อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การกล่าวอวยพรในวันอีด




เนื่องในวันอีด อิสลามให้แสดงความยินดีซึ่งกันและกัน และกล่าวอวยพรแก่กันว่า

تَقَبَّلَ اللهُ مِنَّا وَمِنْكُمْ

ตะก๊อบบะลัลลอฮุ มินนา วะมิงกุม

ขออัลลอฮฺทรงตอบรับ(การงานที่ดี)จากเราและจากท่าน


عن جُبَيْرِ بْنِ نُفَيْرٍ قَالَ : كَانَ أَصْحَابُ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِذَا اِلْتَقَوْا يَوْمَ الْعِيدِ يَقُولُ بَعْضُهُمْ لِبَعْضٍ : تَقَبَّلَ اللَّهُ مِنَّا وَمِنْك . قال الحافظ : إسناده حسن .
จากญุบัยรฺ  บิน  นุฟัยรฺ  กล่าวว่า  :  ปรากฏว่าบรรดาศอฮาบะฮฺของท่านรอซูล  ศ็อลลัลลอฮฺ  อะลัยฮิวะซัลลัม  เมื่อพวกเขาพบกันในวันอีดจะกล่าวอวยพรซึ่งกันและกันว่า
“ตะก็อบบะลัลลอฮุ  มินนา  วะมินกา”

 อัลฮาฟิซกล่าวว่า:  สายรายงานหะซัน

อิหม่ามอะหฺมัด  รอฮิมะฮุลลอฮฺ  กล่าวว่า :  นับว่าไม่เป็นอะไรการที่คนหนึ่งกล่าวกับอีกคนเนื่องในวันอีด  ว่า  “ตะก็อบบะลัลลอฮุ  มินนา  วะมินกา”

 อิบนุ  กุดามะฮฺ  คัดลอกคำพูดของท่านไว้ในหนังสือ อัลมุฆนียฺ

ชัยคุล อิสลามอิบนิ ตัยมิยะฮฺ  ถูกถามใน  “อัลฟะตาวา  อัลกุบรอ” (2/228) :  อนุญาตให้กล่าวอวยพรเนื่องในวันอีด  และการกระทำด้วยความเคยชินของผู้คนทั่วไป  เช่น  “อีดมุบาร็อก”  หรือคำพูดทำนองเดียวกันนี้  มีปรากฏในบทบัญญัติหรือไม่ ?  และหากว่ามันมีปรากฏในบทบัญญัติ  จะกล่าวด้วยประโยคอะไร ?
ท่านตอบว่า  :  “สำหรับการกล่าวอวยพรเนื่องในวันอีดพวกเขาจะกล่าวซึ่งกันและกันเมื่อพบกันหลังจากละหมาดวันอีด  เช่น  “ตะก็อบบะลัลลอฮุ  มินนา  วะมินกุม” และ “อะหาละฮุลลอฮุ  อะลัยกะ”

 และการกล่าวในทำนองเดียวกันนี้  ลักษณะเช่นนี้มีปรากฏว่าบรรดาเศาะหาบะฮฺกลุ่มหนึ่งได้ปฏิบัติและในเรื่องนี้บรรดาอิหม่ามส่วนหนึ่งมีความเห็นว่าสามารถกระทำได้  เช่น  อิหม่ามอะหฺมัดและคนอื่นๆ  ทว่าท่านอิหม่ามอะหฺมัดกล่าวว่า :  ฉันจะไม่เป็นคนเริ่มกล่าวกับใครก่อนและหากมีผู้ใดมาเริ่มกล่าวกับฉันก่อนฉันจะกล่าวตอบ  เพราะว่าการกล่าวตอบคำทักทายเป็นสิ่งที่จำเป็น  ส่วนการเริ่มกล่าวคำอวยพรไม่ใช่สุนนะฮฺที่ถูกใช้ให้ปฏิบัติแต่ประการใดและเช่นกันไม่มีคำสั่งห้าม  ดังนั้นผู้ใดได้ปฏิบัติเขาก็มีแบบอย่างและผู้ที่ไม่ปฏิบัติเขาก็มีแบบอย่าง  วัลลอฮุ  อะลัม”

เชคอิบนุ  อุษัยมีน  ถูกถามเรื่องหุก่มของการกล่าวอวยพรเนื่องในวันอีดมีว่าอย่างไร ?  และมีประโยคหรือสำนวนเฉพาะหรือไม่ ?
ท่านตอบว่า  :  “การกล่าวอวยพรเนื่องในวันอีดเป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำ และมันไม่มีประโยคหรือสำนวนของการอวยพรเป็นการเฉพาะ  ทว่าเป็นความเคยชินที่ผู้คนถือปฏิบัติกันมา  อนุญาตให้กระทำ และไม่มีความผิดแต่ประการใด”

ท่านได้กล่าวเช่นกันว่า  “การกล่าวอวยพรเนื่องในวันอีด  มีบรรดาเศาะหาบะฮฺ  รอฏิยัลลอฮุอันฮุม  บางกลุ่มได้ปฏิบัติกันมา  และถึงแม้ว่าพวกเขาไม่ได้ปฏิบัติแต่ทว่าในยุคปัจจุบันเป็นประเพณีที่คุ้นเคยของผู้คน  จะกล่าวอวยพรซึ่งกันและกันในโอกาสที่กลับมาพบวันอีด และในโอกาสที่การถือศีลอด  การละหมาดกิยามครบถ้วนสมบูรณ์”

ท่านเชคยังถูกถามเรื่อง : หุก่มการจับมือ  การสวมกอดและการอวยพรหลังจากการละหมาดอีดมีว่าอย่างไร ?
ท่านตอบว่า  :“การกระทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้นับว่าไม่เป็นไร  เพราะบรรดาผู้ปฏิบัติไม่ได้ยึดถือว่ามันเป็นหนทางสู่การเคารพภักดีและเป็นการแสดงถึงความใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺ  ทว่าพวกเขาได้ปฏิบัติมันเป็นประเพณีความเคยชินและเป็นการให้เกียรตินอบน้อม  และตราบใดที่ประเพณีปฏิบัติไม่มีบทบัญญัติมาห้าม  พื้นฐานเดิมของมันถือว่าเป็นที่อนุญาต”   (มัจญมัวะฟะตาวา  อิบนุ  อุษัยมีน 16 / 208 - 210)


والله أعلم بالصواب

✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿

1 ความคิดเห็น: