พึงรู้เถิดว่าการแสวงหาความรู้ก็เป็นอิบาดะฮฺ
ฉันรู้สึก...ไม่ได้รับประโยชน์อะไรจากการแสวงหาความรู้!?
------------------------------------------------
อุละมาอฺ: ชัยคฺ ศอลิหฺ บิน อับดุลอะซีซ อะหฺลุชชัยคฺ
ที่มา: http://www.sahab.net/forums/index.php?showtopic=130285
คำถาม: ฉันได้แสวงหาความรู้มาเป็นเวลาหลายปี แต่ฉันไม่เคยเก็บสะสมข้อมูลใดๆ และไม่รู้สึกว่า ฉันได้รับประโยชน์ ขอชัยคฺช่วยแนะนำฉันด้วย ขออัลลอฮฺตอบแทนชัยคฺด้วยกับความดี
ชัยคฺ ศอลิหฺ อะหฺลุชชัยคฺ ตอบว่า:
ท่านจงอย่าพูดว่า "ฉันไม่รู้สึกว่า ฉันจะได้รับประโยชน์" เพราะว่าการแสวงหาความรู้นั้น ในตัวของมันเป็นรูปแบบหนึ่งของการอิบาดะฮฺ
และจุดมุ่งหมายของการแสวงหาความรู้ คือการที่บ่าวนั้นแสวงหาความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ ญัลละวะอะอฺลา
และถ้าท่านทราบถึงเรื่องราวของชายผู้หนึ่ง ที่ได้เดินทางมาเพื่อเตาบะฮฺตัวต่ออัลลอฮฺ:
"...มะลาอิกะฮฺแห่งความตายได้มาหาเขา แล้วมะลาอิกะฮฺแห่งความเมตตา และมะลาอิกะฮฺแห่งการลงโทษ ได้ถกเถียงถึงตัวเขา มะลาอิกะฮฺแห่งความเมตตา ได้กล่าวว่า "เขาได้เตาบะฮฺตัว และแสวงหาอัลลอฮฺ" จากนั้น มะลาอิกะฮฺแห่งการลงโทษ ก็ได้กล่าวว่า "เขาไม่เคยทำความดีใดๆ" จากนั้น มะลาอิกะฮฺในรูปลักษณ์ของมนุษย์ ได้มาหาพวกเขา และพวกเขาได้ถามเพื่อให้มะลาอิกะฮฺคนนั้นตัดสิน เขาจึงได้กล่าวว่า ให้วัดระยะทางระยะ 2 ดินแดน และถ้าเขาเข้าใกล้อันไหนมากกว่า นั่นคือสิ่งที่เขาเป็นอยู่ ดังนั้นพวกเขาจึงเริ่มวัด และพบว่าเขานั้นใกล้ชิดกับเมืองที่เขากำลังจะมุ่งหน้าไป แล้วมะลาอิกะฮฺแห่งความเมตตาก็ได้นำตัวเขาไป" (บันทึกโดย มุสลิม 7008)
ดังนั้นชายผู้ที่เตาบะฮฺตัวได้ถูกอภัยโทษ เนื่องมาจากการกระทำของเขา(ที่มุ่งหาไปเพื่อแสวงหาความรู้ และกลับเนื้อกลับตัว) ดังนั้น การกระทำของนักศึกษาหาความรู้ คืออิบาดะฮฺ เฉกเช่น การกระทำของชายผู้กลับตัว ที่ได้ฮิจเราะฮฺไปสู่ดินแดนแห่งความดี
ดังนั้น พึงรู้เถิดว่า การแสวงหาความรู้นั้นดียิ่งสำหรับท่าน มากกว่าละหมาดสุหนัต หรือบางอิบาดะฮฺที่เป็นสุหนัต ตราบใดที่มันเป็นไปด้วยกับความมุ่งมั่นอันบริสุทธิ์ใจ
รวมถึง ประโยชน์ของความรู้ ในการแบ่งแยก(ความจริงออกจากความเท็จ และสิ่งที่เป็นชุบฮาต)
แท้จริง สิ่งที่เป็นจุดมุ่งหมายจากการแสวงหาความรู้ของท่านคือ
1.ท่านจะลบล้างความโง่เขลาออกจากตัวเอง
2.ท่านจะได้อิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ ญัลละ วะ อะอฺลา ด้วยกับอิบาดะฮฺที่ถูกต้อง
3.อะกีดะฮฺของท่าน จะมั่นคง และถูกต้อง
4.ท่านได้เข้าใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ ญัลละ วะ อะอฺลา
5.ท่านจะเป็นอิสระจากความคลุมเครือ และสงสัย
6.ท่านจะเป็นอิสระจากความรักหรือหลงใหลในชื่อเสียง
อัลลอฮฺ ญัลละ วะ อะอฺลา ได้ตรัสว่า
يَوْمَ لَا يَنفَعُ مَالٌ وَلَا بَنُونَ إِلَّا مَنْ أَتَى اللَّـهَ بِقَلْبٍ سَلِيمٍ
วันที่ทรัพย์สมบัติและลูกหลานจะไม่อำนวยประโยชน์ได้เลย เว้นแต่ผู้มาหาอัลลอฮ์ด้วยหัวใจที่บริสุทธิ์ผ่องใส (อัช-ชุรออะฮฺ: 88-89)
และพระองค์ได้ตรัสอีกว่า
إِنَّ الَّذِينَ آمَنُوا وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ إِنَّا لَا نُضِيعُ أَجْرَ مَنْ أَحْسَنَ عَمَلًا
แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธาและกระทำความดีทั้งหลาย เราจะไม่ให้การตอบแทนของผู้กระทำความดีสูญหายอย่างแน่นอน (อัล-กะหฺฟฺ: 30)
------------------------------------------
لا تقلْ : لم أشعر بالفائدةِ
المرجع: الوصايا الجليّة للاستفادة من الدروس العلميّة للشيخ صالح آل الشيخ
السؤال: طلبتُ العلمَ عدة سنواتٍ ومع ذلك لا تثبتُ لديَّ المعلوماتُ ولا أشعرُ بالفائدة ، فبماذا تنصحونني ؟ جزاكم الله خيرًا.
الحواب: لا تقلْ : لم أشعر بالفائدةِ ؛ لأن طالبَ العلم في عبادةٍ.
والمقصودُ من طلب العلمِ رضاءُ اللهِ – جلَّ وعلا – على العبدِ.
وتعلمون الرجلَ الذي جاء تائبًا وقد « أتاهُ مَلَكُ الموتِ فاختصمتْ فيه ملائكةُ الرحمةِ وملائكةُ العذابِ ، فقالت ملائكةُ الرحمة : جاء تائبًا مُقْبِلاً بقلبه إلى الله تعالى ، وقالت ملائكةُ العذابِ : إنه لم يعملْ خيرًا قطُّ. فأتاهم مَلَكٌ في صورة آدَمِيٍّ فجعلوه بينهم – أي : حكمًا – فقال : قيسوا ما بين الأرضَيْنِ فإلى أيتهما كان أدنى فهو له ، فقاسوا فوَجدوه أدنى إلى الأرضِ التي أراد ، فقبضَتْهُ ملائكةُ الرحمة » صحيح مسلم برقم 7008.
غُفر لهذا الرجلِ التائبِ ؛ لأن حركته حُسبت له ، فحركةُ طالب العلم في العلم عبادةٌ ، كحركةِ التائبِ المهاجر إلى أرضِ الخير.
وطلبُ العلم خيرٌ لك من نوافل الصلاة ، أو من بعض نوافل العبادات . ولا بدّ من النية الصادقة .. ثم الفائدةُ متبعِّضَةٌ ، وليس المقصودُ إما أن تكونَ عالمًا ، وإما أن لا تكونَ طالبَ علمٍ أصلاً.
إنما المقصودُ من طلبك للعلم أن ترفعَ الجهلَ عن نفسِك ، وأن تعبدَ الله – جلَّ وعلا – بعباداتٍ صحيحةٍ ، وأن تكون عقيدتُك صالحةً ، وأن تُقْبِلَ على الله – جلَّ وعلا – وأنت سليمٌ من الشبهة ، سليمٌ من حبِّ الشهرة.
قال الله – جلَّ وعلا :
{ يَوْمَ لَا يَنْفَعُ مَالٌ وَلَا بَنُونَ } { إِلَّا مَنْ أَتَى اللَّهَ بِقَلْبٍ سَلِيمٍ } – سورة الشعراء/88-89
وقال – جل جلاله :
{ إِنَّ الَّذِينَ آمَنُوا وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ إِنَّا لَا نُضِيعُ أَجْرَ مَنْ أَحْسَنَ عَمَلًا } – سورة الكهف/30
ولو لم تنفعْ إلاَّ نفسَك وعيالَك لكان في هذا خيرٌ كبير.
............................
Sulaimarn Darakai
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น