อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

การเคาะตัมอัลกุรอาน




การ เคาะตัมอัลกุรอาน หมายถึง การอ่านอัลกุรอ่านจบทั้ง ๓๐ ยุซ ซึ่งศาสนาส่งเสริมให้อ่านอัลกุรอ่านให้จบ ตามขีดความสามารถและเวลาที่จะอำนวยให้แต่ละคน

ในฮะดีษที่รายงานโดยอะบูดาวูด ระบุว่า

قَالَ اقْرَأْهُ فِي سَبْعٍ قَالَ إِنِّي أَقْوَى مِنْ ذَلِكَ قَالَ لَا يَفْقَهُ مَنْ قَرَأَهُ فِي أَقَلَّ مِنْ ثَلَاثٍ

“ท่าน นะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า ท่านจงอ่านอัลกุรอาน(จบ)ภายใน 7 วันซิ ท่านอับดุลเลาะฮ์ บิน อัมร์ กล่าวว่า แท้จริงฉันมีความสามารถยิ่งกว่าสิ่งดังกล่าว(คือยิ่งกว่าอ่านจบภายใน 7 วัน) ดังนั้นท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงกล่าวว่า จะไม่เข้าใจ(ความหมายและไม่ใคร่ครวญอัลกุรอาน) ผู้ที่อ่านอัลกุรอาน(จบ)น้อยกว่า 3 วัน”

การเคาะตัมไม่ใช่พิธีกรรม และไม่ได้ระบุดุอาเป้นการเฉพาะเอาไว้ในอัสสุนนะฮ


ฟัตวา

أما تخصيص ليلة معينة بختم القرآن، كليلة السابع والعشرين من رمضان ونحوها، فلا أثارة من علمٍ عليه،
สำหรับ การเจาะจงคืนใดคืนหนึ่งเป็นการเฉพาะ ด้วยการเคาะตัมอัลกุรอ่าน เช่น คืนที่ ๒๗ ของเดือนเราะมะฏอน เป็นต้น ก็ไม่มีร่องรอยแห่งความรู้ (ที่เป็นหลักฐานยืนยันในการนี้)บนมัน
لكن إن عرض الختم في ليلتها دون تخصيص، فلا نجد مانعاً منه، لعدم تعمد إحداث ذلك، والمداومة عليه. والله أعلم.
แต่ หาก การเคาะตัมเกิดขึ้น ในคืนนั้น โดยไม่ได้เจาะจง(เช่นอ่านจบในคืนนั้นพอดี ) เราก็ไม่พบว่า มีผู้ห้ามจากมัน เพราะไม่ใช่เป็นการเจตนาอุตริขึ้นใหม่ดังกล่าว และไม่ได้ปฏิบัติเป็นประจำบนมัน- วัลลอฮุอะลัม


عَنْ ثَابِتٍ ، قَالَ : " كَانَ أَنَسٌ إِذَا خَتَمَ الْقُرْآنَ جَمَعَ أَهْلَهُ وَوَلَدَهُ فَدَعَا لَهُمْ " .

จาก ษาบีต กล่าวว่า ปรากฏว่า อะนัส (รฎ) เมื่อเขาเคาะตัมอัลกุรอ่าน(หมายถึงอ่านอัลกุรอ่านจบเล่ม) เขาได้รวมภรรยาและบุตรของเขา และดุอาให้แก่พวกเขา – อัดดาริมีย์ หะดิษหมายเลข ๓๓๓๙


