อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

ใครในหมู่พวกเเจ้าเป็นผู้ที่ดีที่สุดในด้านการงาน


(ซูเราะฮฺ อัล-มุลก์ อายะฮฺที่ 2)

2. ผู้ทรงสร้างความตายและชีวิตที่พระองค์จะทดสอบสูเจ้าเพื่อดูว่าในหมู่สูเจ้านั้นใครดีที่สุดในด้านการงาน (1) และพระองค์เป็นผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงให้อภัย (2)

...................
(1) นั่นคือ วัตถุการประทานชีวิตแก่มนุษย์ในโลกนี้และทำให้เขาตายก็เพื่อเป็นการทดสอบพวกเขาเพื่อดูว่าใครในหมู่พวกเขาเป็นผู้ที่ดีที่สุดในด้านการงาน ในประโยคสั้น ๆ นี้ได้มีการพูดความจริงบางอย่างนั่นคือ 1) ชีวิตและความตายเป็นสิ่งที่อัลลอฮฺทรงประทานมา ไม่มีใครสามารถที่จะให้ชีวิตและทำให้ตายได้ 2) ไม่มีชีวิตและความตายของมนุษย์คนใดที่อัลลอฮฺประทานอำนาจให้ทำได้ทั้งความดีและความชั่วนั้นไร้วัตถุประสงค์ พระองค์ทรงสร้างเขามาในโลกเพื่อการทดสอบ ชีวิตก็คือระยะเวลาของการทดสอบสำหรับเขาและความตายก็หมายถึงเวลาที่ถูกจัดไว้สำหรับเขาได้สิ้นสุดลงแล้ว 3) เพื่อเป็นการทดสอบดังกล่าวนี้ พระองค์ได้ประทานโอกาสสำหรับการกระทำแก่มนุษย์ทุกคน ทั้งนี้เพื่อที่เขาจะได้ทำดีหรือทำชั่วในโลกและได้แสดงว่าเขาเป็นคนประเภทใด 4) อัลลอฮฺผู้ทรงสร้างเท่านั้นที่จะตัดสินว่าใครทำดีหรือทำชั่ว ไม่ใช่ตัวเราที่จะไปเสนอกฎเกณฑ์ตัดสินความดีหรือความชั่วนอกไปจากพระองค์ ดังนั้นใครก็ตามที่ต้องการผ่านการทดทสอบนี้จะต้องดูว่าอะไรเป็นเกณฑ์ตัดสินการทำดีในทัศนะของพระองค์ ประเด็นที่ห้าก็เป็นสิ่งที่อยู่ในความหมายของการทดสอบเอง นั่นคือ ทุกคนจะได้รับการตอบแทนตามที่เขาได้กระทำไว้ เพราะถ้าหากไม่มีการตอบแทนหรือการลงโทษ การทดสอบก็จะไม่มีความหมาย

(2) ตรงนี้มีสองความหมายด้วยกันและทั้งสองความหมายก็ถูกใช้ในที่นี้คือ 1) พระองค์ทรงมีอำนาจถึงแม้พระองค์จะทรงอยู่เหนือทุกสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างมา พระองค์ก็เป็นผู้ทรงกรุณาปรานีและเป้นผู้ทรงให้อภัยสำหรับพวกเขา และ 2) พระงอค์ทรงมีอำนาจที่จะลงดทษคนทำชั่ว ไม่มีใครสามารถรอดพ้นจากการลงโทษของพระองค์ไปได้ แต่พระองค์เป็นผู้ทรงให้อภัยสำหรับผู้ที่รู้สึกสำนึกผิดแล้วละเว้นจากความชั่วและขออภัยต่อพระองค์



...........................................
(จากหนังสือ : ตัฟฮีมุลกุรอานความหมาย คัมภีร์ อัล-กุรอาน เล่ม 8)

อดทน เพื่อชัยชนะ โพส






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น