อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เขาว่าอิหม่ามนะวาวีย์ให้กล่าวอุซอลลี

โซมายา ยูซุบ ถูกใจสิ่งนี้
ความคิดเห็น
Asan Binabdullah ก่อนอืน ของกล่าวว่าในมัซฮับอิหม่ามชาฟิอี ไม่ได้สอนให้กล่าวคำเนียต

มีนักวิชาการบางคนอ้างว่า อิหม่ามชาฟิอีกล่าวคำเนียต
อิหม่ามอัลมาวัรดีย์กล่าวว่า

قَالَ أَبُو عَبْدِ اللَّهِ الزُّبَيْرِيُّ - مِنْ أَصْحَابِنَا - : لَا يُجْزِئُهُ حَتَّى يَتَلَفَّظَ بِلِسَانِهِ تَعَلُّقًا بِأَنَّ الشَّافِعِيَّ قَالَ فِي كِتَابِ " الْمَنَاسِكِ " : وَلَا يَلْزَمُهُ إِذَا أَحْرَمَ بِقَلْبِهِ أَنْ يَذْكُرَهُ بِلِسَانِهِ وَلَيْسَ كَالصَّلَاةِ الَّتِي لَا تَصِحُّ إِلَّا بِالنُّطْقِ فَتَأَوَّلَ ذَلِكَ عَلَى وُجُوبِ النُّطْقِ فِي النِّيَّةِ

อบูอับดุลลอฮ อัซซุบัยรีย์ จากสะหายของเรา กล่าวว่า “ มัน(การเนียต)จะใช้ไม่ได้ จนกว่า เขาจะกล่าวด้วยวาจาของเขา โดยอ้างว่า ชาฟิอีกล่าวในหนังสือ อัลมะนาสิกว่า “และเมื่อเขาเจตนาเอียะรอม ด้วยใจของเขาแล้ว ก็ไม่จำเป็นแก่เขาว่าจะต้องกล่าวมันด้วยวาจาของเขา โดยที่ไม่เหมือนกับละหมาด ซึ่ง มันจะใช้ไม่ได้ นอกจากต้องด้วยการกล่าวเป็นคำพูด ดังนั้น ดังกล่าวนั้น หมายถึงจำเป็นจะต้องกล่าวด้วยวาจาในการเนียต – ดูอัลหาวีย์อัลกะบีร เล่ม 2 หน้า 204


แล้วอิหม่ามอัลมาวัรดี ก็กล่าวแย้ง ข้ออ้างของอัซซุบัยดีย์ว่า

وَهَذَا فَاسِدٌ ، وَإِنَّمَا أَرَادَ وُجُوبَ النُّطْقِ بِالتَّكْبِيرِ

และนี้คือ เป็นคำพูดเท็จ ความจริง เขา(อิหม่ามชาฟิอี) หมายถึง การกล่าวตักบีร ด้วยวาจา -ดูอัลหาวีย์อัลกะบีร เล่ม 2 หน้า 204
……………
จะเห็นได้ว่าการกล่าวว่าอิหม่ามชาฟิอี สอนกล่าวคำเนียต เป็นการอ้างเท็จแก่ท่าน และคำพูดข้างต้นที่ผู้ถามนำมาเป็นความเห็นของอิหม่ามนะวาวีย์ และอิหม่ามนะวาวีย์ ก็บอกว่า วาญิบให้เนียตด้วยใจ ซึ่งว่างๆจะนำเสนอคำพูดอิหม่ามนาวาวียในโอกาสต่อไป

Asan Binabdullah อิหม่ามนะวาวีย์เอง ยืนยันว่า คนที่อ้างว่าอิหม่ามชาฟิอีสอนให้กล่าวคำเนียตนั้น เป็นการเข้าใจผิดพลาด โดยท่านได้กล่าวว่า
لِأَنَّ الشَّافِعِيَّ - رَحِمَهُ اللَّهُ - قَالَ فِي الْحَجِّ : إذَا نَوَى حَجًّا أَوْ عُمْرَةً أَجْزَأَهُ ، وَإِنْ لَمْ يَتَلَفَّظْ وَلَيْسَ كَالصَّلَاةِ لَا تَصِحُّ إلَّا بِالنُّطْقِ . قَالَ أَصْحَابُنَا : غَلِطَ هَذَا الْقَائِلُ ، وَلَيْسَ مُرَادُ الشَّافِعِيِّ بِالنُّطْقِ فِي الصَّلَاةِ هَذَا ، بَلْ مُرَادُهُ التَّكْبِيرُ وَلَوْ تَلَفَّظَ بِلِسَانِهِ وَلَمْ يَنْوِ بِقَلْبِهِ لَمْ تَنْعَقِدْ صَلَاتُهُ بِالْإِجْمَاعِ فِيهِ

เพราะอิหม่ามชาฟิอี (ขออัลลลอฮเมตตาต่อท่าน กล่าวในเรื่อง หัจญ์ว่า “เมื่อเขาเนียตหัจญ์หรือ อุมเราะฮ ก็ใช้ได้แล้ว แม้เขาจะไม่กล่าวคำเนียต และไม่เหมือนกับละหมาด มันจะใช้ไม่ได้นอกจาก ต้องกล่าวเป็นคำพูด) บรรดาสหายของเรากล่าวว่า ผู้พูดคนนี้(คนที่อ้างคำพูดชาฟิอี)นั้นผิดพลาด ความต้องการของอิหม่ามชาฟิอี ไม่ได้หมายถึงกล่าว(คำเนียต)เป็นคำพูดในละหมาด ในกรณีนี้ แต่ทว่า เขา(อิหม่ามชาฟิอี)หมายถึงการกล่าวตักบีร และหากแม้กล่าวคำเนียตด้วยวาจา ของเขา และไม่ได้เนียตด้วยใจของเขา การละหมาดของเขาใช้ไม่ได้ ด้วยมติเอกฉันท์ของนักปราชญ์ในมัน – อัลมัจญมัวะ เล่ม 3 หน้า 241

Asan Binabdullah อิหม่ามตะกียุดดีน กล่าวไว้ในหนังสือ กิฟายะตุลอัคยาร ฟิกฮมัซฮับชาฟิอีย์ เล่ม 2 หน้า 102 ว่า

واعلم أن النية في جميع العبادات معتبرة بالقلب فلا يكفي نطق للسان
และพึงทราบไว้เถิดว่า แท้จริงการเนียตในบรรดาอิบาดาตนั้น ถูกพิจารณา (การเนียต)ด้วยใจดังนั้น การกล่าวคำเนียตด้วยวาจานั้น ไม่พอเพียง
..............................
เพราะฉะนั้น ไร้สาระที่จะมาพูดเรื่อง การกล่าวคำเนียต เพราะการกล่าวคำเนียตไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น