อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

มุสตอฟา กามาล ผู้ทำลายอิสลามในตุรกี






มุสตอฟา กามาล มีความเชื่อมั่นว่า การที่จะนำพาตุรกีสู่ความความเป็นทันสมัยจะต้องเริ่มเปลี่ยนที่แนวคิดและจารีตดั่งเดิมซึ่งอยู่บนพื้นฐานทางศาสนาอิสลาม ซึ่งขัดต่ออารยะธรรมสมัยใหม่ฉะนั้นจึงจำเป็นที่ต้องมีการปฏิรูปศาสนาอิสลามก่อน
        การเคลื่อนไหวของมุสตฟา กามาล ในการปฏิรูปศาสนานั้นได้ดำเนินไปไม่น้อยกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว เพราะเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ.1920

            ดังนั้น ผลลับจากการเคลื่อนไหวของเขานั้น จะดีหรือไม่อย่างไรก็สามารถรู้ได้และสามารถจะบอกยี่ห้อได้เช่นกัน

            1. ประเทศชาติตุรกีและประชาชนตุรกีในปัจจุบัน (ค.ศ.1971) สามารถกล่าวได้ว่าเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาอิสลามแต่ถูกแยกตัวออกห่างจากโลกอิสลามอื่นๆ
          ในอดีตอิทธิพลของตุรกีแพร่กระจายไปทั่วทุกสารทิศ แต่ยุดนี้เหตุการณ์เช่นดังกล่าวนั้นขาดหายไปเสียแล้ว
            ตุรกีในอดีตถูกให้ชื่อว่า “ผู้นำแห่งโลกอิสลาม” ในเรื่องศาสนา ในเรื่องวัฒนธรรม ในเรื่องความรู้วิชาการ แต่ในยุคนี้ถูกโลกอิสลามลืมเสียจนหมดสิ้น
            ศาสนาอิสลามในตุรกีเกือบจะหาไม่ได้อยู่แล้ว หนังสือศาสนาที่เคยตีพิมพ์ที่ตุรกีนั้น ขณะนี้ไม่มีเหลืออยู่อีกเลย สำนักพิมพ์หนังสือเกียวกับศาสนาต่างๆถูกย้ายไปอยู่ที่อียิปต์หมดสิ้น
            กล่าวสั้นๆว่า ในยุคของ กามาล นั้น ตุรกีถูกโลกอิสลามมองว่าเป็นประเทศซึ่งมีประชากรนับถือศาสนาอิสลามเท่านั้น แต่ไม่มีอิทธิพลใดๆเหลืออยู่อีกแล้ว
            นี่เป็นผลแห่งการปฏิรูปศาสนาของ มุสตอฟา กามาล ตั้งแต่ปี 1920-1930 จนทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ต้องหยุดชะงักลงไปโดยปริยาย

            2.ทำให้ศาสนาต้องเสื่อมเสียและมัวหมอง เนื่องจากการเปลี่ยนอัลกุรอานจากภาษาอาหรับไปเป็นภาษาตุรกี นอกจากนั้นยังได้เปลี่ยนถ้อยคำ เช่น การอะซาน การละหมาด การขอดุอาด์จากภาษาอาหรับไปเป็นภาษาตุรกีด้วย ดังนั้นจึงทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างต้องเสียขบวนจนย่อยยับไป อัลลอฮฺ ซ.บ. ได้ทรงประทานอัลกุรอานลงมา ไม่ใช่เพียงแค่เป็นธรรมนูญในการดำเนินชีวิตของประชาชาติอิสลามเท่านั้น แต่ทว่าเพียงอ่านเท่านั้นสำเนียงของมันเป็นอิบาดะห์ด้วย หากว่าอัลกุรอานถูกนำให้เป็นภาษาตุรกีแล้ว ดังนั้น อิบาดะห์ประการหนึ่งก็จะหายไปจากประชาชนตุรกี ซึ่งได้แก่อิบาดะห์ของการอ่านอัลกุรอานนั้นเอง
            มากไปกว่านั้นแล้ว ภาษาตุรกีมีถ้อยคำที่ยังไม่พอเพียง 100 เปอร์เซ็นเหมือนกันกับถ้อยคำหหรือสำนวนที่แฝงอยู่ในภาษาอาหรับ ฉะนั้นจะทำให้ความเข้าใจในศาสนาต้องมีอันเปลี่ยนแปลงไป นี่คือผลแห่งการปฏิรูปศาสนาของ มุสตอฟา กามาล

            3.ผลของการที่อนุญาตให้สตรีมุสลิมแต่งงานกับชายนัสรอนีและยะฮูดี ดังนั้นสายเลือดหลังจาก
มุสตอฟา กามาล จากไปแล้วก็จะผสมผสานกัน 50-50 (คนละครึ่ง) 50% สายเลือดอิสลาม อีก 50% สายเลือดยะฮูดีและนัสรอนี หรือไม่เช่นนั้นก็อาจแบ่งได้ว่า สายเลือดของยะฮูดีและนัสรอนีมีถึง 75% เต็ม การแต่งงานกันระหว่างสตรีอิสลามกับชายนัสรอนีนั้นขัดกันอย่างมากกับกิตาบุลลอฮ์ ดังที่อัลลอฮฺทรงตรัสไว้ในอัลกุรอานความว่า:

وَلَا تَنكِحُوا الْمُشْرِكَاتِ حَتَّىٰ يُؤْمِنَّ وَلَأَمَةٌ مُّؤْمِنَةٌ خَيْرٌ مِّن مُّشْرِكَةٍ وَلَوْ أَعْجَبَتْكُمْ وَلَا تُنكِحُوا الْمُشْرِكِينَ حَتَّىٰ يُؤْمِنُوا وَلَعَبْدٌ مُّؤْمِنٌ خَيْرٌ مِّن مُّشْرِكٍ وَلَوْ أَعْجَبَكُمْ أُولَٰئِكَ يَدْعُونَ إِلَى النَّارِ وَاللَّهُ يَدْعُو إِلَى الْجَنَّةِ وَالْمَغْفِرَةِ بِإِذْنِهِ وَيُبَيِّنُ آيَاتِهِ لِلنَّاسِ لَعَلَّهُمْ يَتَذَكَّرُونَ 

ความว่า และพวกเจ้าจงอย่าแต่งงานกับหญิงมุชริก จนกว่านางจะศรัทธา และทาสหญิงที่เป็นผู้ศรัทธานั้นดียิ่งกว่าหญิงที่เป็นมุชริก แม้ว่านางได้ทำให้พวกเจ้าพึงใจก็ตาม และพวกเจ้าจงอย่าให้แต่งงานกับบรรดาชายมุชริก จนกว่าพวกเขาจะศรัทธา และทาสชายที่เป็นผู้ศรัทธานั้นดีกว่าชายมุชริก และแม้ว่าเขาได้ทำให้พวกเจ้าพึงใจก็ตาม ชนเหล่านี้แหละจะชักชวนไปสู่ไฟนรกและอัลลอฮ์นั้นทรงเชิญชวนไปสู่สวรรค์ และไปสู่การอภัยโทษ ด้วยอนุมัติของพระองค์ และพระองค์จะทรงแจกแจงบรรดาโองการของพระองค์แก่มนุษย์ เพื่อว่าพวกเขาจะได้รำลึกกันได้ (อัล-บากอเราะห์ อายะฮฺที่ 221)

ในโองการดังกล่าวนี้ให้ความชัดเจนว่า ไม่อนุญาตให้คนมุชริกแต่งงานกับมุสลิม ส่วนคนยะฮูดีและนัสรอดีในปัจจุบันนี้กลายเป็นมุสริกไปแล้ว เพราะพวกเขาเคารพบูชารูปปั้น คือรูปปั้นของนบีอีซาอะลัยอิสลาม หรือรูปปั้นอื่นๆ
            โปรดสังเกตโบสถ์คริสต์ปัจจุบัน เต็มไปด้วยรูปปั้นทั้งสิ้น การแต่งงานกับอะห์ลุลกิตาบ (ยิว/คริสต์) ที่อัลกุรอานอนุญาตให้นั้นคือบรรดาอะห์ลุลกิตาบสมัยก่อนที่ปราศจากชิริกและมุซริก
            และการที่อนุญาตให้นั้นก็เฉพาะชายมุสลิมกับหญิงอะห์ลุลกิตาบเท่านั้น ส่วนผู้หญิงมุสลิมนั้นไม่อนุญาตให้แต่งงานกับชายอะลุลกิตาบเพราะเกรงว่าพวกเขาจะยอมไปเป็นกาฟิรตามคำสั่งของสามีผู้มีอำนาจเหนือนาง (ภรรยา)
            สรุปว่า การกระทำของมุสตอฟา กามาล ที่อนุญาตให้สตรีมุสลิมแต่งงานกับชายยะฮูดี และนัสรอนีนั้น เป็นการกระทำโดยพละการนอกเหนือจากหลักเกณฑ์อิสลาม
         
การปฏิรูปศาสนาของมุสตอฟา กามาลผู้นี้ เป็นที่ชักเจนว่าขัดกับโองการของอัลกุรอานที่ระบุว่า:

