อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

น้ำซอฟัร คืออุตริกรรมที่ไม่มีในอิสลาม



เดือนซอฟัรเป็นเดือนแห่งอัปมงคล ซึ่งเป็นความเชื่อที่ยังมีให้เห็นกันอยู่ดังนั้นเพื่อขจัดมันให้พ้นไปและเพื่อชีวิตที่ปลอดภัยจึงมีการกระทำสิ่งต่อไปนี้คือ ทำน้ำซอฟัรในวันพุธสุดท้ายของเดือน โดยรวบรวมโองการอัลกุรอานที่เรียกว่า “อายาตสลาม
เช็ค มุหัมหมัด อับดุสสลาม อัชชะกีรีย์กล่าวว่า
قد اعتاد
الجهلاء أن يكتبوا آيات السلام كـ (( سلام على نوح في العالمين )) إلخ في آخر
أربعاء من شهر صفر ثم يضعونها في الأواني و يشربون و يتبركون بها و يتهادونها
لاعتقادهم أن هذا يُذهب الشرور ، وهذا اعتقاد فاسد ، وتشاؤم مذموم ، وابتداع قبيح
يجب أن يُنكره كل من يراه على فاعله .
แท้จริงบรรดาคนโง่เขลา (ญาฮิล) ได้เคยชิน (หมายถึงปฏิบัติจนเป็นประเพณี -ผู้แปล)ต่อการที่พวกเขาเขียน อายาตสาลาม เช่น (สะลาม อะลานุหฺ ฟิลอาละมีน) จนจบ ในวันพุธสุดท้ายของเดือนเซาฟัร หลังจากนั้น พวกเขาวางมันในภาชนะ และพวกเขาดื่ม, เอาบะเราะกัต ด้วยมัน และ พวกเขาได้ทำการฮะดียะฮมันแก่กันและกัน เพราะพวกเขาเชื่อว่า กรณีนี้ ขจัดความชั่วร้ายต่างๆได้ และนี้คือความเชื่อที่ผิด ,เป็นการเชื่อลางร้าย ที่ถูกตำหนิ และ
เป็นการอุตริบิดอะฮที่น่าเกลียด ,ทุกคนที่เห็นมัน จำเป็นจะต้อง ห้ามปรามผู้ที่กระทำมัน - อัสสุนัน วัลมุบตะดะอาต หน้า 111-112
การกระทำข้างต้น อยู่ในข่ายการเชื่อโชคลาง หรือลางร้าย
ท่านเราะซูล ได้กล่าวว่า
وعن أبي هريرة
أ: "لا عدوى ولا طيرة ولا هامة ولا صفر
(رواه البخاري ومسلم) (3). وفي رواية: "ولا نوء ولا غُول" (رواه مسلم)
(4).
จากอบีฮุร็อยเราะห์ แท้จริงท่านนบี กล่าวว่า "ไม่มีโรคระบาด ไม่มีลางร้าย ไม่มีนกฮูก และไม่มีเดือนซอฟัร"
ในบางรายงาน "และไม่มีดวงดาว(เชื่อดวงดาว) และไม่มีภูติผีปีศาจ" (บันทึกโดยบุครีย์และมุสลิม)
ท่านนบี ได้กล่าวเตือนไว้ว่า
: الطِّيَرَةُ شِرْكٌ الطِّيَرَةُ شِرْكٌ وَلَكِنَّ
اللَّهَ عَزَّ وَجَلَّ يُذْهِبُهُ بِالتَّوَكُّلِ
“ลางร้ายเป็นการตั้งภาคี ลางร้ายเป็นการตั้งภาคี แต่ว่าพระองค์อัลลอฮฺทรงทำให้มันหายไปด้วยกับ
การมอบหมาย” (บันทึกโดยอะหฺมัด : 4183 อบูดาวุด : 3910 ติรมีซียฺ : 1614
มีการอ้างหะดิษที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นมา กล่าวเท็จแก่นบี ศอ็ลฯ เพื่อจะบอกว่า เดือนซอฟัรเป็นเดือนอัปมงคล คือ อ้างว่ารายงานจากอิบนุอับบาส (ร.ฎ) ว่านบี ศอ็ลฯ กล่าวว่า
آخر أربعاء من شهر صفر
يوم نحس مستمر
วันพุธสุดท้ายของเดือนซอฟัร คือวันที่โชคร้าย ตลอด
أورده السيوطي في
اللآلئ المصنوعة في الأحاديث الموضوعة 2/458
อิบนุเราะญับ อัลหัมบะลี กล่าวว่า
و كثير من الجهال يتشاءم بصفر و ربما ينهى عن السفر فيه و التشاؤم بصفر هو من جنس الطيرة المنهى عنها و كذلك التشاؤم بالأيام كيوم الأربعاء و قد روي أنه : [ يوم نحس مستمر ] في حديث لا يصح
และ ส่วนมากจาก บรรดาผู้ที่โง่เขลา เชื่อลางร้ายเดือนซอฟัร ,บางครั้ง เขาห้ามเดินทางในเดือนนั้น และการเชื่อลางร้ายในเดือนซอฟัรนั้น มันคือ ประเภทหนึ่งของ อัฏฏิยะเราะฮ(การเชื่อโชคลาง)ที่ถูกห้าม และในทำนองเดียวกันนั้น การเชื่อลางร้ายในบรรดาวันต่างๆ เช่นวันพุธ และแท้จริงได้มีรายงาน ว่า แท้จริงมัน(วันพุธ) คือวันที่โชคร้ายตลอด ในหะดิษหนึ่ง ซึ่ง ไม่เศาะเฮียะ – ดู ละฏออิฟ อัลมะอาริฟ หน้า 148
>>>>>>>>>>>>>
จากรายละเอียดข้างต้น แสดงให้เห็นว่า การเชื่อว่า เดือนซอฟัรเป็นเดือนอัปมงคล และ การทำน้ำซอฟัรเพื่อขจัดความชั่วร้ายนั้น ไม่มีในคำสอนอิสลาม แต่เป็นบิดอะฮ


