อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

การเยี่ยมกุโบร์ในวันอีด

เขากล่าวหาว่า “วะฮบีย์”โกหกใส่นบี
อะหมัดรอซีดี อิสมัญ อัลอัชอะรีย์ 8 ชม.
วะฮ์ฮาบีคณะใหม่ ตั้งใจกล่าวว่าโกหกใส่ท่านนะบีย์ว่า ท่านนะบีย์ห้ามเยี่ยมกุบูรในวันอีดทั้งสอง
น่าอูซุบิลลาฮฺ
…………………….
พอเดือนเราะมะฎอน จบผ่านไปไม่ถึงวัน โต๊ะครูผู้นี้ก็เริ่มลงมือ กระโจนใส่วะฮบีย์ เลย กล่าวหาว่าโกหกใส่นบี ศอ็ลฯ ทั้งๆที่ความเป็นจริง นบี ศอ็ลฯ เองไม่เคยเจาะจงการเยี่ยมกุบูรในวันอีดอีดแม้แต่ครั้งเดียว
มาดูในคำสอนนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมลัม ดังนี้ครับ
نَهَيْتُكُمْ عَنْ زِيَارَةِ الْقُبُورِ فَزُورُوهَا
"ฉันเคยห้ามพวกท่านจากการเยี่ยมกุบูร ดังนั้นพวกท่านจงเยี่ยมกุบูรเถิด" รายงานโดยมุสลิม
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวเช่นกันว่า
فَزُورُوا الْقُبُورَ فَإِنَّهَا تُذَكِّرُ الْمَوْتَ
"ดังนั้นพวกท่านจงเยี่ยมกุบูรเถิดเพราะแท้จริงการเยี่ยมกุบูรนั้นทำให้รำลึกถึงความตาย" รายงานโดย มุสลิม
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวเช่นกันว่า
فَزُورُوهَا فَإِنَّهَا تُذَكِّرُ الآخِرَةَ
" ดังนั้นพวกท่านจงเยี่ยมกุบูรเถิด เพราะแท้จริงการเยี่ยมกุบูรนั้นทำให้รำลึกถึงโลกหน้า" รายงานโดยอัตติรมีซีย์ ท่านอัตติรมีซีย์กล่าวว่าหะดิษนี้หะซันซอฮิหฺ
คำ สั่งใช้ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ตรงนี้ ถือว่าอยู่ในรูปแบบมุฏลัก اَلْمُطْلَقُ "รูปแบบกว้างๆ ไม่จำกัดวันและเวลา" เราจะทำการเยี่ยมเยือนกุบูรวันใดก็ได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่เปิดกว้างให้แก่ประชาชาติของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะ ซัลลัม และถือเป็นเป็นที่อนุญาต اَلْجَائِزُ เนื่องจากมีซุนนะฮ์จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม มารับรองไว้แล้ว
แต่การมา ตัคศิส (التخصيص )จำกัดเฉพาะทำในวันอีด มีตัวบทหะดิษมาจำกัดหรือเปล่า เมื่อไม่มีแสดงว่า การมาจำกัดอย่างนั้น เป็นบิดอะฮ เพราะไม่ปรากฏในสุนนะฮ และตามหลักการมันคือ บิดอะฮ
อิหม่ามอัชชาฏิบีย์กล่าวว่า
وَمِنَ الْبِدَعِ الْإِضَافِيَّةِ الَّتِي تَقْرُبُ مِنَ الْحَقِيقِيَّةِ : أَنْ يَكُونَ أَصْلُ الْعِبَادَةِ مَشْرُوعًا ؛ إِلَّا أَنَّهَا تُخْرَجُ عَنْ أَصْلِ شَرْعِيَّتِهَا بِغَيْرِ دَلِيلٍ تَوَهُّمًا أَنَّهَا بَاقِيَةٌ عَلَى أَصْلِهَا تَحْتَ مُقْتَضَى الدَّلِيلِ ، وَذَلِكَ بِأَنْ يُقَيَّدَ إِطْلَاقُهَا بِالرَّأْيِ ، أَوْ يُطْلَقَ تَقْيِيدُهَا ، وَبِالْجُمْلَةِ ؛ فَتَخْرُجُ عَنْ حَدِّهَا الَّذِي حُدَّ لَهَا
และส่วนหนึ่งจากบิดอะฮ อัลอิฎอฟียะฮ ที่ ใกล้เคียง กับ บิดอะฮหะกีกียะฮ คือ รากฐานของอิบาดะฮนั้น เป็นสิ่งที่ถูกบัญญัติไว้ เว้นแต่มันออกจาก รากฐาน ของ การบัญญัติใช้ของมัน โดยไม่มีหลักฐาน โดยการเข้าใจผิดว่า มันยังคงอยู่บนรากฐานของการบัญญัติใช้ ภายใต้จุดมุ่งหมายของหลักฐาน และดังกล่าวนั้น โดยการ จำกัด การระบุเอาไว้กว้างๆของบทบัญญัติ ด้วยความเห็น หรือ กำหนดให้ บทบัญญัติที่เฉพาะเจาะจง ให้เป็นหลักการกว้างๆ สรุปคือ มันถูกกำหนดให้มันออกจากขอบเขตของมัน จาก สิ่งซึ่ง มันถูกกำหนดขอบเขตไว้แล้ว – ดู อัลมุวาฟิกอต เล่ม 1 หน้า 486
จากคำพูดของอิหม่ามชาฏิบีย์คือ การจำกัดเฉพาะสิ่งที่ศาสนาได้บัญญัติเอาไว้กว้างๆด้วยความเห็นนั้น เป็นบิดอะฮ
ที่เรียกว่า “บิดอะฮอิฎอฟียะฮ”นั้น เพราะสิ่งนั้นมีบัญญัติไว้ แต่ไปไปปฏิบัตินอกกรอบของศาสนา
อบูอิสหาก อัชชาฏิบีย์ กล่าวถึงนิยาม บิดอะฮว่า
طريقة في الدين مخترعة، تضاهي الشرعية، يقصد بالسلوك عليها المبالغة في التعبد لله سبحانه
“แนวทางที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นทางศาสนาที่คล้ายคลึงกับบัญญัติศาสนา โดยมีจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติเพื่อแสดงออกถึงความ (มุ่งมั่นที่) เกินขอบเขตในการปฏิบัติอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ” (อัลอิอฺติศอม 1/37)
และท่านได้ยกตัวอย่างบิดอะฮว่า
ومنها التزام العبادات المعينة في أوقات معينة لم يوجد لها ذلك التعيين في الشريعة.
และส่วนหนึ่งจากมันคือ การยึดติดกับบรรดาอิบาดะฮที่ถูกเจาะจง ในบรรดาเวลาที่ถูกเจาะจง ซึ่งการเจาะจงดังกล่าวนั้น ไม่มีในศาสนบัญญัติ
............
การเจาะจงอิบาดะฮใดๆในเวลาหรือสถานที่ ทีศาสนาไม่ได้เจาะจงไว้ มันคือบิดอะอ ดังที่อิหม่ามอัชชาฏิบีย์ได้กล่าวไว้
นักวิชาการได้พิจารณาตามหลักนิติศาสตร์อิสลาม แต่ท่านโต๊ะครูกลับกล่าวหาว่า “โกหกใส่นบี นะอูซูบิลละฮ
อินชาอัลลอฮ จะนำเสนอเพิ่มเติม ซึ่งผมได้ชี้แจงเรื่องนี้ไปแล้วในหน้าเฟสอื่น แต่จำนำมาเสนอในเฟสนี้อีก เพื่อยืนยันว่า นักวิชาการที่ถูกเรียกว่า “วะฮบีย์ ไม่ได้โกหกใส่นบี.....


