อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ทำไม ละหมาดญะนาซะห์ต้องแจกตังค์?






นี่คือ ปัญหาหนึ่งในสังคม คือ เมื่อมีการการตาย ก็ต้องไปเชิญโต๊ะละแบ โต๊ะปะเกร์(ใช้เรียกคนเรียนปอเนาะ) มาละหมาด โดยจำกัดคนตามกำลังทรัพย์ของครอบครัวผู้ตายที่สามารถจะแจกตังค์และข้าวสารแก่ผู้มาละหมาดได้ ถ้าจนคนละหมาดน้อย ถ้ารวยคนมาละหมาดมาก เพราะมีตังค์แจกเยอะกว่า
ในสุนนะฮนบีส่งเสริมให้คนไปละหมาดเยอะๆ ไม่จำเป็นว่าเขาจะเชิญหรือไม่เชิญ เพราะการละหมาดญะนาซะฮคือ การให้การอนุเคราะห์แก่พี่น้องมุสลิมที่เสียชีวิต ไม่ใช่มาสร้างภาระให้พวกเขา
ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَا مِن مَيِّت يُصَلّي عَليه أُمَّة مِن المسلمين (أي: جماعة) يَبْلُغون مِائة كُلُّهم يَشْفعون له إِلَّا شَفَعوا فيه» [أخرجه مسلم]
“ไม่มีผู้เสียชีวิตคนใดที่มีชนมุสลิมมาละหมาดให้เขา พวกเขามีถึง 100 คน ทั้งหมดล้วนขออนุเคราะห์(ชะฟาอะฮฺ)ให้แก่เขาเว้นแต่พวกเขาจะถูกให้ขออนุเคราะห์(ชะฟาอะฮฺ)ให้เขาได้” บันทึกโดยมุสลิม
ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าท่านได้กล่าวว่า
«مَنْ شَهِدَ الجَنَازَةَ حَتَّى يُصَلَّى عَلَيْهَا فَلَهُ قِيْرَاطٌ، وَمَنْ شَهِدَهَا حَتَّى تُدْفَنَ فَلَهُ قِيْرَاطَان. قِيْلَ: وَمَا القِيْراطَان؟ قَالَ: مِثْلَ الجَبَلَيْنِ العَظِيْمَيْنِ» [متفق عليه]
“ผู้ใดอยู่ร่วมกับคนตายจนเขาถูกละหมาดให้ เขาจะได้ 1 กีรอฏ และผู้ใดอยู่ร่วมกับคนตายจนเขาถูกฝัง เขาจะได้ 2 กีรอฏ มีคนกล่าวว่า “และกีรอฏคืออันใดหรือ?” ท่านกล่าวตอบว่า “เหมือนภูเขามหึมา 2 ลูก”” บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺและมุสลิม

การละหมาดญะนาซะฮ มีผลบุญมากมาย แต่ทำไมต้องรอให้เจ้าภาพมาเชิญก่อน จะไปละหมาดให้เขา แบบนี้สุนนะฮใครหรือครอบครัวคนจน ที่มีการตาย ได้เงินมาก้อนหนึ่งจากการบริจาคช่วยเหลือของเพื่อบ้าน แต่ไม่นานเงินก็หายไปในพริบตา เพราะเอาไปแจกคนที่มาละหมาดให้ศพสามี มันช่างน่าเศร้าใจยิ่งหนัก เพราะถ้าไม่แจกตังค์ สังคมก็จะหาว่า"เป็นพวกวะฮบีย" ใครล่ะจะทนได้ พอค่ำลงต้องหาตังค์เตรียมอาหารเลี้ยงโต๊ะละแบอีก ไม่ทำก็กลัวเป็นวะฮบีย์ ไม่มีใครคบ ก็จำใจต้องทำ ฝ่ายที่ได้ประโยชน์เข้ากระเป๋า ก็อ้างว่า เจ้าภาพมีใจ จะบริจาคเศาะดะเกาะฮ ขอแย้งว่าไม่จริง แต่เป็นการจำใจต้องทำเพราะมันคือธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมานานใครไม่ทำก็จะถูกตำหนิทางสังคม ถ้ามีใจแล้วทำไม่บริจาคเฉพาะคนละหมาดญะนาซะฮ สรุปคือ เป็นค่าละหมาดญะนาซะฮนั้นเอง
กรณีแจกตังค์หรือสิ่งของ พร้อมกับมัยยิตที่กุโบร์นั้น ท่านอิบนุตัยมียะฮกล่าวไว้ ว่า
وأمَّا إخراج الصدقة مع الجنازة فبدعةٌ مكروهةٌ، وهو يُشبه الذبح عند القبر، وهذا مما نهى عنه النبيُّ صلى الله عليه وسلم، كما في السنن عنه صلى الله عليه وسلم أنه نهى عن العَقْر عند القبر، وتفسيرُ ذلك: أنَّ أهل الجاهلية كانوا إذا مات فيهم كبيرٌ عَقَروا عند قبره ناقةً أو بقرةً أو شاةً أو نحو ذلك، فنهى النبيُّ صلى الله عليه وسلم عن ذلك، حتى نصَّ بعضُ الأئمة على كراهة الأكل منها، لأنه يُشبه الذبح لغير الله، قال بعض العلماء: وفي معنى ذلك ما يفعله بعضُ الناس من إخراج الصدقات مع الجنازة من غنمٍ أو خبزٍ أو غير ذلك
และสำหรับ การจ่ายเศาะดะเกาะฮ พร้อมกับญะนาซะฮ นั้น เป็นบิดอะฮที่น่ารังเกียจ และมัน ถูกเลียนแบบ กับการเชือด ณ ที่กุโบร์ และ กรณีนี้ เป็นส่วนหนึ่งจาก สิ่งที่นบี ศอ็ลฯ ได้ห้ามจากมัน เช่น สิ่ง(หะดิษ)ที่ปรากฏในอัสสุนัน จากท่านนบี ศอ็ลฯ ว่า ท่านนบีได้ห้ามจากการเชือดสัตว์ ณ ที่กุโบร์ และการอธิบายดังกล่าวนั้นคือ แท้จริง ชาวญาฮิลียะฮ เมื่อผู้หลักผู้ใหญ่ในหมู่พวกเขาเสียชีวิต พวกเขาก็เชือด อูฐ,หรือวัว ,หรือแพะหรือ ในทำนองนั้น ณ ที่กุโบร์ของเขา แล้วท่านนบี ศอ็ลฯ ได้ห้ามจากดังกล่าวนั้น จนกระทั่ง ส่วนหนึ่งจากนักปราชญ ได้ระบุไว้เป็นตัวบท ถึงมักรูฮของการรับประทานจากดังกล่าว เพราะแท้จริง มันถูกให้คล้ายคลึง กับการเชือดเพื่ออื่นจากอัลลอฮ ,ส่วนหนึ่งของ บรรดานักปราชญ์ ได้กล่าวไว้ว่า “ และในความหมาย ดังกล่าวนั้น คือ สิ่งที่ ส่วนหนึ่งของบรรดาผู้คนได้ปฏิบัติมัน จากการ จ่ายบรรดาเศาะดะเกาะฮ พร้อมกับมัยยิต เช่น แพะ หรือ ขนมปัง หรืออื่นจากดังกล่าวนั้น
 -ญาเมียะอัลมะสาอีล ของอิบนุตัยมียะฮ 4/151

