อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ท่านอิบนุตัยมิยะฮ์ ไม่ได้วางแนวทางใดตามอารมณ์




  
ท่านอิบนุตัยมิยะฮ์ ไม่ได้วางแนวทางใดตามความคิดเห็นของท่านเอง แต่ท่านได้วินิจฉัยไปตามตัวบทหลักฐาน และตามเงื่อนไขของนักวิชาการผู้ทรงภูมิปัญญา  (มุจญ์ตะฮิด) ซึ่งชัยคฺชะเราะฟุดดีน อัล-มักดิสียฺ ได้อนุญาตให้ท่านอิบนุตัยมียะฮฺทำการฟัตวาขณะที่ท่านอิบนุตัยมียะฮฺมีอายุได้ 19 ปี
 (อัล-บิดายะฮฺ วัน-นิฮายะฮฺ 13/341, อัล-อุกูด หน้า 4)


ครูของท่านอิบนุ ตัยมียะฮฺ มีมากกว่า 200 ท่าน ในจำนวนนี้มีครูที่มีชื่อ ซึ่งท่านได้ศึกษาอยู่หลายปี นั่นคือ ท่านซัยนุดดีน อัล มุก็อดดีซียฺ าะฏีบและมุฟตียฺในมัซฮับอัช-ชาฟีอียฺ ประจำนครดามัสกัส ท่านนัจญมุดดีน อะซากิร และปราชญ์ที่เป็นสตรีท่านซัยนับ บินติ มักกียฺ           ท่านอิบนุ ตัยมียะฮฺ ได้รับการฝึกฝนทางความรู้มากับมัซฮับ(สำนักฟิกฮฺ) ฮัมบะลียฺ แต่ความรู้ของท่านได้ก้าวข้ามมัซฮับที่ท่านสังกัดไปสู่มัซฮับอื่นๆ ท่านไม่อคติกับมัซฮับฮะนาฟี ชาฟิอี และมาลิกี การฟัตวาของท่านยังอ้างอิงถึงมัซฮับอื่นๆด้วย


ส่วนผู้ที่กล่าวหาท่านอิบนุตัยมิยะฮ์ส่วนใหญ่จะเป็นบรรดานักวิชาการกลุ่มอะชาอิเราะฮฺ บรรดากอฎียฺและมุฟตียฺต่างมัซฮับ ตลอดจนบรรดาผู้ที่นิยมตามแนวทางอัฏ-เฏาะรีเกาะฮฺ อัศ-ศูฟียะฮฺ              
 ซึ่งการโจมตีกล่าวหาเช่นนี้ก็เคยเกิดขึ้นต่อนักปราชญ์ผู้เรืองนามหลายท่าน เช่น             อิมามอัช-ชาฟิอียฺ (ร.ฮ.) ก็เคยถูกกล่าวหาว่าสมรู้ร่วมคิดกับกลุ่ม อัล-อะละวียูน (ชีอะฮฺ) ในยะมัน และผู้ที่นิยมคลั่งใคล้ (ตะอัศศุบ) ในมัซฮับ-อัล-หะนะฟียฺ ก็เคยกุหะดีษโจมตีท่าน พวกนะวาศิบก็กล่าวหาว่าท่านเป็นรอฟิฎียฺ          อิมามอะหฺมัด อิบนุ หัมบัล (ร.ฮ.) ก็ถูกพวกมัวะตะซิละฮฺกล่าวหาท่านจนท่านต้องถูกคุมขังและถูกเฆี่ยน


บางครั้งเกิดจากคลั่งไคล้มัซฮับ จนมีการกุหะดิษมาว่าอีกฝ่ายหนึ่ง อย่างเช่น มีการกุหะดิษ จากท่านอิบนุ้ลญูซีย์ ได้บันทึกในหนังสือ “อัล-เมาฎูอาต” เล่มที่ 1 หน้า 457 โดยรายงานมาจากมะอฺมูน บินอะห์มัด อัส-สะละมีย์, ซึ่งรายงานมาจากอะห์มัด บินอับดุลลอฮ์ อัล-ญุวัยบารีย์, ซึ่งรายงานมาจากอับดุลลอฮ์ บินมะอฺดาน อัล-อัซดีญ์, ซึ่งรายงานมาจากท่านอนัส บินมาลิก ร.ฎ. ว่า ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า ...
يَكًوْنُ فِىْ اُمَّتِىْ رَجُلٌ يُقَالُ لَهُ مُحَمَّدُ بْنُ إِدْرِيْسَ أَضَرُّ عَلَى اُمَّتِىْ مِنْ إِبْلِيْسَ،
وَيَكُوْنُ فِىْ اُمَّتِىْ رَجُلٌ يُقَالُ لَهُ أَبُوْ خَنِيْفَةَ، هُوَ سِرَاجُ اُمَّتِىْ ...
“ในประชาชาติของฉัน จะมีชายผู้หนึ่ง ถูกเรียกว่า มุหัมมัด บิน อิดรีส (หมายถึงท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ ขออัลลอฮ์โปรดเมตตาต่อ
ท่านด้วย) ซึ่งเขาจะเป็นภัยต่อประชาชาติของฉันยิ่งกว่าอิบลีส ...
และในประชาชาติของฉัน จะมีชายผู้หนึ่ง ถูกเรียกว่า อบูหะนีฟะฮ์ (หมายถึงท่านอิหม่ามอบูหะนีฟะฮ์หรือท่านหะนะฟีย์ ขออัลลอฮ์โปรดเมตตาต่อท่านด้วย) ซึ่งเขาจะเป็นดวงประทีปให้แก่ประชาชาติของฉัน”


