กรณีการถือศิอดที่เป็นประเด็นพิพาท คือการถือศีลอดสิบวันแรก ของเดือนซุ้ลฮิจญะห์ นั้นหมายถึง วันที่ 1 ถึงวันที่ 8 ของเดือนซุ้ลฮิจญะห์ สำหรับการถือศีลอดวันที่ 9 เดือนซุ้ลฮิจญะห์ซึ่งเป็นวันอะรอฟะห์นั้น มีตัวบทหลักฐานสนับสนุนให้ถือศีลอดวันอะรอฟะห์อย่างชัดเจน
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
صِيَامُ يَوْمِ عَرَفَةَ أَحْتَسِبُ عَلَى اللَّهِ أَنْ يُكَفِّرَ السَّنَةَ الَّتِي قَبْلَهُ وَالسَّنَةَ الَّتِي بَعْدَهُ
"การถือศีลอดในวันอะร่อฟะฮ์นั้น ข้าพเจ้าหวังว่า อัลเลาะฮ์ จะทรงลบล้างความผิดในปีที่ก่อนวันอะรอฟะฮ์และในปีหลังจากวันอะร่อฟะฮ์" (บันทึกหะดิษโดยมุสลิม)
และสำหรับวันที่ 10 เดือนซุ้ลฮิจญะห์ซึ่งเป็นวันอีดิ้ลอัฏฮา ก็เป็นวันห้ามถือศีลอดตามที่ปรากฏหลักฐานชัดเจน จึงเป็นไปไม่ได้ที่มีสุนนะฮฺให้ถือศิลอดตลอดช่วงสิบวันแรก ของเดือนซุ้ลฮิจญะห์
รายงานจากท่านอะบีฮุรอยเราะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า
"ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมห้ามไม่ให้ถือศิลอดใน 2 วัน คือ วันอีดิ้ลอัฎฮา และอิดิ้ลฟิฏริ" (บันทึกหะดิษโดยบุคอรี มุสลิม)
สำหรับหนึ่งในตัวบทหะดิษที่นำมาอ้างอิงสนับสนุนการถือศิลอด ในวันที่ 1-8 ของเดือนซุ้ลฮิจญะห์ มีดังนี้
รายงานจาก อบูอะวานะห์ จากอัลฮุร บิน อัศศอยยาห์ จากฮุนัยดะห์ บิน คอลิด จาก ภรรยาของเขา จากภรรยาของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม
( كان رسول الله صلى الله عليه وسلم يصوم تسع ذي الحجة ويوم عاشوراء وثلاثة أيام من كل شهر أول اثنين من الشهر وخميسين ) رواه الإمام أحمد 21829 ، وأبو داود 2437 ، وضعفه في نصب الراية 2 / 180 ، وصححه الألباني
"ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ถือศีลอดเก้าวันของซุลหิจญะฮฺ, วันอาชูรออ์, และสามวันของทุกเดือน วันจันทร์แรกของเดือน และวันพฤหัสบดีอีกสองวัน"
("บันทึกโดย อิหม่ามอะหฺมัด 2189, อบูดาวุด 2437, และเขา (อัซซัยละอีย์) ได้ระบุในนัศบุรรอยะฮฺ 2/180 ว่าเฎาะอีฟ, ส่วนอัลบานีย์มีทัศนะว่า เศาะเฮี๊ยะ)
หะดิษข้างต้นมีปัญหาบุคคลในสายรายงาน บุคคลนั้นคือ “ภรรยาของเขา” ซึ่งหมายถึง ภรรยา ของฮุนัยดะห์ บิน คอลิด ซึ่งตัวของฮุนัยดะห์ เองนั้นเราทราบประวัติของเขาว่า เป็นศอฮาบะห์รุ่นเยาว์ แต่ภรรยาของเขาเป็นใครนั้น ไม่มีผู้ใดสืบทราบประวัติได้ รู้แต่เพียงว่าเธอเป็นตาบีอีน
เมื่อไม่ทราบชื่อและประวัติความเป็นมาภรรยาของฮุนัยดะห์ได้ จึงขาดหลักเกณฑ์ของฮะดีษศอเฮียะห์ คือไม่ทราบว่าผู้รายงานมีความเที่ยงธรรมเป็นที่ยอมรับหรือไม่ และผู้รายงานมีความแม่นยำดีเลิศในการรายงานหรือไม่? และในศาสตร์การวิเคราะห์เกี่ยวกับผู้รายงาน “อัลญัรฮุวัตตะอ์ดีล” ก็ไม่สามารถที่จะตีแผ่ในประเด็นนี้ได้ ดังนั้นจึงถือว่า ภรรยาของ ฮุนัยดะห์ เป็นบุคคล “มัจญ์ฮูล” ซึ่งมีผลทำให้ฮะดีษบทนี้อยู่ในสถานะฏออีฟ
