อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การอ่านศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์เป็นบทบัญญัติเฉพาะตะชะฮ์ฮุดครั้งหลังหรือทั้งสองตะชะฮ์ฮุด ?



โดย อ. ปราโมทย์ ศรีอุทัย


มีนักวิชาการทั้งอดีตและปัจจุบันหลายท่านถือว่า การอ่านศ่อละวาตใน “ตะชะฮ์ฮุดครั้งแรก” เป็นบทบัญญัติด้วย .. ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ...
1. ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ .. ได้กล่าวในหนังสือ “อัล-อุมม์” เล่มที่ 1 หน้า 102 ว่า ...
وَالتَّشَهُّدُ فِى اْلاُوْلَى وَالثَّانِيَةُ لَفْظٌ وَاحِدٌ لاَ يَخْتَلِفُ، ... وَمَعْنَى قَوْلِىْ : "اَلتَّشَهُّدُ" اَلتَّشَهُّدُ وَالصَّلاَةُ عَلَى النَّبِىِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لاَ يَجْزِيْهِ أَحَدُهُمَا عَنِ اْلآخَرِ ...
การอ่านตะชะฮ์ฮุด “ครั้งแรกและครั้งที่สอง” มีข้อความอย่างเดียวกัน ไม่มีอะไรแตกต่างกัน! .. และความหมายคำพูดของฉันที่ว่า “ตะชะฮ์ฮุด” หมายถึงการ(อ่าน)ตะชะฮ์ฮุดและการศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม .. จะมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งโดยปราศจากอีกอย่างหนึ่งไม่ได้ ...
และท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ก็ได้กล่าวข้อความที่คล้ายคลึงกันนี้อีกครั้งหนึ่งในหนังสือเล่มเดียวกัน หน้า 105 ...
2. ท่านอัช-เชากานีย์ .. ได้กล่าวในหนังสือ “นัยลุ้ลเอาฏอรฺ” ว่า ...
وَلَكِنْ تَخْصِيْصُ التَّشَهُّدِ اْلأَخِيْرِ بِهَا مِمَّالَمْ يَدُلَّ عَلَيْهِ دَلِيْلٌ صَحِيْحٌ وَلاَ ضَعِيْفٌ، وَجَمِيْعُ هَذِهِ اْلأَدِلَّةِ الَّتِىْ اسْتَدَّلَ بِهَا الْقَائِلُوْنَ بِالْوُجُوْبِ لاَ تَخْتَصُّ بِاْلأَخِيْرِ، وَغَايَةُ مَا اسْتَدَّلُوْا بِهِ عَلَى تَخْصِيْصِ اْلأَخِيْرِ بِهَا حَدِيْثُ "أَنَّ النَّبِىَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كَانَ يَجْلِسُ فِى التَّشَهُّدِ اْلأَوْسَطِ كَمَا يَجْلِسُ عَلَى الرَّضْفِ" أَخْرَجَهُ أَبُوْدَاوُدَ وَالتِّرْمِذِىُّ وَالنَّسَائِىُّ وَلَيْسَ فِيْهِ إِلاَّ مَشْرُوْعِيَّةُ التَّخْفِيْفِ، وَهُوَ يَحْصُلُ بِجَعْلِهِ أَخَفَّ مِنْ مُقَابِلِهِ أَعْنِىْ التَّشَهُّدَ اْلأَخِيْرَ، وَأَمَّا أَنَّهُ يَسْتَلْزِمُ تَرْكَ مَا دَلَّ عَلَيْهِ الدَّلِيْلُ عَلَى مَشْرُوْعِيَّتِهِ فَلاَ، وَلاَ شَكَّ أَنَّ الْمُصَلِّىَ إِذَا اقْتَصَرَ عَلَى أَحَدِ التَّشَهُّدَاتِ وَعَلَى أَخْصَرِ أَلْفَاظِ الصَّلاَةِ عَلَيْهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كَانَ مُسَارِعًا غَايَةَ الْمُسَارَعَةِ بِاعْتِبَارِمَا يَقَعُ مِنْ تَطْوِيْلِ اْلأَخِيْرِ بِالتَّعَوُّذِ مِنَ اْلأَرْبَعِ وَاْلأَدْعِيَةِ الْمَأْمُوْرِ بِمُطْلَقِهَا وَمُقَيَّدِهَا فِيْهِ ...