سئل الشيخ ابن عثيمين رحمه الله : ما حكم دعاء ختم القرآن في قيام الليل في شهر رمضان ؟
เช็คอิบนุอุษัยมีน (ร.ฮ)ถูกถามเกี่ยวกับ หุกกุมของการดุอาเคาะตัมอัลกุรอ่าน ในละหมาดกลางคืนในเดือนเราะมะฎอน ว่าเป็นอย่างไร
فأجاب :
" لا أعلم في ختمة القرآن في قيام الليل في شهر رمضان سنة عن النبي صلى الله عليه وسلم ، ولا عن الصحابة أيضا ، وغاية ما ورد في ذلك أن أنس بن مالك رضي الله عنه كان إذا ختم القرآن جمع أهله ودعا . وهذا في غير الصلاة " انتهى .
เขาตอบว่า
ใน การเคาะตัมอัลกุรอ่าน ในละหมาดกิยามุลลัย ในเดือนเราะมะฎอนนั้น ข้าพเจ้า ไม่ทราบว่า เป็นสุนนะฮ จากนบี ศอ็ลฯ และ จากเหล่าสาวก อีกเช่นกัน และจุดมุ่งหมายของหะดิษ ที่รายงานในเรื่องดังกล่าวว่า ท่านอะนัส บิน มาลิก (ร.ฎ) เมื่อเขาได้อ่านอัลกุรอ่านจบ เขาได้รวมคนในครอบครัวของเขา และเขาได้ดุอา และในกรณีนี้ อยู่ในอื่นจากการละหมาด (หมายถึงไม่ได้กระทำในละหมาด)
"فتاوى أركان الإسلام" (ص 354) .



แล้วข้อกล่าวหาที่บอกว่าเชคอุษัยมีน ในค่ำ27 หรืออีกข้อกล่าวหาที่ว่ามักกะชอบทำในคืน 27 อันนี้ยังไงครับ



حكم ختم القرآن في صلاة التراويح للشيخ بن باز رحمه الله
หุกุมเคาะตัมอัลกุรอ่านในละหมาดตะรอเวียะ ของ เช็ค บิน บาซ (ร.ฮ)
بعض الأئمة لم يتيسر لهم ختم القرآن في قيام رمضان فلجأ بعضهم إلى القراءة خارج الصلاة حتى يستطيع أن يختم القرآن ليلة تسعٍ وعشرين، فهل لذلك أصل في الشرع المطهر؟ جزاكم الله خيرا[1].
อิหม่าม บางส่วน การเคาะตัมอัลกุรอ่านในละหมาดกิยามุเราะมะฏอน ไม่สะดวกแก่พวกเขา เลยบางส่วนของพวกเขาอาศัยการอ่านนอกละหมาด จนกระทั่งสามารถที่จะเคาะตัมอัลกุรอ่าน ในคืน 27 ได้ สำหรับการกระทำดังกล่าวนั้น มีที่มาในศาสนบัญญัติอันบริสุทธ์หรือไม่?
لا أعلم لهذا أصلاً، والسنة للإمام أن يسمع المأمومين في قيام رمضان القرآن كله، إذا تيسر له ذلك من غير مشقةٍ عليهم، فإن لم يتيسر ذلك فلا حرج وإن لم يختمه، وقد صح عن رسول الله صلى الله عليه وسلم أنه قال: ((من عمل عملاً ليس عليه أمرنا فهو رد)) أخرجه مسلم في صحيحه.
คำตอบ
สำหรับ กรณีนี้ ข้าพเจ้า ไม่ทราบ ที่มา และตามสุนนะฮนั้น ให้อิหม่าม ทำให้บรรดามะมูม ได้ยินการอ่านอัลกุรอ่านทั้งหมดในเดือนเราะมะฎอน เมื่อดังกล่าวนั้นสะดวกแก่เขา โดยไม่สร้างความลำบากแกพวกเขา(มะมูม) และถ้าเขาไม่สะดวกดังกล่าว ก็ไม่เป็นไร หากเขาไม่เคาะตัมมัน และแท้จริง มีรายงานเศาะเฮียะจากรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมว่า
“บุคคลใด ประกอบการงานใดๆ ซึ่งกิจการ(ศาสนา)ของเรา มันเป็นโมฆะ – บันทึกโดย มุสลิมในเศาะเฮียะของเขา
[1] نشر في مجلة الدعوة العدد 1537 في 23/11/1416هـ.




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น