة) (ซุนนะฮ์หะสะนะฮ์) หมายถึง หนทางอันพึงพอใจ ที่ถูกเจริญตาม และการแยกแยะระว่าง หนทางที่หะสะนะฮ์(ดี) และหนทางที่ซัยยิอะฮ์(เลว) นั้น ด้วยการที่มันสอดคล้องกับรากฐานต่าง ๆ ของศาสนาหรือไม่สอดคล้อง" 

หรือเราจะเข้าใจอีกนัยหนึ่งว่า

คำว่าمن سن سنة حسنة หมายถึง"ผู้ใด ที่ประดิษฐ์หรือริเริ่มกระทำ แนวทางหนึ่งที่ดีขึ้นมา หรือการงานที่ดีหนึ่งขึ้นมา ในศาสนา โดยสอดคล้องกับหลักการศาสนา" 
และคำว่าومن سن سنة سيئة หมายถึง"ผู้ใด ที่ประดิษฐ์ หรือกระทำ แนวทางหนึ่งที่ชั่วหรือเลว หรือการงานที่เลวหนึ่งขึ้นมา ในศาสนา โดยขัดกับหลักการศาสนา" 

ด้วยเหตุดังกล่าวนี้แหละ ท่านนบี(ซ.ล.) จึงได้กล่าวถึง สิ่งที่บรรดาซอฮะบะฮ์ได้กระทำขึ้นมาใหม่ นั้น ว่าเป็น"ซุนนะฮ์" ท่านนบี(ซ.ล.)ได้กล่าวว่า

فعليكم بسنثى وسنة الخلفاء الراشدين 

" พวกท่านจงดำรงไว้ ด้วยซุนนะฮ์ของฉัน และแนวทางของบรรดาค่อลิฟะฮ์ผู้ทรงธรรม" 

ดังนั้น สิ่งที่บรรดาซอฮาบะฮ์กระทำขึ้นมาใหม่ ก็คือการประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ในศาสนานั่นเอง แต่ สิ่งที่กระทำขึ้นมาใหม่นั้น หากมันสอดคล้องกับหลักการของอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ และหลักการของศาสนา ก็ย่อมถึอว่าเป็นสิ่งที่ดี และท่านนบี(ซ.ล.) ก็เรียกมันว่า"ซุนนะฮ์" และคำว่าซุนนะฮ์ของบรรดาซอฮาบะฮ์นี้ บางครั้งก็เรียกว่า"บิดอะฮ์ที่ดี" ดังที่ท่านอุมัรกล่าวไว้ว่า

نعمت البدعة هذه 

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ)นี้"

ดังนั้น ซุนนะฮ์ของบรรดาซอฮาบะฮ์นั้น ก็คือ ซุนนะฮ์ในเชิงเปรียบเทียบ( سنة قياسية ) คือเปรียบเทียบกับ ซุนนะฮ์ของท่านนบี(ซ.ล.) คือเมื่อบรรดาซอฮาบะฮ์ ได้วางแนวทางเอาไว้ โดยสอดคล้องกับซุนนะฮ์หรือหลักการศาสนา ก็ถือว่า เป็นซุนนะฮ์ที่เปรียบเทียบเหมือนกับซุนนะฮ์ของท่านนบี(ซ.ล.) นั่นเอง และบรรดาอุลามาอ์หลังจากบรรดาซอฮาบะฮ์ ก็ได้เดินตามแนวทางดังกล่าวเช่นเดียวกับซอฮาบะฮ์ โดยยึดคำกล่าวของท่านนบี(ซ.ล.)ที่ว่า

من سن فى الإسلام سنة حسنة ... 

