มีผู้อ้างว่า ซูฟีย์ มีแนวทางการอธิบายอัลกุรอ่าน แบบ อิชารีย หรือแบบบ่งชี้อันล้ำลึก ซึ่งคนไม่ใช่ซูฟีย์จะไม่เข้าใจ
โดยอ้าง ท่านอิบนุอะญีบะฮ์ กล่าวไว้ชัดเจนในการตัฟซีรอัลกุรอานของปราชญ์ซูฟีย์ว่า
وَالصُّوْفِيَّةُ رَضِيَ اللهُ عَنْهُمْ يُقِرُّوْنَ الظَّاهِرَ عَلَى ظَاهِرِهِ وَيَقْتَبِسُوْنَ إِشَارَاتٍ خَفِيَّةً لاَ يَعْرِفُ مَقْصُوْدَهُمْ غَيْرُهُمْ
“และบรรดาปราชญ์ซูฟีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ้ม ยอมรับในความหมายผิวเผินและพวกเขาได้ถอดข้อบ่งชี้อันล้ำลึกที่ผู้อื่นจาก ปราชญ์ซูฟีย์ไม่เข้าใจเป้าหมายของพวกเขา”อิบนุอะญีบะฮ์, อีกอซุลฮิมัม ชัรหุมัตนิลหิกัม, 366.
.............
จึงขอนำเสนอตัวอย่างการตัฟสีรแบบล้ำลึก และชี้แจง
ตัวอย่างจาก ปราชญ์ซูฟีย์ต่อไปนี้
อิบนุอะฏออิลละฮ อัสสะกันดะรียะฮ มีชื่อเต็มว่า
تاج الدين أبو الفضل أحمد بن محمد بن عبد الكريم بن عبد الرحمن بن عبد الله بن أحمد بن عيسى بن الحسين بن عطاء الله الجذامي
เกิดปี ฮ.ศ ๖๕๘ ที่เมือง เมืองอเล็กซานเดรีย (Alexandria) อยู่ทางเหนือสุดของอียิปต์ เป็นเมืองเก่าที่ติดอยู่กับทะเล
เมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Sea) และเสียชีวิต ปี ฮ.ศ ๗๐๙ ที่ ไคโร ประเทศอียิปต์ สังกัดมัซฮับชาฟิอี มีอากีดะฮ แนวอาชาอิเราะฮ และ มีแนวคิดแบบซูฟีย์เฏาะรีกัตชาซุลลียะฮ เป็นศิษย์ของ อบูอัลอับบาส อัลมุรซีย์
มีชื่อเต็มว่า
شهاب الدين أبو العباس أحمد بن حسن بن على الخزرجى الأنصارى المرسي،
Shahab al-Din Abu'l-'Abbas Ahmad ibn 'Umar ibn Mohammad al-Ansari al-Mursi
มาดูอาจารย์ของ อิบนุอะฏออิลละฮ ตัฟสีรอัลกุรอ่าน แบบคลั่งใคล้ซูฟีย์ ซึ่ง อิบนุอะฏออิลละฮ เอง ได้กล่าวไว้คือ
سمعت شيخنا رضي الله عنه يقول في قوله عز وجل:
مَا نَنسَخْ مِنْ آيَةٍ أَوْ نُنسِهَا نَأْتِ بِخَيْرٍ مِّنْهَا أَوْ مِثْلِهَا [البقرة:106] أي: ما نذهب من وليّ لله إلا ونأت بخير منه أو مثله".
ข้าพเจ้าได้ยินอาจารย์ของเรา(ร.ฎ)กล่าวในคำตรัสของอัลลอฮ ผู้ทรงสูงส่ง ผู้ทรงเลิศยิ่ง ว่า (สิ่งใดที่เรายกเลิก จากอายะฮหรือทำให้มันลืมเลือนไป เราก็จะนำสิ่งที่ดีกว่ามัน หรือที่เท่าเทียมกับมัน มาแทนที่–อัลบะเกาะฮเราะ/๑๐๖ หมายถึง สิ่งใด ที่เราให้จากไปจากวาลียุลลอฮ นอกจากเราจะนำมาด้วยที่ดีกว่าเขา หรือ เท่าเทียมเขา – ดู ละฏออิฟ อัลมะนัน ของ อิบนุอะฏออิลละฮ หน้า๑๖ มักตับกอฮิเราะฮ
ข้างต้นเป็นการอรรถาธิบายอัลกุรอ่านที่บิดเบือนข้อเท็จจริง เปลี่ยนจากความหมายอายะฮ ไปเป็น วะลียุลลอฮ
มาดูคำอธิบายของสะลัฟ อิบนุญะรีร
مَا نَنْسَخْ مِنْ آيَةٍ ) : مَا نَنْقُلْ مِنْ حُكْمِ آيَةٍ ، إِلَى غَيْرِهِ فَنُبَدِّلْهُ وَنُغَيِّرْهُ ، وَذَلِكَ أَنْ يُحَوِّلَ الْحَلَالَ حَرَامًا ، وَالْحَرَامَ حَلَالًا وَالْمُبَاحَ مَحْظُورًا ، وَالْمَحْظُورَ مُبَاحًا ، وَلَا يَكُونُ ذَلِكَ إِلَّا فِي الْأَمْرِ وَالنَّهْيِ ، وَالْحَظْرِ وَالْإِطْلَاقِ ، وَالْمَنْعِ وَالْإِبَاحَةِ . فَأَمَّا الْأَخْبَارُ ، فَلَا يَكُونُ فِيهَا نَاسِخٌ وَلَا مَنْسُوخٌ .
อายะห์ใดที่เรายกเลิก ) หมายถึง หุกุมอายะฮใดที่เราเปลี่ยนไปเป็นอื่นจากมัน แล้วเราเปลียนแปลมัน และดังกล่าวนั้น ทรงเปลี่ยนหะลาลเป็นหะรอม ,เปลี่ยน หะรอมเป็นหะลาล,เปลี่ยนจากอนุญาต เป็นข้อห้าม เปลี่ยนข้อห้าม เป็นสิ่งอนุมัติ และดังกล่าวนั้น จะไม่ปรากฏ นอกจาก ในเรื่อง คำสั่งใช้ ,คำสั่งห้าม ,ข้อห้าม, คำสังที่กล่าวไว้กว้างๆ(โดยมีการเจาะจงข้อยกเว้น) และ การอนุมัติ สำหรับคำบอกเล่านั้น มันจะไม่ปรากฏ นาสิค(อายะฮที่มายกเลิก)และมันสูค(อายะฮที่ถูกยกเลิก) – ดูตัฟสีรอัฏฏอ็บรีย์ เล่ม ๒ หน้า ๔๗๒
................
จะเห็นได้ชัดเชนว่า ปราชญ์ซูฟีย์ ได้อรรถาธิบายอายะฮอัลกุรอ่านเพี้ยนไปจากความมุ่งหมายของอัลกุรอ่านที่ ปราชญ์ยุคสะลัฟอธิบายไว้อย่างสิ้นเชิง
มาดูข้อเท็จจริงต่อ
อบูลอับบาส อัลมุรซีย์ ปราชญ์ซูฟียฺ ให้ความหมาย คำว่า “อายะฮ” ในอายะฮต่อไปนี้ว่า “ วาลียุลลอฮ” เพื่อสนับสนุนแนวทางซูฟียเฏารีกัตของท่าน ผมไม่ได้บิดเบือน ใส่ร้าย มาดูข้อเท็จจริง
อัลกุรอ่านกล่าวว่า
مَا نَنْسَخْ مِنْ آيَةٍ أَوْ نُنْسِهَا نَأْتِ بِخَيْرٍ مِنْهَا أَوْ مِثْلِهَا أَلَمْ تَعْلَمْ أَنَّ اللَّهَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ
สิ่งใดทีเรา ยกเลิกจากบางอายะฮ์ หรือ (สิ่งใดที่ )เราทำให้ลืมเลือน จากบางอายะฮ์ เราก็จะนำ บางอายะฮ์ที่ดีกว่า หรือ (เราจะนำ)บางอายะฮ์ทีเท่าเทียม กับมัน (มาแทนบางอายะฮ์ที่ถูกยกเลิกไป) เจ้าไม่รู้ หรือว่า แท้จริงอัลลอฮ์ ทรงเดชานุภาพเหนือทุกๆสิ่ง
ในอายะฮ์นี้ชัดเจนว่าพระองค์ทรงกล่าวว่าในกุรอานมี นาสิค มันสูค ใครบ้างที่แปลกุรอานในความหมายดังกล่าว
คำอธิบายของอิบนุญะรีร
قال أبو جعفر: يعني جل ثناؤه بقوله: (ما ننسخ من آية) : ما ننقل من حكم آية، إلى غيره
ท่านอาบูยะฟัรกล่าวความหมายอายะฮ์นี้ว่า อายะฮ์ใดที่เราย้าย (ยกเลิก) หลักการจากอายะนั้น ไปสู่หลักการอื่น (หมายถึงอายะฮ์กุรอาน) - ตัฟสีร อัฏฏอบรีย 2/472
อิบนุกะษีร กล่าวว่า
قَالَ ابْنُ أَبِي طَلْحَةَ ، عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ : ( مَا نَنْسَخْ مِنْ آيَةٍ ) مَا نُبَدِّلُ مِنْ آيَةٍ .
