ตอบโดย อ.อาลี เสือสมิง
🌀🌀🌀
คำถาม
อัสสาลามูอาลัยกุม
ครับ อาจารย์
ถ้าหาก ก้างปลาเกิดติดคอ หลังจากที่เรารับประทานข้าวซาโฮร์ เสร็จแล้วเกิดก้างปลาติดคอพยายามยังไงก็ไม่ออก
จนเข้าเวลาที่จะต้องถือศีลอดครับแล้วครับ
แล้วการถือศีลอดของเราเสียไหมครับ
วัสสลาม
...
🐓🐓🐓
คำตอบ
وعليكم السلام ورحمة الله و بركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛
กรณีที่ถามมาถือเป็นอุปสรรค (อุซรฺ) เมื่อพยายามเอาก้างปลาออกจากลำคอแล้ว แต่ก้างปลาน้นยังคงติดอยู่ก็ให้ละหมาดในสภาพเช่นนั้นและกลืนน้ำลายลงคอได้ โดยไม่เสียการละหมาด ในกรณีการถือศีลอดก็เช่นกัน ถือว่าไม่เสียศีลอด ต่อเมื่อว่าก้างปลาหลุดออกมาในขณะละหมาดอยู่ ก็ต้องบ้วนก้างปลานั้นออกไป หากก้างปลาเล็กมากและบ้วนไม่ออกและกลืนลงคอไปโดยที่เราไม่ตั้งใจและไม่ได้กระทำบกพร่องก็ถือว่าไม่เสียการละหมาดและการถือศีลอดแต่อย่างใด ส่วนถ้าเจตนากลืนลงไปทั้ง ๆ ที่สามารถหยิบมันออกจากปากหรือบ้วนทิ้งได้แต่ไม่ทำก็ถือว่าบกพร่องและทำให้เสียารละหมาดและการถือศีลอด (ดูรายละเอียดในกิตาบอัล-มัจญมูอฺ ชัรหุลมุฮัซซับ เล่มที่ 4 หน้า 22-23)
والله أعلم بالصواب
🌀🌀🌀
คำถาม
อัสสาลามูอาลัยกุม
ครับ อาจารย์
ถ้าหาก ก้างปลาเกิดติดคอ หลังจากที่เรารับประทานข้าวซาโฮร์ เสร็จแล้วเกิดก้างปลาติดคอพยายามยังไงก็ไม่ออก
จนเข้าเวลาที่จะต้องถือศีลอดครับแล้วครับ
แล้วการถือศีลอดของเราเสียไหมครับ
วัสสลาม
...
🐓🐓🐓
คำตอบ
وعليكم السلام ورحمة الله و بركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛
กรณีที่ถามมาถือเป็นอุปสรรค (อุซรฺ) เมื่อพยายามเอาก้างปลาออกจากลำคอแล้ว แต่ก้างปลาน้นยังคงติดอยู่ก็ให้ละหมาดในสภาพเช่นนั้นและกลืนน้ำลายลงคอได้ โดยไม่เสียการละหมาด ในกรณีการถือศีลอดก็เช่นกัน ถือว่าไม่เสียศีลอด ต่อเมื่อว่าก้างปลาหลุดออกมาในขณะละหมาดอยู่ ก็ต้องบ้วนก้างปลานั้นออกไป หากก้างปลาเล็กมากและบ้วนไม่ออกและกลืนลงคอไปโดยที่เราไม่ตั้งใจและไม่ได้กระทำบกพร่องก็ถือว่าไม่เสียการละหมาดและการถือศีลอดแต่อย่างใด ส่วนถ้าเจตนากลืนลงไปทั้ง ๆ ที่สามารถหยิบมันออกจากปากหรือบ้วนทิ้งได้แต่ไม่ทำก็ถือว่าบกพร่องและทำให้เสียารละหมาดและการถือศีลอด (ดูรายละเอียดในกิตาบอัล-มัจญมูอฺ ชัรหุลมุฮัซซับ เล่มที่ 4 หน้า 22-23)
والله أعلم بالصواب
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น