ส่วนหนึ่งของหนังสือ เรื่อง “นบีไม่ได้กินมาก...พิธีกรรมความเชื่อมลายูในกระแสการตื่นตัวในศาสนาอิสลาม”
ผู้เขียน “อนุสรณ์ อุณโณ” คนต่างศาสนิกในฐานะนักมนุษย์วิทยา โดยได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนามด้วยการอยู่ร่วมคลุคลีกับชุมชนมุสลิมมลายูรามันห์ จังหวัดยะลา และการพูดคุยซักถามคนในพื้นที่ (ในช่วงปี พ.ศ.2559)
จัดทำโดย ปาตานี ฟอรั่ม
ซึ่งจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ได้สะท้อนให้เห็นว่าสังคมมุสลิมมลายูยังเหนียวแน่นและปนเปกับพิธีกรรมและหลักความเชื่อเดิมๆของประเพณีท้องถิ่นมลายูและถูกผนึกร่วมกับศาสนาอิสลาม ซึ่งบางพิธีกรรมหรือความเชื่ออาจขัดกับหลักบทบัญญัติศาสนาอิสลามและถึงขั้นชิริก
ในที่นี้ จะขอยกเนื้อหาบางส่วนที่ผู้เขียนได้สัมผัสในเรื่องนี้ และเป็นที่มาของชื่อเรื่องหนังสือเล่มนี้
...ม้าพยศวิญญาณบรรพบุรุษและศาสดา...
การนำม้าไปฝึกซ้อมที่สนามแข่งดูจะเป็นไปด้วยความราบรื่น เด็กวัยรุ่นทั้งสามคนช่วยกันต้อนมันขึ้นกระบะท้าย..จากนั้นรถก็เคลื่อนตัวออกไป ม้าเริ่มกระสับกระส่ายและแสดงออกอาการพยศทันทีที่รถเคลื่อนตัว...ข่าวเกี่ยวม้าพยศและบาดเจ็บแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว ...ก๊ะด๊ะลูกจ้างตัดยางครอบครัวมาน สันนิษฐานว่าเหตุการณ์ “สะเทือนขวัญ” ดังกล่าวเป็นผลมาจากการที่ครอบครัวมานไม่ได้จัดพิธีบวงสรวงให้วิญญาณบรรพบุรุษเป็นการเฉพาะมาเป็นเวลานานแล้ว พวกเขาเพียงแต่เอ่ยชื่อวิญญาณรวมๆในการประกอบพิธีที่ผ่านมา ไม่ได้ระบุจำเพาะเจาะจงลงไปว่าเป็นวิญญาณบรรพบุรุษคนไหน เหตุการณ์ม้าพยศจนบาดเจ็บจึงเป็นเสมือนสัญญาณเตือนจากวิญญาณบรรพบุรุษที่ถูกละเลย จิ๊เยะ อาสาวของมานสนับสนุนข้อสันนิษฐานของก๊ะเด๊ะพร้อมกล่าวเพิ่มว่าเธอได้บนกับวิญญาณบรรพบุรุษมาหลายครั้งแล้วแต่ว่ายังไม่ได้จัดพิธีแก้บนให้สักที หากว่ามานตัดสินใจจะประกอบพิธีให้กับวิญญาณบรรพบุรุษในครั้งนี้เธอก็สนับสนุนไก่สำหรับใช้ในพิธี ผู้ร่วมสนทนาคนอื่นเห็นด้วยกับ “ทฤษฎี” ของก๊ะเด๊ะ และเห็นพ้องต้องกันว่าครอบครัวมานควรจัดพิธีบวงสรวงวิญญาณบรรพบุรุษให้เร็วที่สุด ซึ่งก็คือช่วงบ่ายของวันรุ่งขึ้น
พิธีบวงสรรงจัดขึ้นบริเวณด้านหลังของบ้านซึ่งถัดห้องครัวออกไป โดยมี จิงนู เป็นผู้ประกอบหลัก และมีแชเอ๊ะ จากบ้านโพระซึ่งอยู่ถัดไปอีกสองหมู่บ้านเป็นผู้ควบคุมดูแลภูตผีวิญญาณหรือสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ที่อาจรบกวนการประกอบพิธี ผู้เข้าร่วมพิธีประกอบด้วยสมาชิกในครอบครัว เครือญาติ รวมทั้งเพื่อนบ้านทุกเพศทุกวัยรวมประมาณยี่สิบคน พิธีเริ่มต้นด้วยการที่ผู้เข้าร่วมมพิธีสวดอัลกุรอาน ร่วมกันหนึ่งบท ต่อด้วยการสวดอัลกุรอานเดี่ยวของจิงนู จากนั้นเป็นการถวายเครื่องบวงสรรงให้กับดวงวิญญาณและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ โดยมีมานเป็นผู้ช่วย เพราะเขารู้ว่าถาดเครื่องบวงสรรงใดจะถวายให้กับวิญญาณและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไหน จิงนูกล่าวดุอาอ์ ขณะที่มานใช้มือแตะถาดเครื่องบวงทรวงแต่ละถาดพร้อมกับเอ่ยชื่อวิญญาณและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หลังเสร็จพิธีเครื่องบวงสรวงในฐาดถูกแจกจ่ายให้ผู้เข้าร่วมพิธีได้รับประทานกัน จิงนูรับประทานเครื่องบวงสรวงเล็กน้อย เขารับผ้าหนึ่งผืนพร้อมกับข้าวสารหนึ่งถุงเป็นของกำนัลก่อนเดินทางกลับ มานกล่าวว่า เขารู้สึกดีขึ้นมากหลังจากได้จัดพิธี เขากล่าวว่า “เราไม่น่าลืมจัดพิธีให้วิญญาณบรรพบุรุษนี้เลย จะได้ไม่ต้องมีเรื่องเกิดขึ้น” เช่นเดียวกันจามุน้าชายมาน กล่าวว่า “ดีนะที่เราได้จัดพิธีนี้เพราะว่าวิญญาณจะได้พอใจจะได้ไม่มารบกวนเราหรือว่าก่อเรื่องอะไรอีก”
แม้พิธีกรรมนี้จะจัดขึ้นเพื่อบวงสรวงวิญญาณของบรรพบุรุษที่เชื่อว่าทำให้ม้าเกิดอาการพยศเป็นหลัก แต่ก็เป็นการบวงาสรวงวิญญาณและสิ่งศักดิ์อื่นด้วยในเวลาเดียวกัน
โดยนอกจากถาดบวงสรวงสำหรับโต๊ะแนะแนะ (ปู่ย่าตายาย) ถาดบวงสรวงที่เหลือมีไว้สำหรับวิญญาณและสิ่งศักดิ์สิทธฺ์อื่น ได้แก่ โต๊ะลาเม็ง (ผู้ก่อตั้งหมู่บ้าน) โต๊ะนิ (เจ้าเมืองรามันห์) โต๊ะปานังสาระ (ครูกริช) โต๊ะกือดางี (ครูศิลปะ) และนบีมูฮัมหมัด
ถาดบวงสรวงแต่ละถาดประกอบด้วยข้าวเหนียวขาว ข้าวเหนียวเหลือง ขนมโบราณ สำหรับหมากพลู น้ำ กล้วย ข้าวตอก และไก่ย่าง เว้นแต่ถาดบวงสรวงนบีมูฮัมหมัดที่ต่างออกไป คือ ไม่มีสำหรับหมากพลู แต่มีดอกไม้แทน โดยมานให้เหตุผลว่าเป็นเพราะ “นบีไม่ได้กินหมาก เพราะว่าท่านเป็นชาวอาหรับ แล้วเวลาประกอบพิธีชาวอาหรับนิยมใช้ดอกไม้ ก็เลยใช้ดอกไม้แทนหมากในถาดของนบี”
กล่าวอีกนัยหนึ่ง สิ่งที่ครอบครัวมานรวมถึงเพื่อนบ้านให้ความเคารพนับถือ ไม่ได้มีแต่เพียงดวงวิญญาณบรรพบุรุษซึ่งเชื่อสามารถบรรดลบันดาลให้เกิดสิ่งต่างๆ กับพวกเขาและสิ่งรอบตัวได้ หากแต่หมายรวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นด้วย ซึ่งมีความสำคัญทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (ผู้ก่อตั้งหมู่บ้าและเจ้าเมืองรามันส์) วัฒนธรรมมลายู (ครูกริชและครูศิลปะ) และศานาอิสลาม (นบีมูฮัมหมัด)
รายละเอียดอื่นๆในหนังสือเล่มนี้ โปรดหาซื้ออ่านได้ตามร้านหนังสือศาสนาทั่วไป
ติดตามเพจ แสวงหาสัจธรรมจากอิสลาม ทางเฟสบุ๊ค ได้ ตามเว็บไซต์ https://www.facebook.com/is19102559/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น