อิบนุอบี ฏอ็ลหะฮ กล่าวว่า รายงานจากอิบนุอับบาส (สิ่งใดทีเรา ยกเลิกจากบางอายะฮ์) หมายถึง สิ่งใดที่เราเปลี่ยนจากอายะฮใดๆ
وَقَالَ ابْنُ جُرَيْجٍ ، عَنْ مُجَاهِدٍ : ( مَا نَنْسَخْ مِنْ آيَةٍ ) أَيْ : مَا نَمْحُ مِنْ آيَةٍ
อิบนุญุรัยญฺ กล่าวว่ารายงานจากมุญาฮิด ว่า (สิ่งใดทีเรา ยกเลิกจากบางอายะฮ์) หมายถึง สิ่งใด ที่เราลบออก จากอายะฮใดๆ – ดูตัฟสีร อิบนุกะษีร 1/107
..........คำอธิบายของสะลัฟข้างต้น ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า อายะฮข้างต้น กล่าวถึง การยกเลิก อายะฮอัลกุรอ่านบางอายะฮ ซึ่ง เป็นที่รู้กัน ในเรื่อง นาสิค –มัน สูค (อายะฮที่มายกเลิก และอายะฮที่ถูกยกเลิก ) เพราะฉะนั้น การให้ความหมายว่า วาลียุลลอฮ ในอายะฮนี้เป็นการอรรถาธิบาย เพื่อสนับสนุนหลักการซูฟีย์ ตามแนวทางของผู้อรรถาธิบายเท่านั้น
ผมไม่ได้เป็นปฏิปักษ์กับซูฟีย์ หากหลักการนั้นเป็นไปตามกิตาบุลลอฮ และสุนนะฮนบี
มีผู้ที่ยึดแนวซูฟีอ้างว่า
อัลมุรสีย์คือ ท่านอิหม่ามอัสสะยูฏีย์ กล่าวว่า
وَقَالَ الشَّيْخُ تَاجُ الدِّيْنِ بْنُ عَطَاءِ اللهِ فِيْ كِتَابِهِ لَطَائِفِ الْمِنَنِ اِعْلَمْ أَنَّ تَفْسِيْرَ هَذِهِ الطَّائِفَةِ لِكَلاَمِ اللهِ وَكَلاَمِ رَسُوْلِهِ بِالْمَعَانِي الْغَرِيْبَةِ لَيْسَ إِحَالَةً لِلظَّاهِرِ عَنْ ظَاهِرِهِ وَلَكِنّ ظَاهِرَ الآيَةِ مَفْهُوْمٌ مِنْهُ مَا جَلَبَتِ الآيَةُ لَهَ وَدَلَّتْ عَلَيْهِ فِيْ عُرْفِ اللِّسَانِ وَثَمَّ أَفْهَامٌ بَاطِنَةٌ تُفْهَمُ عِنْدَ الآيَةِ وَالْحَدِيْثِ لِمَنْ فَتَحَ اللهُ قَلْبَهُ وَقَدْ جَاءَ فِي الْحَدِيْثِ لِكُلِّ آيَةٍ ظَهْرٌ وَبَطْنٌ
“ท่านชัยค์ตาญุดดีน อิบนุ อะฏออิลลาฮ์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือละฏออิฟ อัลมินัน ของท่านว่า ท่านจงรู้ไว้ว่า แท้จริงตัฟซีรของกลุ่มชนนี้(คือกลุ่มชนปราชญ์ซูฟีย์ร็อบบานีย์)ที่มีต่อกะลา มุลลอฮ์และคำพูดของท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ด้วยความหมายที่ไม่คุ้นเคยนั้น มิใช่เป็นการเปลี่ยนความหมายที่ผิวเผินชัดเจนให้ออกจากความหมายที่ ชัดเจน(ตามหลักภาษาอาหรับ) แต่ความหมายผิวเผินของอายะฮ์นั้น จะถูกเข้าใจตามที่อายะฮ์ได้บ่งชี้ตามหลักภาษาอาหรับ แต่ ณ ที่นั่น ยังมีบรรดาความเข้าใจแบบล้ำลึกที่ถูกเข้าใจจากตัวบทอายะฮ์อัลกุรอานและหะดี ษที่มีให้กับผู้ที่อัลลอฮฺทรงเปิดหัวใจของเขา โดยมีหะดีษได้ระบุมาว่า ทุกๆอายะฮ์นั้นมีทั้งความหมายผิวเผิน(ความหมายนอก)และความหมายล้ำลึก(ภายใน )” อัสสะยูฏีย์, อัลอิตกอน ฟี อุลูมิลกุรอาน, เล่ม 2, หน้า 488, และดู อิบนุอะฏออิลลาฮ์, ละฏออิฟ อัลมินัน, หน้า 136-137.....
ชี้แจง
การที่อิหม่ามสะยูฏีย์ชื่นชม อะบุลอับบาส อัลมุรสีย์ มันคือ มารยาทของนักวิชาการ ที่แสดงต่อ นักวิชาการด้วยกัน ไม่ใช่เป็นเครื่องยืนยันว่า สิ่งนั้นถูกต้อง เพราะผู้รู้ ย่อมมีผิด มีถูก แต่คนตะอัศศุบกับผู้รู้แบบสุดโต่ง พยายามปกป้องในสิ่งที่ผิด และไม่ยอมรับในสิ่งที่ผิด
มาดูมาดู อิหม่าม อัลกุรฏุบีย์ ซึ่งเป็นปราชญ์ที่กลุ่มอาชาอิเราะฮยอมรับ อธิบาย
وَسَبَبُهَا أَنَّ الْيَهُودَ لَمَّا حَسَدُوا الْمُسْلِمِينَ فِي التَّوَجُّهِ إِلَى الْكَعْبَةِ وَطَعَنُوا فِي الْإِسْلَامِ بِذَلِكَ ، وَقَالُوا : إِنَّ مُحَمَّدًا يَأْمُرُ أَصْحَابَهُ بِشَيْءٍ ثُمَّ يَنْهَاهُمْ عَنْهُ ، فَمَا كَانَ هَذَا الْقُرْآنُ إِلَّا مِنْ جِهَتِهِ ، وَلِهَذَا يُنَاقِضُ بَعْضُهُ بَعْضًا ، فَأَنْزَلَ اللَّهُ : وَإِذَا بَدَّلْنَا آيَةً مَكَانَ آيَةٍ وَأَنْزَلَ مَا نَنْسَخْ مِنْ آيَةٍ .
และสาเหตุของมัน คือ แท้จริง ชาวยิว เมื่อพวกเขาอิจฉา บรรดามุสลิม ในกรณีผินหน้า ไปทางกะอบะฮ และพวกเขากล่าวให้ร้าย อิสลาม ด้วยดังกล่าว และพวกเขากล่าวว่า แท้จริง มุหัมหมัด สั่งให้บรรดาสาวกของเขา ด้วยสิ่งหนึ่งที่เขาเคยห้าม พวกเขาจากมัน ดังนั้น อัลกุรอ่านนี้ ไม่ได้มีขึ้น นอกจากมาจากด้านของเขา(หมายถึงมาจากความคิดมุฮัมหมัด) เพราะ เหตุนี้มันจึงขัดแย้งกันเอง ต่อมาอัลลอฮ จึงประทานอายะฮนี้ลงมา
وَإِذَا بَدَّلْنَا آيَةً مَكَانَ آيَةٍ
และเมื่อเราได้เปลี่ยนโองการหนึ่งแทนอีกโองการหนึ่ง – อันนะหลุ/100
และทรงประทาน อายะฮที่ว่า
مَا نَنْسَخْ مِنْ آيَة
สิ่งใดทีเรา ยกเลิกจากบางอายะฮ์ – ดูตัฟสีร อัลญาเมียะ ลิอะหกามิลกุรอาน อรรถาธิบายอัลกุรอ่านอายะฮที่ 106 ซูเราะฮอัลบะเกาะเราะฮ
..........
ข้างต้น เป็นการยืนยันชัดเจน ว่า อายะฮนี้ กล่าวถึงเรื่อง อายะฮอัลกุรอ่านที่ถูกยกเลิก แต่ อาจารย์ของ อิบนุอะฏออิลละฮ คือ อะบุลอับบาส อัลมุรสีย์ ตัฟสีรอัลกุรอ่าน สนับสนุนซูฟีย์ เปลี่ยนจากคำว่า อายะฮ เป็น วาลียุลลอฮ ซึ่ง อิบนุอะฏออิลละฮ เอง ได้กล่าวไว้คือ
سمعت شيخنا رضي الله عنه يقول في قوله عز وجل:
مَا نَنسَخْ مِنْ آيَةٍ أَوْ نُنسِهَا نَأْتِ بِخَيْرٍ مِّنْهَا أَوْ مِثْلِهَا [البقرة:106] أي: ما نذهب من وليّ لله إلا ونأت بخير منه أو مثله".
ข้าพเจ้าได้ยินอาจารย์ของเรา(ร.ฎ)กล่าวในคำตรัสของอัลลอฮ ผู้ทรงสูงส่ง ผู้ทรงเลิศยิ่ง ว่า (สิ่งใดที่เรายกเลิก จากอายะฮหรือทำให้มันลืมเลือนไป เราก็จะนำสิ่งที่ดีกว่ามัน หรือที่เท่าเทียมกับมัน มาแทนที่–อัลบะเกาะฮเราะ/๑๐๖ หมายถึง สิ่งใด ที่เราให้จากไปจากวาลียุลลอฮ นอกจากเราจะนำมาด้วยที่ดีกว่าเขา หรือ เท่าเทียมเขา – ดู ละฏออิฟ อัลมะนัน ของ อิบนุอะฏออิลละฮ หน้า๑๖ มักตับกอฮิเราะฮ
..........
อินชาอัลลอฮ มีเพิ่มเติม
#มาดู หะดิษรายงานโดยบุคอรี ที่อธิบายอายะฮนี้
عَنْ سَعِيْدِ بْنِ جُبَيْرٍ عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ قَالَ : قَالَ عُمَرُ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ اَقْرَؤُنَا أُبَيٌّ وَأقْضَانَا عَلِيٌّ وَإنَّا لَنَدَعُ مِنْ قَوْلِ أُبَيٍّ وَذَاكَ أنَّ أُبَيًّا يَقُوْلُ : لاَ اَدَعُ شَيْئاً سَمِعْتُهُ مِن رَّسُوْلِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَقَدْ قَالَ اللهُ تَعَالَى (مَا نَنْسَخْ مِنْ آيَةٍ أوْ نُنْسِهَا)
“จาก สะอี๊ด บิน ญุบัยร์ จาก อิบนิ อับบาส กล่าวว่า อุมัร ขออัลลอฮ์ทรงพระทัยต่อท่าน ได้กล่าวว่า ผู้ที่อ่านอัลกุรอานดีที่สุดในหมู่พวกเราคือ อุบัยด์ และผู้ตัดสินดีที่สุดในหมู่พวกเราคือ อาลี และพวกเราไม่ได้ละเลยถ้อยคำของ อุบัยด์ ทั้งนี้เนื่องจาก อุบัยด์ ได้กล่าวว่า : ฉันไม่ได้ละทิ้งสิ่งใดที่ฉันเคยได้ยินจากท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม พระองค์อัลลอฮ์ ผู้สูงส่ง กล่าวว่า (อายะห์ใดที่เรายกเลิก หรือทำให้มันลืมเลือนไป)” ศอเฮียะห์ บุคอรี ฮะดีษเลขที่ 4121
…………..