“แต่การกำหนดว่า ให้อ่านศ่อละวาตเฉพาะตะชะฮ์ฮุดครั้งสุดท้ายเท่านั้น เป็นสิ่งที่ไม่มีหลักฐานใดๆ ไม่ว่าหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์หรือหะดีษเฎาะอีฟ มายืนยันไว้ และหลักฐานทั้งหมดที่ผู้กล่าวอ้างเป็นหลักฐานว่าวาญิบให้อ่านศ่อละวาต ก็ไม่มีบทใดกำหนดว่าให้อ่านมันในตะชะฮ์ฮุดครั้งสุดท้าย ซึ่งบทสรุปของหลักฐานที่พวกเขานำมาอ้างก็คือหะดีษที่ว่า .. “แท้จริงท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมจะนั่งในตะชะฮ์ฮุดกลาง (คือตะชะฮ์ฮุดครั้งแรก) เหมือนกับนั่งบนก้อนหินที่ถูกเผาจนร้อน” .. อันเป็นรายงานของท่านอบูดาวูด, ท่านอัต-ติรฺมีซีย์ และท่านอัน-นะซาอีย์ ในหะดีษนี้ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าบทบัญญัติให้รีบเร่ง (ในการนั่งตะชะฮ์ฮุดครั้งแรก)เท่านั้น ซึ่งสิ่งนี้ก็เกิดขึ้นได้จากการนั่งในตะชะฮ์ฮุดนี้ให้สั้นกว่าการนั่งในคู่ของมัน คือตะชะฮ์ฮุดครั้งสุดท้าย .. อนึ่ง ความ(เข้าใจที่ว่า) จำเป็นจากการรีบเร่งในการนั่งในตะชะฮ์ฮุดครั้งแรก จะต้องละทิ้งสิ่งซึ่งมีหลักฐานบ่งชี้ว่าเป็นบทบัญญัติ (คือการอ่านศ่อละวาต) ก็ไม่ไช่(เป้าหมายของหะดีษนี้) เพราะไม่มีข้อสงสัยเลยว่า ผู้นมาซนั้น เมื่อเขาจำกัดการอ่านเพียงตะชะฮ์ฮุดใดตะชะฮ์ฮุดหนึ่ง และรวบรัดการอ่านศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์ด้วยถ้อยคำที่สั้นที่สุด(ในตะชะฮ์ฮุดนั้น) เขาก็ต้องรีบมันสุดๆหากนำไปเปรียบเทียบกับการอ่านให้ยาวในตะชะฮ์ฮุดครั้งสุดท้าย ซึ่งมีการอ่านตะเอาวุซ (ขอความคุ้มครองจาก 4 ประการ) และดุอาอื่นๆอีกมากมายที่ถูกใช้ให้อ่านในนั้น(ตะชะฮฺฮุดครั้งสุดท้าย) .. ทั้งดุอาทั่วๆไปและดุอาเฉพาะ(คือดุอาที่มีรายงานมาในหะดีษ)” ...
(จากหนังสือ “นัยลุ้ลเอาฏอรฺ” เล่มที่ 2 หน้า 324) ...
จากคำกล่าวของท่านอัช-เชากานีย์ข้างต้น ผมมีเรื่องที่จะต้องชี้แจงใน 3 ประเด็นดังนี้ ...
ก. คำกล่าวที่ว่า .. การกำหนดว่า ให้อ่านศ่อละวาตเฉพาะตะชะฮ์ฮุดครั้งสุดท้าย เป็นสิ่งที่ไม่มีหลักฐานใดๆ ไม่ว่าหะดีษเศาะเหี๊ยะฮ์หรือหะดีษเฎาะอีฟมายืนยันไว้ ...
คำกล่าวนี้ มีบางส่วนที่ไม่ถูกต้อง เพราะในเรื่องการกำหนดให้อ่านศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์เฉพาะในตะชะฮ์ฮุดครั้งสุดท้าย เป็นสิ่งที่มีหลักฐาน .. แต่เป็นหลักฐานจากหะดีษเฎาะอีฟ! .. ดังจะได้อธิบายต่อไป ...
ข. จากหะดีษที่ว่า .. “แท้จริง ท่านนบีย์ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมจะนั่งในตะชะฮ์ฮุดครั้งแรกเหมือนกับนั่งบนก้อนหินร้อนๆ” .. แล้วท่านอัช-เชากานีย์อธิบายว่า หะดีษบทนี้เป็นเพียงหลักฐานให้ “รีบเร่ง” ในการนั่งตะชะฮ์ฮุดครั้งแรก แต่มิใช่เป็นหลักฐานเรื่องให้ “ละทิ้ง” การอ่านตะชะฮ์ฮุดแก่ท่านนบีย์ในตะชะฮ์ฮุดครั้งแรกด้วย .. นั้น ...
คำอธิบายดังกล่าวนี้ สอดคล้องกับคำกล่าวของท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ในหนังสือ “อัล-อุมม์” เล่มที่ 1 หน้า 105 ที่กล่าวว่า ...
فَفِىْ هَذَا – وَاللهُ تَعَاَلى أَعْلَمُ – دَلِيْلٌ عَلَى أَنْ لاَ يَزِيْدَ فِى الْجُلُوْسِ اْلأَوَّلِ عَلَى التَّشَهُّدِ وَالصَّلاَةِ عَلَى النَّبِىِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ...
“และในหะดีษบทนี้ – วัลลอฮุ อะอฺลัม - เป็นหลักฐานว่า มิให้ผู้นมาซเพิ่มเติมสิ่งใดในการนั่งตะชะฮ์ฮุดครั้งแรก ให้นอกเหนือไปจากการอ่านตะชะฮ์ฮุดและการอ่านศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม” ...
ค. สายรายงานของหะดีษบทนี้ที่อ้างว่า ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมนั่งในตะชะฮ์ฮุดครั้งแรกเหมือนท่านนั่งบนก้อนหินที่ถูกเผาจนร้อน เป็นสายรายงานที่เฎาะอีฟ จึงนำมาอ้างเป็นหลักฐานไม่ได้ ดังจะได้อธิบายต่อไปเช่นเดียวกัน ...
3. นักวิชาการยุคหลังสองท่านซึ่งได้รับการยอมรับจากมุสลิมทั่วโลก คือท่านเช็คบินบาซและท่านเช็คอัล-อัลบานีย์ มีความเห็นสอดคล้องกันว่า การอ่านศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมในตะชะฮ์ฮุดครั้งแรก เป็นบทบัญญัติ! ..
ต่างกันเพียงท่านเช็คบินบาซถือว่า บทบัญญัติดังกล่าว “เป็นสุนัต”, ขณะที่ท่านอัล-อัลบานีย์มีแนวโน้มถือว่า บทบัญญัติดังกล่าว “เป็นวาญิบ” .. ดังได้กล่าวมาแล้ว
ท่านเช็คบินบาซได้กล่าวในหนังสือ “اَلدُّرُوْسُ الْمُهِمَّةُ لِعَامَّةِ اْلاُمَّةِ” หน้า 8 ว่า ...
إِنْ كَانَتِ الصَّلاَةُ ثُلاَثِيَّةً كَالْمَغْرِبِ، أَوْرُبَاعِيَّةً كَالظُّهْرِ وَالْعَصْر وَالْعِشَاءِ فَإِنَّهُ يَقْرَأُ التَّشَهُّدَ الْمَذْكُوْرَ آنِفًا مَعَ الصَّلاَةِ عَلَى النَّبِىِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ......... وَإِنْ تَرَكَ الصَّلاَةَ عَلَى النَّبِىِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بَعْدَ التَّشَهُّدِ اْلأَوَّلِ (فَلاَ بَأْسَ) ِلأَنَّهُ مُسْتَحَبٌّ، وَلَيْسَ بِوَاحِبٍ فِى التَّشَهُّدِ اْلأَوَّلِ
“หากเป็นนมาซประเภท 3 ร็อกอะฮ์เช่นนมาซมัคริบ, หรือประเภท 4 ร็อกอะฮ์ เช่นนมาซซุฮ์รี่, อัศรี่และอิชา ก็ให้เขาอ่านตะชะฮ์ฮุดดังที่กล่าวมาเมื่อตะกี้นี้ พร้อมกับอ่านศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมด้วย ....... และหากเขาละทิ้งการอ่านศ่อละวาตแก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม หลังจากตะชะฮ์ฮุดครั้งแรก (ก็ไม่เป็นไร) เพราะมัน(ศ่อละวาต) เป็นสิ่งที่ชอบให้ปฏิบัติ (คือสุนัต) ไม่ใช่เป็นสิ่งวาญิบหลังจากตะชะฮ์ฮุดครั้งแรก” ...
ส่วนท่านอัล-อัลบานีย์ได้กล่าวในหนังสือ “ศิฟะตุศ่อลาติ้นนบีย์ฯ” หน้า164ว่า ...
فَقَدْ قَالُوْا : يَا رَسُوْلَ اللهِ! قَدْ عَلِمْنَا كَيْفَ نُسَلِّمُ عَلَيْكَ، (أَىْ فِى التَّشَهُّدِ) فَكَيْفَ نُصَلِّىْ عَلَيْكَ؟ قَالَ : قُوْلُوْا : اَللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ ........ اَلْحَدِيْثَ، فَلَمْ يَخُصَّ تَشَهُّدًا دُوْنَ تَشَهُّدٍ، فَفِيْهِ دَلِيْلٌ عَلَى مَشْرُوْعِيَّةِ الصَّلاَةِ عَلَيْهِ فِى التَّشَهُّدِ اْلأَوَّلِ أَيْضًا ...
“แน่นอนพวกเขา(เศาะหาบะฮ์)กล่าวว่า .. โอ้ ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ พวกเราทราบแล้วว่าจะอ่านสล่ามแก่ท่านอย่างไร(ในตะชะฮ์ฮุด) แล้วเราจะอ่านศ่อละวาตแก่ท่านอย่างไร? ท่านตอบว่า .. พวกท่านจงกล่าวว่า .. اَللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ ... (จนจบหะดีษ) ซึ่งท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมก็มิได้จำกัด(การอ่านศ่อละวาต) ในตะชะฮ์ฮุดใดโดยปราศจากการอ่านในตะชะฮ์ฮุดอื่น ในคำสั่งนี้จึงเป็นหลักฐานเรื่องมีบัญญัติให้อ่านศ่อละวาตแก่ท่านในตะชะฮ์ฮุดครั้งแรกด้วย ...”
หลักฐานที่ว่า การอ่านศ่อละวาตหลังตะชะฮ์ฮุดครั้งแรกเป็นบทบัญญัติ มีดังต่อไปนี้ ..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น