อิบนุหะญัร (ร.ฮ) ได้อธิบายคำพูดเคาะลิฟะฮ อุมัร(ร.ฎ) ที่ว่า
نعمت البدعة هذه
บิดอะฮที่ดี คือสิ่งนี้
نعمت البدعة هذه
บิดอะฮที่ดี คือสิ่งนี้
( قَالَ عُمَرُ : نِعْمَ الْبِدْعَةُ ) فِي بَعْضِ الرِّوَايَاتِ : " نِعْمَتِ الْبِدْعَةُ " بِزِيَادَةِ تَاءٍ ، وَالْبِدْعَةُ أَصْلُهَا مَا أُحْدِثَ عَلَى غَيْرِ مِثَالٍ سَابِقٍ ً
(อุมัร กล่าวว่า เนียะมัลบิดอะฮ) ในบางรายงาน ระบุว่า “เนียะมะติลบิดอะฮ” ด้วยการเพิ่มพยัญชนะตา ,และคำว่า “บิดอะฮ รากฐานของมัน(หมายถึงที่มาของคำนี้) คือ สิ่งที่ถูกประดิษฐขึ้นใหม่ โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน
...................
ข้างต้นอิบนุหะญัรกล่าวถึงความหมายกว้างๆของคำว่าบิดอะฮ ในทางภาษา แล้วท่านกล่าวถึงความหมายในทางศาสนบัญญัติว่า
...................
ข้างต้นอิบนุหะญัรกล่าวถึงความหมายกว้างๆของคำว่าบิดอะฮ ในทางภาษา แล้วท่านกล่าวถึงความหมายในทางศาสนบัญญัติว่า
، وَتُطْلَقُ فِي الشَّرْعِ فِي مُقَابِلِ السُّنَّةِ فَتَكُونُ مَذْمُومَة
และถูกกล่าว กว้างๆ(โดยไม่จำกัด)ในทางศาสนบัญญัติ ในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับคำว่า อัสสุนนะฮ เพราะมันเป็นสิ่งที่ถูกตำหนิ
................
กล่าวคือ คำว่าบิดอะฮ หมายถึง คำที่ตรงกันข้ามกับคำว่าอัสสุนนะฮ แบบนี้ เป็นสิ่งที่ถูกตำหนิ
แล้วท่านอิบนุหะญัร กล่าวสรุปว่า
................
กล่าวคือ คำว่าบิดอะฮ หมายถึง คำที่ตรงกันข้ามกับคำว่าอัสสุนนะฮ แบบนี้ เป็นสิ่งที่ถูกตำหนิ
แล้วท่านอิบนุหะญัร กล่าวสรุปว่า
والتحقيق أنها إن كانت مما يندرج تحت مستحسن فى الشرع فهى حسنة وإن كانت مما يندرج تحت مستقبح فهى مستقبحة وإلا فهى من قسم المباح
และพิสูจน์ได้ว่า บิดอะฮ์นั้น หากมันเข้าไปอยู่ภายใต้สิ่งที่นับว่าดีตามหลักการของศาสนา มันก็คือ หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี)และหากว่ามันเข้าไปอยู่ภายใต้หลักการที่ถือว่าน่ารังเกียจ มันก็คือบิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจ และถ้าหากไม่เป็นเช่นนั้น(หมายถึงไม่เป็นทั้งบิดอะฮ์ทั้งสองประเภท) ก็ถือว่า มันเป็นบิดอะฮ์ ประเภทที่มุบาห์" ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 4 หน้า 253
ข้างต้น เราต้องมาดูจุดสำคัญที่การกระทำของท่านอุมัรเป็นหลัก เพราะการกระทำของท่านอุมัร ไม่ใช่บิดอะฮ ในทางศาสนาบัญญัติแต่เป็นความหมายในเชิงภาษา
มาดูคำอธิบายคำว่าบิดอะฮ ของอิบนุหะญัรเองดังนี้
ข้างต้น เราต้องมาดูจุดสำคัญที่การกระทำของท่านอุมัรเป็นหลัก เพราะการกระทำของท่านอุมัร ไม่ใช่บิดอะฮ ในทางศาสนาบัญญัติแต่เป็นความหมายในเชิงภาษา
มาดูคำอธิบายคำว่าบิดอะฮ ของอิบนุหะญัรเองดังนี้
أما "البِدَع" : فهو جمع بدعة ، وهي كل شيء ليس له مثال تقدّم ، فيشمل لغةً ما يُحْمد ، ويذمّ ، ويختص في عُرفِ أهل الشرع بما يُذمّ ، وإن وردت في المحمود : فعلى معناها اللغوي
สำหรับ คำว่า “อัลบิดอุ” มัน เป็นคำพหุพจน์ ของคำว่า “บิดอะฮ และมันคือ ทุกสิ่ง ที่ไม่มีแบบอย่างมาก่อน ,ในทางภาษา ครอบคลุมสิ่งที่ถูกสรรเสริญ และสิ่งที่ถูกตำหนิ และได้ถูกเจาะจงในนิยามของนักนิติศาสตร์อิสลาม ด้วยสิ่งที่ ถูกตำหนิ และ หากปรากฏ ใน แง่ของการสรรเสริญ ความหมายของมันคือ บิดอะฮในทางภาษา –ฟัตหุลบารี 13/340
อิบนุหะญัร แบ่งไว้ชัดเจน ว่า บิดอะฮ มี 2 ประเภท คือ บิดอะฮในทางศาสนา มันถูกตำหนิ และ ถ้าปรากฏว่าเป็นบิดอะฮที่ดี หมายถึงบิดอะฮในทางภาษา ซึ่ง หมายถึง การริเริ่ม หรือฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ดังที่ท่านอุมัรได้ฟื้นฟูสุนนะฮของท่านนบี ที่นบีเคยปฏิบัติ
และที่มายืนยันข้างต้น คือ
อัลหาฟิซอิบนุหะญัรอัลอัสเกาะลานีย์ (ร.ฮ)กล่าวว่า
อิบนุหะญัร แบ่งไว้ชัดเจน ว่า บิดอะฮ มี 2 ประเภท คือ บิดอะฮในทางศาสนา มันถูกตำหนิ และ ถ้าปรากฏว่าเป็นบิดอะฮที่ดี หมายถึงบิดอะฮในทางภาษา ซึ่ง หมายถึง การริเริ่ม หรือฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ดังที่ท่านอุมัรได้ฟื้นฟูสุนนะฮของท่านนบี ที่นบีเคยปฏิบัติ
และที่มายืนยันข้างต้น คือ
อัลหาฟิซอิบนุหะญัรอัลอัสเกาะลานีย์ (ร.ฮ)กล่าวว่า
فالبدعة في عرف الشرع مذمومة ، بخلاف اللغة ، فإن كل شيء أُحدث على غير مثال يسمى بدعة سواء كان محموداً ، أو مذموماً
บิดอะฮในนิยามของศาสนบัญญัตินั้น คือ สิ่งที่ถูกตำหนิ ต่างกับบิดอะฮในทางภาษา เพราะทุกสิ่ง ที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อนนั้น ถูกเรียกว่า บิดอะฮ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ถูกชมเชยและถูกตำหนิก็ตาม - ดูฟัตหุลบารีย์ 13/253
..............................
นักอนุรักษ์และปกป้องบิดอะฮ ทุ่มเทความพยายามที่จะค้นคว้า ทัศนะและคำวินิจฉัยของปราชญ์ เพื่อมาสนับสนุนบิดอะฮของตน โดยไม่แยแสที่จะปกป้องอัสสุนนนะฮ วัลอิยาซุบิลละฮ
والله أعلم بالصواب
..............................
นักอนุรักษ์และปกป้องบิดอะฮ ทุ่มเทความพยายามที่จะค้นคว้า ทัศนะและคำวินิจฉัยของปราชญ์ เพื่อมาสนับสนุนบิดอะฮของตน โดยไม่แยแสที่จะปกป้องอัสสุนนนะฮ วัลอิยาซุบิลละฮ
والله أعلم بالصواب
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น