จาก หะดิษและคำอธิบายของสะลัฟข้างต้น ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า อายะฮข้างต้น กล่าวถึง การยกเลิก อายะฮอัลกุรอ่านบางอายะฮ ซึ่ง เป็นที่รู้กัน ในเรื่อง นาสิค –มัน สูค (อายะฮที่มายกเลิก และอายะฮที่ถูกยกเลิก ) เพราะฉะนั้น การให้ความหมายว่า วาลียุลลอฮ ในอายะฮนี้เป็นการอรรถาธิบาย เพื่อสนับสนุนหลักการซูฟีย์ ตามแนวทางของผู้อรรถาธิบายเท่านั้น
ผมไม่ได้เป็นปฏิปักษ์กับซูฟีย์ หากหลักการนั้นเป็นไปตามกิตาบุลลอฮ และสุนนะฮนบี เพราะฉะนั้น อย่าได้กล่าวหาว่าผมต่อต้านวิชาตะเซาวุฟ
มาดูคำอธิบายของอิหม่ามสะยูฏีย์เองดังนี้
نَنْسَخ مِنْ آيَة" أَيْ نَزَلَ حُكْمهَا : إمَّا مَعَ لَفْظهَا أَوْ لَا
เรา ยกเลิกจาก อายะฮใดๆ หมายถึง ทรงประทานหุกุมของมันลงมา บางที่ พร้อมกับถ้อยคำของมัน หรือ ไม่มี – ดู ตัฟสีร ญะละลัยนฺ อธิบายอายะฮที่ 106 ซูเราะฮอัลบะเกาะเราะฮ
..........
การ ที่อิหม่ามสะยูฏีย์ชื่นชม อะบุลอับบาส อัลมุรสีย์ มันคือ มารยาทของนักวิชาการ ที่แสดงต่อ นักวิชาการด้วยกัน ไม่ใช่เป็นเครื่องยืนยันว่า สิ่งนั้นถูกต้อง เพราะผู้รู้ ย่อมมีผิด มีถูก แต่คนตะอัศศุบกับผู้รู้แบบสุดโต่ง พยายามปกป้องในสิ่งที่ผิด และไม่ยอมรับในสิ่งที่ผิด
#ท่านอาจารย์แม่ทัพ อ้างอิงว่า
ท่านอิหม่ามอิบนุอะญีบะฮ์ ได้กล่าวว่า
كَثِيْراً مَا يَسْتَدِلُّ الصُّوْفِيَّةُ بِهَذِهِ الآيَةِ (قُلِ اللَّهُ ثُمَّ ذَرْهُمْ فِي خَوْضِهِمْ يَلْعَبُونَ) عَلَى الاِنْقِطَاعِ إِلَى اللهِ وَالغَيْبَةِ عَمَّا سِوَاهُ وَهُوَ تَفْسِيْرُ إِشَارَةٍ لاَ تَفْسِيْرُ مَعْنَى اللَّفْظِ لأَنَّهَا نَزَلَتْ فِي الرَّدِّ عَلَى الْيَهُوْدِ
“ส่วน มากที่ปราชญ์ซูฟีย์ได้นำอายะฮ์นี้(เจ้าจงกล่าวเถิดว่า อัลลอฮฺ-เท่านั้นที่ทรงประทานคัมภีร์แก่มูซา- หลังจากนั้นเจ้าจงปล่อยพวกเขาสนุกสนานกันในการเข้าไปวิพากษ์วิจารณ์ของพวก เขาต่อไป,[อัลอันอาม: 91]) มาอ้างอิงเป็นหลักฐานให้ตัดขาดมัคโลคไปยังอัลลอฮฺและไม่สนใจสิ่งอื่นจาก พระองค์ ซึ่งมันคือการอธิบายเชิงบ่งชี้อันล้ำลึกไม่ใช่เป็นการอธิบายตามความหมายของ ถ้อยคำเพราะอายะฮ์นี้ประทานลงมาเพื่อตอบโต้พวกยะฮูดีย์” อิบนุอะญีบะฮ์, อีกอซุลฮิมัม ชัรหุมัตนิลหิกัม, 366.
.............................
ชี้แจง
การ อ้างคำอธิบายของซูฟีย์ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางซูฟีนั้น แสดงถึงการอธิบายอัลกุรอ่าน ตามความต้องการของตัวเองหรือแนวทางของตัวเอง ตัฟสีรอัลกุรอ่านนั้น อันดันดับแรก จะต้องดูว่า อัสสุนนะฮ อธิบายว่า อย่างไร และ เหล่านักปราชญ์ยุคสะลัฟ เขาอธิบายว่าอย่างไร ไม่ใช่ ใครมีแนวคิดแบบใหน ก็เอาอัลกุรอ่านมาชง เพื่อให้เข้ากับแนวคิดของตน
มาดู การอธิบายอายะฮที่ท่านแม่ทัพอ้างอิงการอธิบายของซูฟี
อัล-อันอาม :91 الأنعام :91
قُلِ اللّهُ ثُمَّ ذَرْهُمْ فِي خَوْضِهِمْ يَلْعَبُونَ
จง กล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ว่า (ผู้ทรงประทาน) คืออัลลอฮ์นั่นเอง แล้วจงปล่อยพวกเขาสนุกสนามกันในการวิพากษ์วิจารณ์ของพวกเขาต่อไป - อัล-อันอาม :91
………….
ขอชี้แจงให้ท่านแม่ทัพรู้ว่า อายะฮข้างต้น อิบนุกะษีร ได้ระบุว่า
قَالَ ابْنُ عَبَّاسٍ وَمُجَاهِدٌ وَعَبْدُ اللَّهِ بْنُ كَثِيرٍ : نَزَلَتْ فِي قُرَيْشٍ . وَاخْتَارَهُ ابْنُ جَرِيرٍ ،
อิบ นุอับบาส ,มุญาฮิด และอับดุลลอฮ บิน กะษีร กล่าวว่า “มันถูกประทานลงมา เกี่ยวกับ พวกกุเรช และ อิบนุญะรีร ได้เลือกมัน (หมายถึง ได้เลือกทัศนะที่ว่า ประทานลงมาเกี่ยวกับพวกกุเรช)
ทั้งนี้ อิบนุกะษีร เอง ก็ยืนยันว่า ทัศนะข้างต้นชัดเจนที่สุด โดยท่านได้อ้างเหตุผลว่า
قَالُوا مَا أَنْزَلَ اللَّهُ عَلَى بَشَرٍ مِنْ شَيْءٍ ) وَالْأَوَّلُ هُوَ الْأَظْهَرُ ; لِأَنَّ الْآيَةَ مَكِّيَّةٌ ، وَالْيَهُودُ لَا يُنْكِرُونَ إِنْزَالَ الْكُتُبِ مِنَ السَّمَاءِ وَقُرَيْشٌ - وَالْعَرَبُ قَاطِبَةً - كَانُوا يُبْعِدُونَ إِرْسَالَ رَسُولٍ مِنَ الْبَشَرِ
พวก เขากล่าวว่า อัลลอฮ์มิได้ทรงประทานสิ่งใดแก่ปุถุชนคนใด ) ทัศนะแรกชัดเจนที่สุด เพราะเป็นอายะฮ มักกียะฮ และพวกยิวนั้น พวกเขาไม่ได้คัดค้าน การประทานบรรดาคัมภีร์ จากฟากฟ้า โดยที่ กุเรช – หมายถึงอาหรับทั้งหมด นั้น พวกเขา ถูกให้ห่างใกลจากการส่งรอซูลจากมนุษย์
#อิบนุกะษีร จึงอธิบายว่า
وَقَوْلُهُ : ( ثُمَّ ذَرْهُمْ فِي خَوْضِهِمْ يَلْعَبُونَ ) أَيْ : ثُمَّ دَعْهُمْ فِي جَهْلِهِمْ وَضَلَالِهِمْ يَلْعَبُونَ ، حَتَّى يَأْتِيَهُمْ مِنَ اللَّهِ الْيَقِينُ فَسَوْفَ يَعْلَمُونَ أَلَهُمُ الْعَاقِبَةُ ، أَمْ لِعِبَادِ اللَّهِ الْمُتَّقِينَ؟
และ คำตรัสของพระองค์ที่ว่า (แล้วจงปล่อยพวกเขาสนุกสนามกันในการวิพากษ์วิจารณ์ของพวกเขาต่อไป) หมายถึง ปล่อยพวกเขาให้สนุกสนาน อยู่ในสภาพโง่เขลา และการหลงผิดของพวกเขา จนกว่า ความตายจากอัลลอฮ มายังพวกเขา แล้วพวกเขาจะได้รู้ว่า จุดจบแห่งชีวิต(ทีดี)นั้น เป็นของพวกเขา หรือ เป็นของ บรรดาบ่าวของอัลลอฮที่ยำเกรง กันแน่ ?
- ดูตัฟสีร อิบนุกะษีร เล่ม 3 หน้า 300-301
- แล้วอายะฮข้างต้น ตรงใหนหรือ ที่บอกว่า เป็นหลักฐาน เกี่ยวกับให้ตัดขาดมัคลูค ไม่ยุ่งเกี่ยวกับมัคลูค ปลีกวิเวก ทำอิบาดะฮอย่างเดียว อัลลอฮ ไม่ได้สอนให้มนุษย์ตัดขาดทางโลก เพียงแต่ อย่าให้หลุ่มหลงทางโลกจนลืมอาคีเราะฮเท่านั้น
#ท่านแม่ทัพ กล่าวว่า
กล่าวคือตัฟซีรอัลอิชารีย์นั้น ไม่ใช่เป็นการอธิบายถ้อยคำของอัลกุรอาน แต่เป็นความเข้าใจตัวบทของอัลกุรอานอย่างลึกซึ้ง
เพราะผมได้อ้างอิงคำพูดของท่านอิหม่ามอิบนุอะญีบะฮ์ไปแล้วเกี่ยวกับการอธิบายอัลกุรอานของปราชญ์ซูฟีย์ ก็คือ
وَهُوَ تَفْسِيْرُ إِشَارَةٍ لاَ تَفْسِيْرُ مَعْنَى اللَّفْظِ
“มันคือการอธิบายเชิงบ่งชี้อันล้ำลึกไม่ใช่เป็นการอธิบายตามความหมายของถ้อยคำ” อิบนุอะญีบะฮ์, อีกอซุลฮิมัม ชัรหุมัตนิลหิกัม, 366.
ดัง นั้นคำพูดของผู้เป็นปรปักษ์จึงผิดอย่างชัดเจนที่บอกว่า ““คำว่า “อายะฮ์” ในซูเราะฮ์อัลบะก่อเราะฮ์ อายะฮ์ที่ 106 นั้น ชัดเจนอยู่แล้วคือโองการของอัลกุรอาน จะเปลี่ยนไปเป็นคำว่า “วะลียุลลอฮ์” ได้อย่างไร?”
……………
คู่ปรปักษ์ ในที่นี้ ท่านแม่ทัพ หมายถึง ผม เขาบอกว่า “ คำว่า อายะฮ ในอายะฮที่ว่า
" مَا نَنسَخْ مِنْ آيَةٍ أَوْ نُنسِهَا نَأْتِ بِخَيْرٍ مِّنْهَا أَوْ مِثْلِهَا [البقرة:106]
ว่า คำว่า อายะฮ ซูฟี ได้ตัฟสีร แบบอิชารัต (แบบบ่งชี้อันล้ำลึกว่า หมายถึง วาลียุลลอฮ
ส่วนที่หมายถึง อายะฮนั้น เขาบอกว่า ผมเข้าใจผิด
จึง ถามว่า ซูฟีย์ยุคสะลัฟคนใหน หรือ ที่อธิบายเชิงล้ำลึก ถึงขนาดเปลี่ยนจากคำว่า “อายะฮ เป็นวาลียุลลอฮ แล้วอธิบายว่า “วะลียุลลอฮใดๆที่ถูกให้ตายไป แล้ว พระองค์จะทดแทนวะลียุลลอฮที่ดีกว่า”
นี่คือ ตัฟสีรอัลอิชารีย์(التفسير الإشاري)
อะบุลอับบาส อัลมุรสีย์กล่าวว่า
ما من وليّ كان أو هو كائن إلا أطلعني الله عليه وعلى اسمه ونسبه وحظه من الله تعالى
ไม่ มีวะลีคนใด ที่เขามีอยู่ หรือ เป็นผู้ที่มีอยู่ นอกจาก อัลลอฮจะเปิดเผยให้ข้าพเจ้าเห็นเขา ,ชื่อเขา ,ตระกูลของเขาและส่วนแบ่งของเขาจากอัลลอฮ – ดู
معراج التشوف لابن عجيبة: صفحة: 88)
อัล ลอฮได้ให้สิทธิ์ล่วงรู้ถึงขนาดนี้เชียวหรือ ถึงขนาดได้สิทธพิเศษ ขนาดนี้เชียวหรือ ผู้อ่านลองพิจารณาดู แต่ไม่แปลก ที่เขาตัฟสีรแบบทางใน ที่มีการตัฟสีรอัลกุรอ่าน ในความหมายที่คนไม่ใช่ ซูฟีย์ ไม่เข้าใจดังที่ท่านแม่ทัพกล่าวว่า
ท่านอิบนุอะญีบะฮ์ กล่าวไว้ชัดเจนในการตัฟซีรอัลกุรอานของปราชญ์ซูฟีย์ว่า
وَالصُّوْفِيَّةُ رَضِيَ اللهُ عَنْهُمْ يُقِرُّوْنَ الظَّاهِرَ عَلَى ظَاهِرِهِ وَيَقْتَبِسُوْنَ إِشَارَاتٍ خَفِيَّةً لاَ يَعْرِفُ مَقْصُوْدَهُمْ غَيْرُهُمْ
“และ บรรดาปราชญ์ซูฟีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ้ม ยอมรับในความหมายผิวเผินและพวกเขาได้ถอดข้อบ่งชี้อันล้ำลึกที่ผู้อื่นจาก ปราชญ์ซูฟีย์ไม่เข้าใจเป้าหมายของพวกเขา”อิบนุอะญีบะฮ์, อีกอซุลฮิมัม ชัรหุมัตนิลหิกัม, 366.
สรุป คือ ตัฟสีร แบบอิชารี หรือ แบบบ่งชี้อันล้ำลึก เป็นสิทธิพิเศษเฉพาะซูฟีย์ จึงถามว่า สิทธิพิเศษตรงนี้นักตัฟสีรสะลัฟคนใดบ้างได้สิทธิ์แบบนี้
#ผม ได้นำสิ่งที่ชี้แจงในเฟสห้องกลุ่มคณะเก่าคณะใหม่ฯ ที่ผมได้ชี้แจงไว้ และมีคนนำที่ชี้แจงไปให้ อาจารย์แม่ทัพตอบโต้ ผมก็ชี้แจงกลับ และเห็นว่ามีประโยชน์จึงนำมาใส่ไว้ในห้องนี้ และเรียนว่า ไม่ได้ใส่ร้ายพี่น้องซูฟีย์เฏาะรีกัต แต่เป็นข้อเท็จจริงที่ซูฟีย์อรรถาธิบายอัลกุรอ่านที่แปลก เพื่อสนับสนุนแนวทางของตน คือ ให้ความหมายอายะฮอัลกุรอ่าน ในอายะฮที่ว่า
" مَا نَنسَخْ مِنْ آيَةٍ أَوْ نُنسِهَا نَأْتِ بِخَيْرٍ مِّنْهَا أَوْ مِثْلِهَا [البقرة:106 เป็น วาลียุลลอฮ ดูจากสำเนาหนังสือซูฟีเองข้างล่าง
#ผู้ตอบโต้(ขอสงวนนาม)อ้างคำพูดอิบนุตัยมียะฮ เกี่ยวกับตัฟสีรอิชารีย แบบซูฟีย์ ดังนี้
นี่ก็คือหลักการที่ท่านอิบนุตัยมียะฮ์เอง ก็ได้บอกเอาไว้เกี่ยวกับตัฟซีรแบบอิชารีย์ว่า
وَأَمَّا أَرْبَابُ الْإِشَارَاتِ الَّذِينَ يُثْبِتُونَ مَا دَلَّ اللَّفْظُ عَلَيْهِ وَيَجْعَلُونَ الْمَعْنَى الْمُشَارَ إلَيْهِ مَفْهُومًا مِنْ جِهَةِ الْقِيَاسِ وَالِاعْتِبَارِ فَحَالُهُمْ كَحَالِ الْفُقَهَاءِ الْعَالِمِينَ بِالْقِيَاسِ ؛ وَالِاعْتِبَارِ وَهَذَا حَقٌّ إذَا كَانَ قِيَاسًا صَحِيحًا لَا فَاسِدًا وَاعْتِبَارًا مُسْتَقِيمًا لَا مُنْحَرِفًا
“สำ หรับปราชญ์ซูฟีย์ที่ยืนยันข้อบ่งชี้ของถ้อยคำ(อัลกุรอาน)และพวกเขาทำให้ความ หมายที่ถูกบ่งชี้นั้น เข้าใจได้ในด้านของการเทียบเคียงและหลักวิเคราะห์พิจารณา ดังนั้นสภาพของพวกเขาก็คือสภาพของนักปราชญ์ฟิกห์ที่รู้เกี่ยวกับหลักการ เทียบเคียง(กิยาส)และการวิเคราะห์พิจารณา และดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องเมื่อมีการเทียบเคียงที่ถูกต้องโดย ไม่เสื่อมเสียและเป็นการวิเคราะห์พิจารณาที่เที่ยงตรงไม่เบี่ยงเบน” มัจญฺมูอฺ อัลฟะตาวา, เล่ม 2, หน้า 28.
