ท่านอับดุลลอฮ์ บิน มัสอูด ร.ฎ. เคยกล่าวไว้ว่า
( إتَّبِعُوْا وَلاَ تَبْتَدِعُوْا ! فَقَدْ كُفِيْتُمْ )
“พวกท่านจงปฏิบัติตาม, และพวกท่านจงอย่าได้อุตริเป็นอันขาด! แน่นอน พวกท่านถูก ( กำหนดซุนนะฮ์ ) ให้, ( เพื่อการปฏิบัติ ) จนเพียงพอแล้ว”
( บันทึกโดย ท่านวะเกี๊ยะอฺ ในหนังสือ “อัซ-ซุฮ์ดิ” เล่มที่ 2 หน้า 590 (หมายเลข 315), ท่านอะห์มัด ในหนังสือ “อัซ-ซุฮ์ดิ” หน้า 162, ท่านอัด-ดาริมีย์ เล่มที่ 1 หน้า 80, ท่านมุหัมมัด บิน นัศรฺ ในหนังสือ “อัส-ซุนนะฮ์” หน้า 23, ท่านอัล-บัยฮะกีย์ ในหนังสือ “อัล-มัดค็อลฯ” หมายเลข 204 )
อุตริ ตามพจนานุกรมไทย แปลว่านอกคอก นอกทาง นอกรีต
อุตริ ตรงกับภาษาอาหรับ คือ บิดอะฮ์ ซึ่งตรงกันข้ามกับซุนนะฮ์
ตามความเข้าใจทั่วๆไป หมายถึงการกระทำสิ่งใดก็ตามในเรื่องศาสนา ที่ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยกระทำแบบอย่างเอาไว้
บิดอะฮ์ ตามความเข้าใจกันทั่วไป เป็น“บิดอะฮ์ตามหลักภาษา” (بِدْعَـةٌ لُغَوِيَّـةٌ) หมายถึง การริเริ่มกระทำสิ่งที่ไม่เคยมีแบบอย่างมา การกระทำในสิ่งซึ่งท่านนบีย์ละทิ้ง ทั้งๆก่อนทุกอย่าง,ไม่ว่าเรื่องทางโลกหรือศาสนา ที่มีประเด็นส่งเสริมให้ท่านทำ และไม่มี-ไม่ว่าจะเป็นสิ่งดีหรือสิ่งเลว
เช่น การประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ อาจเป็นสิ่งดี เช่น ผลิตรรถไว้ขับขี่ สิ่งไม่ดี เช่น ผลิตยาเสพติด เป็นต้น
ตัวอย่างบิดอะฮ์ดีตามหลักภาษา ในเรื่องศาสนา
ได้แก่การรวบรวมอัล-กุรฺอ่านทั้งหมดเข้าเป็นเล่มเดียวกันในสมัยของท่านอบู บักรฺ, หรือการจำแนกวิชาการทางศาสนาออกเป็นหมวดหมู่ เช่น เป็นวิชาตัฟซีรฺ, วิชาฟิกฮ์, วิชาประวัติศาสตร์, วิชาไวยาการณ์อฺรับ ฯลฯ
บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ ( بِدْعَـةٌ شَرْعِـيَّةٌ ) หมายถึง การกระทำสิ่งซึ่งท่านศาสดาละทิ้ง ทั้งๆที่มีประเด็นส่งเสริมให้ทำ, และไม่มีอุปสรรคใดๆขัดขวางท่านจากการกระทำสิ่งนั้น
“บิดอะฮ์” ที่ท่านนบีกล่าว หมายถึงบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติศาสนา, มิใช่บิดอะฮ์ตามหลักภาษา
วัลลอฮูอะอฺลัม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น