"ผู้ใด ที่ได้ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่ดี..."
ตาชั่ง พิทักษ์ความยุติธรรม ดังนั้น คำว่า"من" นี้ ให้ความหมายที่ (อุมูม) ครอบคลุม โดยไม่จำกัด"การกระทำขึ้นในอิสลาม กับหนทางที่ดี" อยู่กับอุลามาอ์ยุคสะลัฟเพียงอย่างเดียว ซึ่งดังกล่าวย่อมเป็นการแช่แข็งตัวบทอย่างชัดเจน โดยที่ตัวบทหะดิษที่ชัดเจนนี้นั้น ก็มีความหมายปฏิเสธสิ่งดังกล่าว และมันเป็นการวางจำกัดข้อแม้กับตัวบทโดยปราศจากหลักฐาน เนื่องจากการกระทำแนวทางที่ดีนั้น หากมันอยู่ในหลักการหรือภายใต้หลักศาสนาแล้ว ย่อมเกิดขึ้นได้ทุกยุคทุกสมัย แต่ต้องอยู่ในกรอบของหลักการศาสนา และอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ศาสนาได้วางเอาไว้ ไม่ใช่จะทำกันง่าย ๆ ตามใจชอบ ดังนั้น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์จึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาโดยไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลย

ดังนั้น คำว่า ซุนนะฮ์ ในหะดิษนี้ ไม่ใช่ความหมายในเชิงศาสนา ที่หมายถึง คำกล่าว การกระทำ การยอมรับ ที่ออกมาจากท่านนบี(ซ.ล.) แต่ คำว่า ซุนนะฮ์นี้ มันอยู่ในความหมายในเชิงภาษา หมายถึง"การริเริ่มทำหนทางที่ดี" 

ในหะดิษนี้ อยู่ในความดีเรื่องของ"บริจาคทาน" ซึ่งการบริจาคทาน เป็นสิ่งที่มีรากฐานจากหลักการของศาสนา ดังนั้นการริเริ่มกระทำการ บริจาคทาน ก็คือการ ริเริ่มในการกระทำสิ่งที่มีรากฐานจากหลักการของศาสนา แต่เราจะเจาะจงหรือแช่แข็งหะดิษโดยจำกัดเพียงแค่เรื่องการริเริ่มกระทำความดีด้วยการบริจาคทานอย่างเดียวนั้นไม่ได้ เนื่องจากมีหลักการที่ตรงกันว่า

العبرة بعموم اللفظ لا بخصوص السبب 

"การพิจารณานั้น ต้องพิจารณาที่ถ้อยคำที่ความหมายครอบคลุม ไม่ใช่เฉพาะที่สาเหตุ" 

ดังนั้น การริเริ่มกระทำสิ่งใดก็ตาม ที่เป็นความดี และมีรากฐานจากหลักการของศาสนาและไม่ขัดกับหลักการของศาสนา แน่นอนว่า สิ่งนั้น ย่อมเป็นแนวทางที่ดี

เพราะฉนั้น คำว่าسَنَّ (ริเริ่มทำขึ้นมา) ไม่ได้มีความหมายว่า"ฟื้นฟู" เลยแม้แต่น้อย และไม่มีอุลามาอ์ท่านใด ตีความหมายว่า"เป็นการฟื้นฟู" นอกจากกลุ่มผู้คัดค้านการแบ่งประเภทบิดอะฮ์ในยุคปัจจุบัน (ที่กล่าวว่าผู้คัดค้านปัจจุบันนั้นก็เพราะว่าอุลามาอ์ที่คัดค้านเรื่องการแบ่งบิดอะฮ์ในอดีตไม่เคยอธิบายว่า"เป็นการฟื้นฟู) ที่พยายามตีความหมายเป็นอย่างอื่นเพื่อให้เป็นไปตามที่ตนเองต้องการ
ตาชั่ง พิทักษ์ความยุติธรรม ท่านอิมาม อันนะวาวีย์ ได้ให้ความหมายคำว่าسَنَّ นั้น คือการริ่เริ่มทำขึ้นมาไหม่الإبتداء และการประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่الإختراع อิมามอันนะวาวีย์กล่าวอธิบายว่า

من سن في الإسلام سنة حسنة فله أجرها وأجر من عمل بها بعده من غير أن ينقص من أجورهم شيء ومن سن في الإس
لام سنة سيئة كان عليه وزرها ووزر من عمل بها من بعده من غير أن ينقص من أوزارهم شيء 

فيه : الحث على الابتداء بالخيرات وسن السنن الحسنات ، والتحذير من إختراع الأباطيل والمستقبحات... 