وَإِنْ خِفْتُمْ أَلَّا تُقْسِطُوا فِي الْيَتَامَىٰ فَانكِحُوا مَا طَابَ لَكُم مِّنَ النِّسَاءِ مَثْنَىٰ وَثُلَاثَ وَرُبَاعَ فَإِنْ خِفْتُمْ أَلَّا تَعْدِلُوا فَوَاحِدَةً

ความว่า: ดังนั้น จงแต่งงานกับหญิงที่สูเจ้าพอใจ สอง-สาม หรือ สี่ แต่ถ้าสูเจ้าเกรงว่า สูเจ้าจะไม่อาจ
(ให้ความยุติธรรมได้) ดังนั้น (จงแต่งกับหญิง) เพียงคนเดียว  (สูเราะหฺ อัล-นิซอาอ์ อายะฮฺที่ 3)


            ส่วนมัสยิด อะยาศอเฟียที่ถูกมุสตอฟาเปลี่ยนให้เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาตินั้น เดิมทีแล้วโบสถ์ขนาดใหญ่ที่ถูกสร้างขึ้นประมาณปี ค.ศ.400 โดยบุตรคนหนึ่งของคอนสแตนตินผู้ยิ่งใหญ่
            หลังจากตุรกีครองอำนาจในคอนสแตนติโนเปิล เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 1453 แล้ว ก็ได้เปลี่ยนโบสถ์หลังดังกล่าวให้เป็นมัสญิด และเรียกว่า มัสญิดอะยะศอเฟีย
         

            สรุปแล้วว่า โบสถ์หลังนั้นถูกเปลี่ยนให้เป็นมัสญิดเป็นระยะเวลานานถึง 518 ปี แต่ทว่าเมื่อ
มุสตอฟา กาล เริ่มมีอำนาจในการปกครองแล้ว เขาจึงดำเนินการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างๆของศาสนาแม้กระทั่งมัสญิดอะยาศอเฟียที่โอ่โถงก็ถูกเปลี่ยนให้เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ทั้งๆ ที่พระราชาและประชาชนโดยทั่วไปได้บริจาคทรัพย์สินเพื่อเก็บไว้เป็นกองทุนในการซ่อมบูรณะมัสญิดหลังดังกล่าวอย่างมากมายก็ตาม
            ไม่เพียงแต่เท่านั้น นอกจากนั้นแล้วมุสตอฟา กามาล ยังได้ใช้ให้ล้างสีที่ทาภาพที่ได้สลักไว้ที่ข้างฝาด้วย จนทำให้มองเห็นภาพสลักอย่างชัดเจนอีกครั้ง

 
แนวความคิดปฏิรูปศาสนาของมุสตอฟา กามาล แบบสรุปมีดังนี้

- ยกเลิกระบบสุลตาน และเปลี่ยนให้เป็นระบบประธานาธิบดี
- ศาสนาและประเทศชาติต้องแยกออกจากัน และซัยคุลอิสลามที่ถูกแต่งตั้งอย่างเป็นทางการนั้นต้องยกเลิกเสีย
- ธรรมนูญของตุรกีที่ว่า ศาสนาประจำชาติคือศาสนาอิสลามนั้น ต้องยกเลิกไป
- ศาลต่างๆ ของอิสลาม เช่น ศาลชะรีอะห์ เป็นต้น ต้องยกเลิกเสีย
- โรงเรียนสอนศาสนาจะไม่ถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของรัฐอีกต่อไป
- อักษรภาษาอาหรับต้องเปลี่ยนเป็นอักษรลาติน
- อัลกุรอานต้องแปลเป็นภาษาตุรกีเท่านั้นและต้องอ่านเป็นภาษาตุรกีเท่านั้น
- การละหมาด การอาซาน การขอดุอา เป็นต้น ต้องใช้ภาษาตุรกี เท่านั้น
- การมีภรรยาหลายคนเป็นสิ่งที่ต้องห้าม
- อนุญาตให้สตรีมุสลิมแต่งงานกับชายนัสรอนีและยะฮูดีได้
- ตัรบูซีซึ่งเป็นหมวกของตุรกีต้องเปลี่ยนเป็นหมวกปีก (คล้ายชาวตะวักตก)
- เสื้อผ้าสตรีที่ยาวๆ ต้องเปลี่ยนเป็นกระโปรงมินิ
- มัสญิดอะยาศอเฟียหลังใหญ่ในอิสตันบูล ต้องเปลี่ยนเป็นพิพิตภัณฑ์สถานแห่งชาติ
- ยกเลิกวันหยุดสุดสัปดาห์ คือ วันศุกร์ ให้เปลี่ยนมาเป็นวันอาทิตย์ แทน ซึ่งคนมุสลิมเข้าใจดีว่าเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ของคริสต์
- ยกเลิกการใช้ปฏิทินอิสลาม
- และอื่นๆ อีกมากมาย


                         มุสตอฟา กามาล มีความเกลียกชังต่ออิสลามและมีความศรัทธามั่นต่ออารยธรรมตะวันตกเขาเป็นสาวกที่ยึดมั่นศรัทธาอย่างแรงกล้าต่อพระเจ้าองค์ใหม่และเขาเผยแพร่คำว่า อารยธรรมไปกว้างไกล เมื่อพูดถึงอารยธรรมนัยน์ตาของเขาจะเป็นประกายและสีหน้ามีความเร้าร้อน เขาพูดเสมอว่า “เราต้องแต่งตัวให้เหมือนกับคนที่เจริญแล้วเราต้องแสดงตัวว่าเป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ เราจะไม่ยอมให้ความโง่เขลาของผู้อื่นมาหัวเราะ เครื่องแต่งกายแบบเก่าของเรา เราต้องเคลื่อนไปตามกาลเวลา”
 ในความพยายามที่จะลอกเลียนแบบตะวันตกทำให้เขาต้องวิตกกังวลอยู่ตลอดเวลาว่าชาวเตอร์ยังไม่เปลี่ยนแปลงและพฤติเหมือนอย่างคนยุโรปเขาจึงออกกฏหมายห้ามไม่ให้ชาวเตอร์สวมหมวกแบบตุรกีและเครื่องสวมประดับบนศีรษะทุกชนิดนอกจากหมวกแบบยุโรป การสวมหมวกแบบยุโรปกลายเป็นกฏหมายบังคับใช้ต่อชาวเตอร์ จนกระทั้งเกิดสงครามหมวกขึ้น เพราะความจริงจังในการบังคับสวมหมวกเหมือนกับว่านั้นคือ ปัจจัยแห่งการเป็นสมัยใหม่อย่างแท้จริงอย่างเดียว มีผู้คนบริสุทธิ์ถูกจับแขวนคอจากนโยบายอย่างนี้เป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นศาลพิเศษตัดสินอย่างเร่งด่วนทำให้ผู้ที่กระทำผิดและผู้บริสุทธ์ต่างก็เดือดร้อน

 ต่อมา กิจการทางศาสนาและตำแหน่งทางศาสนาได้ถูกยกเลิกเช่นกัน ศาสนสมบัติ (อัลเอากอฟ) ตกเป็นของรัฐ โรงเรียนและสถานศึกษาศาสนาถูกเปลี่ยนเป็นโรงเรียนสามัญตามแบบตะวันตก กฎหมายแพ่งของสวิตเซอร์แลนด์ และกฎหมายอาญาแบบอิตาลี ตลอดจนกฎหมายพาณิชย์ของเยอรมันถูกนำมาใช้ แทนที่กฎหมายชะรีอะห์อิสลาม ศาสนาถูกแยกออกจากการเมือง อักษรภาษาอาหรับ (อารบิก) ถูกยกเลิก และภาษาตุรกี (เตอร์กิช) ก็ถูกเขียนด้วยตัวอักษรละตินเยี่ยงยุโรป การอะซานบอกเวลานมัสการด้วย

 ภาษาอาหรับถูกยกเลิก พระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่านถูกแปลเป็นภาษาตุรกี วันอาทิตย์ถูกำหนดให้เป็นวันหยุดทางราชการแทนวันศุกร์ การสวมหมวกทรงตอรบู๊ช (หมวกทรงกระบอกทำด้วยผ้ากำมะหยี่สีแดงและพู่ไหมห้อย) การคลุมศีรษะของสตรี (ฮิญาบ) ถูกยกเลิก และปฏิทินสากลแบบชาวยุโรปถูกนำมาแทนที่ปฏิทินอิสลาม (ซึ่งคำนวณตามจันทรคติ) การเปิดรับอารยธรรมตะวันตกและต่างชาติเป็นไปอย่างเต็มที่โดยไม่มีการอนุรักษ์ของเดิมอีกแต่อย่างใด และการมุ่งสู่ความเป็นยุโรป ตลอดจนตัดขาดจากโลกอิสลามโดยสิ้นเชิง และใกล้ชิดตะวันตกเป็นสิ่งที่ไหล่บ่าเข้าสู่ตุรกีนับแต่บัดนั้นจนกึงปัจจุบัน

http://my-friends-islam.blogspot.com

1 ความคิดเห็น:

  1. ตุรกีอยู่ใกล้สถานที่กำเหนิดท่านนบี ย่อมรู้จริงมากกว่าคุณที่อยู่ประเทศไทยนะ

    ตอบลบ