ตามการพิจารณาโดยอาศัย หลักนิติศาสตร์อิสลามนั้น หลักอุศูลุลฟิกฮ ดังนี้

المطلق يجري على إطلاقه ما لم يقم دليل التقييد نصاً أو دلالة.

สิ่งที่ถูกกล่าวเอาไว้กว้างๆจะถูกให้ดำเนินไปตามการอิฏลัก(การกำหนดเอาไว้กว้างๆ)ของมัน
ตราบใดที่ไม่มีหลักฐาน จำกัดเฉพาะเป็นตัวบทหรือหลักฐานมายืนยัน


อิหม่ามอัชชาฏิบีย์กล่าวว่า

وَمِنَ الْبِدَعِ الْإِضَافِيَّةِ الَّتِي تَقْرُبُ مِنَ الْحَقِيقِيَّةِ : أَنْ يَكُونَ أَصْلُ الْعِبَادَةِ مَشْرُوعًا ؛ إِلَّا أَنَّهَا تُخْرَجُ عَنْ أَصْلِ شَرْعِيَّتِهَا بِغَيْرِ دَلِيلٍ تَوَهُّمًا أَنَّهَا بَاقِيَةٌ عَلَى أَصْلِهَا تَحْتَ مُقْتَضَى الدَّلِيلِ ، وَذَلِكَ بِأَنْ يُقَيَّدَ إِطْلَاقُهَا بِالرَّأْيِ ، أَوْ يُطْلَقَ تَقْيِيدُهَا ، وَبِالْجُمْلَةِ ؛ فَتَخْرُجُ عَنْ حَدِّهَا الَّذِي حُدَّ لَهَا

และ ส่วนหนึ่งจากบิดอะฮ อัลอิฎอฟียะฮ ที่ ใกล้เคียง กับ บิดอะฮหะกีกียะฮ คือ รากฐานของอิบาดะฮนั้น เป็นสิ่งที่ถูกบัญญัติไว้ เว้นแต่มันออกจาก รากฐาน ของ การบัญญัติใช้ของมัน โดยไม่มีหลักฐาน โดยการเข้าใจผิดว่า มันยังคงอยู่บนรากฐานของการบัญญัติใช้ ภายใต้จุดมุ่งหมายของหลักฐาน และดังกล่าวนั้น โดยการ จำกัด การระบุเอาไว้กว้างๆของบทบัญญัติ ด้วยความเห็น หรือ กำหนดให้ บทบัญญัติที่เฉพาะเจาะจง ให้เป็นหลักการกว้างๆ สรุปคือ มันถูกกำหนดให้มันออกจากขอบเขตของมัน จาก สิ่งซึ่ง มันถูกกำหนดขอบเขตไว้แล้ว – ดู อัลมุวาฟิกอต เล่ม 1 หน้า 486
จากคำพูดของอิหม่ามชาฏิบีย์คือ การจำกัดเฉพาะสิ่งที่ศาสนาได้บัญญัติเอาไว้กว้างๆด้วยความเห็นนั้น เป็นบิดอะฮ
ที่เรียกว่า “บิดอะฮอิฎอฟียะฮ”นั้น เพราะสิ่งนั้นมีบัญญัติไว้ แต่ไปไปปฏิบัตินอกกรอบของศาสนา
อบูชามะฮ กล่าวว่า
والحاصل أن المكلف ليس له منصب التخصيص، بل ذلك إلى الشارع، وهذه كانت صفة عبادة رسول الله صلى الله عليه وسلم
และ สรุป คือ แท้จริงมุกัลลัฟ(หมายถึงผู้ที่มีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาสนา) นั้น สำหรับเขาไม่ได้อยู่ในฐานะของการเจาะจง แต่ทว่า ดังกล่าวนั้น ต้องกลับไปยังผู้บัญญัติศาสนบัญญัติ (หมายถึงอัลลอฮและรอซูล) และนี้คือ ลักษณะ/รูปแบบการอิบาดะฮของเราะซูลลุลลอฮ (ศอลน)
الباعث على إنكار البدع والحوادث "165
สรุป คือ มนุษย์ ไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะมาเจาะจงในสิ่งทีศาสนได้กล่าวเอาไว้กว้างๆ เพราะหน้าที่ดังกล่าวนั้น เป็นหน้าที่ของอัลลอฮและรอซูล เพราะฉะนั้นในกรณีการเยี่ยมกุบูรก็เช่นกัน ศาสนาสอนให้เยี่ยมกุบูร โดยไม่เจาะจงวัน แล้วการที่มาเจาะจงวัน ตาม นัฟสูนั้น คือ บิดอะฮ
................
นักวิชาการพิจารณาตามหลักเกณฆ์ ที่นักวิชาการได้ตั้งกฎไว้


ฟัตวาของเช็ค บินบาซ

أما تخصيص زيارة القبور بعد صلاة العيد كأنه يزور الأحياء والأموات فهذا ليس له أصل، ولم أعلم عن النبي -صلى الله عليه وسلم- ولا عن الصحابة أنهم كانوا يخرجون إلى البقيع بعد صلاة العيد, والخير في اتباع السلف الصالح، الخير في اتباع الرسول -صلى الله عليه وسلم- وأصحابه،
สำหรับ การเจาะจงการเยี่ยมกุบูร หลังจากละหมาดอีด เช่น เยี่ยมคนที่มีชีวิตอยู่ หรือคนที่ตายไปแล้ว การกระทำแบบนี้ไม่มีที่มา และข้าพเจ้าไม่ทราบ รายงานจากนบี สอ็ลฯ และไม่ทราบรายงานจากเศาะฮาบะฮ ว่า พวกเขาออกไปยังกุโบร์บาเกียะหลังจากละหมาดอีด และความดีงามนั้น อยู่ที่การเจริญรอยตามสะลัฟผู้ทรงธรรม ,ความดีงามนั้น อยู่ที่การตามรซูลุลลอฮ ศอลฯและบรรดาเศาะหาบะฮของท่าน
http://www.ahlalhdeeth.com/vb/showthread.php?t=290086
เช็ค บินบาซ บอกว่า หลังจากละหมาดอีด แล้วไปเยี่ยมคนเป็นและคนตายนั้น ไม่มีที่มาจากสุนนะฮนบี และไม่มีรายงานจากเศาะฮาบะฮ และหลังจากละหมาดอีดแล้ว ไม่ปรากฏว่านบีและเศาะฮาบะฮ ออกไปเยี่ยมโกโบร์บาเกียะ