ในหะดิษนี้ ได้ส่งเสริมให้ทำการริเริ่มการกระทำบรรดาความดีงาม และกระทำแนวทางที่ดีขึ้นมา และเตือนให้ระวัง การประดิษฐ์บรรดาสิ่งที่เป็นโมฆะและสิ่งที่น่ารังเกียจทั้งหลาย และสาเหตุที่นบี(ซ.ล.)กล่าวในหะดิษนี้ คือในช่วงแรกผู้รายงานกล่าวว่า" ได้มีชายคนหนึ่ง(ที่ยากจนได้มา แล้วบรรดาซอฮาบะฮ์ก็ช่วยกันบริจาค) ได้นำถุงกระสอบหนึ่งที่มือของเขายกเกือบไม่ไหว แล้วบรรดาผู้คนก็ติดตาม(บริจาคให้อีก)" ดังนั้น ความประเสริฐอันยิ่งใหญ่ สำหรับผู้ที่ริเริ่ม ด้วยการทำความดีนี้ และสำหรับผู้ที่เปิดประตูของการกระทำความดีงามนี้ และในหะดิษนี้ ได้มา(ตักซีซ) ทอนความหมายของหะดิษที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ได้ที่กล่าวว่า

كل محدثة بدعة وكل بدعة ضلالة 

"ทุกสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่นั้น เป็นบิดอะฮ์ และทุกบิดอะฮ์นั้น ลุ่มหลง" 

โดยที่จุดมุ่งหมายของหะดิษนี้ หมายถึง บรรดาสิ่งที่อุตริทำขึ้นมาใหม่ที่เป็นโมฆะและบรรดาบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิเท่านั้น(สำหรับบิดะฮ์ที่ดีนั้นไม่ถูกตำหนิ)..." (ดู ชัรหฺ ซอฮิหฺมุสลิม ของท่านอิมาม อันนะวาวีย์ เล่ม4 หน้า113 ตีพิมพ์ ดารุลหะดิษ ตีพิมพ์ครั้งแรก ปี ฮ.ศ. 1415- ค.ศ. 1994)
ตาชั่ง พิทักษ์ความยุติธรรม จริงอยู่ว่า หะดิษนี้ ได้กล่าวถึงเรื่อง การศอดะเกาะฮ์ แต่การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้กล่าวหะดิษนี้นั้น ไม่ใช่เพราะเรื่องศอดะเกาะฮ์เป็นการเจาะจง แต่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้กล่าว เนื่องจากมีชายคนหนึ่งได้ทำการริเริ่มในการทำความดีขึ้นมา(ด้วยการศอดะเกาะฮ์) ดังที่มีหะดิษสายรายงานอื่น รายงานยืนยันไว้ว่า

وعن حذيفة قال سأل رجل على عهد رسول الله عليه وسلم فأمسك القوم ثم أن رجلا أعطاه فأعطاه القوم فقال رسول الله صلى الله عليه وسلم من سن خيرا فأستن به كان له أجره ومن أجور من تبعه غير منتقص من أجورهم شيئا ومن سن شرا فاستن به كان عليه وزره ومن أوزارمن تبعه غير منتقص من أوزارهم شيئا . رواه أحمد والبزار والطبرانى فى الأوسط ورجاله رجال الصحيح إلا أبا عبيدة بن حذيفة وقد وثقه إبن حبان 

"รายงานจาก หุซัยฟะฮ์ เขากล่าวว่า มีชายคนหนึ่งในสมัยท่านนบีได้ขอ(ซอดะเกาะฮ์) และกลุ่มผู้คนเหล่านั้น ไม่ยอมทำการบริจาค หลังจากนั้น มีชายผู้หนึ่ง ได้ทำการให้(บริจาค)กับเขา(ชายผู้มาขอซะดาเกาะฮ์) ดังนั้น บรรดากลุ่มผู้คนเหล่านั้น จึงทำการ(บริจาคทาน)ให้แก่เขา แล้วท่านร่อซูล(ซ.ล.) ก็กล่าวว่า"ผู้ใดที่ริเริ่มขึ้นมากับการทำความดี แล้วก็ถูกเจริญตามด้วยกับความดีนั้น ผลตอบแทนก็จะมีให้แก่เขา และจากบรรดาผลตอบแทนของผู้ที่ได้เจริญรอยตามเขา โดยการตอบแทนของพวกเขานั้น ไม่ได้ลดย่อนลงไปเลยสักสิ่งเดียว และผู้ใดที่ริเริ่มกระทำขึ้นมา กับความชั่ว แล้วความชั่วนั้นได้ถูกกระทำตาม ผลบาปก็จะตกอยู่บนเขา และจากบรรดาบาปของผู้ที่กระทำตามเขา โดยไม่บาปของพวกเขา ไม่ได้ลดย่อนลงเลยสักสิ่งเดียว" รายงานโดย อิมามอะหฺมัด ท่านอัลบัซฺซฺาร และท่านอัฏฏ๊อบรอนีย์ ได้รายงานไว้ใน มั๊วะญัม อัลเอาสัฏ และบรรดานักรายงานของท่านอัฏฏอบรอนีย์นั้น เป็นนักรายงานที่ซอเฮี๊ยะหฺ นอกจาก อบู อุบัยดะฮ์ บิน หุซัยฟะฮ์ ซึ่งท่านอิบนุหิบบาลนั้น ถือว่า เขาเชื่อถือได้(ดู มัจญฺมะอฺ อัลซะวาอิด ของท่าน อัลฮัยษะมีย์ เล่ม1 หน้า167 )