ซึ่งในวันที่ท่านอิบนุตัยมิยะฮ์เสียชีวิต ผู้คนจำนวนมาก ทั้งผู้เห็นด้วยกับท่านและผู้ไม่เห็นด้วยกับท่าน ได้ร่วมในพิธีศพของท่านอย่างล้นหลาม         ดูวาทะ ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมิยะฮฺ เราะฮิมะฮุลลอฮฺ   ท่านอิบนุตัยมิยะฮฺ กล่าวกับศิษย์ของท่านคือ อิบนุก็อยยิม ว่า:

"อะไรที่ศัตรูของฉันทำกับฉัน? การที่ฉันถูกกักขังคือ การวิเวก (คุลวะฮฺ) ของฉันต่ออัลลอฮฺ การฆ่าฉันคือ การตามชะฮีดและการขับไล่ฉันคือ การไปทัศนศึกษา"

ระหว่างที่ท่านอิบนุตัยมิยะฮฺถูกขังในเมืองกอลอะฮฺท่านได้กล่าวว่า:
"หากฉันบริจาคทองให้เต็มแผ่นดินกอลอะฮฺก็ยังไม่เทียบเท่าต่อการขอบคุณของฉันที่มีต่อความโปรดปราณในครั้งนี้ได้ ฉันจะไม่ตอบแทนพวกเขาต่อการที่พวกเขาตั้งขอหาแกฉัน จนเป็นเหตุให้ฉันถูกกักขังนอกเสียจากความดีเท่านั้น (เพราะ) ผู้ที่ถูกกักขังที่แท้จริงนั้นก็คือ ผู้ที่หัวใจของเขาถูกกักขังไว้ไม่ยอมให้เขาเข้าหาอัลลอฮฺและเฉลยที่แท้จริงได้แก่ผู้ที่ตัณหาของเขาจับเขาไว้เป็นเฉลย"


สำหรับเรื่องความขัดแย้งปัญหาทางฟิกฮ์ ของนักวิชาการตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น ความขัดแย้ง (อิคติลาฟ) ในเรื่องวินิจฉัยปัญหาต่างๆ ของชาวอะฮฺลุสสุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ หรือสะละฟุศศอและห์ ในทัศนะของพวกเขาแล้ว ไม่ใช่เหตุผลแห่งความเป็นศัตรู หรือต้องหันหลังต่อกันในระหว่างพี่น้องมุสลิม แต่พวกเขายังคงรักใคร่ให้การยอมรับกัน หรือละหมาดตามหลังกันได้ต่อไป แม้นพวกเขาจะมีความเห็นไม่เหมือนกันในปัญหาปลีกย่อยเหล่านั้นก็ตาม              อิหม่ามอัซซะฮะบียได้รายงานว่า
قَالَ يُونُسُ الصَّدَفِيُّ : مَا رَأَيْتُ أَعْقَلَ مِنَ الشَّافِعِيِّ ، نَاظَرْتُهُ يَوْمًا فِي مَسْأَلَةٍ ، ثُمَّ افْتَرَقْنَا ، وَلَقِيَنِي ، فَأَخَذَ بِيَدِي ، ثُمَّ قَالَ : يَا أَبَا مُوسَى ، أَلَا يَسْتَقِيمُ أَنْ نَكُونَ إِخْوَانًا وَإِنْ لَمْ نَتَّفِقْ فِي مَسْأَلَةٍ
"ยูนุส อัศเศาะดะฟีย์ กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นใครที่ฉลาดยิ่งไปกว่า อัชชาฟิอี ,วันหนึ่งข้าพเจ้าได้ดีเบท กับเขาในประเด็นหนึ่ง หลังจากนั้น เราได้แยกย้ายกันไป และ (ต่อมา) เขา(ชาฟิอี)ได้พบกับข้าพเจ้า แล้วจับมือข้าพเจ้า หลังจากนั้นเขากล่าวว่า "โอ้อบูมูซา (หมายถึงท่านยูนุส) โปรดรู้ไว้เถิดว่า ความเป็นพี่น้อง นั้นยังคงดำรงอยู่ แม้เราจะไม่เห็นฟ้องกันในประเด็นใดก็ตาม"
(สิยารเอียะลามอัลนุบะลาอฺ 10/17)


ดังนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาศาสนาและมีความเห็นต่างของนักวิชการในด้านฟิกฮ์จึงเกิดมานานแล้ว แต่นักวิชาการที่เห็นต่างกันไม่เคยคิดที่จะเป็นศัตรูกันเลย แต่พวกเขายังรักใคร่ให้การยอมรับกัน กรณีที่ท่านอิบนุตัยมิยะฮ์ ฟัตวาว่าการกล่าวคำหย่า3ฏอละฮ์ตก 1 ฏอละฮ์ก็เช่นเดียวกัน ก็มีความเห็นต่างกันออกเป็น 3 ฝ่าย โดยต่างมีหลักฐานรองรับ


1. ทัศนะที่ว่าการหย่า 3 เฏาะล๊ากด้วยคำพูดครั้งเดียว เป็นทัศนะของปวงปราชญ์  ส่วนหนึ่งคือ ท่านอิบ อิหม่ามทั้ง  4  และ  กลุ่มอัซซอฮิรียะฮฺ   โดยมีรายงานจากซอฮาบะฮฺส่วนใหญ่  เช่น  ค่อลีฟะฮฺทั้ง  4  (ยกเว้นท่านอบูบักร)  และบรรดาอับดุลลอฮฺทั้ง  4  ท่าน  (คืออิบนุ  อุมัร,  อิบนุ  อัมร์,  อิบนุ  อับบ๊าส  และอิบนุ  มัสอู๊ด)  และอบูฮุรอยเราะฮฺ  เป็นต้น


2. ทัศนะที่ว่าคำพูดดังกล่าวไม่ตกเฏาะล๊ากเลยเลย ได้แก่ทัศนะบางท่านในหมู่อัตตาบิอีน มีรายงานเล่ามาจาก ท่านอิบนิอะลียะฮฺ ฮิชาม อิบนิล หะกัม และท่านอบูอุบัยดะฮฺ และบางคนในหมู่อะฮฺลิซซอฮิรฺ (มัซฮับดาวู๊ด อัซซอฮีรีย์) รวมถึงฝ่ายชีอะฮฺอิมามียะฮฺ  ถือว่าไม่มีการหย่าเกิดขึ้น


3.ทัศนะที่ว่าการกล่าว 3 เฏาะล๊ากด้วยคำพูดครั้งเดียว ถือว่าเป็นการตกเป็นการหย่า 1 ครั้ง เป็นทัศนะของของฝ่ายซัยดียะฮฺและอัซซอฮีรียะฮฺบางส่วน,อาลี อิบนีอับบาส , อับดุรเราะฮฺมาน บุตรเอาฟ์ , ซุบัยรฺ บุตร เอาวาม , อะตออฺ , ตอวูส , อินบุ ดีนาร , อิกมะฮฺ สานุศิษย์ของอิมามมาลิก ฮะนาฟี และอะหฺมัด บางท่าน   อิบนุ  อิสหาก,  อิบนุตัยมียะฮฺและอิบนุ  อัลก็อยยิม


และการหย่าที่เป็นซุนนะฮฺ  (الطلاق السنى)  คือการที่ฝ่ายชายหย่าภรรยาของตนเพียง  1  ครั้ง  (طلقة واحدة)  และถ้าหากประสงค์หย่า  3  ครั้ง  ก็ให้แยกการหย่าในช่วงที่ภรรยาไม่มีรอบเดือนแต่ละช่วง  1  ครั้ง  เพื่อออกจากความขัดแย้งของนักวิชาการ  แต่ถ้ารวมการหย่าทั้ง  3  ครั้งเอาไว้  (รวดเดียว)  ในช่วงไม่มีรอบเดือน  (เกลี้ยง)  ก็เป็นที่อนุญาตและไม่เป็นที่ต้องห้ามตามมัซฮับอัชชาฟิอีย์ ส่วนในทัศนะของมัซฮับฮะนะฟีย์  ถือว่าการหย่ารวดเดียว  3  ครั้งนี้เป็นสิ่งที่เข้าข่ายมักรูฮฺตะฮฺรีม  และถือว่าผู้หย่าฝ่าฝืนและมีโทษ                   
 (ดูอัลฟิกฮุ้ลอิสลามีย์  ว่า  อะดิลละตุฮู  ;  ดร.วะฮฺบะฮฺ  อัซซุฮัยลี่ย์  เล่มที่  7  หน้า  326,329)


จึงเห็นได้ว่าทัศนะที่ว่าการกล่าว 3 เฏาะล๊ากด้วยคำพูดครั้งเดียว ถือว่าเป็นการตกเป็นการหย่า 1 ครั้ง ไม่ใช่เพียงทัศนะของท่านอิบนุตัยมิยะฮ์เพียงคนเดียว แต่เป็นทัศนะของนักวิชาการท่านอื่นรวมถึงเศาะหาบะฮ์ด้วย ท่านจึงไม่ได้วินิจฉัยแวกแนว หรือวางแนวให้กับกลุ่มใดแต่อย่างใด









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น