อัสลามมุอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮิวาบารอกาตุ

ครับ...มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนาชีวิต แต่ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องได้พบกับความตาย ถึงแม้เขาจะทำอะไรเก็บไว้มากมาย แต่เมื่อความตายมาถึงมันก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเขาไม่ทันได้เตรียมตัว มนุษย์มักมีเป้าหมายที่จะสร้างความสำเร็จและความรุ่งเรืองขึ้นบนโลก แต่ความตายก็มาทำลายภาพลวงแห่งสำเร็จที่เขาได้วาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้ความตายจึงสอนเขาว่าเขาไม่มีอำนาจอะไรเลยก่อนตาย

เราจะต้องเรียนรู้ความจริงจากความตาย เพราะความลับของชีวิตถูกซ่อนไว้อยู่ในนั้น ความตายแสดงให้เราเห็นว่าเราไม่ใช่นายของตัวเอง เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วคราวเท่านั้นโลกนี้มิใช่สถานที่สำหรับการทำให้ความฝันของเราเป็นจริง ความตายสอนให้เรารู้ว่าเราควรจะมีชีวิตอย่างไรมันบอกให้เรารู้ถึงหนทางไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงต่างหาก...!!!

วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สำเนียงของอัลกุรอาน



สำเนียงของอัลกุรอาน ซึ่งต่างเป็นสำเนียงไพเราะ เหมาะสม สอดคลอดกับสำเนียงที่มีอยู่แพร่หลายในหมู่ชาวอาหรับ ในสมัยที่อัลกุรอานถูกวะฮฮีย์ หรือประทานลงมา ทั้งหมดมี 7 สำเนียง
ตามที่หลักฐานหะดิษ ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานถุกประทานลงมา 7 สำเนียง แต่ละสำเนียงต่างก็ปัดเป่า(บำบัด)ที่พอเพียง” (บันทึกหะดิษโดยอิมามอบูดาวูด)

สำเนียงของอัลกุรอานทั้ง 7 สำเนียง คือ

1.สำเนียงของเผ่ากุเรช
2.สำนียงของเผ่าฮุซัยลฺ
3.สำนียงของเผ่าตะมีม
4.สำเนียงของเผ่าอัลอะซัด
5.สำเนียงของเผ่ารอบีอะฮฺ
6.สำเนียงของเผ่าฮะวาซิน และ
7.สำเนียงของเผ่าสะอิดิ อิบนิ บักรฺ

ทั้ง 7 สำเนียงดังกล่าว ล้วนเป็นสำเนียงของภาษาอาหรับทั้งสิ้น

พระองค์อัลลอฮฺ ศุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

نَزَلَ بِهِ الرُّوحُ الْأَمِينُ ( 193 ) อัช-ชุอะรออ์ - Ayaa 193

"อัรรูห์ ผู้ซื่อสัตย์ ได้นำมันลงมา"

عَلَىٰ قَلْبِكَ لِتَكُونَ مِنَ الْمُنذِرِينَ ( 194 ) อัช-ชุอะรออ์ - Ayaa 194

"ยังหัวใจของเจ้าเพื่อเจ้าจักได้เป็นผู้ตักเตือนคนหนึ่ง"

بِلِسَانٍ عَرَبِيٍّ مُّبِينٍ ( 195 ) อัช-ชุอะรออ์ - Ayaa 195

"เป็นภาษาอาหรับอันชัดแจ้ง"
(อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัชชุอะรออฺ 26 : 193-195)

สำเนียงที่รู้จักดีที่สุด และส่วนใหญ่แห่งพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานได้ประทานลงมา คือ สำเนียงของเผ่ากุเรช และเป็นสำเนียงที่ท่านอุสมาน อิบนุ อัฟฟาน ได้ถือเป็นหลัก ในการรวมนักท่องจำอัลกุรอาน เพื่อรวบรวมอัลกุรอานเป็นเล่ม

ท่านอุสมาน ร่อฎียัลลอฮุอันฮุม กล่าวว่า
“เมื่อท่านทั้งหลายขัดแย้งกกันในสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้ว (ในสำเนียงอัลกุรอาน) ก็จงเขียนและบำทึกด้วยสำเนียงของเผ่ากุเรช เพราะอัลกุรอานนั้นถูกประทานมาด้วยสำเนียงของเผ่านั้น”
 จึงประเป็นที่ประจักษ์ว่า บางทีท่านเจ้าของสำเนียงนั้นๆก็ได้ยินท่านรสูลุลลอฮฺอ่านอัลกุรอานสำเนียงหนึ่ง ซึ่งเป็นการอ่านด้วยสำเนียงของเผาตน ใขณะที่เผ่าอื่นๆได้ยินท่านอ่านอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นการอ่านตามสำเนียงของเผ่าอื่น จึง้ป็นเหตุให้การแตกต่างกันในด้านสำเนียงการอ่าน
ท่านอุมัร อิบนุลค็อฏฏ้อบ ร่อฎียัลลฮุอันฮุมา กล่าวว่า
“ฉันได้ยินท่านฮิชาม อิบนุ ฮะกีม อ่านสูเราะฮฺอัลฟุรกอนไม่เหมือนอย่างที่ฉันอ่านและไม่เหมือนอย่างที่รสูลได้เคยอ่านให้ฉันฟัง เมื่อฉันได้ยินเช่นนั้น ฉันจังบันดาลโทสะ จนกระทั่งฉันเกือบจะขัดจังหวะเขา แต่ฉันก็ระงับไว้ทัน แล้วฉันก็หันมาดึงเสื้อของเขา จากนั้นฉันก็นำตัวของเขาไปพบท่านรสูล แล้วฉันก็กล่าวว่า : โอ้ ร่อศูลุลลอฮฺ ฉันได้ยินท่านผู้นี้อ่านสูเราะฮฺอัลฟุรกอน ไม่เหมือนกับที่ท่านสอนให้ฉันอ่าน ท่านรสูลกล่าวว่า : จงปล่อยเขาเสีย เมื่อฉันปล่อยมือของฉันออกจากเสื้อของเขาแล้ว ท่านรสูลก็ให้เขาอ่าน เขาก็เริ่มด้วยสำเนียงการอ่านอย่าที่ฉันได้ยินเขาอ่าน เสร็จแล้วท่านรสูลก้ได้กล่าวว่า ; เช่นนี้แหละที่ถูกประทานลงมา จากนั้นท่านรสูลก็ใช้ให้ฉันอ่านบ้าง ฉันก็อ่านตามที่ฉันรับฟังมาจากท่านรสูล แล้วท่านรสูลก็ได้กล่าวขึ้นอีกว่า : เช่นนี้แหละที่ถุกประทานลงมา เพราะแท้จริง อัลกุรอานนี้ถูกประทานลงมา 7 สำเนียง ดังนั้น พวกท่านจงอ่านตามสำเนียงที่ท่านสะดวกเถิด" (บันทึกหะดิษโดยอิมามบุคอรีย์ และอิมามมุสลิม)

والله أعلم بالصواب




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น