ดังนั้น คำว่าسَنَّ นั้น จึงอยู่ในความหมายที่ว่า"ริเริ่มกระทำขึ้นมา" ซึ่งหากอยู่บนแนวทางที่ดี ก็ย่อมอยู่บนทางนำ และหากอยู่บนแนวทางที่เลว ก็ย่อมลุ่มหลง

หากเราไปดูในหนังสือ ปทานุกรมอาหรับ เราจะไม่พบว่า คำว่าسَنَّ นั้น มีความหมายว่า"ฟื้นฟู" เลยแม้แต่น้อย แต่ในทางตรงกันข้าม มันกลับมีความหมายว่า เริ่มการกระทำ เช่นใน มั๊วะญัม อัลวะซีฏ ให้ความหมายว่า

من سن سنة حسنة : وكل من ابتداء أمرا عمل بها قوم من بعده فهو الذى سنه 

"ผู้ใดที่ได้سن (วางหรือกำหนด)แนวทางที่ดี: หมายความว่า และทุก ๆ คนที่ได้ ริเริ่มขึ้นมา กับกิจการงานหนึ่ง ที่กลุ่มชนนั้น ได้ถือปฏิบัติตาม(ด้วยกับแนวทางที่ดี) หลักจากเขาเสียชีวิตแล้ว เขาก็คือผู้ที่ริเริ่มทำการงานนั้นขึ้นมา" (ดู มั๊วะญัม อัลวะซีฏ หมวดسن )
ตาชั่ง พิทักษ์ความยุติธรรม #อ้างอิงจาก Asan Binabdullah

จากคำพูดของท่านอุมัร(ร.ฏ)ที่ว่า


نعمت البدعة هذه

บิดอะฮที่ดี คือสิ่งนี้แหละ- รายงาน โดยบุคอรีและอิหม่ามมาลิก
ในเรื่องนี้ อิบนุอับดิลบัร (ร.ฮ) ได้อธิบายว่า

فيه أن قيام رمضان سنة من سنن النبي عليه السلام مندوب إليها مرغب فيها ولم يسن منها عمر إلا ما كان رسول الله يحبه ويرضاه وما لم يمنعه من المواظبة عليه إلا أن يفرض على أمته وكان بالمؤمنين رؤوفا رحيما صلى الله عليه و سلم فلما علم عمر ذلك من رسول الله وعلم أن الفرائض في وقته لا يزاد فيها ولا ينقص منها أقامها للناس وأحياها وأمر بها وذلك سنة أربع عشرة من الهجرة صدر خلافته

แท้จริงละหมาดในยามค่ำคืนเราะมะฎอน(ละหมาดตะรอเวียะ) นั้น คือสุนนะฮ จากบรรดาสุนนะฮของนบี ศอ็ลฯ ที่ถูกสนับสนุนและส่งเสริมให้กระทำ ที่และแท้จริง ท่านอุมัร ไม่ได้กำหนดแบบอย่าง จากมัน เว้นแต่ เป็นสิ่งที่ รซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ รัก และพอใจมัน และไม่มีสิ่งใดยับยั้ง ท่านรซูลุลลอฮ ไม่ให้ปฏิบัติมัน นอกจาก การเกรงว่า มันจะถูกกำหนดให้เป็นข้อบังคับแก่อุมมะฮของท่าน และท่านนบี มีความสงสาร และ เมตตาต่อบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ดังนั้นเมื่อ ท่านอุมัร ได้รู้ดังกล่าวจาก รซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ และรู้ว่า บรรดาละหมาดฟัรดูในเวลาของมัน ไม่ถูกเพิ่มเติม และไม่ถูกลดจากมัน แล้ว ท่านอุมัร ได้จัดให้มันมีขึ้นมาอีก ,ได้ฟื้นฟูมัน และได้สั่งให้ปฏิบัติมัน และดังกล่าวนั้น เกิดขึ้นในปี ฮ.ศ 14 ในช่วงแรกของการดำรงตำแหน่งเคาะลิฟะฮของเขา - อัลอิสติซกาซ 1/62-63
.....ข้างต้น 1. การกระทำของคอลีฟะฮ เป็นสุนนะฮที่นบีรับรอง 2. การกระทำของท่านอุมัรเป็นการฟื้นฟูสุนนะฮนบี ไม่ใช่ท่านคิดบิดอะฮขึ้นมา ดังที่อิบนุอับดิลบัรชี้แจงข้างต้น 3. เป็นมติของเศาะหาบะฮด้วย และผมขอย้ำว่า ไม่มีบิดอะฮที่ดีในศาสนบัญญัติ 

@@@@@@@@@@@@

#ชี้แจง ทำไมบังฮาสันชอบสรุปเรื่องศาสนา ด้วยตรรกะของตัวเองด้วยครับ ในเมื่อ ท่านอุมัรพูดอย่างชัดเจนว่า การที่ท่านรวบรวมผู้คนให้มาละหมาดตารอแวฮเป็นญามาอะห์นั้น ท่านกล่าวอย่างชัดเจนว่า. #นี่คือบิดอะห์ที่ดี. ซึ่งท่านอีหม่ามซาฟีอีย์ได้อิสตีมบาตฮุกมจากคำพูดของท่านอุมัรนี้ ด้วยการบอกว่า บิดอะห์มีสองประเภทดังนี้...

وروى البيهقي بإسناده في مناقب الشافعي عن الشافعي رضي الله عنه قال : المحدثات من الأمور ضربان، أحدهما ما أُحدث مما يخالف كتابا أو سنة أو أثرا أو اجماعا فهذه البدعة الضلالة، والثانية ما أحدث من الخير لا خلاف فيه لواحد من العلماء وهذه محدثة غير مذمومة، وقد قال عمر رضي الله عنة في قيام شهر رمضان: نعمتُ البدعة هذه، يعني أنها محدثة لم تكن".
هذا آخر كلام الشافعي رضي الله عنه 

และได้รายงานจากท่านบัยฮากีย์ด้วยสายรายงานของเขา ในตำรามะนากิบอัชชาฟีอีย์ จากท่านอีหม่ามซาฟีอีย์ ร.ฎ. ได้กล่าวว่า สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น มี 2 ประเภท

(1) สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่ ที่ขัดแย้งกับอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ คำพูดที่ถูกรายงานมา และอิจญฺมาอ์ สิ่งนี้ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง

(2) สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่จากคุณงามความดี ที่ไม่ขัดกับอันหนึ่งอันใด(ที่กล่าวมาแล้ว)นี้ และนี้ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่โดยไม่ถูกตำหนิ

และแท้จริงท่านอุมัรได้กล่าว เกี่ยวกับ(การรวม)ละหมาดตะรอวิหฺ ว่า
نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"

หมายความว่า"การ(รวมตัว)ละหมาดตะรอวิหฺ(20 ร่อกะอัต)ในคืนร่อมาฏอนนี้ คือสิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่โดยที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเมื่อมีการกระทำขึ้นมาแล้ว ก็ไม่เป็นการขัดต่อสิ่งที่กล่าวมา " และสายรายงานนี้ ซอเฮี๊ยะห์ ดู หนังสือ มะนากิบ อัช-ชาฟิอีย์ เล่ม1 หน้า 468 - 469...
Asan Binabdullah เสร็จหรือยังครับ ผมต่อล่ะนะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น