ฟัตวาเพิ่มเติม
تخصيص زيارة القبور بيوم العيد وإن لم يرد فيه نهى بعينه فإنه يعتبر من البدع لأنه تخصيص لم يأت به الشرع. فزيارة القبور مشروعة في كل وقت للاتعاظ وأخذ العبرة والدعاء للأموات ، وتخصيصها بزمن معين يوهم لدى البعض بأن الزيارة في ذلك الزمن سنة مشروعة ، فيعتقدون مشروعية ما لم يرد به الشرع، ولذا أفتى أهل العلم ببدعية تخصيص زيارة القبور بيوم العيد،
การ เจาะจง เยี่ยมกุโบร ในวันอีด แม้ว่า จะไม่มีการห้ามเป็นการเฉพาะ ในมัน แท้จริงมัน ถูกพิจารณาว่า เป็นส่วนหนึ่งจากบิดอะฮ เพราะ มันคือ การเจาะจง ที่ศาสนาบัญญัติไม่ได้มีมาด้วยมัน เพราะการเยี่ยมกุบูรนั้น เป็นสิ่งที่ถูกบัญญัติให้ปฏิบัติ ในทุกๆเวลา เพื่อ ให้ได้รับข้อตักเตือน(ตัวเอง)และเอามาเป็นข้อคิด และเพื่อดุอาแก่บรรดาผู้ตาย และการเจาะจงมัน ด้วยเวลาที่เฉพาะ ทำให้คนบางส่วนเข้าใจว่า การเยี่ยมในเวลาดังกล่าวนั้นเป็นสุนนะฮ ที่ถูกบัญญัติให้กระทำ และพวกเขาเชื่อว่า เป็นสิ่งที่ถูกบัญญัติ สิ่งซึ่ง ไม่ปรากฏบทบัญญัติ ด้วยมัน เพราะเหตุนี้ นักวิชาการได้ฟัตวา ว่า การเจาะจงเยี่ยมกุบูรในวันอีดนั้น เป็นบิดอะฮ


ฟัตวาเช็ค อิบนุอุษัยมีน ตอบคำถามเกี่ยวกับการเยี่ยมกุบูร หลังจากละหมาดอีดว่า

هذا العمل بدعة لم يكن في عهد الرسول عليه الصلاة والسلام أن يعتاد زيارة القبور في يوم العيد وإنما أمر النبي عليه الصلاة والسلام بزيارة القبور أمراً مطلقاً عاماً فقال عليه الصلاة والسلام (كنت نهيتكم عن زيارة القبور فزوروها فإنها تذكركم الآخرة) فينبغي للإنسان أن يزور القبور كل وقت سواء في الليل أو في النهار وليس ذلك مقيداً بوقت من الأوقات لا في يوم الجمعة ولا في يوم العيد بل قد نقول إنه كلما قسى قلبه ونسي الآخرة فينبغي له أن يخرج إلى المقابر ويزورها لأجل أن تذكره بالآخرة كما ذكر رسول الله صلى الله عليه وسلم في قوله فإنها تذكركم الآخرة.

การ กระทำนี้ เป็นบิดอะฮ ไม่ปรากฏในสมัยนบี สอ็ลฯ ปฏิบัติเป็นธรรมเนียม เยี่ยมกุบูรในวันอีด ความจริง นบี ศอ็ลฯ ได้สั่งให้เยี่ยม ด้วยการเยี่ยมกุบูร เป็นคำสั่งกว้างๆทั่วไป และนบี กล่าวว่า
كنت نهيتكم عن زيارة القبور فزوروها فإنها تذكركم الآخرة
“ฉันเคยห้ามพวกท่านไม่ให้เยี่ยมกุบูร ,พึงทราบไว้เถิดว่า พวกท่านจงเยี่ยมมัน เพราะมัน ทำให้พวกท่านระลึกถึงวันอาคิเราะฮ
ดัง นั้น จึงสมควร แก่มนุษย์ ให้เยี่ยมกุบูร ทุกเวลา ไม่ว่ากลางคืน หรือ กลางวัน และดังกล่าวนั้น ไม่ได้ถูกจำกัดเวลา จากบรรดาเวลา ไม่ว่า ในวันศุกร์และไม่ว่าในวันอีด ยิ่งไปกว่านั้น เราขอกล่าวว่า ทุกครั้งที่หัวใจแข็งกระด้าง และลืมวันอาคีเราะฮ ก็สมควรให้เขา ออกไปยังกุบูร และเยี่ยมมัน เพื่อมันจะทำให้ระลึกวันอาคิเราะฮ ดังที่รซูลุลลอฮ ศอ็ลฯ ระบุไว้ ในคำพูดของท่านว่า
فإنها تذكركم الآخرة
เพราะมัน ทำให้พวกท่านระลึกถึงวันอาคิเราะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น