สำหรับหะดิษอีกบทหนึ่ง รายงานดังนี้
عَنِ الحُرِّ بْنِ الصَيَّاحِ عَنْ هُنَيْدَةَ بْنِ خَالِدٍ الخُرَاعِيِّ عَنْ حَفْصََةَ قَالَتْ : أَرْبَعٌ لَمْ يَكُنْ يَدَعْهُنَّ النَبِيُ صَلَّى اللهُ عَليْهِ وَسَلَّمَ : صِيَامَ عَاشُوْرَاءَ وَالْعَشْرَ وَثَلاَثَةَ أيَّامٍ مِنْ كُلِّ شَهْرٍ وَرَكْعَتَيْنِ قَبْلَ الغَدَاةِ
“จากอัลฮุร บิน อัศศอยยาห์ จากฮุนัยดะห์ บิน คอลิด อัลคุซาอีย์ จากท่านหญิงฮับเชาะห์ กล่าวว่า : สี่ประการที่ท่านนบีไม่เคยละทิ้งคือ : การถือศีลอดอาชูรอ, สิบวันแรก (ของเดือนซุ้ลฮิจญะห์) สามวันทุกๆ เดือน และสองร๊อก อะห์ก่อนซุบฮิ” (บันทึกหะดิษโดยสุนนันนะซาอีย์ ฮะดีษเลขที่ 2373, มุสนัดอิหม่ามอะห์หมัด ฮะดีษเลขที่ 25254)
ในฮะดีษบทนี้ ในสายรายงานไม่ได้ระบุคำว่า “ภรรยาของเขา” เหมือนดั่งฮะดีษอีกบทหนึ่งข้างต้น แต่หะดิษบทนี้ ฮุนัยดะห์ กล่าวว่า ได้ยินมาจากท่านหญิงฮับเซาะห์
หะดิษบทนี้ เป็นคำรายงานที่มาขยายรายงานที่ว่าได้ฟังจากภรรยาของเขา (ของฮุนัยดะห์ บิน คอลิด) คือท่านหญิงฮับเซาะห์ เป็นบทที่นำมาสนับสนุนหะดิษแรก ซึ่งจะทำให้สถานะหะดิษบทแรกเป็นหะดิษเศาะเฮี๊ยะ ซึ่งถูกจัดอยู่ในประเภท ศอเฮียะห์ลีฆอยริฮิ หมายถึงอยู่ในสถานะศอเฮียะห์เนื่องจากมีฮะดีษศอเฮียะห์บทอื่นมาสนับสนุน
แต่ปรากฏว่า ฮะดีษในเรื่องนี้มีความสับสนของสายรายงาน ซึ่งในมุสนัดอิหม่ามอะห์หมัด ก็ระบุว่า
"ส่วนคำรายงานของ ฮุนัยดะห์ที่กล่าวว่า ได้ฟังจากท่านหญิงฮับเซาะห์ ซึ่งเป็นบทที่นำมาสนับสนุนนั้น เราไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นฮะดีษศอเฮียะห์ ร้อยเปอร์เซ็น เนื่องจากฮะดีษในบทเดียวกันนี้ มีความสับสนของสายรายงาน ซึ่งในมุสนัดอิหม่ามอะห์หมัด ก็ระบุว่า
عَنْ هُنَيْدَةَ الخُزَاعِيِّ عَنْ أُمِّهِ
“จากฮุนัยดะห์ อัลคุซาอีย์ จากแม่ของเขา” มุสนัดอิหม่ามอะห์หมัด ฮะดีษเลขที่ 25275
ซึ่งปรากฏว่า ฮะดีษในเรื่องนี้มีรายงานจากฮุซัยละห์ที่ไขว้กันอยู่สามสายคือ
1 - ฮุนัยดะห์ได้ฟังจากท่านหญิงฮัฟเชาะห์ด้วยตัวเขาเอง
2 - ฮุนัยดะห์ได้ฟังจากภรรยาของเขา จากภรรยาของนบีบางคน
3 – ฮุนัยดะห์ได้ฟังจากแม่ของเขา จากท่านหญิงอุมมุซะลามะห์
อย่างนี้คือความสับสนของสายรายงาน ท่านอัรนาอูฏ ผู้ตรวจสอบสถานภาพมุสนัดอิหม่ามอะห์หมัด กล่าวว่า ضعيف لإضطرابه “ฏออีฟเนื่องจากความสับสน” มุสนัดอิหม่ามอะห์หมัด เล่มที่ 5 หน้าที่ 271
อีกประการหนึ่งหะดิษที่รายงานว่าท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ถือศีลอดเก้าวันแรกของเดือนซุลหิจญะฮฺ หรือสิบวันแรก ของเดือนซุลหิจญะฮฺ ที่กล่าวมาตาม 2 หะดิษข้างต้น ขัดกับคำรายงานหะดิษที่เศาะเฮี๊ยะ ที่รายงานมาจากท่านหญิงอาอีชะฮฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮา โดยสิ้นเชิง ที่รายว่า ไม่เคยเห็นท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม ถือศีลอดในสิบวันแรกเลย
รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ รอดิยัลลอฮุอันฮา ระบุว่า
مَا رَأيْتُ رَسُوْلَ اللهِ صَلى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ صَائِمًا فِي العَشْرِ قَطُّ
"ฉันไม่เคยเห็นท่านรอซูลลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ถือศีลอดในสิบวันแรกเลย” (ศอเฮียะห์มุสลิม เล่มที่ 8 หน้าที่ 58 ฮะดีษเลขที่ 1176)
ซึ่งหะดิษที่รายงานค้านหรือขัดกับฮะดีษศอเฮียะฮฺ ในทางภาษาฮะดีษเรียกว่า “ชาต” ซึ่งฮะดีษ “ชาต” นี้ถูกจัดไว้เป็นหนึ่งในประเภท ฏออีฟ
อย่างไรก็ตามการทำความดีอื่นๆ (นอกจากการถือศีลอด) ในสิบวันแรกของเดือนซุ้ลฮิจญะห์ ยังคงเป็นสิ่งที่ศาสนาสนับสุนนส่งเสริมให้กระทำ โดยหลักฐานจากฮะดีษของ อิบนุอับบาส ที่ว่า
عن ابن عباس – رضي الله عنهما – أنه قال : يقول رسول الله صلى الله عليه وسلم : " ما من أيامٍ العمل الصالح فيها أحبُّ إلى الله من هذه الأيامِ ( يعني أيامَ العشر ) . قالوا : يا رسول الله ، ولا الجهادُ في سبيل الله ؟ قال : ولا الجهادُ في سبيل الله إلا رجلٌ خرج بنفسه وماله فلم يرجعْ من ذلك بشيء "
"อิบนุอับบาส ขออัลลอฮ์ทรงพอพระทัยต่อท่านและบิดาของท่านด้วยเถิด จากท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ไม่มีวันใด ที่การกระทำความดีซึ่งอัลลอฮฺทรงโปรดปราน ดีกว่าการกระทำความดีในวันนี้เหล่านี้” (หมายถึงสิบวันแรกของซุ้ลฮิจญะห์) บรรดาศอฮาบะห์ถามว่า “แม้กระทั่งการต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์กระนั้นหรือ” ท่านนบีตอบว่า “แม้ กระทั่งการต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์ นอกจากคนหนึ่งได้ออกไปต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์ด้วยตัวของเขาและทรัพย์ของเขา แต่ไม่มีสิ่งใดกลับมาเลย (ไม่ว่าชีวิตและทรัพย์สินของเขา) จากการต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์” บันทึกโดยสุนันอบีดาวูด ฮะดีษเลขที่ 2438)
นั้นก็คือการปฏิบัติความดีอื่นๆ ตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 10 เดือนซุ้ลฮิจญะห์ เช่นการซิกรุ้ลลอฮ์,การอิสติคฟาร การขอดุอาอ์ การอ่านอัลกุรอาน การบริจาคทาน รวมถึงการถือศิลอดสุนนะฮฺตามปกติ คือการถือศิลอดสามวันของเดือน การถือศิลอดวันเว้นวัน หรือการถือศิลอดวันจันทร์และวันพฤหัสบดี (ยกเว้นวันที่ 10 ของเดือนซุ้ลฮิจญะห์ อันเป็นวันอีดิ้ลอัฎฮา ที่ห้ามถือศิลอด ส่วนความดีอื่นกระทำได้ตลอดสิบวัน) ฯลฯ มีตัวบทหลักฐานสนับสนุนให้กระทำอย่างชัดเจน
والله أعلم بالصواب
✿ ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ ✿
ญาซากัลลอฮฺค๊อยรอน..ขอให้อัลลอฮ์ทรงตอบแทนความดีท่านและครอบครัว
ตอบลบ