และสำหรับคำกล่าวต่อไปนี้

رَأَيْتُ أَبِىْ يَكْتُبُ التَّعَاوِيْدَ لِلَّذِىْ يُصْرَعُ وَلِلحَمِىِّ لِأَهْلِهِ وَقَرَابَاتِهِ ، وَيَكْتُبُ لِلْمَرْأَةِ إِذَا عَسُرَ عَلَيْهَا الْوِلَادَةُ فِىْ جَامٍ أَوْ شَيْءٍ نَظِيْفٍ ، وَيَكْتُبُ حَدِيْثَ إبْنِ عَبَّاسٍ ، إِلَّا أَنَّهُ كَانَ يَفْعَلُ ذَلِكَ عِنْدَ وُقُوْعِ الْبَلاَءِ ، وَرَأَيْتُ يُعَوِّذُ فِى الْمَاءِ وَيُشْرِبُهُ الْمَرِيْضَ ، وَيَصُبُّ عَلَى رَأْسِهِ مِنْهُ ، وَرَأَيْتُ أَبِىْ يَأْخُذُ شَعْرَةٍ مِنْ شَعْرِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَيَضَعُهَا عَلَى فِيْهِ يُقَبِّلُهَا ، وَأَحْسِبُ أَنِّىْ قَدْ رَأَيْتُهُ يَضَعُهَا عَلَى رَأْسِهِ أَوْ عَيْنِهِ ، فَغَمَّسَهَا فِى الْمَاءِ ثُمَّ شَرَبَهُ يَسْتَشْفِى بِهِ ، وَرَأَيْتُهُ قَدْ أَخَذَ قَصْعَةَ النَّبِىِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بَعَثَ بِهَا إِلِيْهِ أَبُوْ يَعْقُوْبَ بْنُ سُلَيْمَانَ بْنِ جَعْفَرَ فَغَسَلَهَا فِىْ جُبِّ الْمَاءِ ثُمَّ شَرِبَ فِيْهَا ، وَرَأَيْتُ مِنْ مَاءِ زَمْزَمَ يَسْتَشْفِىْ بِهِ وَيَمْسَحُ بِهِ يَدَيْهِ وَوَجْهَهُ

“ข้าพเจ้า ได้เห็นบิดา(คืออิหม่ามอะหมัด) ทำการเขียนสิ่งที่ขอความคุ้มครองให้กับผู้เป็นลมและผู้ที่ป่วยไข้  ที่เป็นครอบครัวและเครือญาติของท่าน  และบิดาได้เขียนในถ้วยหรือสิ่งที่สะอาดให้กับสตรีคนหนึ่งในยามที่นางคลอด ลำบาก  และบิดาเขียนหะดิษของท่านอิบนุอับบาส  แต่ท่านได้กระทำสิ่งดังกล่าวในยามที่มีภัยมาทดสอบ  และข้าพเจ้าเห็นบิดาทำการอ่านดุอาอ์ขอการคุ้มครอง(แล้วเป่า)ลงในน้ำและให้ ผู้ป่วยดื่มและทำการรดน้ำนั้นลงบนศีรษะ  และข้าพเจ้าเห็นบิดาได้เอาเส้นผมของท่านนะบีย์ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แล้วนำมาวางบนปากของท่านเพื่อทำการจูบมัน  และข้าพเจ้าเข้าใจว่า  ข้าพเจ้าได้เคยเห็นบิดาวางเส้นผมของท่านนะบีย์ บนศีรษะและตาของท่าน  แล้วท่านก็นำเส้นผมของท่านนบีจุ่มลงในน้ำ จากนั้นก็ทำการดื่มน้ำนั้น เพื่อขอให้หาย(จากการป่วย)ด้วยน้ำนั้น  และข้าพเจ้าเห็นบิดาเอาจานของท่านนะบีย์ ที่อบูยะอฺกูบ บิน สุไลมาน บิน ญะฟัร ได้ส่งมาให้ท่าน  ดังนั้น  บิดาจึงทำการล้างมันในบ่อน้ำแล้วก็ดื่มมัน  และข้าพเจ้าได้เห็นบิดาเอาน้ำซัมซัมมารักษา และเอามาลูบสองมือและใบหน้าของท่าน”
อับดุลลอฮ์ บิน อะห์มัด, มะซาอิล อิมามอะหฺมัด, หน้า 447


คำกล่าวข้างต้นนั้น ก้ออาจจะขัดแย้งกับสุนนะของท่านนบีเพราะนบีกล่าวว่า ไม่มีโรคบาดเจ็บ ไม่มีลางร้าย ไม่มีนกฮุก
บันทึกที่ซอเฮียะของมุสลิม  นบีกล่าวชัดเจนโดยผ่านการรายงานของ อบีฮุรัยเราะ


การเขียนตัวหนังสือหรืออะรัยก้อแล้วแต่ มันมีความเชื่อว่า มีลางร้าย แล้วก้อลงมือเขียนกัน

ถ้าหาดิสของบุตรอิหม่ามอะหมัดมีเขียนใว้ก้อจะขัดกับหาดิสนบีข้างต้นที่ยกมาให้ดู มันค้านกับหาดิสนบีก้อหมายถึงรายงานของเขาเชื่อถือไม่ได้. ตามมาตรฐานของชาวมุสลิม  และความเชื่อเหล่านี้ มันคือการเชื่อมโยงไปกับการตั้งภาคีสะด้วยซ้ำ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น