มีพี่น้องมุสลิมได้อ้างคำพูดของท่านนบี(ซล)เพื่อ "อ้างอิงการทำเมาลิด" ให้เป็นความชอบธรรม
ท่านร่อซูล(ซล) กล่าวว่า
من سن في الإسلام سنة حسنة فله أجرها وأجر من عمل بها بعده من غير أن ينقص من أجورهم شيء ومن سن في الإسلام سنة سيئة كان عليه وزرها ووزر من عمل بها من بعده من غير أن ينقص من أوزارهم شيء
" ผู้ใด ที่ได้ทำแบบอย่างที่ดี ในอิสลาม แน่นอน เขาจะได้รับ ผลตอบแทนของมัน และผลตอบแทนของผู้ที่ได้ปฏิบัติด้วยกับมัน จากหลังเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ได้กับเขา) โดยไม่มีสิ่งใดลดลงไปเลย จากผลการตอบของพวกเขา และผู้ใด ทีได้ทำแบบอย่างที่เลว ในอิสลาม แน่นอน บาปของมันก็ตกบนเขา และบาปของผู้ที่ปฏิบัติมัน หลังจากเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ตกบนเขา) โดยไม่มีสิ่งใดบกพร่องลงไปเลย จากบรรดาบาปของพวกเขา" (รายงานโดย ท่านอิมาม มุสลิม ไว้ในซอเฮี๊ยะหฺของท่าน หะดิษที่ 1017)
ฮะดีษนี้ ซอเหี๊ยะ ไม่มีขอกังขาใดๆ
คำถามคือ เป้าหมายของคำพูดของท่านนบี(ซล) คือให้กระทำ เมาลิด จริงหรือไม่ !
มาดูตัวบทฮะดีษเต็มกันครับว่า สาเหตุ มาจากอะไร ?
ท่านญะรีร (เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ) ได้กล่าวว่า
كُنّا عِنْدَ رَسُوْلِ اللهِ فِي صَدْرِ النَّهَارِ، قَال: فَجَاء قَومٌ حُفاة عُراة مُجْتابي النمار والعَباء مُتَقَلِّدي السُيوف عَامتهم مِن مُضِر - بَل كُلُّهم مِن مضر - فَتَمعر وجه رسول الله (أي: تغير) لما رأى بِهم مِن الفَاقة، فَدَخَلَ ثُمَّ خَرَجَ فَأَمَرَ بِلالا فَأَذَّنَ وَأَقَامَ فَصَلّى ثم خَطَبَ فَقَال: {يَا أَيُّهَا النَّاسُ اتَّقُوا رَبَّكُمُ الَّذِي خَلَقَكُمْ مِنْ نَفْسٍ وَاحِدَةٍ وَخَلَقَ مِنْهَا زَوْجَهَا وَبَثَّ مِنْهُمَا رِجَالًا كَثِيرًا وَنِسَاءً وَاتَّقُوا اللَّهَ الَّذِي تَسَاءَلُونَ بِهِ وَالْأَرْحَامَ إِنَّ اللَّهَ كَانَ عَلَيْكُمْ رَقِيبًا} والآية التي في الحشر: {يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا اتَّقُوا اللَّهَ وَلْتَنْظُرْ نَفْسٌ مَا قَدَّمَتْ لِغَدٍ وَاتَّقُوا اللَّهَ إِنَّ اللَّهَ خَبِيرٌ بِمَا تَعْمَلُونَ} تَصَدّق رَجُل مِن من دِيْنارِه مِن دِرْهَمِه من ثوبِه مِن صاعِ بُرِّه مِن صَاعِ تَمْرِه حتى قال: وَلو بِشِقِّ تَمْرَةٍ، قال: فجاءَ رجُل مِن الأنصار بصرة كَادَتْ كَفُّهُ تَعْجِز عَنْها - بَل قَد عَجَزَتْ - قَال: ثُمَّ تَتَابَعَ النَّاس حَتى رَأَيْت كومين مِن طَعَام وثِيَاب حَتّى رَأَيْتُ وَجْهَ رسولِ الله يَتَهَلَّل كَأنه مَذهَبُه فقال رسول الله مَنْ سَنَّ فِي الإسلام سُنَّة حَسَنَة فَلَهُ أَجْرُها وَأَجْرُ مَنْ عَمِلَ بَعْدَهُ مِنْ غَيْرِ أَنْ يَنْقُص مِن أُجُوْرِهم شَيْء، وَمَنْ سَنَّ فِي الإِسلام سُنَّة سَيِّئَة كاَنَ عَلَيْه وِزْرها وَوِزْر مَن عَمِلَ بِهَا مِنْ بَعْدِه مِنْ غَيْرِ أَنْ يَنْقُصُ مِنْ أَوْزَارِهِمْ شَيْء& [أخرجه مسلم]
.(ครั้งหนึ่ง) เราได้อยู่กับท่านร่อซูล (ซล) ในช่วงแรกของกลางวัน เขากล่าว(ต่อไป)ว่า ได้มีชนกลุ่มหนึ่งเปลือยเท้า นุ่งน้อยห่มน้อย สวมเสื้อหนังเสือ และผ้าโผก สะพายดาบ คนส่วนใหญ่มาจาก(เผ่า)มุฎ็อรฺ -ที่จริงจากมุฎ็อรฺทั้งหมดนั่นแหละ- แล้วสีหน้าท่านก็เปลี่ยน(เป็นเศร้า) เพราะเห็นความยากจนข้นแค้นที่เกิดกับพวกเขา แล้วท่านก็กลับเข้าไป จากนั้นท่านก็ออกมา(อีกครั้ง) แล้วสั่งให้บิลาลอาซาน และอิกอมะฮฺ แล้วก็ละหมาด จากนั้นท่านก็กล่าวโอวาท ว่า
"มนุษย์เอ๋ย จงสำรวมตนต่อพระผู้อภิบาลของสูเจ้า ผู้ได้ทรงบังเกิดสูเจ้าจากชีวิตเดียว
และได้ทรงบังเกิดจากมัน ซึ่งคู่ครองของมัน และได้ทรงแพร่จากทั้งสองซึ่งผู้ชาย และผู้หญิงมากมาย
และจงสำรวมตนต่ออัลลอฮฺพระผู้ซึ่งสูเจ้าต่างพากันถามถึงพระองค์ และ(จงสำรวมตนในเรื่อง)การสัมพันธ์ทางเครือญาติ แท้จริง อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงเฝ้าดูสูเจ้าเสมอ"
และอายะห์ที่อยู่ใน(ซูเราะฮฺ)อัล-ฮัชร์
"บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงสำรวมตนต่ออัลลอฮฺ และชีวิตหนึ่งจง(พิจารณา)ดู ถึงสิ่งที่พวกเขาได้ทำล่วงไว้สำหรับพรุ่งนี้
และจงสำรวมตนต่ออัลลอฮฺ แท้จริง อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงตระหนักถึงที่สูเจ้ากระทำ"
คนหนึ่ง(ขอให้)บริจาคจากทองดีนารฺของเขา จากเงินดิรฺฮัมของเขา จากเสื้อผ้าของเขา จากข้าวสาลี 1 ซออฺ จากอินทผลัม 1 ซออฺ กระทั้งท่านกล่าวว่า และแม้เพียงอินผลัมซีกเดียว
เขากล่าวต่อไปว่า แล้วได้มีชายคนหนึ่งจากชาวอันศอรฺมาพร้อมกับถุงที่มือแทบยกไม่ไหว –ที่จริงก็ไม่ไหวนั่นแหละ-
เขากล่าวต่อไปว่า หลังจากนั้นคนอื่นๆพากันทำตามจนกระทั้งฉันเห็นเป็นกองพะเนินสองกอง กองอาหารและกองเสื้อผ้า จนฉันเห็นใบหน้าของท่านปลาบปลื้มดุจว่ามันเคลือบด้วยทอง แล้วท่านเราะสูลุลลอฮฺได้กล่าวว่า
“ผู้ใดทำแบบอย่างที่ดีในอิสลาม เขาย่อมได้รับผลบุญของเขา และของผู้ที่ทำมันภายหลังเขา โดยที่ผลบุญของพวกเขาเหล่านั้นมิได้พร่องลงแต่ประการใด
และผู้ใดทำแบบอย่างที่เลวในอิสลาม เขาย่อมได้รับบาปของเขา และบาปของคนที่ทำมันภายหลังเขา โดยที่บาปของพวกเขาเหล่านั้นมิได้พร่องลงแต่ประการใด”
(บันทึกโดยมุสลิม)
เห็นไหมครับฮะดีษนี้กล่าวถึงเรื่อง ที่มีคนทำทาน แล้วมีคนเอาเป็นแบบอย่าง ไม่ใช่เรื่องอุตริบิดอะฮ หรือ เมาลิดนบี เลย
เห็นได้ว่า ข้างต้น เป็นเรื่องของคนที่ปฏิบัติตามสิ่งที่มีบัญญัติไว้ตือ การให้ทาน และมีคนเอาเยี่ยงอย่าง ไม่ใช่ คิดแบบอย่างที่อารมณ์ตัวเองเห็นว่าดี แล้วให้คนอื่นเอาเยี่ยงอย่างหรือปฏิบัติตาม
ฉะนั้นหะดิษนี้ ไม่ได้หมายถึง การอุตริบิดอะฮที่ดีในอิสลาม แต่หมายถึง "การฟื้นฟูสุนนะฮ" และ การเป็นแบบอย่าง ในการทำดี ทีศาสนามีบัญญัติไว้ เพราะที่มาของคำพูดของท่านนบี(ซล) ข้างต้นเนื่องจากมีเศาะหาบะฮท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นชาวอันศอร ได้ทำการเศาะดะฮเกาะฮ ในยามวิกฤต แล้วคนอื่นๆก็เอาเยี่ยงอย่าง
คำว่า "سن ในหะดิษเป้าหมายที่ว่าก็คือ أحيا อีกความหมายหนึ่ง หมายถึงฟื้นฟูสุนนะฮที่ดี เพราะเรื่องราวมันเกี่ยวกับคนที่ทำแบบอย่างในคำสอนที่มีมาอยู่แล้ว
ดังฮะดีษอีกบทหนึ่งมาอธิบาย
"ฮะดีษ อธิบาย ฮะดีษ"
أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ مَنْ أَحْيَا سُنَّةً مِنْ سُنَّتِي فَعَمِلَ بِهَا النَّاسُ كَانَ لَهُ مِثْلُ أَجْرِ مَنْ عَمِلَ بِهَا لَا يَنْقُصُ مِنْ أُجُورِهِمْ شَيْئًا وَمَنْ ابْتَدَعَ بِدْعَةً فَعُمِلَ بِهَا كَانَ عَلَيْهِ أَوْزَارُ مَنْ عَمِلَ بِهَا لَا يَنْقُصُ مِنْ أَوْزَارِ مَنْ عَمِلَ بِهَا شَيْئًا
แท้จริง ร่อซูล(ซล)กล่าวว่า “ผู้ใดฟื้นฟู สุนนะฮ จากสุนนะฮของฉัน แล้วบรรดาผู้คนปฏิบัติด้วยมัน เขาก็จะได้รับผมตอบแทน เท่ากับผลตอบแทนผู้ที่ปฏิบัติด้วยมัน โดยไม่มีสิ่งใดๆบกพร่องไปจากการตอบแทน(ผลบุญ)ของพวกเขา และผู้ใด อุตริบิดอะฮ แล้วถูกปฏิบัติตามด้วยมัน เขาก็จะได้รับความผิด เท่ากับความผิดผู้ที่ปฏิบัติมัน โดยไม่มีสิ่งใดๆบกพร่องไปจากความผิด(บาป)ของผู้ที่ปฏิบัติด้วยมัน – รายงานโดยอิบนุมาญะฮ
قال الشيخ الألباني في صحيح ابن ماجه صحيح لغيره)
เพราะฉะนั้น การอ้างฮะดิษข้างต้นสนับสนุนบิดอะฮ เป็นการบิดเบือนจากข้อเท็จจริง เพราะฮะดิษที่สอง ยืนยันว่า “คือ การฟื้นฟูสุนนะฮ ไม่ใช่อุตริบิดอะฮ นะครับ
"คำอธิบายของปราชญ์"
ชัยคฺบินบาซ(รฮ) ได้กล่าวถึง คำว่า
من سن سنة حسنة ว่า
وليس معناها الابتداع في الدين
ความหมายของมัน ไม่ใช่อุตริบิดอะฮในศาสนา
ท่านอิบนุอุษัยมีน(รฮ)ให้ความหมายไว้สองแนวทางคือ
1. أي: من ابتدأ العمل بالسنة، หมายถึง ผู้ริเริมปฏิบัติตามสุนนะฮ
2. أي: سن الوصول إلى شيء مشروع หมายถึง ทำแบบอย่างที่นำไปสู่สิ่งที่ถูกบัญญัติไว้แล้ว- ดู ชัรหุหะดิษอัรบะอีน ของ อิบนุอุษัยมีน หน้า 311-312
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น