………
ชี้แจง มาดูคำพูดเต็มๆที่ถูกตัดออก อิบนุตัยมียะฮกล่าวก่อนหน้าขอความข้างต้นว่า
ثُمَّ إنْ كَانَ مُخَالِفًا لِمَا عَلِمَ مِنْ الشَّرِيعَةِ فَهُوَ دَأْبُ الْقَرَامِطَةِ وَإِنْ لَمْ يَكُنْ مُخَالِفًا فَهُوَ حَالُ كَثِيرٍ مِنْ جُهَّالِ الْوُعَّاظِ وَالْمُتَصَوِّفَةِ الَّذِينَ يَقُولُونَ بِإِشَارَاتِ لَا يَدُلُّ اللَّفْظُ عَلَيْهَا نَصًّا وَلَا قِيَاسًا
หลัง จากนั้น หากปรากฏว่ามันขัดแย้ง กับสิ่งที่เป็นที่รู้กันจากชะรีอัต มันก็คือ สภาพความเคยชินของพวกลัทธิ กะรอมิเฏาะฮ และหากปรากฏว่ามันไม่ขัดแย้ง มันก็คือสภาพ ของ ส่วนมากจาก ความโง่เขลาของผู้ให้การอบรม และพวกตะเซาวูฟ(พวกที่เป็นซูฟี)ที่พวกเขากล่าว ด้วยการอิชาเราะฮ(ด้วยการยืนยันข้อบ่งชี้) ที่ถ้อยคำไม่ได้แสดงบอกตัวบทและการกิยาสเอาไว้
แล้ว อิบนุตัยมียะฮ กล่าวต่อจากนั้นว่า
وَأَمَّا أَرْبَابُ الْإِشَارَاتِ الَّذِينَ يُثْبِتُونَ مَا دَلَّ اللَّفْظُ عَلَيْهِ وَيَجْعَلُونَ الْمَعْنَى الْمُشَارَ إلَيْهِ مَفْهُومًا مِنْ جِهَةِ الْقِيَاسِ وَالِاعْتِبَارِ فَحَالُهُمْ كَحَالِ الْفُقَهَاءِ الْعَالِمِينَ بِالْقِيَاسِ ؛ وَالِاعْتِبَارِ وَهَذَا حَقٌّ إذَا كَانَ قِيَاسًا صَحِيحًا لَا فَاسِدًا وَاعْتِبَارًا مُسْتَقِيمًا لَا مُنْحَرِفًا
คำแปลดังนี้
สำหรับ นักปราชญ์ ที่อรรถาธิบายอัลกุรอ่านแบบอิชารีย์(แบบแสดงข้อบ่งชี้) ที่พวกเขายืนยัน ถ้อยคำที่แสดงบอกความหมาย ที่ถูกบ่งชี้ไปสู่มัน เข้าใจได้ในด้านของการเทียบเคียงและหลักวิเคราะห์พิจารณา ดังนั้นสภาพของพวกเขาก็คือสภาพของนักปราชญ์ฟิกห์ที่รู้เกี่ยวกับหลักการ เทียบเคียง(กิยาส)และการวิเคราะห์พิจารณา และดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องเมื่อมีการเทียบเคียงที่ถูกต้องโดย ไม่เสื่อมเสียและเป็นการวิเคราะห์พิจารณาที่เที่ยงตรงไม่เบี่ยงเบน” มัจญฺมูอฺ อัลฟะตาวา, เล่ม 2, หน้า 28
..................
ข้าง ต้น สรุปได้ว่า ท่านอิบนุตัยมียะฮ กล่าวถึง ผู้ที่ตัฟสีรแบบอิชารีย์ที่ยืนยันความหมายถ้อยคำเดิม และไม่ขัดแย้งกับ สิ่งที่เป็นที่รู้กันจากชะรีอัต ,มีตัวบทเป็นหลักฐาน หรือกิยาสที่ถูกต้อง
เพราะฉะนั้น การตัฟสีร ซึ่งความหมายเดิมคือ
مَا نَنْسَخْ مِنْ آيَة
สิ่งใดทีเรา ยกเลิกจากอายะฮ์ใด
แล้วมาอรรถาธิบายแบบอิชารีย์ โดยเปลี่ยนเป็น ความหมายว่า
ما نذهب من وليّ لله
สิ่งใดที่เราทำให้จากไป /เอาชีวิตไป จากวะลียุลลอฮ
การ อธิบายแบบนี้ มันมี มีหลักฐานไหม และเป็นการเทียบเคียงที่ถูกต้องไหม ที่เอาอายะฮอัลกุรอ่านมาเทียบกับ วะลียุลลอฮ ซึ่งเป็นวาลียุลตามความเข้าใจของซูฟี ที่มีญานวิเศษที่ได้รับจากอัลลอฮ
#มี พี่น้องได้ก็อปของมูลของผู้เป็นปรปักษ์วะลียุลลอฮ์ อย่างเช่นท่านอะบุลอับบาส อัลมุรซีย์ ซึ่งผู้ปรปักษ์ยังไม่ลดละที่จะยืนยันว่า ท่านวะลียุลลอฮ์ อะบุลอับบาส อัลมุรซีย์นั้น อธิบายอัลกุรอานแบบเพี้ยนๆ ซึ่งคนแบบนี้หัวใจแข็งกระด้าง หัวใจไม่รู้สึกถึงความหวานชื่นในการละหมาดและอิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮฺ เนื่องจากพระองค์กำลังประกาศรบกับเขา พระองค์ทรงตรัสว่า
إِنَّ اللَّهَ قَالَ مَنْ عَادَى لِى وَلِيًّا فَقَدْ آذَنْتُهُ بِالْحَرْبِ
“แท้ จริงอัลลอฮฺทรงตรัสว่า ผู้ใดเป็นปรปักษ์กับวะลีย์ของข้า แน่นอนข้าได้ประกาศรบกับเขาแล้ว” รายงานโดยอัลบุคอรีย์, หะดีษเลขที่ 6137.
คน ที่เป็นปรปักษ์กับวะลียุลลอฮ์นี้ อัลลอฮฺจะประกาสรบกับเขา ส่วนหนึ่งก็คือ ทำให้หัวใจของเขาแข็งกระด้างโดยไม่มีความรู้สึกถึงความเอร็ดอร่อยและความสุข หวานชื่นในการละหมาดและปฏิบัติอิบาดะฮ์ และไม่สามารถรับรู้หะดีษของท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมที่ว่า “ความเย็นตาเย็นใจของฉันถูกทำให้เกิดขึ้นในละหมาด” และเมื่อเขาใกล้จะตาย หัวใจของเขาก็ยังคงแข็งกระด้างเช่นนั้น
“””””””””””””””””””””””””””””””””””””
ชี้แจง
ผม ไม่เขาใจจริง ที่อาจารย์แม่ทัพ อาชาอิเราะอ ซึ่งเรียก ผมว่า ผู้ปรปักษ์กับวาลียุลลอฮ ท่านแม่ทัพครับ ผมหรือเป็นปรปักษ์กับวาลียุลลอฮ ท่านแม่ทัพลองไปอ่านคำว่าวาลียุลลอฮ จากคำอธิบายของ อิบนุตัยมียะฮดู ซึ่ง อิบนุตัยมียะฮนี้แหละที่ท่านแม่ทัพและศานุศิษย์โจมตีอย่างไม่มีเยื่อใย แต่เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาใหลกินน้ำแก่
อิบนุตัยมียะฮกล่าวว่า
و «أولياء الله» هم المؤمنون المتقون، سواء سمي أحدهم فقيراً أو صوفياً أو فقيهاً أو عالماً أو تاجراً أو جندياً أو صانعاً أو أميراً أو حاكماً أو غير ذلك"/." اهـ
และ บรรดาวาลียุลลอฮ พวกเขาคือ บรรดาผู้ศรัทธา ที่มีความยำเกรง ไม่ว่าพวกเขาจะถูกเรียกว่า ฟะกีร (คนจน) ,ซูฟีย์ ,ฟะกีฮ(อุลามาอฺฟิกอฺ) ,ผู้รู้ ,พ่อค้า ,ทหาร ,นักประดิษฐ์ ,ผู้นำ ,ผู้พิพากษา หรืออื่นจากนั้นก็ตาม -ดู
مجموع فتاوي ابن تيمية - كتاب التصوف "ج5 ص3
คำ ว่า “ วะลียุลลอฮ หรือ คนที่อัลลอฮทรงรักนั้น คือ บรรดาผู้ศรัทธาและยำเกรงต่ออัลลอฮ ผมเป็นศัตรูกับพวกเขาหรือ อย่าใส่ร้ายผม เพื่อเอาใจขาเชียซิครับ ส่วนวะลีของท่านอะบุลอับบาสอัลมุรซีย์ คือ ผู้ที่ได้รับญานวิเศษจากอัลลอฮ เป็นคนหนือคน ด้วยไม่ใช่หรือครับ
#ท่านแม่ทัพ อ้างว่า
หลังจากนั้นอิบนุตัยมียะฮ์ได้ยกตัวอย่างของการอธิบายแบบอิชาเราะฮ์ในรูปแบบของปราชญ์ซูฟีย์ว่า
فَمَنْ سَمِعَ قَوْلَ اللَّهِ تَعَالَى : { لَا يَمَسُّهُ إلَّا الْمُطَهَّرُونَ } وَقَالَ : إنَّهُ اللَّوْحُ الْمَحْفُوظُ أَوْ الْمُصْحَفُ فَقَالَ : كَمَا أَنَّ اللَّوْحَ الْمَحْفُوظَ الَّذِي كُتِبَ فِيهِ حُرُوفُ الْقُرْآنِ لَا يَمَسُّهُ إلَّا بَدَنٌ طَاهِرٌ فَمَعَانِي الْقُرْآنِ لَا يَذُوقُهَا إلَّا الْقُلُوبُ الطَّاهِرَةُ وَهِيَ قُلُوبُ الْمُتَّقِينَ كَانَ هَذَا مَعْنًى صَحِيحًا وَاعْتِبَارًا صَحِيحًا
“ผู้ ใดได้ยินคำตรัสของอัลลอฮฺตะอาลาที่ว่า “จะไม่สัมผัสมันนอกจากผู้ที่สะอาดเท่านั้น” และเขาก็กล่าวว่า แท้จริงมันคือเลาหิลมะห์ฟูซหรือเล่มอัลกุรอาน แล้วเขาก็กล่าวว่า เสมือนกับเลาหิลมะห์ฟูซฺที่บันทึกบรรดาอักษรของอัลกุรอานนั้นจะไม่สัมผัสมัน ได้นอกจากร่างกายที่สะอาดเท่านั้น ดังนั้น(เฉกเช่นเดียวกัน)บรรดาความหมายของอัลกุรอานนั้นจะไม่ได้ลิ้มรสได้ นอกจากบรรดาหัวใจที่สะอาดเท่านั้น ก็คือบรรดาหัวใจผู้ที่มีความยำเกรง แน่นอนว่าคำกล่าวนี้เป็นความหมายที่ถูกต้องและข้อคิดคำสอนที่ถูกต้อง” อิบนุตัยมียะฮ์, มัจญฺมูอฺ อัลฟะตาวา, เล่ม 13, หน้า 242.