جامع المسائل لشيخ الإسلام ابن تيمية رحمه الله . المجموعة الرابعة ص151 ขอให้พี่น้องผู้อ่านพิจารณาดู ผมคงบังคับใครไม่ได้ เรามาเลิกประเพณีจ่ายค่าตอบแทนการละหมาดญะนาซะฮกันดีไหม หัดเป็นผู้เสียสละบ้างจะดีไหม เพื่อให้ครอบครัวผู้ตายนำเงินไว้ใช้จ่ายในครอบครัวโดยเฉพาะหญิงหม้ายและเด็กกำพร้า

والله أعلم بالصواب

อะสัน หมัดอะดั้ม




การแจกเงินภายหลังละหมาดญานาซะฮ์ที่ทำกันปัจจุบัน ถึงแม้จะเป็นการบริจาคสะดะเกาะฮ์รูปแบบหนึ่ง แต่การแจกเงินดังกล่าวมีลักษณะเป็นประเพณีที่คนทั่วไปเข้าใจว่าต้องทำ ถ้าไม่ทำแล้วเป็นเรื่องแปลก คือชาวบ้านทั่วไปเขาเข้าใจว่ามันคือบทบัญญัติศาสนา ที่ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะซัลลัม) และบรรดาเศาะหาบะฮ์ และชาวสลัฟถัดมาได้ปฏิบัติกัน หากใครไม่ทำถูกมองว่า ยังไม่ครบสูตรของการประกอบพิธีจัดการมัยยิตตามบทบัญญัติศาสนา คือถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดศพ ชาวบ้านทั่วไปเมื่อญาติคนใดเสียชีวิตแล้วก็ต้องหาเงินมาใส่ซอง ต้องซื้อข้าวสาร ไข่ไก่ไว้แจกผู้ที่จะมาร่วมละหมาดญานาซะฮ์ให้มัยยิต โดยเฉพาะซองที่ไว้แจกผู้ที่จะมาละหมาดฮาดียะฮ์ให้แก่มัยยิต จะเป็นซองพิเศษ 

และปัจจุบันมีมิจฉาชีพที่เที่ยวหากินในเรื่องนี้ ด้วยการไปตามมัสยิดที่ทราบว่ามีการละหมาดญานาซะฮ์ โดยการส่งเด็กๆมายืนรอร่วมกับญาติผู้ตายที่ยืนรอแจกซองเงินแก่ผู้มาร่วมละหมาดญานาซะฮ์ที่เดินออกจากมัสยิด และมีการเตรียมซองที่ใส่เงินปลอมไว้ แล้วแจกซองนั้นจนหมดให้ญาติผู้ตายและผู้มาร่วมละหมาดนั้นตายใจ แล้วจึงขอซองเงินจากญาติผู้ตาย ทำเป็นไปแจกซองต่อ แล้วก็เชิดซองเงินนั้นไป

ดังนั้น การแจกเงินของญาติผู้ตาย เพื่อเป็นการเศาะดะเกาะฮ์แทนผู้ตาย ก็เป็นสิทธิของญาติผู้ตายที่จะกระทำ แต่อย่าไปเข้าใจว่าการแจกเงินต้องแจกให้ผู้มาร่วมละหมาดญานาซะฮ์หลังละหมาดเสร็จ และจะต้องทำ จนสร้างความลำบากใจแก่ญาติผู้ตายที่เหมือนถูกบังคับต้องทำ ถึงแม้จะกระทำไปด้วยความเต็มใจ แต่ตนกลับอยู่อย่างยากลำบาก อดมื้อกินมื้อหรือต้องไปยืมหนี้สินเขามา ก็ไม่จำเป็นที่จะนำเงินนั้นมาแจกในช่วงเวลาดังกล่าว

วัลลออุอะอฺลัม






1 ความคิดเห็น: