อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

ความแตกต่างกันระหว่าง "นะศีหะฮฺ" กับ "โจมตี"



بسم الله الرحمن الرحيم
الحمد لله رب العالمين، وصلاته وسلامه على إمام المتقين، وخاتم النبيين وآله وصحبه أجمعين، والتابعين لهم بإحسان إلى يوم الدين أما بعد:
เหล่านี้เป็นเพียงข้อสังเขป และการขยายความคำศัพท์ ความไม่เหมือนกันระหว่าง "นะศีหะฮฺ" กับ "โจมตี" ซึ่งทั้งสองคำนั้น แท้ที่จริงแล้ว 2 คำนี้มันคือการพูดถึงบางคน ในสิ่งที่เขาไม่ชอบ ความแตกต่างระหว่าง 2 คำนี้ สามารถสร้างความสับสนในหมู่ผู้คนจำนวนมาก และอัลลอฮฺนั้น คือผู้เดียวที่ทรงชี้ว่าสิ่งไหนถูกต้อง
พึงรู้เถิดว่า การพูดถึงบุคคลหนึ่งบุคคลใดก็ตาม ในสิ่งที่เขามิชอบนั้นเป็นที่ต้องห้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเขามีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะดูหมิ่น หรือ ขุดคุ้ยความผิด หรือพูดถึงข้อบกพร่อง แต่ถ้าหากว่า เหล่านี้มันมีประโยชน์(ความดีมากกว่า)สำหรับมุสลิมทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บางคนจากในหมู่ของพวกเขา เมื่อนั้น มันก็จะไม่ถูกตัดสินว่าเป็นที่ต้องห้าม แท้จริง มันเป็นสิ่งที่ควรแนะนำ

อุละมาอฺในศาสตร์แห่งหะดีษ ผู้ซึ่งมีความรู้ และได้พิสูจน์ความจริงนี้ในหนังสือของพวกเขาเกี่ยวกับศาสตร์ ญะหฺ วัต-ตะอฺดีล(ศาสตร์การตำหนิและชื่นชม) พวกเขาได้ระบุไว้ถึงความแตกต่างกันระหว่าง การดูหมิ่นนักรายงาน(หะดีษ) และการนินทา และพวกเขายังได้ตอบโต้ พวกที่มองว่าพวกเขาเหมือนกัน คือบรรดาพวกผู้ศรัทธาที่เคร่งครัด และบรรดาพวกที่สูญเสียซึ่งความรู้
ยิ่งไปกว่านั้น ไม่มีความขัดแย้งกันระหว่างการตำหนินักรายงาน(ว่าทำได้ หรือไม่ได้) และบรรดาฮาฟิษในศาสตร์หะดีษ ได้แบ่งแยกระหว่าง สายรายงานที่ควรยอมรับ และสายรายงานที่ควรปฏิเสธ ดังนั้น จึงมีความแตกต่างกันในสิ่งที่ได้กล่าวมาในข้างต้น และมีการจำแนกเอาคนที่มีความเข้าใจที่ผิด ในอัล-กุรอ่านและซุนนะฮฺ และเข้าใจผิดในการอรรถาธิบาย(กุรอ่านและซุนนะฮฺ) รวมถึงผู้ที่ยึดมั่นในสิ่งที่ไม่ควรจะยึดมั่น(เช่น ผู้ที่ยึดมั่นในความเท็จ)

ดังนั้น บรรดาอุละมาอฺนั้นเห็นพ้องต้องกันในการอนุญาตให้เตือนผู้คน จากการไปตามความผิดพลาด(และหลงผิด)ของพวกเขา
นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม เราจึงพบในงานเขียนของบรรดาอุละมาอฺ เกี่ยวกับความขัดแย้งกันในรูปแบบต่างๆ จากเรื่องการตัฟสีร และอธิบายหะดีษ รวมถึงเรื่องฟิกฮฺ และได้มีการทัศนะที่แตกต่างของบรรดาอุละมาอฺ และคนอื่นๆ เราพบว่าบรรดาผู้ประพันธ์ต่างตอบโต้ รวมถึงโต้วาทะ ของพวกที่มีวาทะที่ฎออีฟ(่อ่อนหลักฐาน) จากบรรดาอุละมาอฺใหญ่ๆ และอิม่ามของยุคสะลัฟ และคอลัฟ จากสหายของตาบิอีน และบรรดาผู้ที่มาหลังจากพวกเขา
ไม่มีผู้รู้คนใดได้หักห้าม หรือไม่ให้ไปใส่ใจในสิ่งนี้ ไม่แม้แต่จะห้ามผู้คน ตอบโต้คำพูดของพวกเขา ยกเว้น ถ้าผู้ประพันธ์นั้นใช้คำพูดที่รุนแรง หรือหยาบคายในคำพูด ซึ่งในกรณีนี้ ความหยาบคาย และมารยาทไม่ดีของเขาจะถูกตำหนิ ไม่ใช่ที่การตอบโต้ของเขา และไม่ได้เป็นการไม่เห็นด้วยกับข้อมูลทางศาสนา และมันสำคัญที่หลักฐานจะต้องถูกนำมาแสดง
เหตุผลสำหรับเรื่องนี้ บรรดาอุละมาอฺของศาสนา ทั้งหมดต่างเห็นตรงกันว่า นี่คือการแนะนำโดยมีจุดประสงค์ที่จะเปิดเผยสัจธรรม ที่อัลลอฮฺได้ส่งท่านรอซูล ศอลฯ และศาสนาทั้งหมดมาจากอัลลอฮฺ และพระดำรัสของพระองค์ทรงสูงส่ง ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขา(บรรดาอุละมาอฺ)มีความรู้ครอบคลุม และรู้ประเภทของความรู้ โดยปราศจากการปกปิด นอกจากนี้ ไม่มีอุละมาอฺคนใดในยุคต้น รวมถึงในยุคถัดมาเคยอ้างสิ่งนี้เพื่อตัวเอง(ว่าห้ามตอบโต้) นี่จึงเป็นเหตุที่ว่าทำไมบรรดาอุละมาอฺใหญ่ และอิม่ามของยุคสะลัฟ ที่มีความรู้และความประเสริฐ ถึงได้มีอิจมะอฺในการยอมรับสัจธรรม จากผู้ใดก็ตามที่พูดถึงเขา แม้ว่าพวกเขาอาจจะเป็นคนเล็กไม่มีชื่อเสียง และอาจจะเป็นลูกศิษย์ของเขาเอง และผู้ที่ปฏิบัติตาม จะยอมรับสัจธรรม ถ้ามันมาจากหลักฐาน ที่มาจากคำพูดของอิม่ามคนอื่นๆของพวกเขา

ดั่งท่านอุมัร ร.ฎ. ได้พูดถึงเรื่องการถอนสำหรับสตรี ต่อมาผู้หญิงได้ปฏิเสธท่าน ด้วยกับพระดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า
وَإِنْ أَرَ‌دتُّمُ اسْتِبْدَالَ زَوْجٍ مَّكَانَ زَوْجٍ وَآتَيْتُمْ إِحْدَاهُنَّ قِنطَارً‌ا فَلَا تَأْخُذُوا مِنْهُ شَيْئًا أَتَأْخُذُونَهُ بُهْتَانًا وَإِثْمًا مُّبِينًا
"และหากพวกเจ้าต้องการเปลี่ยนคู่ครองคนหนึ่ง แทนที่คู่ครองอีกคนหนึ่ง และพวกเจ้าได้ให้แก่นางหนึ่งในหมู่นางเหล่านั้น ซึ่งทรัพย์อันมากมายก็ตาม ก็จงอย่าได้เอาสิ่งใดจากทรัพย์นั้นคืน พวกเจ้าจะเอามันคืนด้วยการอุปโลกน์ความเท็จและการกระทำบาปอันชัดเจนกระนั้น หรือ" (อัน-นิสาอฺ: 20)

ดังนั้น เขาจึงถอนคำพูดของเขา และได้กล่าวว่า "ผู้หญิงคนนี้ถูกต้อง และผู้ชายคนนี้ผิด" และมันยังได้ถูกรายงานว่า ท่านได้กล่าวว่า "ทุกคนมีความรู้มากกว่า อุมัร"
บางคนจากในหมู่อุละมาอฺที่มีชื่อเสียง ถ้าพวกเขาได้พูดบางเรื่อง ด้วยกับการพิจารณาทางสติปัญญาของเขา เขาจะกล่าวว่า "นี่คือทัศนะของเรา ดังนั้น ผู้ใดก็ตามที่มายังเรา แล้วมีทัศนะที่ดีกว่า เมื่อนั้นเราก็จะยอมรับมัน"
รวมถึง อิม่าม ชาฟิอียฺ ได้เคยแนะนำให้ลูกศิษย์ของท่านปฏิบัติตาม และยึดมั่นในสัจธรรม รวมถึงยอมรับในซุนนะฮฺ แม้ว่ามันจะขัดแย้งกับคำพูดของท่าน และยังมีกรณีที่ท่านให้มองข้ามไม่สนใจคำพูดของท่าน ท่านได้เคยกล่าวถึงหนังสือของท่านว่า "ถ้ามีส่วนหนึ่งส่วนใดในหนังสือ ที่ขัดแย้งกับกุรอ่านและซุนนะฮฺ เพราะว่า อัลลอฮฺ ได้ทรงตรัสว่า
أَفَلَا يَتَدَبَّرُ‌ونَ الْقُرْ‌آنَ وَلَوْ كَانَ مِنْ عِندِ غَيْرِ‌ اللَّـهِ لَوَجَدُوا فِيهِ اخْتِلَافًا كَثِيرً‌ا
พวกเขาไม่พิจารณาดูอัล-กุรอานบ้างหรือ ? และหากว่า อัล-กุรอานมาจากผู้ที่ไม่ใช่อัลลอฮฺแล้วแน่นอนพวกเขาก็จะพบว่าในนั้นมีความ ขัดแย้งกันมากมาย(อัน-นิสาอฺ: 82)"

ที่น่าแปลกใจกว่านั้น ท่านได้กล่าวว่า "ไม่มีผู้ใด ไม่เคยโต้แย้งกับฉัน ยกเว้นว่า ฉันไม่เห็นว่าจะมีสัจธรรมใดๆในตัวมันเอง ในลิ้นของเขา หรือสติปัญญา"
ดังนั้น นี่แสดงให้เห็นว่าท่านมีจุดมุ่งหมายเพียงอย่างเดียวคือการแสวงหาสัจธรรม แม้ว่ามันจะออกมาจากลิ้นของผู้ที่ขัดแย้งกับท่าน
ดังนั้น พวกเขาไม่ได้รังเกียจการตอบโต้ในคำพูดของพวกเขา และจุดยืนของท่านคือซุนนะฮฺได้ถูกชี้แจง ไม่ในโลกนี้ ก็โลกหน้า และนี่คือสิ่งที่เราได้ข้อคิดมาจาดความคิดของบรรดาอิม่ามของอิสลาม บรรดาผู้ที่ปกป้องอิสลาม และยืนหยัดทั้งจากสะลัฟและคอลัฟ มากกว่านั้น พวกเขาไม่ได้รังเกียจการไม่เห็นด้วยของบุคคลที่ไม่เห็นด้วย เนื่องมาจากหลักฐานได้ถูกนำเสนอกับเขา แม้กระทั่ง หลักฐานนั้นจะไม่แข็งแรงพอ ที่จะหักล้างหลักฐานของพวกเขาได้
นั่นคือทำไม อิม่าม อะหฺมัด เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้เคยพูดถึงอิม่าม อิสหาก อิบนุ รอหะวัยฮฺ ท่านเคยสรรเสริญและชื่นชมเขา ท่านเคยกล่าวว่า "แม้ว่า เขา(อิสหาก บิน รอหะวัยฮฺ)จะไม่เห็นด้วยกับฉันในบางเรื่อง อย่างไรก็ตาม ผู้คนก็มักจะไม่เห็นด้วยกันอยู่แล้ว"

นอกจากนี้ อิม่าม อะหฺมัด ได้เคยชื่นชม ซึ่งถูกรายงานจาก ฮาติม อัล-อะซัม เมื่อได้ถูกกล่าวกับเขาว่า "ท่านไม่ใช่อาหรับ(ท่านฮาติม เป็นชาวอัฟกัน) ไม่ใช่คนที่พูดเก่ง แต่ไม่มีใครเคยโต้แย้งกับท่าน เว้นเสียแต่ท่านจะหักล้างพวกเขา อะไรคือปัจจัยที่ทำให้ท่านเอาชนะฝ่ายตรงข้าม?" แล้วเขาก็ได้ตอบว่า "มี 3 สิ่ง 1.ฉันรู้สึกมีความสุข เมื่อฝ่ายตรงข้ามกับฉันนั้นอยู่บนความถูกต้อง 2.ฉันได้เศร้าเสียใจ เมื่อเขาผิด 3.ฉันยังคงรักษาลิ้นของฉัน แล้วฉันไม่ได้พูดกับเขา ด้วยกับสิ่งที่จะบาดใจเขา หรือพูดบางสิ่งบางอย่างที่ไม่ดี" ดังนั้น อิม่าม อะหฺมัด จึงได้กล่าวว่า "ฉลาดอะไรอย่างนี้"

นี่คือทำไม การตอบโต้คำพูดที่อ่อนหลักฐาน และชี้แจงสัจธรรม จากฝ่ายตรงข้าม พร้อมด้วยกับหลักฐานทางศาสนา จึงไม่ใช่สิ่งที่บรรดาอุละมาอฺรังเกียจ แท้จริงมันเป็นสิ่งที่พวกเขารัก ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขากับชื่นชมสรรเสริญผู้ที่โต้พวกเขา นอกจากนี้ นี่ไม่นับว่าเป็นการนินทา ถ้าใครที่ถือว่าไม่ชอบให้เปิดโปงความผิดของพวกเขาที่ขัดแย้งกับสัจธรรม จากนั้นเขาไม่ชอบ ส่วนนี้ไม่นำมาพิจารณา เพราะแท้จริง การรังเกียจสัจธรรม มันจะกลายเป็นที่ประจักษ์ ถ้ามันขัดแย้งกับคำสอนของบางคน ที่ไม่ควรแค่แก่การสรรเสริญ
แท้จริง มันเป็น วาญิบ เหนือมุสลิม ที่จะต้องรักในสัจธรรมอันชัดแจ้ง และมุสลิมจะต้องตระหนักถึงสัจธรรม ไม่ว่าเขาจะเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย
นี่คือการนะศีหะฮฺอย่างบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮฺ เพื่อคัมภีร์ของพระองค์ เพื่อรอซูลของพระองค์ เพื่อศาสนาของพระองค์ และเพื่อผู้นำมุสลิม และผู้คนทั่วไป นี่คือศาสนาที่ได้ถูกบอกกล่าวโดยท่านนบี ศอลฯ


.......................................................
จากหนังสือ كتاب الفرق بين النصيحة والتعيير
อัล-ฮาฟิษ อิบนุ รอญับ อัล-ฮันบาลียฺ เสียชีวิตในปีฮ.ศ. 795




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น