“””””””””””””””””””””
ท่านแม่ทัพ ครับ การอธิบายข้างต้น มีตัวบทจากสะลัฟ มาดูซิครับครับ
อายะฮที่ว่า
إِنَّهُ لَقُرْآنٌ كَرِيمٌ ( 77 )
นั่นคือ กุรอานอันทรงเกียรติ
แล้ว ต่อจากนั้น
فِي كِتَابٍ مَّكْنُونٍ ( 78 )
ซึ่งอยู่ในบันทึกที่ถูกพิทักษ์รักษาไว้
แล้วต่อจากนั้น
لَّا يَمَسُّهُ إِلَّا الْمُطَهَّرُونَ ( 79 )
ไม่มีผู้ใดจะแตะต้องอัลกุรอาน นอกจากบรรดาผู้บริสุทธิ์เท่านั้น
وَقِيلَ : لَا يَمَسُّ اللَّوْحَ الْمَحْفُوظَ الَّذِي هُوَ الْكِتَابُ الْمَكْنُونُ إِلَّا الْمَلَائِكَةُ الْمُطَهَّرُونَ
มีผู้กล่าวว่า จะ ไม่สัมผัส เลาหุลมะหฟูซ ซึ่งมันคือ คัมภีร์ที่ถูกพิทักษ์ไว้ นอกจาก บรรดามลาอิกะฮที่บริสุทธิ์
– ดูตัฟสีรอัลญาเมียะ ลิอะหกามกุรอ่าน ของอิหม่ามอัลกุรฏุบีย์ เล่ม ๘ หน้า ๒๓
قَالَ ابْنُ جَرِيرٍ : حَدَّثَنِي إِسْمَاعِيلُ بْنُ مُوسَى ، أَخْبَرَنَا شَرِيكٌ ، عَنْ حَكِيمٍ - هُوَ ابْنُ جُبَيْرٍ - عَنْ سَعِيدِ بْنِ جُبَيْرٍ ، عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ : ( لَا يَمَسُّهُ إِلَّا الْمُطَهَّرُونَ ) قَالَ : الْكِتَابُ الَّذِي فِي السَّمَاءِ
อิบนุ ญะรีร กล่าวว่า อิสมาอีล บิน มูซา ได้เล่าเรา ว่า ชะรีกได้บอกเรา ว่ารายงานจากหะกีม เขาคือ อิบนุญุบัยร จาก สะอีด บิน ญุบัยร จากอิบนุอับบาส ว่า (ไม่มีผู้ใดจะแตะต้องอัลกุรอาน นอกจากบรรดาผู้บริสุทธิ์เท่านั้น) เขากล่าวว่า คือ คัมภีร์ ที่อยู่บนฟากฟ้า - ดู ตัฟสีรอิบนุกะษศีร เล่ม ๗ หน้า ๕๔๔
...............
ท่าน ครับ....แล้ว ตัฟสีร คำว่า อายะฮ คือ วาลียุลลอฮ มีตัวบทจากสะลัฟหลักฐาน พอที่จะเอามาอ้าง หรือ เทียบเคียง (กิยาส)ไหม และท่านลองไปทบทวนคำพูดอิบนุตัยมียะฮที่ท่านกล่าวถึง การตัฟสีรอิชารีย์ ที่ ท่านตัดออกไปและผมนำมาเสนอแล้วดู การกล่าวหาว่าผมเป็นปฏิปักษ์กับวาลียุลลอฮนั้น เอาอะไรมาพูด
#ท่านแม่ทัพ อ้างว่า
หลังจากนั้นอิบนุตัยมียะฮ์ได้ยกตัวอย่างของการอธิบายแบบอิชาเราะฮ์ในรูปแบบของปราชญ์ซูฟีย์ว่า
فَمَنْ سَمِعَ قَوْلَ اللَّهِ تَعَالَى : { لَا يَمَسُّهُ إلَّا الْمُطَهَّرُونَ } وَقَالَ : إنَّهُ اللَّوْحُ الْمَحْفُوظُ أَوْ الْمُصْحَفُ فَقَالَ : كَمَا أَنَّ اللَّوْحَ الْمَحْفُوظَ الَّذِي كُتِبَ فِيهِ حُرُوفُ الْقُرْآنِ لَا يَمَسُّهُ إلَّا بَدَنٌ طَاهِرٌ فَمَعَانِي الْقُرْآنِ لَا يَذُوقُهَا إلَّا الْقُلُوبُ الطَّاهِرَةُ وَهِيَ قُلُوبُ الْمُتَّقِينَ كَانَ هَذَا مَعْنًى صَحِيحًا وَاعْتِبَارًا صَحِيحًا
“ผู้ ใดได้ยินคำตรัสของอัลลอฮฺตะอาลาที่ว่า “จะไม่สัมผัสมันนอกจากผู้ที่สะอาดเท่านั้น” และเขาก็กล่าวว่า แท้จริงมันคือเลาหิลมะห์ฟูซหรือเล่มอัลกุรอาน แล้วเขาก็กล่าวว่า เสมือนกับเลาหิลมะห์ฟูซฺที่บันทึกบรรดาอักษรของอัลกุรอานนั้นจะไม่สัมผัสมัน ได้นอกจากร่างกายที่สะอาดเท่านั้น ดังนั้น(เฉกเช่นเดียวกัน)บรรดาความหมายของอัลกุรอานนั้นจะไม่ได้ลิ้มรสได้ นอกจากบรรดาหัวใจที่สะอาดเท่านั้น ก็คือบรรดาหัวใจผู้ที่มีความยำเกรง แน่นอนว่าคำกล่าวนี้เป็นความหมายที่ถูกต้องและข้อคิดคำสอนที่ถูกต้อง” อิบนุตัยมียะฮ์, มัจญฺมูอฺ อัลฟะตาวา, เล่ม 13, หน้า 242.
“””””””””””””””””””””
ท่านแม่ทัพ ครับ การอธิบายข้างต้น มีตัวบทจากสะลัฟ มาดูซิครับครับ
อายะฮที่ว่า
إِنَّهُ لَقُرْآنٌ كَرِيمٌ ( 77 )
นั่นคือ กุรอานอันทรงเกียรติ
แล้ว ต่อจากนั้น
فِي كِتَابٍ مَّكْنُونٍ ( 78 )
ซึ่งอยู่ในบันทึกที่ถูกพิทักษ์รักษาไว้
แล้วต่อจากนั้น
لَّا يَمَسُّهُ إِلَّا الْمُطَهَّرُونَ ( 79 )
ไม่มีผู้ใดจะแตะต้องอัลกุรอาน นอกจากบรรดาผู้บริสุทธิ์เท่านั้น
وَقِيلَ : لَا يَمَسُّ اللَّوْحَ الْمَحْفُوظَ الَّذِي هُوَ الْكِتَابُ الْمَكْنُونُ إِلَّا الْمَلَائِكَةُ الْمُطَهَّرُونَ
มีผู้กล่าวว่า จะ ไม่สัมผัส เลาหุลมะหฟูซ ซึ่งมันคือ คัมภีร์ที่ถูกพิทักษ์ไว้ นอกจาก บรรดามลาอิกะฮที่บริสุทธิ์
– ดูตัฟสีรอัลญาเมียะ ลิอะหกามกุรอ่าน ของอิหม่ามอัลกุรฏุบีย์ เล่ม ๘ หน้า ๒๓
قَالَ ابْنُ جَرِيرٍ : حَدَّثَنِي إِسْمَاعِيلُ بْنُ مُوسَى ، أَخْبَرَنَا شَرِيكٌ ، عَنْ حَكِيمٍ - هُوَ ابْنُ جُبَيْرٍ - عَنْ سَعِيدِ بْنِ جُبَيْرٍ ، عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ : ( لَا يَمَسُّهُ إِلَّا الْمُطَهَّرُونَ ) قَالَ : الْكِتَابُ الَّذِي فِي السَّمَاءِ
อิบนุ ญะรีร กล่าวว่า อิสมาอีล บิน มูซา ได้เล่าเรา ว่า ชะรีกได้บอกเรา ว่ารายงานจากหะกีม เขาคือ อิบนุญุบัยร จาก สะอีด บิน ญุบัยร จากอิบนุอับบาส ว่า (ไม่มีผู้ใดจะแตะต้องอัลกุรอาน นอกจากบรรดาผู้บริสุทธิ์เท่านั้น) เขากล่าวว่า คือ คัมภีร์ ที่อยู่บนฟากฟ้า - ดู ตัฟสีรอิบนุกะษศีร เล่ม ๗ หน้า ๕๔๔
...............
ท่าน ครับ....แล้ว ตัฟสีร คำว่า อายะฮ คือ วาลียุลลอฮ มีตัวบทจากสะลัฟหลักฐาน พอที่จะเอามาอ้าง หรือ เทียบเคียง (กิยาส)ไหม และท่านลองไปทบทวนคำพูดอิบนุตัยมียะฮที่ท่านกล่าวถึง การตัฟสีรอิชารีย์ ที่ ท่านตัดออกไปและผมนำมาเสนอแล้วดู การกล่าวหาว่าผมเป็นปฏิปักษ์กับวาลียุลลอฮนั้น เอาอะไรมาพูด
#ท่าน แม่ทัพ ครับ
มาดูเพิ่มเติม
อัรรอซีย์กล่าวว่า
الْأَوَّلُ : وَهُوَ الْأَصَحُّ أَنَّهُ اللَّوْحُ الْمَحْفُوظُ وَيَدُلُّ عَلَيْهِ قَوْلُهُ تَعَالَى : ( بَلْ هُوَ قُرْآنٌ مَجِيدٌ فِي لَوْحٍ مَحْفُوظٍ ) الْبُرُوجِ : 22 ] .
ทัศนะแรก และมันคือ ทัศนะที่ถูกต้องที่สุด แท้จริงมันคือ เลาหุลมะหฟูซ และ ได้แสดงบอกบนมันคือ คำตรัสของอัลลอฮตะอาลาที่ว่า
21. มิใช่เช่นนั้นดอก ที่พวกเขาไม่ยอมเชื่อถือคือกุรอานอันรุ่งโรจน์
22. อยู่ในแผ่นจารึกที่ถูกเก็บรักษาไว้ – อัลบุรูจญ/๒๑-๒๒ – ดูตัฟสีร อัลกะบีร ของอิหม่ามฟัครุดดีน อัรรอซีย์
...............
ท่าน แม่ทัพ ลองไปศึกษาประเด็นเรื่อง การสัมผัสอัลกุรอ่าน ว่ามีนักวิชาการใดบ้างอ้างหลักฐาน และ การตัฟสีร คำว่า “อายะฮ เป็นวาลียุลลอฮ เพื่อสนับสนุนแนวทางซูฟีย์ นั้น ได้อ้างจากตัวบทจากใหนครับท่าน
#ยกตัวอย่าง ที่แม่ทัพอ้างว่า
ข้อชี้แจง
คำ ว่า (الْمُتَصَوِّفَةِ) ผู้เป็นปรปักษ์กับวะลียุลลอฮ์ ได้แปลว่า “พวกตะเซาวุฟ(พวกที่เป็นซูฟีย์)” นั้นถือว่าแปลผิดและละหลวมมาก เพราะถ้อยคำดังกล่าว แปลว่า “ผู้อ้างมีตะเซาวุฟหรืออ้างเป็นซูฟีย์”
..........................
ชี้แจง
คำว่า
المتصوفة
มาจากคำว่า
تصوف
แปลว่า เป็นซูฟี - ปทานุกรม อาหรับ – ไทย ของสำหนักพิมพ์ ส.วงศ์เสงี่ยม หน้า ๒๖๙
1.مُتصوِّف: ( اسم )
مُتصوِّف : فاعل من تصوَّفَ
2.تصوَّفَ: ( فعل )
تصوَّفَ يتصوَّف ، تصوُّفًا ، فهو مُتصوِّف
تصوَّف الشَّخصُ : صار صُوفيًّا واتبَّع سُلوكَ الصُّوفيّة وحالاتهم
تَصَوَّفَ الرَّجُلُ : لَبِسَ الصُّوفَ
ความหมายคือ ผูเป็นซูฟีย์ และตามแนวทางซูฟีย์
ลงไปค้นดูใน
معجم المعاني الجامع
เพราะฉะนั้น วิธีการดิสเครดิตแบบนี้มาใช้กับผมไม่ได้ครับ เพราะ การแปลว่า “อ้างว่าเป็นซูฟีย์ เป็นการชงเอาเอง
#ท่านแม่ทัพ อ้างหะดิษข้างล่าง ว่า “กลุ่มชนที่ยืนหยัดบนศาสนาอัลลอฮ คือ วะลียุลลอฮ
ท่านอะบูฮุร็อยเราะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้รายงานว่า
أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : لاَ تَزَالُ طَائِفَةٌ مِنْ أُمَّتِى قَوَّامَةً عَلَى أَمْرِ اللَّهِ لاَ يَضُرُّهَا مَنْ خَالَفَهَا
“แท้ จริงท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า กลุ่มชนหนึ่งจากประชาชาติของฉันยังคงยืนหยัดต่อศาสนาของอัลลอฮฺ ซึ่งผู้ที่ขัดแย้งกับพวกเขานั้นไม่สามารถทำให้เกิดโทษกับพวกเขาได้หรอก” รายงานโดยอิบนุมาญะฮ์, หะดีษเลขที่ 7.
หะ ดีษนี้บ่งชี้ว่า ประชาชาตินี้จะมีชนกลุ่มหนึ่งที่อัลลอฮฺจะให้พวกเขาทำหน้าที่ยืนยัดเกี่ยว กับศาสนาของอัลลอฮฺ ถึงแม้ชนกลุ่มดังกล่าวจะต้องจากไปในแต่ละยุคสมัย พระองค์ก็จะยังคงให้มีกลุ่มชนที่คอยยืนหยัดศาสนามาทำหน้าที่แทนและสืบต่อจาก พวกเขาในแต่ละยุคสมัยจนถึงวันกิยามะฮ์ ซึ่งกลุ่มชนเหล่านี้ คือวะลียุลลอฮ์ ไม่ใช่วะลีชัยฏอน
…………………
ชี้แจง
หะดิษที่คล้ายคลึงกับตัวบทข้างต้น มีหลายบทครับท่าน
لا تزال طائفة من امتي ظاهرين على الحق لا يضرهم من خذلهم حتى ياتي امر الله وهم كذلك (رواه مسلم /١٩٢٠)
ความ ว่า “จะมีกลุ่มหนึ่งจากประชาชาติของฉันที่ยืนหยัดอยู่บนความจริง ไม่มีใครสามารถทำอันตรายกับพวกเขาจนกระทั่ง (ความตาย) ได้มาหาพวกเขาในขณะที่พวกเขายืนหยัดอยู่ (ในแนวทางดังกล่าว)” (บันทึกโดย Muslim, หมายเลขหะดีษ 1920)
تزال طائفة من أمتي منصورين لا يضرّهم من خذلهم حتىّ تقوم السّاعة )) ( رواه أحمد، رقم الحديث : 15044)
ความ ว่า “และจะมีกลุ่มหนึ่งจากประชาชาติของฉัน ผู้ซึ่งได้รับชัยชนะ ไม่มีใครสามารถทำให้พวกเขาเป็นอันตรายได้ จนถึงวันกิยามะฮฺ” (บันทึกโดย Ahmad หมายเลขหะดีษ 15044)
มีปราชญ์คนใหนหรือครับ ว่า หมายถึงกล่มซูฟีย์ มาดูข้อเท็จจริง ข้างล่างครับท่าน
อิหม่ามนะวาวีย์กล่าวว่า
وَأَمَّا هَذِهِ الطَّائِفَةُ فَقَالَ الْبُخَارِيُّ : هُمْ أَهْلُ الْعِلْمِ ، وَقَالَ أَحْمَدُ بْنُ حَنْبَلٍ : إِنْ لَمْ يَكُونُوا أَهْلَ الْحَدِيثِ فَلَا أَدْرِي مَنْ هُمْ ؟ قَالَ الْقَاضِي عِيَاضٌ : إِنَّمَا أَرَادَ أَحْمَدُ أَهْلَ السُّنَّةِ وَالْجَمَاعَةِ ، وَمَنْ يَعْتَقِدُ مَذْهَبَ أَهْلِ الْحَدِيثِ
สำหรับ คนกลุ่มนี้ อิหม่ามบุคอรี กล่าวว่า พวกเขาคือ นักวิชาการ และอะหมัด บิน หัมบัล กล่าวว่า หากพวกเขาไม่ใช่เป็นนักหะดิษ แล้ว ข้าพเจ้าก็ไม่รู้ว่าพวกเขาคือใครอีก? อัลกอฏีย์ อิยาฏ กล่าวว่า “ อะหมัด หมายถึง อะฮลุสสุนนะฮวัลญะมาอะฮ และผู้ที่มีอะกีดะฮ ตามแนวทางของอะฮลุลหะดิษ - ดู ชัรหุมุสลิม 2/68
........
สรุปคนกลุ่มนี้คือ อะฮลุสสุนนะฮวัลญะมาอะฮ และผู้มีอะกีดะฮตามแนวทางของพวกเขา
#เพิ่มเติม และไม่ใช่แนวทางอะกีดะฮตามอะฮลุลกะลามแน่นอน ดังที่ฟัครุซรอซีย์กล่าวว่า
لَقَدْ تَأَمَّلْتُ الطُّرُقَ الْكَلَامِيَّةَ وَالْمَنَاهِجَ الْفَلْسَفِيَّةَ فَمَا رَأَيْتُهَا تَشْفِي عَلِيلًا وَلَا تَرْوِي غَلِيلًا ، وَرَأَيْتُ أَقْرَبَ الطُّرُقِ طَرِيقَةَ الْقُرْآنِ ، أَقْرَأُ فِي الْإِثْبَاتِ : الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى إِلَيْهِ يَصْعَدُ الْكَلِمُ ، وَأَقْرَأُ فِي النَّفْيِ : لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ
ความ ว่า“แท้จริงข้าพเจ้าได้สังเกตุแนวทางของกลุ่มอะฮฺลุลกะลาม และแนวทางของกลุ่มฟัลสะฟิยะฮฺ (นักปรัชญา) ข้าพเจ้าไม่เห็นเลยว่ามันสามารถรักษาผู้ป่วย(โรคเขลาได้) และไม่สามารถแก้กระหายความยากของผู้กระหายได้ และข้าพเจ้าเห็นว่าแนวทางที่ใกล้เคียง(กับความถูกต้องมากที่สุด) คือแนวทางของอัลกุรอาน จงอ่านในการยืนยัน (อิษบาต)
الرَّحْمَنُ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى
พระเจ้าผู้ทรงเมตตาทรงสถิตเหนืออะรัช
إِلَيْهِ يَصْعَدُ الْكَلِمُ
บรรดาถ้อยคำ(ทีดี) ขึ้นไปยังพระองค์
และจงอ่าน ในการปฏิเสธ (อัลนัฟยุ)
لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ
ไม่มีสิ่งใด เสมอเหมือนพระองค์
ดู สิยารุเอียะลามอัลนุบะลาอฺ เล่ม 21 หน้า 501 เกี่ยวกับ ฟัครุดดีน
เพราะฉะนั้น ไม่มีใครเขา อ้างว่าหะดิษข้างต้น หมายถึงกลุ่มซูฟีย์ที่ท่านหมายถึงวะลียุลลอฮ หรอกครับ
#
حنفي بانم
การ รวมกลุ่มซิกรุ้ลลอฮ มีในหะดีษซอเหี้ยะห์หลายบทครับ ผมเคยฟังครูเล่าให้ฟัง และ เคยอ่านเจอด้วย จะบอกเป็นข้อๆและกัน ใจความโดยรวมของหะดีษมีอยู่ว่า บรรดามาลาอีกะฮจะมาห้อมล้อมกลุ่มที่ร่วมกันซิกรุ้ลลอฮฺและขออภัยโทษให้
2 อัลลอฮตะอาลาทรงนำเอาบ่าวของพระองคที่ร่วมวงซิกรุ้ลลอฮไปอวดกับบรรดามลาอีกะฮ
3 อัลลอฮจะทรงประทาน อัสสกีนะฮ ความสงบร่มเย็น ให้กับวงซิกรุ้ลลอฮ
4 ที่ไหนก็แล้วแต่ที่มีการร่วมกันอ่านอัลลกุรอ่าน ซิกรุ้ลลอฮ เราะหมะฮความเมตตาะลงที่นั่น
#ผมหวังว่าไม่ใช่เรื่องยากที่คุณ ahlusunnah จะไปเซิทหาในเวปนะครับ หลักฐานมีมากมายครับ
“”””””””””””””””””””””””””
หะดิษนั้นมี แต่ เข้าใจความหมายคำว่าหะดิษหรือเปล่า และหะดิษนั้นหมายถึงอะไร
คำว่า ซิกริลละฮ คือ
كل ما تكلم به اللسان وتصوره القلب مما يقرِّب إلى الله من تعلّم علم وتعليمه وأمر بمعروف ونهي عن منكر فهو من ذكر الله
ทุก สิ่งที่วาจาได้พูดด้วยมัน และหัวใจได้จินตนาการถึงมัน(หมายถึงเข้าใจ) จากสิ่งที่ทำให้ใกล้ชิดอัลลอฮ เช่น การศึกษาหาความรู้, การสอน ,การใช้ให้ทำความดี และห้ามจากการชั่ว มันก็คือส่วนหนึ่งจากการซิกริละฮ
مجموع الفتاوى (10/661)
ส่วน หะดิษที่เอามาอ้างว่าเป็นหลักฐานร่วมกันซิกริลละฮ เป็นหมู่คณะตามที่คุณหะนะฟีย์อ้างว่าครูถ่ายทอดนั้น ครูของท่านได้ทำความเข้าใจดีหรือยัง มาดูข้อเท็จจริงครับ
مَا مِنْ قَوْمٍ يَذْكُرُونَ اللَّهَ إِلَّا حَفَّتْ بِهِمْ الْمَلَائِكَةُ وَغَشِيَتْهُمْ الرَّحْمَةُ وَنَزَلَتْ عَلَيْهِمْ السَّكِينَةُ وَذَكَرَهُمْ اللَّهُ فِيمَنْ عِنْدَهُ
ไม่ มีกลุ่มชนใดที่พวกเขาซิกริลละฮ นอกจาก มลาอิกะฮจะห้อมล้อมพวกเขา ,ความเมตตาแห่งอัลลอฮจะครอบคลุมพวกเขา และความสงบร่มเย็นถูกประทานลงมาบนพวกเขาและอัลลอฮ ทรงกล่าวถึงพวกเขา ใน(หมู่มลาอิกะฮ)ผู้ที่อยู่ ณ พระองค์ – หะดิษรายงานโดยอัตติรมิซีย
หะดิษนี้เป็นหะดิษที่กล่าวถึ่ง การซิกริลละฮ อย่างกว้างๆคำว่าซิกริลละฮในที่นี้เป็นการกล่าวโดยรวม ซึ่ง มีความหมายหลายความหมาย
ท่านอับดุรเราะหมาน อัสสะอฺดีย์กล่าวว่า
وإذا أطلق ذكر الله شمل كل ما يقرِّب العبدَ إلى الله من عقيدة أو فكر أو عمل قلبي أو عمل بدني أو ثناء على الله أو تعلم علم نافع وتعليمه ونحو ذلك، فكله ذكر لله تعالى.
เมื่อ ซิกริลละฮถูกกล่าวเอาไว้กว้างๆ ก็จะถูกให้ครอบคลุมถึงทุกสิ่งที่ทำให้บ่าวใกล้ชิดอัลลอฮ เช่น อะกีดะฮ ,หรือการใครครวญ ,หรือการปฏิบัติทางใจ,หรือ การปฏิบัติทางกาย ,หรือ การสรรเสริญอัลลอฮ ,หรือการเรียนวิชาความรู้ที่มีประโยชน์ ,การสอนวิชาความรู้ เป็นต้น ทั้งหมดนั้น คือ ซิกริลละฮ –อัรริยาฎุลนัฎเราะฮ หน้า 245
การละหมาดตะรอเวียะ การอ่านอัลกุรอ่าน ก็อยู่ในความหมายนี้
อิหม่ามนะวาวีย์เองได้กล่าวว่า
وَفِي هَذَا دَلِيلٌ لِفَضْلِ الِاجْتِمَاعِ عَلَى تِلَاوَةِ الْقُرْآنِ فِي الْمَسْجِدِ وَهُوَ مَذْهَبُنَا وَمَذْهَبُ الْجُمْهُورِ
ใน หะดิษนี้ เป็นหลักฐานแสดงบอกถึงคุณค่าของการรวมตัวกัน อ่านอัลกุรอ่านในมัสญิด และมันคือ มัซฮับ(ทัศนะ/แนวทาง)ของเราและแนวทางของนักปราชญ์ส่วนใหญุ – ดูตุหฟะตุลอะวะซีย์ ชัรหุสุนันอัตติรมิซีย์ อธิบายหะดิษหมาย 3378 กิตาบุดดะอวาต
“”””””””””””””””””
หะดิษข้างต้น ไม่ใช่หลักฐานสนับสนุนการซิกริลละฮ ไป เต้นไป อย่างที่ซูฟีย์ปฏิบัติหรอกครับคุณฮานาฟีย
#
حنفي بانم
อัลกุรอ่านได้บอก อิริยาบทของการซิกรุ้ลลอฮ ไม่ว่าจะเป็นท่ายืน ท่านั่ง ท่านอนตะแคงสีข้าง
“””””””””””””””””””””’
ชี้แจง
ข้างต้น ก็เป็นการเข้าใจอายะฮอัลกุรอ่านเอาเอง โดยไม่ยอมศึกษาว่า อายะฮนั้นหมายถึงอะไร แบบใหน
มาดูอัลกุรอ่านที่คุณอ้าง
الَّذِينَ يَذْكُرُونَ اللّهَ قِيَاماً وَقُعُوداً وَعَلَىَ جُنُوبِهِمْ وَيَتَفَكَّرُونَ فِي خَلْقِ السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضِ رَبَّنَا مَا خَلَقْتَ هَذا بَاطِلاً سُبْحَانَكَ فَقِنَا عَذَابَ النَّارِ )) ال عمران {191
คือ บรรดาผู้ที่รำลึกถึงอัลลอฮ์ ทั้งในสภาพยืน และนั่ง และในสภาพที่นอนตะแคง และพวกเขาพินิจพิจารณากันในการสร้างบรรดาชั้นฟ้า และแผ่นดิน (โดยกล่าวว่า) โอ้พระเจ้าของพวกเข้าพระองค์ พระองค์มิได้ทรงสร้างสิ่งนี้มาโดยไร้สาระ มหาบริสุทธิ์พระองค์ท่าน โปรดทรงคุ้มครองพวกข้าพระองค์ให้พ้นจากการลงโทษแห่งไฟนรกด้วยเถิด
มาดูคำอธิบายของ อิบนุญะรีร
ومعنى الآية: إنّ في خلق السموات والأرض واختلاف الليل والنهار لآيات لأولي الألباب، الذاكرين الله قيامًا وقعودًا وعلى جنوبهم= يعني بذلك: قيامًا في صلاتهم، وقعودًا في تشهدهم وفي غير صلاتهم، وعلى جنوبهم نيامًا. كما:-
8354 - حدثنا القاسم قال، حدثنا الحسين قال، حدثني حجاج، عن ابن جريج، قوله: " الذين يذكرون الله قيامًا وقعودًا " الآية، قال: هو ذكر الله في الصلاة وفي غير الصلاة، وقراءة القرآن.
และความหมายอายะฮนี้ คือ 190 )
แท้ จริงในการสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน และการที่กลางวันและกลางคืนตามหลังกันนั้น แน่นอนมีหลายสัญญาณสำหรับผู้มีปัญญา ที่เป็นผู้ระลึกถึงอัลลอฮ ทั้งในสภาพยืน และนั่ง และในสภาพที่นอนตะแคง “ ความหมายดังกล่าวคือ สภาพการยืนในละหมาดของพวกเขา ,การนั่งในการอ่านตะชะฮุดของพวกเขา และในอื่นจากละหมาดของพวกเขา และบนสภาพนอนตะแคง ดังที่ อัลกอซิม ได้เล่าเราว่า อัลหุสัยนฺ ได้เล่าเรา โดยเขากล่าวว่า “หัจญาจญฺ ได้เล่าข้าพเจ้า ว่ารายงานจาก อิบนุญุรัยจญฺ เกี่ยวกับคำตรัสของอัลลอฮที่ว่า “(คือบรรดาผู้ที่รำลึกถึงอัลลอฮ์ ทั้งในสภาพยืน และนั่ง)..จนจบอายะฮ เขา(อิบนุญุรัยญฺ กล่าวว่า คือ การซิกริลละฮในละหมาด และในอื่นจากละหมาด และการอ่านอัลกุรอ่าน
- ดูตัฟสีรอัฏฏอบรีย์ อรรถาธิบาย อายะฮ ที่ ๑๙๑ ซูเราะฮอาลิอิมรอน
- จากรายละเอียดข้างต้น เขาพูดถึง การซิกริลละฮในละหมาด ,นอกละหมาด และการอ่านอัลกุรอ่านด้วย
- การซิกริลละฮเวลานอน ก็นบีสอนดุอาไว้แล้ว ไม่ใช่ให้นอนกล่าว ตะฮลีล” ขณะนอน
- มีโต๊ะครูบางประเภท ต้องขอมาอัฟ ที่น่าตำหนิ คือ ชอบทำตัวเป็นคนขายน้ำชา เอาศาสนามาชงตามใจชอบชาวบ้าน เพื่อ เรียกคะแนนนิยม จนศาสนาเพี้ยนไปหมด
.....................................................
ชี้แจงโดย Ah-lulquran Was-sunnah
รวบรวมโดยทหารของอัลลอฮ์ แบบฉบับนบี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น